รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญา ของกลุ่มชาติพันธ์โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ในจังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
The Development of Learning Process, History, Art, Culture and Wisdom of Ethnic Groups by Using Communities as a Base for Enhancing Learners Competency in The 21st Century in Nakhon Sawan Province
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะครุศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
1 ตุลาคม 2563
วันสิ้นสุดโครงการ :
30 กันยายน 2564
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยประยุกต์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         โลกศตวรรษที่ 21 เป็นโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี รวมถึงการเป็นโลกดิจิทัลที่ข้อมูลในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศเกิดการเปลี่ยนแปลง เชื่อมต่อกันอย่างรวดเร็วในทุกมิติ การพัฒนาศักยภาพของคนถือเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาประเทศให้ มุ่งสู่ความก้าวหน้าทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน(สำนักงานเลขาธิการสภา การศึกษา,2560) หลายปีที่ผ่านมา ระบบการศึกษาของประเทศต่าง ๆ ได้มีการปฏิรูปการศึกษา โดย ให้คำจำกัดความ “ทักษะในศตวรรษที่ 21” ว่ามีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตในโลกปัจจุบันที่ซับซ้อน ซึ่งประกอบด้วยทักษะที่หลากหลายและแตกต่างกันไป เช่น มีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน มีความคิดสร้างสรรค์ และเรียนรู้แบบร่วมมือ เน้นทักษะทางด้านเทคโนโลยี รวมทั้งมีทัศนคติและค่านิยมที่พึงประสงค์ อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่ทักษะการคิดที่ซับซ้อน ทักษะการเรียนรู้ และทักษะการสื่อสาร โดยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มากกว่าการท่องจำ(Saavedra and Opfer, 2012:5) ความท้าทายด้านการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ในการเตรียมนักเรียนให้พร้อมกับชีวิตในศตวรรษที่ 21 เป็นเรื่องสำคัญของกระแสการปรับเปลี่ยนทางสังคมที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 ส่งผลต่อวิถีการดำรงชีพของสังคมอย่างทั่วถึง ครูจึงต้องมีความตื่นตัวและเตรียมพร้อมในการจัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักเรียนมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลก นั่นคือ ทักษะการเรียนรู้ (Learning Skill) ที่ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เด็กมีความรู้ ความสามารถ และทักษะจำเป็น ซึ่งเป็นผลจากการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ตลอดจนการเตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ ซึ่ง วิจารณ์ พานิช (2556) ได้กล่าวถึง ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ ซึ่งทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 ที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต คือ การเรียนรู้ 3R x 8C ทักษะการเรียนรู้ 3R คือ Reading (อ่านออก), (W)Riting (เขียนได้), และ (A)Rithemetics (คิดเลขเป็น) ส่วนทักษะการเรียนรู้ 8C ประกอบด้วย ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา(Critical Thinking and Problem Solving) ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม(Creativity and Innovation) ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์(Cross-cultural Understanding) ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ(Collaboration, Teamwork and Leadership) ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ(Communications, Information, and Media Literacy) ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Computing and ICT Literacy) ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้(Career and Learning Skills) และทักษะการเปลี่ยนแปลง(Change) กระบวนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ถือว่า การเรียนรู้ที่แท้จริงอยู่ในโลกจริงหรือชีวิตจริง การเรียนวิชาในห้องเรียนยังเป็นการเรียนแบบสมมติ“ดังนั้นครูเพื่อศิษย์จึงต้องออกแบบการเรียนรู้ให้ศิษย์”ได้เรียนในสภาพที่ใกล้เคียงชีวิตจริงที่สุด ครูเพื่อศิษย์ต้องเปลี่ยนเป้าหมายการเรียนรู้ของศิษย์จากเน้นเรียนวิชาเพื่อได้ความรู้ ให้เลยไปสู่การพัฒนาทักษะที่สำคัญต่อชีวิตในยุคใหม่ ย้ำว่าการเรียนรู้ยุคใหม่ ต้องเรียนให้เกิดทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ซึ่งหน้าที่ของครูเพื่อศิษย์จึงต้องเปลี่ยนจากเน้น“สอน”หรือสั่งสอนไปทำหน้าที่จุดประกายความสนใจใฝ่รู้ (inspire) แก่ศิษย์ ให้ศิษย์ได้เรียนจากการลงมือปฏิบัติ (learning by doing) และศิษย์งอกงามทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 นี้ จากการลงมือปฏิบัติของตนเป็นทีมร่วมกับเพื่อนนักเรียน เน้นการงอกงามทักษะในการเรียนรู้ และค้นคว้าหาความรู้มากกว่าตัวความรู้ ครูเพื่อศิษย์ต้องเปลี่ยนแนวทางการทำงานจากทำโดดเดี่ยว คนเดียว เป็นทำงานและเรียนรู้จากการทำหน้าที่ครูเป็นทีม โดยมีรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย อันได้แก่ กระบวนการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ เป็นแนวคิดหรือความเชื่อที่สนับสนุนให้คนเราปฏิบัติสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเองตามความสนใจ ตามความถนัดและศักยภาพของผู้เรียน การเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนได้รับประสบการณ์จากการหาความรู้และความหมายด้วยตนเอง มีการวิเคราะห์ การประเมิน และการแก้ปัญหา โดยครูเป็นผู้กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความอยากรู้ และเป็นผู้ ชี้แนะในระหว่างเรียน การเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ผู้เรียนเรียนรู้ “โลก แห่งความจริง” มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเข้าใจสภาพปัญหาและความต้องการหรือลักษณะของชุมชนนั้น ๆ เพื่อ สร้างความรู้ผ่านการเรียนรู้ที่บูรณาการกลยุทธ์การสอนอย่างหลากหลายวิธีร่วมกับการทำโครงงานที่ผู้เรียน ได้สัมผัสชุมชนอย่างแท้จริง ช่วยให้เกิดความเข้าใจถึงความหลากหลายและความเท่าเทียมกัน ซึ่งเป็นส่วน หนึ่งของการเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียนสู่การทำงานในอนาคต การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานมีหลายกลยุทธ์ ได้แก่ การให้บริการชุมชนเชิงวิชาการ การศึกษาความเป็นพลเมือง การศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม การเรียนรู้โดยใช้สถานที่เป็นฐาน การเรียนรู้โดยการบริการ และการเรียนรู้โดยการใช้การทำงานเป็นฐาน ในแต่ละกลยุทธ์มีกระบวนการที่เชื่อมโยงการทำงานในชั้นเรียนกับชุมชนที่มีความหมายโดยการมีส่วนร่วมของสถานศึกษา ครู ผู้เรียน และคนในชมุชน ในลกัษณะของการเป็นหุ้นส่วนในการเรียนรู้และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เนื่องจากผู้เรียนได้ลงพื้นที่เพื่อฝึกทักษะการแก้ปัญหา จากสถานการณ์ที่พบจริงในชุมชนในลักษณะของการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ที่ มีในการแก้ปัญหาได้อย่างหลากหลาย เป็นการเรียนที่กระตุ้นและท้าทายความสามารถของผู้เรียนให้มี ความสามารถด้านการคิดและการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ทั้งนี้ การนำกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานไปใช้ให้เกิดผลสำเร็จนั้นผู้สอนจะต้องระบุกลยุทธ์การเรียนรู้และผลการเรียนรู้ที่ชัดเจน ผู้เรียนได้ เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติในชุมชน ภายใต้ความร่วมมือกันระหว่างเครือข่ายทางการศึกษาและการมีส่วน ร่วมระหว่างชุมชนและผู้เรียน นครสวรรค์ เป็นพื้นที่ชัยภูมิเหมาะสมและเป็นจุดที่สำคัญในทางภูมิศาสตร์แห่งหนึ่ง เนื่องจากมีแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแม่น้ำสายหลักที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของผู้คนในหลายๆด้านทั้งด้านการคมนาคมขนส่ง การอุปโภคบริโภค และการใช้ในเกษตรกรรม และมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงไปสู่ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและสัตว์นานาชนิดตลอดจนเป็นพื้นที่ที่มีคนหรือกลุ่มคนหลากหลายกลุ่มชาติติพันธ์มาอาศัย ตั้งถิ่นฐานและประกอบอาชีพ จนเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มคน หรือแต่ละกลุ่มชาติพันธ์ที่มาอาศัยอยู่ร่วมกัน ข้อมูลจากงานวิจัยของ สุชาติ แสงทอง พบว่า มีกลุ่มชาติพันธุ์ที่อพยพย้ายถิ่นเข้ามาอาศัยและตั้งถิ่นฐานประกอบอาชีพในจังหวัดนครสวรรค์ ประกอบด้วยกลุ่มคนหรือกลุ่มชาติพันธุ์ไทย จีน ญวน มุสลิม ลาว และมอญ คนเหล่านี้มีตัวตนมีเรื่องราวการเดินทางอพยพและเข้ามาตั้งถิ่นฐานประกอบอาชีพ จากคำบอกเล่าความทรงจำ และบันทึกการเดินทางต่าง ๆ ที่สามารถค้นคว้าได้นานสะท้อนภาพของการดำรงอยู่ของสังคมชุมชนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่ไม้จะมีความแตกต่างในโลกกระทัศน์ วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อและศาสนา แต่ทว่าคนหรือกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ เหล่านี้นั้นสามารถที่จะผสมผสานและหลอมรวมความหลากหลายทางวัฒนธรรมและกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ให้อยู่ร่วมกันอย่างเหมาะสมลงตัว(สุชาติ แสงทอง,2557) นอกจากนี้ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมในกลุ่มชาติติพันธ์ทั้ง 6 กลุ่มพบประเด็นความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่สะท้อนความเป็นอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมในแต่ละกลุ่มชน ได้แก่ ประวัติศาสตร์ความเป็นมาในเรื่องการอพยพย้ายถิ่นฐาน ภาษาพูดและภาษาเขียน ประเพณีพิธีกรรม อาหารการกิน ศิลปะและวัฒนธรรม ศาสนา ความเชื่อ ที่อยู่อาศัย ตลอดจนการแต่งกาย เป็นต้น สิ่งที่ปรากฏในแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์มีความหลากหลายแตกต่างกันไป นอกจากนี้ยังมีการศึกษาวิเคราะห์ชุมชนหรือกลุ่มคนแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์เพื่อเชื่อมโยงหาปัจจัยที่สำคัญที่มีผลต่อการเลือกทำเลที่ตั้งชุมชนหรือบ้านเรือน ซึ่งทำให้พบว่าปัจจัยสำคัญได้แก่ สภาพแวดล้อมทางกายภาพโดยทำเลที่ตั้ง (Site and situation) และสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ (Natural environment) จะมีส่วนสำคัญต่อการตั้งถิ่นฐานการเจริญเติบโต และความอยู่รอดของชุมชนที่ตั้งจังหวัดนครสวรรค์ตั้งอยู่บริเวณที่มีลมฟ้าอากาศเหมาะสมและดินอุดมสมบูรณ์เหมาะกับการเกษตรกรรมและมีแม่น้ำสายหลักสายสำคัญๆ ถึง 4 สาย ที่มารวมกันเป็นต้นแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อไหล่เชื่อมต่อไปจังหวัดต่าง ๆ จนถึงกรุงเทพฯเมื่อไหลออกสู่ทะเลอ่าวไทย รวมทั้งมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เข้ามาสนับสนุน เช่น ปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง พื้นที่ชุมชนต้นแม่น้ำเจ้าพระยาจึงเป็นพื้นที่หนึ่งที่ได้รับความสนใจของคนหรือกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ให้เข้ามาตั้งถิ่นฐานและประกอบอาชีพในจังหวัดเป็นจำนวนมาก(สุชาติ แสงทอง,2557) ประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให?เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้ เป็นต้นแบบของการเรียนรู้ต่าง ๆมากมาย ทั้งแหล่งเรียนรู? วัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นต่างก็ถูกนำมาใช?เพื่อส?งเสริมศักยภาพของผู้เรียนในปัจจุบันอย่างแพร่หลาย การที่จะศึกษาข้อมูลของประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ จำเป็นต?องมีการจัดการความรู้ สร้างกระบวนการเรียนรู้ที่ใช้ชุมชนเป็นฐานในการเรียนรู้ ดังนั้น แหล่งเรียนรู? ทรัพยากรการเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ ในจังหวัดนครสวรรค์ ให?บรรลุเป้าหมายการเรียนรู?ได้อย่างมีประสิทธิภาพเกิดประโยชน?สูงสุดกับผู้เรียน ในป?จจุบัน ชุมชน โรงเรียนและสถานศึกษาต่าง ๆ ได้มีพัฒนากระบวนการเรียนรู้ แนวการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ และการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้รู?เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันที่มุ่งเน้นประโยชน์แก่ผู้เรียนและชุมชนร่วมกัน โดยการจัดหาแหล่งเรียนรู?ภูมิปัญญาท้องถิ่นต่าง ๆ ของชุมชน ที่นำมาช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้มีแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และสื่อการเรียนรู? ที่หลากหลาย และทันสมัยมากขึ้น จากความสำคัญที่กล่าวมาข้างต้น คณะผู้วิจัยได้ทำการศึกษาเรื่อง การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาของกลุ่มชาติพันธุ์โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ในจังหวัดนครสวรรค์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อออกแบบและพัฒนาสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ในการส่งเสริมสมรรถนะการเรียนรู้ของผู้เรียนให้มีความรู้สึกที่ดี มีความสุขกับการเรียนเป็นคนเก่ง ฉลาด รู้จักคิดวิเคราะห์และใฝ่รู้ตลอดเวลา ส่งเสริมให้ผู้เรียน รัก หวงแหน ภาคภูมิใจในวิถีชีวิตของชุมชน และเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์และสืบสาน อนุรักษ์ ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ในท้องถิ่นของตน
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1)เพื่อสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ในจังหวัดนครสวรรค์ 2) เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ในจังหวัดนครสวรรค์ 3) เพื่อประเมินผลการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ในจังหวัดนครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :
ขอบเขตด้านเนื้อหา ได้แก่ การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาของกลุ่มชาติพันธุ์โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ในจังหวัดนครสวรรค์ ขอบเขตด้านประชากร ประกอบด้วยผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 บุคคลในชุมชน องค์กรชุมชน เครือข่ายชุมชน และ กลุ่มที่ 2 ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนในชุมชนและโรงเรียนในเขตอำเภอเมือง อำเภอโกรกพระ อำเภอชุมแสงและอำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ ขอบเขตด้านแหล่งข้อมูล แหล่งข้อมูล มี 2 แหล่ง ได้แก่ แหล่งที่ 1 ข้อมูลปฐมภูมิ ได้แก่ เป็นการศึกษาข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ สิ่งพิมพ์ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและข้อมูลระดับชุมชนเพื่อให้ได้แนวคิดทฤษฎีที่สามารถนำไปใช้ในการวางแนวทางในการศึกษาพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาและการอภิปรายอ้างอิง แหล่งที่ 2 ข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ เป็นข้อมูลที่ศึกษาได้จากการเก็บข้อมูลโดยตรงจากประชากรที่ศึกษา และเป็นการศึกษารายละเอียดต่อเนื่องจากข้อมูลทุติยภูมิ และข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดนครสวรรค์ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการออกแบบพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ในจังหวัดนครสวรรค์ ขอบเขตด้านพื้นที่ ได้แก่ ชุมชนและโรงเรียนในเขตอำเภอเมือง อำเภอโกรกพระ อำเภอชุมแสงและอำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
1. ได้เครือข่ายชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดนครสวรรค์ 2. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ออกแบบการเรียนรู้โดยชุมชนเป็นฐาน นำไปจัดกิจกรรมขยายผลองค์ความรู้ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการจากครูต้นแบบและเอกสารบทเรียนท้องถิ่น/หน่วยการเรียนรู้กลุ่มชาติพันธุ์จังหวัดนครสวรรค์และสื่อการเรียนรู้เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนบูรณาการสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น 3. ได้ทราบผลการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ในจังหวัดนครสวรรค์ อันได้แก่ พฤติกรรมการเรียนรู้/สมรรถนะผู้เรียน/ทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 4. ได้ทราบผลการประเมินผลการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ในจังหวัดนครสวรรค์ อันได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระดับความพึงพอใจ 5. ได้เครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญา ของกลม?ุชาติพันธ์ ในจังหวัดนครสวรรค์ 6. ได้เอกสารตำราแบบเรียน บทเรียนท้องถิ่น/หน่วยการเรียนรู้และสื่อการเรียนรู้ไว้สำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มชาติพันธุ์จังหวัดนครสวรรค์ 7. นักศึกษา ครู โรงเรียน ชุมชนและบุคคลทั่วไปสามารถนำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ได้ออกแบบไปปรับใช้ในการดำรงชีวิต หรือเป็นมัคคุเทศก์แนะนำแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในท้องถิ่นของตน ตลอดจนสามารถสร้างรายได้และความภาคภูมิใจในการอนุรักษ์สืบสาน ศิลปะ วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดนครสวรรค์ 8. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์และบทความวิจัย เรื่อง การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและ ภูมิปัญญา ของกลม?ุชาติพันธ์โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนในศตวรรษ ที่ 21 ในจังหวัดนครสวรรค์ และบทความวิชาการ เกี่ยวกับ การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         รูปแบบ/วิธีการวิจัย เป็นการวิจัยประยุกต์ (Applied research) โดยใช้วิธีการศึกษาวิเคราะห์จากเอกสารที่เกี่ยวข้องควบคู่ไปกับการสำรวจ สัมภาษณ์ ทดลอง และจัดเวทีชาวบ้าน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาของกลุ่มชาติพันธุ์โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ในจังหวัดนครสวรรค์ซึ่งมีกิจกรรมดังต่อไปนี้ 1. ประชุมชี้แจงโครงการวิจัย ประสานกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดนครสวรรค์ 2. สร้างแผนการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ในจังหวัดนครสวรรค์ 3. พัฒนากระบวนการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ในจังหวัดนครสวรรค์ 4. ประเมินผลการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ในจังหวัดนครสวรรค์ 5. จัดกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการขยายผลองค์ความรู้ในด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญา ของกลม?ุชาติพันธ์ ในจังหวัดนครสวรรค์ 6. วิเคราะห์ข้อมูล สรุปและจัดทำรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาของกลุ่มชาติพันธุ์โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ในจังหวัดนครสวรรค์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ในจังหวัดนครสวรรค์2) เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ในจังหวัดนครสวรรค์ และ 3) เพื่อประเมินผลการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ในจังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มเป้าหมายการวิจัย ประกอบด้วย องค์กรชุมชน ตัวแทนชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน ครู นักเรียน ในพื้นที่ชุมชนและโรงเรียนในเขตอำเภอเมือง อำเภอโกรกพระ อำเภอชุมแสงและอำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ เป็นการวิจัยประยุกต์ (Applied research) โดยใช้วิธีการศึกษาวิเคราะห์จากเอกสารที่เกี่ยวข้องควบคู่ไปกับก
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 นางสาวเยาวเรศ ภักดีจิตร นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 90%
2 นางสาวภิรญา โพธิพิทักษ์ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 10%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย