รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องจักตอกเพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิตของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษา : กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มจักสานไม้ไผ่และหวาย ตำบลกลางแดด อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
Development technology of Cleave Machine to Improved Productions for Community Enterprise Group Case study : Bamboo and Rattan Wicker Group, Tumbon Klangdad, Nakornsawan Province.
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
30 พฤศจิกายน 2563
วันสิ้นสุดโครงการ :
31 ตุลาคม 2564
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยประยุกต์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         ปัจจุบันรัฐบาลได้มีการส่งเสริมการสร้างความมั่นคงของเศรษฐกิจชุมชน โดยเน้นการผลิตเพื่อการบริโภคอย่างพอเพียง โดยเน้นการผลิตเพื่อการบริโภคอย่างพอเพียงภายในชุมชน สนับสนุนให้ชุมชนมีการรวมกลุ่มในรูปสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ สนับสนุนการนำภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นมาใช้ในการสร้างสรรค์คุณค่าของสินค้าและบริการ โดยเฉพาะการผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานไม้ไผ่ เป็นภูมิปัญญาที่สาคัญของคนไทย ที่สามารถนำวัสดุจากธรรมชาติโดยเฉพาะไผ่ มาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเครื่องจักสาน จึงทำให้ผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานจากไม้ไผ่เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลายทั้งด้านรูปแบบและประโยชน์การใช้งานโดยมีการปรับปรุงพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ซึ่งการผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานจากไม้ไผ่นี้ ผลิตโดยกลุ่มอาชีพหรือกลุ่มวิสาหกิจในระดับชุมชนเป็นส่วนใหญ่ และจากการนำเสนอปัญหาของตัวแทนชาวบ้านซึ่งเป็น กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มจักสานไม้ไผ่และหวาย ตำบลกลางแดด อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ที่ได้ดำเนินการผลิตเครื่อง จักสานไม้ไผ่ประสบปัญหาไม่มีเทคโนโลยีมาช่วยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะขั้นตอนของการเตรียมวัตถุดิบ คือการจักตอกที่ยังคงใช้อุปกรณ์หลักคือมีดและแรงงานคน จึงทำให้ในขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบเพื่อจักสานนี้ ใช้เวลานาน เนื่องจากชาวบ้านไม่มีเครื่องจักรกลมาช่วยทุ่นแรง ทำให้เกิดความล่าช้าและเสียเวลาในขั้นตอนการผลิตในขั้นตอนต่อไป ยังก่อให้เกิดปัญหาในเรื่องของวัตถุดิบไม่ได้ขนาดและขาดความเป็นมาตรฐานและไม่สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายได้ ผลผลิตที่ได้ต่อวัน มีจำนวนน้อย อีกทั้งเครื่องจักตอกที่มีใช้ในปัจจุบันยังไม่สามารถจักตอกให้มีขนาด 0.1 – 0.3 มิลลิเมตรได้ เนื่องจากปัญหาด้านใบมีดและลูกกลิ้งส่งตอก จะทำให้ตอกที่มีขนาดบางแตก จากปัญหาที่เกิดขึ้นในขั้นตอนของการเตรียมวัตถุดิบเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มจักสานไม้ไผ่และหวาย ตำบลกลางแดด อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ จึงทำให้ทางคณะผู้วิจัยได้คิดที่จะออกแบบใบมีดและสร้างเครื่องจักตอกเพื่อลดระยะเวลาในการจัดเตรียมวัตถุดิบของชาวบ้าน และทำให้ชาวบ้านมีเวลามากพอที่จะผลิตเครื่องจักสาน ในปริมาณที่มากขึ้น เพื่อให้ได้จำนวนชิ้นงานที่ผลิตต่อวันมีจานวนที่เพิ่มขึ้นกว่าเดิมและสามารถสนองความต้องการของตลาด อีกทั้งยังแก้ไขปัญหาและช่วยพัฒนา ศักยภาพด้านการผลิตของกลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานไม้ไผ่ต่อไป
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1. เพื่อออกแบบใบมีดและสร้างเครื่องจักตอกจากไม้ไผ่ที่สามารถจักตอกขนาด 0.1 0.2 และ 0.3 มิลลิเมตร 2. เพื่อทดสอบประสิทธิภาพเครื่องจักตอกที่สร้างขึ้น และเปรียบเทียบประสิทธิภาพการทำงานกับการจักตอกไม้ไผ่ด้วยการใช้มีดจักตอกโดยใช้แรงงานคน 3. เพื่อนำไปใช้ประโยชน์กับวิสาหกิจชุมชนจักสานไม้ไผ่และหวาย
ขอบเขตของโครงการ :
ออกแบบใบมีดและสร้างเครื่องจักตอกขนาดเล็ก สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มจักสานไม้ไผ่และหวาย ตำบลกลางแดด อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ตัวเครื่องสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างสะดวก การใช้งานง่ายปลอดภัยต่อการปฏิบัติงานสำหรับกลุ่มผู้ใช้ในระดับชุมชนโดยเฉพาะผู้สูงอายุ สามารถจักตอกที่มีความหนาได้ขนาด 0.1-0.3 มิลลิเมตร
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
1. ได้เครื่องจักรตอกที่สามารถจักตอกได้ความหนาขนาด 0.1 0.2 0.3 มิลลิเมตร 2. กลุ่มงานเครื่องจักสานสามารถนำไปให้ใช้เกิดประโยชน์ สร้างรายได้ต่อครอบครัวและท้องถิ่น 3. ลดการสูญเสียไม้ไผ่เนื่องจากไม่ได้ขนาดตามที่ต้องการ
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         วิธีการดำเนินการวิจัย 1. ศึกษารูปแบบการจักตอกของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มจักสานไม้ไผ่และหวาย ตำบลกลางแดด อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งปัจจุบันยังใช้มีดจักตอก โดยการสังเกตและจับเวลา ร่วมกับการบันทึกข้อมูลด้วยภาพแสดงลักษณะของเครื่องมือและวิธีการผ่าไม้ไผ่ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 2. ศึกษาประสิทธิภาพการจักตอกไม้ไผ่ด้วยวิธีการใช้มีดผ่าด้วยการใช้แรงงานคนโดยการจักตอกไม้ไผ่ออกเป็นซี่เล็ก ตามขนาดความกว้างของเส้นตอก 3. การออกแบบและสร้างเครื่องจักตอกไม้ไผ่ สำหรับขั้นตอนของการออกแบบเครื่องจักตอกไม้ไผ่ผู้วิจัยจะนำข้อมูลจากการศึกษาข้อดี – ข้อด้อย - ปัญหาที่เกิดกับเครื่องจักตอกไม้ไผ่ที่ได้มีการสร้างมาก่อนหน้า ผนวกกับข้อมูลด้านความต้องการอันเกี่ยวกับสมรรถนะของเครื่องจักรกลการผลิตที่สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มผู้ใช้เครื่องจักตอกไม้ไผ่ 3.นำผลที่ได้จากการวิเคราะห์มาออกแบบและพัฒนาใบมีดและลักษณะการป้อนตอกเข้าเครื่องด้วยกระบวนการทางคอมพิวเตอร์เพื่อให้เครื่องจักรจอกสามารถจักตอกได้ขนาด 0.1 0.2 และ 0.3 มิลลิเมตร 4.สร้างและพัฒนาเครื่องจักตอก 5.ทดสอบประสิทธฺภาพเครื่องจักตอกและนำผลการที่ได้มาวิเคราะห์ สรุปงานวิจัยเพื่อทำการเผยแพร่ต่อไป
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
ชาวบ้านไม่มีเครื่องจักรกลมาช่วยทุ่นแรง ทำให้เกิดความล่าช้าและเสียเวลาในขั้นตอนการผลิตในขั้นตอนต่อไป ยังก่อให้เกิดปัญหาในเรื่องของวัตถุดิบไม่ได้ขนาดและขาดความเป็นมาตรฐานและไม่สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายได้ ผลผลิตที่ได้ต่อวัน มีจำนวนน้อย อีกทั้งเครื่องจักตอกที่มีใช้ในปัจจุบันยังไม่สามารถจักตอกให้มีขนาด 0.1 – 0.3 มิลลิเมตรได้ เนื่องจากปัญหาด้านใบมีดและลูกกลิ้งส่งตอก จะทำให้ตอกที่มีขนาดบางแตก จากปัญหาที่เกิดขึ้นในขั้นตอนของการเตรียมวัตถุดิบเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มจักสานไม้ไผ่และหวาย ตำบลกลางแดด อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ จึงทำให้ทางคณะผู้วิจัยได้คิดที่จะออกแบบใบมีดและสร้างเครื่องจักตอกเพื่อลดระยะเวลาในการจัดเตรียมวัตถุดิบของชาวบ้าน และทำให้ชาวบ้านมีเวลามากพอที่จะผลิตเครื่องจักสาน ในปริมาณที่มากขึ้น เพื่อให้ได้จำนวนชิ้นงานที่ผลิตต่อวันมีจานวนที่เพิ่มขึ้นกว่าเดิมและสามารถสนองความต้องการของตลาด อีกทั้งยังแก้ไขปัญหาและช่วยพัฒนา ศักยภาพด้านการผลิตของกลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานไม้ไผ่ต่อไป
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 นางศรัณรัตน์ คงมั่น นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 40%
2 นายกฤษณะ ร่มชัยพฤกษ์ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 20%
3 นายปฐมพงค์ จิโน นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 20%
4 นายจุติพรรษ์ อนิวรรตกูล นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 20%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย