รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
แนวทางการออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์เพื่อสื่อรสชาติ รูปลักษณ์ ของผลิตภัณฑ์น้ำผึ้ง กลุ่มยุวเกษตรกรบ้านชุมยาง อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
Approach graphic design on the packaging to communicate Flavors and Look of honey products.
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
12 กุมภาพันธ์ 2558
วันสิ้นสุดโครงการ :
11 กุมภาพันธ์ 2559
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยประยุกต์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         บรรจุภัณฑ์นอกเหนือจากการปกป้องรักษาสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ส่วนประกอบภายนอกของโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ ยังทำหน้าที่อีก 2 บทบาทหลัก คือ การโฆษณาและการขาย (ปุ่น คงเจริญเกียรติ และสมพร คงเจริญเกียรติ, 2541) อีกทั้งยังสามารถแสดงข้อมูลอาหาร เช่น ข้อมูลด้านโภชนาการ ส่วนประกอบของอาหาร วันที่ผลิต วันหมดอายุ คำแนะนำ และเครื่องหมายเลขทะเบียนหรือเลขอนุญาตจากคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ดังนั้น บรรจุภัณฑ์จึงเป็นสิ่งที่แสดงรวมไว้ซึ่งรูปร่างลักษณะของภาชนะบรรจุและการออกแบบ สีสัน รูปร่าง ตราฉลาก ข้อความโฆษณาประชาสัมพันธ์ ให้สามารถเรียกร้องความสนใจจากผู้บริโภคให้หยิบยกเอาผลิตภัณฑ์ขึ้นมาพิจารณา เพื่อตัดสินใจเลือกซื้อ บทบาทในหน้าที่นี้จึงเปรียบจึงเปรียบเสมือน การสร้างบรรจุภัณฑ์ให้เป็น พนักงานขายเงียบ ที่ทำหน้าที่โฆษณา ประชาสัมพันธ์ แทนคน ณ บริเวณจุดซื้อ น้ำผึ้ง เป็นสินค้าเกษตรชนิดหนึ่งที่ไทยมีศักยภาพการผลิตและส่งออกสูง โดยปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีปริมาณการส่งออกน้ำผึ้ง จำนวน 8,945.17 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 577.64 ล้านบาท มีตลาดส่งออกหลัก คือ ประเทศเยอรมนี ไต้หวัน และซาอุดีอาระเบีย กรมส่งเสริมการเกษตร มีนโยบายที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตสินค้าเกษตรให้แข่งขันกับต่างประเทศโดยการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าเกษตรและสร้างความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งน้ำผึ้งเป็นสินค้าทางการเกษตรชนิดหนึ่งที่มีศักยภาพในการแข่งขันในตลาดโลก จึงสนับสนุนให้เกษตรกรเห็นความสำคัญในเรื่องของมาตรฐานการผลิต เพื่อให้ได้น้ำผึ้งที่มีคุณภาพแก่ผู้บริโภค และเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งได้ราคาน้ำผึ้งที่สมเหตุผลสอดคล้องกับคุณภาพของน้ำผึ้ง รวมถึงการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้สวยงามเพื่อก่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภค และเพิ่มมูลค่าสินค้าผลิตภัณฑ์ผึ้งเป็นการยกระดับน้ำผึ้งไทยสู่ครัวโลก(หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันที่ 28 สิงหาคม 2556) กลุ่มยุวเกษตรกรบ้านชุมยาง อ.ทัพทัน จ.อุทันธานี เป็นกลุ่มเกษตรกรที่รวมตัวเลี้ยงผึ้งเป็นอาชีพเสริมการการทำสวนผลไม้ เกษตรกรมีรายได้จากการขายน้ำผึ้ง ในขณะเดียวกันผึ้งช่วยผสมเกสรให้กับพืชผลไม้ เป็นกลุ่มเกษตรกรที่มีความเข้มแข็ง และต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์น้ำผึ้งให้มีคุณภาพ มาตรฐาน การวิจัยเพื่อหาแนวทางการออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์เพื่อสื่อรสชาติ รูปลักษณ์ ของผลิตภัณฑ์น้ำผึ้ง จะเกิดประโยชน์กับกลุ่มชุมชนในประเทศไทย ที่ต้องการพัฒนาบรรจุภัณฑ์น้ำผึ้งเพื่อขายในประเทศหรือเพื่อส่งออก ทั้งนี้ไม่เพียงแต่จะเกิดประโยชน์เฉพาะชุมชนท้องถิ่นในด้านการพัฒนาประชาชนเท่านั้น ยังเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิต กระจายรายได้ไปยังส่วนภูมิภาคและกระจายกิจกรรมทางเศรษฐกิจ(นิพนธ์ เชื้อเมืองแมน,2542) อีกด้วย ดังนั้นเพื่อให้เกิดประสิทธิผลของการออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ที่มีผลต่อผู้บริโภคในการรับรู้ข้อมูลเพื่อตัดสินใจเลือกซื้อ จึงมีการค้นคว้าแนวทางในการใช้องค์ประกอบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์เพื่อสื่อรสชาติ รูปลักษณ์ ของผลิตภัณฑ์น้ำผึ้ง ซึ่งจะเป็นตัวนำเสนอและบ่งบอกรสชาติ หน้าตา ของผลิตภัณฑ์นั้นๆได้ รวมถึงต้องมีความสวยงามเพียงพอที่จะดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคให้หยิบจับสินค้าเหล่านั้นขึ้นมาจนเกิดการตัดสินใจซื้อ
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1. เพื่อหาบุคลิกภาพที่เหมาะสมสำหรับผลิตภัณฑ์น้ำผึ้ง 2. เพื่อกำหนดแนวทางการออกแบบกราฟิก ที่สื่อถึงรสชาติ รูปลักษณ์ ของผลิตภัณฑ์น้ำผึ้ง 3. เพื่อประเมินการรับรู้ของผู้บริโภคที่มีต่อกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์น้ำผึ้ง
ขอบเขตของโครงการ :
1.ศึกษาทฤษฎีและวิเคราะห์รูปแบบของบรรจุภัณฑ์ โดยเน้นที่รูปแบบกราฟิก 2 มิติ เฉพาะองค์ประกอบกราฟิกที่สำคัญ ได้แก่ ภาพ สี สัญลักษณ์ ตัวอักษร และการจัดองค์ประกอบ 2. รวบรวมกลุ่มตัวอย่างเฉพาะที่เป็นบรรจุภัณฑ์น้ำผึ้งที่เป็นของกลุ่มเกษตรกร ที่วางจำหน่ายในจังหวัดอุทัยธานี เท่านั้น 3. ออกแบบต้นแบบบรรจุภัณฑ์เฉพาะกลุ่มยุวเกษตรกรบ้านชุมยาง อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
1. สร้างบุคลิกภาพที่เหมาะสมสำหรับผลิตภัณฑ์น้ำผึ้ง 2. ได้แนวทางการออกแบบกราฟิก เพื่อสื่อรสชาติ รูปลักษณ์ ของผลิตภัณฑ์น้ำผึ้ง 3. ทราบถึงการรับรู้ของผู้บริโภคที่มีต่อกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์น้ำผึ้ง 4. สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับกลุ่มเกษตรกรอื่นๆได้ 5. สามารถนำมาบูรณการ เข้ากับเรียนการสอนในวิชาการออกแบบกราฟิก 4 ได้
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         1. ขั้นตอนหาบุคลิกภาพที่เหมาะสมสำหรับผลิตภัณฑ์น้ำผึ้ง - ศึกษาและรวบรวมทฤษฎีของการออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ - รวบรวมตัวอย่างบรรจุภัณฑ์ที่เป็นบรรจุภัณฑ์น้ำผึ้งที่มีขายอยู่ทั่วไปในท้องตลอด - จำแนกบุคลิกภาพของบรรจุภัณฑ์น้ำผึ้ง ได้แก่ ภาพ สี สัญลักษณ์ ตัวอักษร - กำหนดบุคลิกภาพของบรรจุภัณฑ์น้ำผึ้งร่วมกันระหว่างกลุ่มเกษตรกรและผู้วิจัย 2. ขั้นตอนกำหนดแนวทางการออกแบบกราฟิก เพื่อสื่อรสชาติ รูปลักษณ์ ของผลิตภัณฑ์น้ำผึ้ง - สังเคราะห์ผลที่ได้จากการวิเคราะห์บรรจุภัณฑ์ตัวอย่างที่รวบรวมมาเข้ากับทฤษฏีองค์ประกอบศิลป์ ที่แสดงถึง รสชาติ และ รูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ และแสดงถึงบุคลิกภาพของบรรจุภัณฑ์น้ำผึ้งได้ ผู้วิจัยได้กำหนดประเด็นในการออกแบบให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์ แบ่งออกเป็น 2 ประเด็น ดังนี้ ประเด็นที่ 1 การรับรู้รสชาติ สื่อด้วยกลุ่มสี ที่ทำให้ผู้บริโภครับรู้ถึงรสชาติของผลิตภัณฑ์ ประเด็นที่ 2 การรับรู้รูปลักษณ์ สื่อด้วยภาพและลวดลายกราฟิก ที่ทำให้ผู้บริโภครับรู้ถึงลักษณะของผลิตภัณฑ์ -ออกแบบและพัฒนารูปแบบตามแนวทางที่ได้สังเคราะห์ร่วมกันระหว่างเกษตรกรและผู้วิจัยเพื่อให้ได้รูปแบบขององค์ประกอบสี สัญลักษณ์ ภาพ และตัวอักษร ที่ออกแบบจัดวางให้เกิดรูปแบบกราฟิกต้นแบบสำหรับบรรจุภัณฑ์น้ำผึ้ง 3. ขั้นตอนประเมินการรับรู้ของผู้บริโภคที่มีต่อกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์น้ำผึ้ง - ประเมินโดยใช้แบบสอบถาม พร้อมภาพประกอบต้นแบบบรรจุภัณฑ์ ผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์น้ำผึ้ง
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 นายจิรทัศน์ ดาวสมบูรณ์ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 50%
2 นางสาวเพ็ญนภา มณีอุด นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 50%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย