รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตถั่วงอกเกษตรอินทรีย์ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มพัฒนาอาชีพยั่งยืนบ้านเขาดิน จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
Technology for increase productivity of organic sprouts (Ban Khao Din Community Enterprise, Nakhonsawan
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
2 พฤศจิกายน 2563
วันสิ้นสุดโครงการ :
30 มิถุนายน 2564
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยบูรณาการ
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
          จากการลงพื้นที่สำรวจการผลิตอาหารปลอดภัยของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มพัฒนาอาชีพยั่งยืนบ้านเขาดิน จังหวัดนครสวรรค์ นั้นพบว่าผลผลิตของทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่น่าสนใจคือ การเพาะพืชแบบเกษตรอินทรีย์ และได้รับการรับรองจากกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ มกษ. 9000 เล่ม 1-2552 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แหล่งผลิตพืชอินทรีย์ รหัสรับรอง TAS : 54685 ปัจจุบันทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแห่งนี้ได้เริ่มการผลิตการเพาะถั่วงอก ซึ่งเป็นพืชชนิดหนึ่งที่ได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และถั่งงอกเป็นอาหารชนิดหนึ่งที่น่าสนใจเนื่องจากการผลิตโดยทั่วไปส่วนใหญ่มีการใช้สารเคมีสะสมสูง เนื่องจากผู้ผลิตส่วนใหญ่ต้องการใช้สารเคมีเพื่อทำให้ขาว ไม่ให้ดำ ดังนั้นการเพาะถั่วงอกส่วนใหญ่จึงพบสารอันตรายตกค้างเป็นส่วนมาก ดังนั้นจึงเป็นจุดเด่นของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแห่งนี้ที่สามารถดำเนินการปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ แต่อย่างไรก็ตามในกระบวนการผลิตส่วนใหญ่ใช้แรงงานคน ยังไม่แพร่หลาย และยังไม่สามารถผลิตได้เท่ากับที่ตลาดต้องการ ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อช่วยในการวางแผนการผลิต ช่วยลดการใช้แรงงานคน เน้นการผลิตให้ได้ปริมาณมากขึ้น เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของตลาดคนรักสุขภาพที่มีความต้องการผลิตภัณฑ์ได้ตามต้องการ
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1. เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีเพ่อช่วยในการวางแผนการผลิตในการเพาะถั่วงอกอินทรีย์ของกลุ่มวิสาหกิจชมุชน 2. เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
ขอบเขตของโครงการ :
1. แปลงปลูกถั่งงอกเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองการเพาะพืชแบบเกษตรอินทรีย์ จากกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ มกษ. 9000 เล่ม 1-2552 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แหล่งผลิตพืชอินทรีย์ รหัสรับรอง TAS : 54685 2. เกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มพัฒนาอาชีพยั่งยืนบ้านเขาดิน จังหวัดนครสวรรค์ 3. ออกแบบเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มศักยภาพในการวางแผนการผลิตถั่วงอกเกษตรอินทรีย์ 4. ถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มศักยภาพในการวางแผนการผลิตผลิตถั่วงอกเกษตรอินทรีย์ 5.ได้เทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับวางแผนการผลิตการเพาะถั่วงอกแบบเกษตรอินทรีย์ 6. เกษตรกรสามารถวางแผนการผลิตได้
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
สำหรับชุมชน 1.ได้เทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับการเพาะถั่วงอกแบบเกษตรอินทรีย์ 2. เกษตรกรที่มีความสนใจการเพาะถั่วงอกแบบเกษตรอินทรีย์ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มพัฒนาอาชีพยั่งยืนบ้านเขาดิน จังหวัดนครสวรรค์ สำหรับนักศึกษา 1.ได้นำทฤษฎีและความรู้เกี่ยวกับการออกแบบเทคโนโลยีเพื่อช่วยในการผลิตถั่วงอก 2.การฝึกปฏิบัติเพื่อบูรณาการร่วมกับการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จริง เพื่อใช้ทักษะความรู้ ความรับผิดชอบ การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         สถานที่ดำเนินการวิจัย กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มพัฒนาอาชีพยั่งยืนบ้านเขาดิน จังหวัดนครสวรรค์ เลขที่ 38/1 หมู่ 4 ตำบลเขาดิน อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ พิกัดที่ตั้ง 15.826396, 100.074595 วิธีการดำเนินการวิจัย 1. การลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลพื้นฐาน โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นสมาชิกของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มพัฒนาอาชีพยั่งยืนบ้านเขาดิน จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 20 ท่าน โดยผูวิจัยใช้วิธีการเลือกแบบจำเพาะเจาะจงให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย โดยศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้น และนำไปสู่การวางแผน 2. การออกแบบเทคโนโลยี โดยดำเนินการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น และวางแผนในการแก้ปัญหาโดยใช้โปรแกรม VBAช่วยในการวางแผนการผลิต 3. การทดลองและวิเคราะห์ผล ดำเนินการตามแผนโดยนำเทคโนโลยีที่ออกแบบได้นำมาทดลองและวิคราะห์ผล 4. การถ่ายทอดเทคโนโลยี ดำเนินการถ่ายทอดการกวางแผนการผลิตโดยใช้โปรแกรม VBA ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 5. การสรุปผลโครงการ
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
เป็นโครงการวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรมโดยการมีส่วนร่วมของนักศึกษาในการพัฒนาชุมชน โดยใช้ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีในการพัฒนาวางแผนระบบการผลิตการเพาะถั่วงอกเกษตรอินทร่ีย์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มพัฒนาอาชีพยั่งยืนบ้านเขาดิน และร่วมถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับสมาชิกในกลุ่มเพ่ือนำไปพัฒนาการวางแผนการผลิต ซึ่งนักศึกษามีส่วนร่วมในการดำเนินงานตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผน การออกแบบ และการนำไปใช้งานให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจต่อไป
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์กรรณิการ์ มิ่งเมือง นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 20%
2 นายสว่าง แป้นจันทร์ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย รองหัวหน้าโครงการวิจัย 20%
3 นายปิยะกิจ กิจติตุลากานนท์ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 15%
4 นางมาศสกุล ภักดีอาษา นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 15%
5 นางสาวภริตา พิมพันธุ์ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 15%
6 นายวัชระ ชัยสงคราม นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 15%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย