มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
สถาบันวิจัยและพัฒนา
ระบบจัดการงานวิจัย
NSRU
RESEARCH
หน้าหลัก
ค้นหารายการ
ข้อมูลงานวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
รายงานสถิติ
งานวิจัย
งานทรัพย์สินทางปัญญา
เข้าสู่ระบบ
รายละเอียดโครงการวิจัย
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
แนวทางการปฏิบัติตามระเบียบเพื่อลดความผิดพลาดในการปฏิบัติงานด้านวิจัย ด้านบริการทางวิชาการและทรัพย์สินมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
Regulation Guideline for Decrease Falsity in Research Operations Academic Services and Property of Nakhon Sawan Rajabhat University Personal
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
30 พฤศจิกายน 2563
วันสิ้นสุดโครงการ :
29 พฤศจิกายน 2564
ประเภทของการวิจัย :
การวิจัยพื้นฐาน
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
แม้ว่ามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์จะเป็นสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำเพื่อการพัฒนาในระดับชุมชนท้องถิ่นจัดมีการจัดการศึกษาด้านวิชาการและวิชชาชีพชั้นสูงสืบสานงานด้านพระราชดำริตามแนวทางศาสตร์พระราชาทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรด้านการศึกษาให้มีคุณภาพสู่ระดับสากล มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์มีความจำเป็นต้องส่งเสริมให้คณาจารย์และอาจารย์ตลอดจนบุคลากรภายในไปทำการศึกษาวิจัยและงานด้านการบริการทางวิชาการเพื่อพัฒนาต่อยอดด้านองค์ช่วยสร้างเสริมความรู้ และแก้ปัญหาที่ตามมาในระดับองค์กรให้สำเร็จได้ตามเป้าหมายเพื่อลดปัญหาความผิดพลาด ทำให้อาจารย์และคณาจารย์รุ่นใหม่สามารถดำเนินการขอทุนเพื่อพัฒนางานด้านการวิจัย ด้านบริการทางวิชาการ และทางทรัพย์สิน อันเนื่องมาจากผู้ขอรับทุนจะได้ไม่เกิดความผิดพลาดเป็นการบรรเทาอุปสรรคและช่วยแก้ปัญหาให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเป็นการป้องปราม ภาพรวมให้ดำเนินการตามขั้นตอนของระเบียบกฎหมาย จากปัญหาที่กล่าวมาทำให้ ผู้ขอรับทุนการวิจัยและงานทางวิชาการ เกิดความเข้าใจเข้าใจและตระหนักถึงคุณค่าและโอกาสที่ตนเองได้รับเพื่อที่จะให้ได้รับเงินได้สะดวกรวดเร็วไม่ผิดกฎหมาย เมื่อมีการติดตามเงินทุนจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) ก็จะไม่ต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย อีกทั้งยังช่วยบรรเทามิให้เกิดการตรวจสอบและการดำเนินคดีจากสำนักงานคณะกรรมการปราบปรามการทุจริต (ปปช.) ซึ่งหน่วยงานทั้งสองนี้ก็เริ่มเข้ามาตรวจสอบและดำเนินคดีกับบุคลากรของรัฐในส่วนราชการอื่น ๆ มากมาย ดังนั้นเพืิ่อลดปัญหาการใช้เงินทุนที่ถูกระเบียบและขั้นตอน ตลอดจนป้องกันปัญหาคดีความตามมาในภายหลัง ทำให้มหาวิทยาลัยไม่สูญเสียรายได้ค่าบริการทางวิชาการ ซึ่งค่าธรรมเนียมในแต่ละโครงการมีมากถึงล้านบาทต่อปี อีกทั้งยังเป็นหนทางบรรเทาความเดือดร้อนของคณาจารย์และอาจารย์ที่ได้รับผลกระทบจากข้อกฎหมายหรือระเบียบปฏิบัติที่มีค่าปรับที่สูงและดอกเบี้ยผิดนัดถึงร้อยละ ๑๕ ต่อปีเพื่อจะแก้ปัญหาให้กับคณาจารย์และอาจารย์ตลอดจนได้บุคลากรที่มีคุณภาพสามารถพัฒนามหาวิทยาลัยไปสู่ระดับมาตรฐานสากล
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
๑.รวบรวมข้อมูลและศึกษากรณีปัญหาอาจารย์ที่ขอรับทุนอุดหนุนการวิจัยและการบริการทางวิชาการไม่สำเร็จตามโครงการภายในระยะเวลาที่กำหนด๒. สังเคราะห์การวิจัยข้อดี ข้อเสีย ๓.จัดทำข้อดี ข้อเสีย หาทางแก้ไข ปรับปรุงและสร้างโมเดลของปัญหาในแต่ละกรณีที่ทำการศึกษา ๔. ขั้นตอนวิธีการเสนอผู้บริหาร เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปีััญหา๕.ลดปัญหาการถูกตรวจสอบและดำเนินคดีจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) สำนักงานคณะกรรมการและปราบปรามการทุจริต (ปปช.)๕.บรรเทาการถูกฟ้องร้องดำเนินคดีในชั้นศาล ๖.สร้างกรอบและระเบียบปฏิบัติให้เป็นประโยชน์ต่อสถาบันวิจัยและพัฒนาของมหาวิทนาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :
ขอบเขตการวิจัย ขอบเขตด้านประชากร บุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ผู้รับทุนด้านวิจัย ด้านบริการทางวิชาการ และทรัพย์สินศึกษาปัญหาเริ่มทำสัญญาจนถึงผิดสัญญาไม่สำเร็จตามโครงการตามเป้าประสงค์ ลดปัญหาการดำเนินงานที่มีข้อพิพาท ระเบียบ กฎหมาย ลดปัญหาการตรวจสอบจากหน่วยงานภาครัฐ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
๑. บุคลากรมหาวิทยาลัยราภัฏนครสวรรค์กระทำถูกตามขั้นตอนของระเบียบกฎหมาย๒.ลดปัญหาการกระทำผิดระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ๓.ลดปัญหาการกระทำผิดต่อสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.)๔.ลดปัญหาการถูกดำเนินคดีจากสำนังานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ๕.ลดขั้นตอนและกระบวนการทำงานของบุคลากรในสถาบันวิจัยและพัฒนาของมหาวิทยาลัย ๖.ป้งอกันกรณีพิพาทระหว่างอาจารย์หรือผู้ขอรับทุนการทำวิจัยกับผู้บริหาร
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
วิธีการดำเนินการวิจัย ๑.รวบรวมข้อมูลและศึกษากรณีปัญหาการขอรับทุนอุดหนุนการวิจัย ๒. สังเคราะห์การวิจัยข้อดี ข้อเสีย๓.ทำข้อดี ข้อเสีย หาทางแก้ไข ปรับปรุงและสร้างโมเดลของปัญหาในแต่ละกรณีที่ทำการศึกษา๔. ขั้นตอนวิธีการเสนอผู้บริหาร เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปีััญหา สถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่
รายชื่อ
ประเภทนักวิจัย
บทบาทหน้าที่
สัดส่วน
1
นายรังสรรค์ คำแสน
นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย
หัวหน้าโครงการวิจัย
100%
สถาบันวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130
หมายเลขโทรศัพท์
056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย
website
rdi.nsru.ac.th
Smart Rdi Nsru