รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
นวัตกรรมการพัฒนาการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
Innovative development of learning history, art, culture and local wisdom of ethnic groups based on the concept of stem education in Nakhon Sawan Province
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะครุศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :
แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่ระบุ
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
1 ตุลาคม 2563
วันสิ้นสุดโครงการ :
30 กันยายน 2564
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยประยุกต์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         นครสวรรค์ เป็นพื้นที่ชัยภูมิเหมาะสมและเป็นจุดที่สำคัญในทางภูมิศาสตร์แห่งหนึ่ง เนื่องจากมีแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแม่น้ำสายหลักที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของผู้คนในหลายๆด้านทั้งด้านการคมนาคมขนส่ง การอุปโภคบริโภค และการใช้ในเกษตรกรรม และมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงไปสู่ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและสัตว์นานาชนิดตลอดจนเป็นพื้นที่ที่มีคนหรือกลุ่มคนหลากหลายกลุ่มชาติติพันธ์มาอาศัย ตั้งถิ่นฐานและประกอบอาชีพ จนเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มคน หรือแต่ละกลุ่มชาติพันธ์ที่มาอาศัยอยู่ร่วมกัน ข้อมูลจากงานวิจัยของ สุชาติ แสงทอง พบว่า มีกลุ่มชาติพันธุ์ที่อพยพย้ายถิ่นเข้ามาอาศัยและตั้งถิ่นฐานประกอบอาชีพในจังหวัดนครสวรรค์ ประกอบด้วยกลุ่มคนหรือกลุ่มชาติพันธุ์ไทย จีน ญวน มุสลิม ลาว และมอญ คนเหล่านี้มีตัวตนมีเรื่องราวการเดินทางอพยพและเข้ามาตั้งถิ่นฐานประกอบอาชีพ จากคำบอกเล่าความทรงจำ และบันทึกการเดินทางต่าง ๆ ที่สามารถค้นคว้าได้นานสะท้อนภาพของการดำรงอยู่ของสังคมชุมชนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่ไม้จะมีความแตกต่างในโลกกระทัศน์ วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อและศาสนา แต่ทว่าคนหรือกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ เหล่านี้นั้นสามารถที่จะผสมผสานและหลอมรวมความหลากหลายทางวัฒนธรรมและกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ให้อยู่ร่วมกันอย่างเหมาะสมลงตัว(สุชาติ แสงทอง,2557) นอกจากนี้ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมในกลุ่มชาติติพันธ์ทั้ง 6 กลุ่มพบประเด็นความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่สะท้อนความเป็นอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมในแต่ละกลุ่มชน ได้แก่ ประวัติศาสตร์ความเป็นมาในเรื่องการอพยพย้ายถิ่นฐาน ภาษาพูดและภาษาเขียน ประเพณีพิธีกรรม อาหารการกิน ศิลปะและวัฒนธรรม ศาสนา ความเชื่อ ที่อยู่อาศัย ตลอดจนการแต่งกาย เป็นต้น สิ่งที่ปรากฏในแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์มีความหลากหลายแตกต่างกันไป นอกจากนี้ยังมีการศึกษาวิเคราะห์ชุมชนหรือกลุ่มคนแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์เพื่อเชื่อมโยงหาปัจจัยที่สำคัญที่มีผลต่อการเลือกทำเลที่ตั้งชุมชนหรือบ้านเรือน ซึ่งทำให้พบว่าปัจจัยสำคัญได้แก่ สภาพแวดล้อมทางกายภาพโดยทำเลที่ตั้ง (Site and situation) และสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ (Natural environment) จะมีส่วนสำคัญต่อการตั้งถิ่นฐานการเจริญเติบโต และความอยู่รอดของชุมชนที่ตั้งจังหวัดนครสวรรค์ตั้งอยู่บริเวณที่มีลมฟ้าอากาศเหมาะสมและดินอุดมสมบูรณ์เหมาะกับการเกษตรกรรมและมีแม่น้ำสายหลักสายสำคัญๆ ถึง 4 สาย ที่มารวมกันเป็นต้นแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อไหล่เชื่อมต่อไปจังหวัดต่าง ๆ จนถึงกรุงเทพฯเมื่อไหลออกสู่ทะเลอ่าวไทย รวมทั้งมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เข้ามาสนับสนุน เช่น ปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง พื้นที่ชุมชนต้นแม่น้ำเจ้าพระยาจึงเป็นพื้นที่หนึ่งที่ได้รับความสนใจของคนหรือกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ให้เข้ามาตั้งถิ่นฐานและประกอบอาชีพในจังหวัดเป็นจำนวนมาก(สุชาติ แสงทอง,2557) “สะเต็ม” หรือ “STEM” เป็นคำย่อจากภาษาอังกฤษของศาสตร์ 4 สาขาวิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) โดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ให้คำจำกัดความว่า “องค์ความรู้ วิชาการของศาสตร์ทั้งสี่ที่มีความเชื่อมโยงกันในโลกของความเป็นจริง ที่ต้องอาศัยองค์ความรู้ต่าง ๆ มาบูรณการเข้าด้วยกันในการดำเนินชีวิตและการทำงาน” แต่ในรายงานนี้จะใช้สะเต็มในความหมายของ “องค์ความรู้ ทักษะที่จำเป็นในการดำเนินชีวิตและการทำงานที่เกิดจากการบูรณาการศาสตร์ทั้งสี่เข้าด้วยกัน” สะเต็มศึกษาจึงมีความสำคัญต่อประเทศในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นประชากรที่มีคุณภาพ มีทักษะการคิด การเรียนรู้ มีความสามารถในการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ต่าง ๆ ในการแก้ปัญหา และมีความคิดสร้างสรรค์ที่จะสร้างนวัตกรรมต่าง ๆ ด้วยเหตุนี้ สะเต็มศึกษาจึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่จะนำพาประเทศออกจากกับดักประเทศรายได้ปานกลาง จะเห็นได้ว่า สะเต็มศึกษามิได้เป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย ที่ผ่านมาประเทศไทยมีการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการที่สอดคล้องกับแนวคิดสะเต็มศึกษา ไม่ว่าจะเป็นโครงการต้นแบบและโครงการขยายผลในการสนับสนุนและพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งระดับขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษาที่มุ่งเน้นการบูรณาการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ หรือโครงการบ่มเพาะกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ที่มีความสามารถเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาพบว่านโยบายและแนวทางการขับเคลื่อนด้านสะเต็มศึกษาในระดับชาติของไทย เช่น แนวทางการพัฒนาหลักสูตรสะเต็มศึกษา การพัฒนาครูสะเต็ม รวมทั้งหน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนสะเต็มศึกษา และเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ในการพัฒนาสะเต็มศึกษายังขาดความชัดเจนในทางปฏิบัติ ส่งผลให้สะเต็มศึกษาที่เป็นรากฐานในการพัฒนากำลังคนนวัตกรรม และการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไม่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ สะเต็มศึกษาเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ และเป็นการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในมิติต่าง ๆ ดังนั้น การปฏิรูปการศึกษาภายใต้แนวคิดสะเต็มศึกษา จึงเป็นทางออกที่จะช่วยพัฒนาประเทศอย่างมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน(สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา,2559) ความท้าทายด้านการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ในการเตรียมนักเรียนให้พร้อมกับชีวิตในศตวรรษที่ 21 เป็นเรื่องสำคัญของกระแสการปรับเปลี่ยนทางสังคมที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 ส่งผลต่อวิถีการดำรงชีพของสังคมอย่างทั่วถึง ครูจึงต้องมีความตื่นตัวและเตรียมพร้อมในการจัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักเรียนมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลก นั่นคือ ทักษะการเรียนรู้ (Learning Skill) ที่ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เด็กมีความรู้ ความสามารถ และทักษะจำเป็น ซึ่งเป็นผลจากการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ตลอดจนการเตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ ซึ่ง วิจารณ์ พานิช (2556) ได้กล่าวถึง ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ ซึ่งทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 ที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต คือ การเรียนรู้ 3R x 8C ทักษะการเรียนรู้ 3R คือ Reading (อ่านออก), (W)Riting (เขียนได้), และ (A)Rithemetics (คิดเลขเป็น) ส่วนทักษะการเรียนรู้ 8C ประกอบด้วย ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา(Critical Thinking and Problem Solving) ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม(Creativity and Innovation) ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์(Cross-cultural Understanding) ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ(Collaboration, Teamwork and Leadership) ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ(Communications, Information, and Media Literacy) ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Computing and ICT Literacy) ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้(Career and Learning Skills) และ ทักษะการเปลี่ยนแปลง(Change) ประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให?เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้ เป็นต้นแบบของการเรียนรู้ต่าง ๆมากมาย ทั้งแหล่งเรียนรู? วัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นต่างก็ถูกนำมาใช?เพื่อส?งเสริมศักยภาพของผู้เรียนในปัจจุบันอย่างแพร่หลาย การที่จะศึกษาขอมูลของประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ จำเป็นต?องมีการจัดเก็บอย่างเป็นระบบ ทันสมัยสะดวก ต?อการใช?งาน และมีศักยภาพในการสืบค้นข้อมูล ให้ข้อมูลได้ทั้งภาพ เสียง และตัวอักษร ในรูปแบบที่ต่าง ๆกันออกไป ทั้งในรูปแบบของระบบสารสนเทศ ระบบฐานข้อมูล และระบบสารสนเทศออนไลน์ ที่เป็นที่แพร่หลายในสังคมเทคโนโลยีปัจจุบันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทคโนโลยีของโลกได้ พัฒนาขึ้นจนกระทั่งป?จจุบันที่มีการใช?คอมพิวเตอร์กันอย่างกว้างขวาง ข้อมูลในด้านต่าง ๆ ซึ่งอดีตได้มีการจัดเก็บอยู่บนกระดาษได้ถูกมาจัดเก็บไว?ในคอมพิวเตอร์ การจัดเก็บข้อมูลได้เปลี่ยนไป รวมให้เป็นระบบของฐานข้อมูลจะทำให?สามารถลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล หลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูล สามารถกำหนดระบบความปลอดภัยของข้อมูล ดังนั้น แหล่งเรียนรู? ระบบสารสนเทศ ระบบฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น เทคโนโลยีและสื่อการเรียนรู?จึงมีบทบาทสำคัญมากในกระบวนการจัดการเรียนการสอนพัฒนาระบบสารสนเทศประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ ในจังหวัดนครสวรรค์ ให?บรรลุเป้าหมายการเรียนรู?ได้อย่างมีประสิทธิภาพเกิดประโยชน?สูงสุดกับผู้เรียน ในป?จจุบัน ชุมชน โรงเรียนและสถานศึกษาต่าง ๆ ได้มีการจัดการเรียนรู?เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันที่มุ่งเน้นประโยชน์แก่ผู้เรียนและชุมชนร่วมกัน โดยการจัดหาแหล่งเรียนรู?ภูมิปัญญาท้องถิ่นต่าง ๆ ของชุมชน ที่นำมาช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้มีแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และสื่อการเรียนรู? ที่หลากหลาย และทันสมัยมากขึ้น ทั้งนี้ สะเต็มศึกษาเป็นแนวคิดที่นำไปสู่กระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมและคณิตศาสตร์ ที่ส่งเสริมทักษะต่าง ๆ ที่จำเป็นบนพื้นฐานของสภาพความเป็นจริง เพื่อเน้นการนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในการดำรงชีวิต สามารถพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตและประกอบอาชีพในอนาคต ดังนั้น แนวคิดสะเต็มศึกษาจึงเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในก
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1. เพื่อพัฒนาการจัดการความรู้ประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาใน จังหวัดนครสวรรค์ 2. เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ในจังหวัดนครสวรรค์ 3. เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ ในจังหวัดนครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :
ขอบเขตด้านเนื้อหา ได้แก่ นวัตกรรมการพัฒนาการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์ ประกอบด้วย 1)การจัดการความรู้ประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาใน จังหวัดนครสวรรค์ 2)การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาของกลุ่มชาติพันธุ์โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ในจังหวัดนครสวรรค์ และ 3)การพัฒนาระบบสารสนเทศประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ ในจังหวัดนครสวรรค์ ขอบเขตด้านประชากร ได้แก่ กลุ่มที่ 1 บุคคลในชุมชน องค์กรชุมชน เครือข่ายชุมชน และปราชญ์ชาวบ้าน กลุ่มที่ 2 ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนในชุมชน ขอบเขตด้านพื้นที่ ได้แก่ ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์จังหวัดนครสวรรค์และโรงเรียนสังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองนครสวรรค์ อำเภอโกรกพระ อำเภอชุมแสงและอำเภอท่าตะโก
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
1. แผนการจัดการองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ?ม ชาติพันธุ?ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์ นักศึกษาเกิดกระบวนการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา โดยใช้กระบวนการ ออกแบบเชิงวิศวกรรมเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและ ภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดนครสวรรค์ และการร่วมคิดค้นพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ต้นแบบกับชุมชนเพื่อรักษาไว้ซึ่ง ภูมิปัญญาท้องถิ่นของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ 2. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ออกแบบการเรียนรู้โดยชุมชนเป็นฐาน นำไปจัดกิจกรมขยายผลองค์ความรู้ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการจากครูต้นแบบและเอกสารบทเรียนท้องถิ่น/หน่วยการเรียนรู้กลุ่มชาติพันธุ์จังหวัดนครสวรรค์และสื่อการเรียนรู้เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนบูรณาการสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น 3. ระบบสารสนเทศประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดนครสวรรค์ ที่ประกอบไปด้วยข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ 5 ชาติพันธุ์ วิดีทัศน์นำเสนอกลุ่มชาติพันธุ์ทั้ง 5 มีการถ่ายทำให้ข้อมูลเป็นปัจจุบัน ครบถ้วนทั้งประวัติศาสตร์ ความเป็นมาวิถีความเป็นอยู่ ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี และผลงานภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นผลงานจากการพัฒนา ในรูปแบบSTEM EDUCATION ของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ มีการบูรณาการระบบสารสนเทศกับการเรียนการสอน มีการนำไปใช้เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้แก่ผู้เรียนในโรงเรียนที่อยู่ในกลุ่มชาติพันธุ์ 12 โรงเรียน 4 อำเภอทั้งในระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         รูปแบบ/วิธีการวิจัย เป็นการวิจัยประยุกต์ (Applied research) โดยใช้วิธีการศึกษาวิเคราะห์จากเอกสารที่เกี่ยวข้องควบคู่ไปกับการสำรวจ สัมภาษณ์ ทดลอง และจัดเวทีชาวบ้าน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อพัฒนานวัตกรรมการพัฒนาการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งมีกิจกรรมดังต่อไปนี้ 1. ประชุมชี้แจงโครงการวิจัยและประสานงานกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดนครสวรรค์ 2. ศึกษาองค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดนครสวรรค์ 3. สังเคราะห์การจัดการความรู้ประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ?มชาติพันธุ?ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์ 4. สังเคราะห์การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญา ของกลม?ุชาติพันธุ์โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ในจังหวัดนครสวรรค์ 5. สังเคราะห์การพัฒนาระบบสารสนเทศประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดนครสวรรค์ 6. จัดประชุมกลุ่ม นำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสรุปแผนงานวิจัย
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
นวัตกรรมการพัฒนาการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดการความรู้ประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาใน จังหวัดนครสวรรค์ 2) พัฒนากระบวนการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ในจังหวัดนครสวรรค์ และ3)พัฒนาระบบสารสนเทศประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ ในจังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มเป้าหมายการวิจัย ประกอบด้วย องค์กรชุมชน ตัวแทนชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน ครู นักเรียน ในพื้นที่ชุมชนและโรงเรียนในเขตอำเภอเมือง อำเภอโกรกพระ อำเภอชุมแสงและอำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ เป็นการวิจัยประยุกต์ (Applied research) โดยใช้วิธีการศึกษาวิเคราะห์จากเอกสารที่เกี่ยวข้องควบคู่ไปกับการสำรวจ สัมภาษณ์ ทดลอง และจัดเวทีชาวบ้าน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อพัฒนานวัตกรรมการพัฒนาการเรียนรู้ประวัติศาสตร
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 นางสาวเยาวเรศ ภักดีจิตร นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 70%
2 นางพรรณี เหมะสถล นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 15%
3 นางสาวกุลรภัส เทียมทิพร นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 15%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย