มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
สถาบันวิจัยและพัฒนา
ระบบจัดการงานวิจัย
NSRU
RESEARCH
หน้าหลัก
ค้นหารายการ
ข้อมูลงานวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
รายงานสถิติ
งานวิจัย
งานทรัพย์สินทางปัญญา
เข้าสู่ระบบ
รายละเอียดโครงการวิจัย
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะสมองของเด็กปฐมวัยโดยการใช้กิจกรรมการเล่นละครและบทบาทสมมติ
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
The Development Learning Process Brain skills Executive Functions of Early Childhood Students By Drama Activity and role play
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะครุศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
11 ธันวาคม 2562
วันสิ้นสุดโครงการ :
10 ธันวาคม 2563
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยเพื่อการเรียนการสอน
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
ที่ทำการวิจัย ในยุคของการปฏิรูปการศึกษาได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาการคิดดังปรากฏในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 มาตรา 24 เกี่ยวกับการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยกำหนดให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตาม (2) ความว่า “ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา”ในปีพ.ศ. 2545 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม ด้วยการกำหนดให้มีการปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ (สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. 2545 : 1) เป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างรูปแบบ กระบวนการจัดการเรียนการสอน การบริหารจัดการและระบบสนับสนุนต่าง ๆ ไม่ด้านงบประมาณอุปกรณ์เครื่องมือหรือเทคโนโลยีเป้าหมายของการปฏิรูปคือ พัฒนาให้เด็กเยาวชน และคนไทยเป็นคนดีมีคุณธรรมเป็นคนเก่ง คิดดีทำงานได้ดีมีคุณภาพ มีความเป็นไทย สามารถปรับตัวได้เหมาะสมกับสถานการณ์โลกและสังคมที่เปลี่ยนแปลงซึ่งคุณภาพของคนไทยดังกล่าวจะเป็นทรัพยากรสำคัญสำหรับการอยู่รอดและการพัฒนาของประเทศไทยในกระแสสังคมยุคใหม่ที่ต้องใช้ความรู้เป็นเครื่องมือสำคัญของการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิต การคิดเป็นความสามารถของสมองที่ประมวลข้อมูลที่ได้จากการรับรู้มาสร้างเป็นองค์ความรู้ในตนซึ่งสามารถพัฒนาขึ้นได้ตั้งแต่วัยเรียน ”กระบวนการคิด” จึงเป็นสิ่งที่โรงเรียนต้องจัดให้ผู้เรียนทุกระดับชั้นเช่นเดียวกับการศึกษาปฐมวัย ซึ่งปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัดใน “หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560” ในการกำหนดจุดหมายซึ่งถือเป็นมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย(2560 : 26) สำหรับเด็กอายุ 3-5 ปีเกี่ยวกับเรื่องการคิดในข้อที่ 10 ว่า“มีความสามารถในการคิดและการแก้ปัญหาได้เหมาะสมกับวัย” และพัฒนาการเกี่ยวกับกระบวนการคิดของเด็กในแต่ละวัยคือ เด็กอายุ 3 ปีสร้างผลงานตามความคิดของตนเองอย่างง่ายๆ เด็กอายุ 4 ปีพยายามแก้ปัญหาด้วยตนเองหลังจากได้รับคำชี้แนะ เด็กอายุ 5 ปี พยายามแก้ปัญหาด้วยตนเองครูปฐมวัยและผู้เกี่ยวข้องต้องพิจารณาในการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมการสอนการคิดให้เหมาะกับเด็กแต่ละวัยโดยนำสาระการเรียนรู้เป็นสื่อกลางในการจัดการกิจกรรมให้กับเด็ก ในลักษณะบูรณาการไม่เน้นเนื้อหา การท่องจำ ให้ฝึกทักษะที่สำคัญและจำเป็นสำหรับเด็ก ได้แก่ ทักษะการเคลื่อนไหวทักษะการคิด ทักษะการใช้ภาษา คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เป็นต้น ทักษะ EF ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “ExecutiveFunctions”เป็นทักษะในการทำหน้าที่ระดับสูงของสมองที่ช่วยให้เกิดการกำกับตนเอง เพื่อให้เกิดพฤติกรรมที่มุ่งสู่เป้าหมายได้โดยมีสมองส่วนหน้าสุด ทำหน้าที่เป็นทำงานร่วมกับสมองอีกหลายส่วน ช่วยให้เกิดการกำกับตนเองในด้านอารมณ์ ความคิด และการกระทำ ไม่หุนหันพลันแล่นคิดไตร่ตรองก่อนทำ (นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล และคณะ. 2560) ทักษะ นับเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21ที่เด็กต้องเผชิญทั้งกับปัญหา และโอกาสต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาอย่างมากมายการวางรากฐานของทักษะ มีความสำคัญยิ่งต่อการฝึกฝนเด็กให้มีความสามารถในการคิดเป็นยับยั้งชั่งใจ ควบคุมอารมณ์ตนเองได้ อยู่กับคนอื่นเป็น ทำงานเป็น รู้จักริเริ่มรู้จักวางแผน และ ลงมือทำด้วยความอุตสาหะ มีความแน่วแน่ มั่นคงสู่เป้าหมาย(สุภาวดี หาญเมธี. 2559) ทักษะ ทีดีย่อมส่งผลต่อความสำเร็จในการเรียนการทำงาน และการอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขแต่หากเด็กมีความบกพร่องของทักษะ ก็จะนำมาซึ่งปัญหาพฤติกรรมและปัญหาสังคมต่าง ๆ ตามมาเมื่อโตขึ้น (นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล และคณะ. 2560)ดังนั้น เด็กจะมีชีวิตที่ประสบผลสำเร็จจำเป็นต้องทีทักษะที่ดี การพัฒนา EF ในเด็กปฐมวัยนับเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการพัฒนาทักษะEF ด้านต่าง ๆ ให้กับเด็กเพราะเป็นช่วงที่สมองส่วนหน้าพัฒนามากที่สุด (สุภาวดี หาญเมธี. 2559) การมีทักษะ จะช่วยให้เด็กสามารถฟันฝ่าอุปสรรค ทักษะ ช่วยให้เขาลุกขึ้นสู้ต่อไปได้การส่งเสริม EF ทุกด้านจะช่วยให้เด็กมีทักษะปรับตัวและฟื้นตัวหลังเหตุการณ์วิกฤตได้ทักษะ เป็นคุณสมบัติที่ช่วยให้บุคคลดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข การพัฒนาเด็กให้มีทักษะที่ดี คงไม่สามารถสร้างได้ภายในระยะเวลาอันสั้น แต่ต้องค่อย ๆแทรกซึมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิตประจำวันของเด็ก การจัดการศึกษาปฐมวัยเป็นการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับการพัฒนาทักษะ ให้มีความแข็งแรง เนื่องจากมีแนวการจัดกิจกรรมในลักษณะแบบการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ ผ่านการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น การอ่านนิทาน การร้องเพลง กิจกรรมเคลื่อนไหว และดนตรี การเล่นอิสระ การเล่นละคร การเล่นบทบาท การทำงานบ้าน การไปทัศนศึกษา และการอ่านในรูปแบบต่าง ๆ การเล่นละครเป็นสื่อ นำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้อันหลากหลาย เนื่องจากละครมีองค์ประกอบหลายอย่างที่เด็กต้องคิด และลงมือทำจริง เป็นการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงการเล่นละครหรือการสมมุติบทบาทจากเรื่องราวในนิทานทำให้เด็กต้องฝึกคิดเชื่อมโยงนำข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับรู้กับความรู้เดิมที่มี แล้วสังเคราะห์ส่งผ่านออกมาเป็นการกระทำ การเล่นละครหรือการแสดง ช่วยให้เด็กเกิดความเข้าใจในสิ่งที่กำลังเรียนรู้ได้ชัดเจนมากขึ้นซึ่งการเล่นละครนำพาไปสู่การจำลองสถานการณ์ที่ท้ายจริงช่วงเวลาที่สร้างสรรค์จะเปิดโอกาสให้เด็กได้สำรวจตรวจสอบความคิดของตนเองอย่างจริงจังโดยไม่รู้ตัวบทสนทนาที่เด็กพูดขณะสมบทบาทจะสะท้อนว่าเด็กสื่อสารอย่างไรเด็กคิดอย่างไร เกี่ยวกับตัวละครนั้น ประเด็นสำคัญของการเล่นละคร คือเด็กสามารถทำได้อย่างเต็มที่ไม่มีแรงกดดันและไม่กลัวผิดนอกจากนี้การเล่นละครยังช่วยส่งเสริมวิธีการเรียนรู้และทักษะการทำงานร่วมกันส่งเสริมจินตนาการและการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเรียนรู้วิธีการอยู่ร่วมกันโดยเอาใจเขามาใส่ใจเรา ส่งเสริมเทคนิคการใช้ร่างกายอย่างถูกต้องเพิ่มทักษะการใช้ภาษาได้อย่างลุ่มลึกสร้างความมั่นใจ กล้าแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ และเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง(ภูวฤทธิ์ 2561) ส่วนนิทานจัดเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ได้รับความสนใจจากครู พ่อ แม่และผู้เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย ในการนำมาเป็นสื่อกลาง เพื่อเร้าความสนใจและกระตุ้นให้เด็กเกิดทักษะการเรียนรู้เชื่อมโยงกับกระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์ ตลอดจนปลูกฝังลักษณะนิสัยพฤติกรรมที่ดีงามและหากยิ่งนิทานนั้นเป็นนิทานที่คัดสรรมาเป็นอย่างดีว่าสามารถช่วยพัฒนาสมองของเด็ก ได้แก่ การจดจ่อตั้งใจฟัง เด็กต้องยั้งใจตนจากการไปทำกิจกรรมอย่างอื่นเด็กได้คิด รู้สึก หรือจินตนาการไปตามเนื้อหาโดยนำข้อมูลใหม่ไปเชื่อมโยงกับข้อมูลเดิมในสมอง หากข้อมูลใหม่แตกต่างไปจากข้อมูลเดิม เด็กอาจเกิดการปรับเปลี่ยนความคิด ยามที่นิ่งฟังภาวะอารมณ์ของเด็กจะสงบหรือไหลลื่นไปตามท้องเรื่อง บางครั้งเนื้อหาอาจพาให้เด็กได้สะท้อนคิดกลับมาถึงตนเองสอดคล้องกับ สุภาวดี หาญเมธ (2559) ที่กล่าวถึงทักษะ ที่เกิดขึ้นจากการอ่าน รูปทรงสีสันในภาพที่เห็นเสียงอ่านของแม่ที่อบอุ่นชวนฟัง แม้ยังไม่เข้าใจเรื่องราว แต่ก็เกิดความสนใจ ใส่ใจจดจ่อหน้าหนังสือที่ถูกพลิกเปิดรูปและเสียงที่เปลี่ยนไป ทำให้สมองต้องยืดหยุ่นปรับตัวอ่านซ้ำหลายครั้ง เกิดการบันทึกจดจำ เก็บภาพ เก็บเสียงเก็บเรื่องราวค่อยๆ รู้เรื่องขึ้นตามเวลา จนสามารถหยิบเอาความจำเหล่านั้นมาใช้ได้การนั่งบนตักนิ่มๆอยู่ในอ้อมแขนอบอุ่นของแม่ น้ำเสียงอ่อนโยนสร้างความผูกพันที่นำไปสู่ความไว้ใจดังนั้นผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาและพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะสมองEF(Executive Functions) ของเด็กปฐมวัยพิจารณาจากทักษะ EF(Executive functions) สำหรับเด็กปฐมวัย 6 ด้าน คือ ริเริ่ม ลงมือทำ มุ่งเป้าหมาย และเพียรพยายาม ความจำเพื่อใช้งานยืดหยุ่นความคิดวางแผนและจัดระบบดำเนินการ การควบคุมอารมณ์ โดยการใช้กิจกรรมการเล่นละครและบทบาทสมมติ
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
3.1เพื่อสร้างและพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะสมอง ของเด็กปฐมวัยโดยการใช้กิจกรรมการเล่นละครและบทบาทสมมติ 3.2เพื่อศึกษาผลการใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะสมอง ของเด็กปฐมวัยโดยการใช้กิจกรรมการเล่นละครและบทบาทสมมุติประกอบด้วย 3.2.1เปรียบเทียบทักษะสมอง ของนักศึกษาที่ได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้กิจกรรมการเล่นละครและบทบาทสมมติก่อนและหลังการทดลอง 3.2.2เปรียบเทียบทักษะสมอง ระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้กิจกรรมการเล่นละครและบทบาทสมมุติและกลุ่มที่ไม่ได้รับการจัดกิจกรรม โดยใช้กิจกรรมการเล่นละครและบทบาทสมมุติ ก่อนและหลังการจัดกิจกรรม 3.3เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาได้รับกระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะสมอง ของเด็กปฐมวัยโดยการใช้กิจกรรมการเล่นละครและบทบาทสมมติ 3.4 เพื่อนำกระบวนการการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะสมองของเด็กปฐมวัย โดยการใช้กิจกรรมการเล่นละครและบทบาทสมมติไปเผยแพร่ให้แก่ครู ผู้ดูแลเด็กปฐมวัยในโรงเรียนศูนย์พัฒนาเด็ก ชุมชน หรือท้องถิ่นในเขตพื้นที่บริการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาและพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive Functions) ของเด็กปฐมวัยโดยการใช้กิจกรรมการเล่นละครและบทบาทสมมติโดยให้นักศึกษาได้ทดลองใช้กระบวนการจัดกิจกรรมและนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive Functions) ของเด็กปฐมวัย อายุ 3-6 ปี ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 6.1 ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 6.1.1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยชั้นปีที่ 3 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 6.1.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยชั้นปีที่ 3 คณะ ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จำนวน 30 คน ซึ่งได้จากการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) 6.2 ขอบเขตด้านเนื้อหา ขอบเขตเนื้อหาของกระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive Functions) ของเด็กปฐมวัย โดยการใช้กิจกรรมการเล่นละครและบทบาทสมมติ โดยพิจารณาจากทักษะ EF (Executive functions) สำหรับเด็กปฐมวัย 6 ด้าน คือ ริเริ่ม ลงมือทำ (Initiating) มุ่งเป้าหมาย และเพียรพยายาม (Goal-directed Persistence) ความจำเพื่อใช้งาน (Working memory) ยืดหยุ่นความคิด (Shifting/ Cognitive flexibilityวางแผนและจัดระบบดำเนินการ (Planning & Organizing) การควบคุมอารมณ์ (Emotional Control) และความพึงพอใจของนักศึกษาได้รับกระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive Functions) ของเด็กปฐมวัยโดยการใช้กิจกรรมการเล่นละครและบทบาทสมมติ 6.3 ตัวแปรที่ศึกษามีดังนี้ 6.3.1 ตัวแปรอิสระ (Independent Variable) คือ กิจกรรมการเล่นละครและบทบาทสมมติ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 สร้างแรงบันดาลใจ (Inspire) ขั้นที่ 2 วางแผน ออกแบบ และสร้างสรรค์ (Planning, design and Creative) ขั้นที่ 3 แสดงละคร/ บทบาทสมมติ (Drama/Role play) ขั้นที่ 4 สะท้อนความคิด (Reflection) 6.3.2 ตัวแปรตาม (Dependent Variable) คือ การพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive Functions) ของเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย 1) การพัฒนาทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัย 6 ด้าน คือ - ริเริ่ม ลงมือทำ (Initiating) หมายถึง ความสามารถในการ “คิด” ที่จะทำสิ่งใหม่ๆ ที่ตนเองไม่เคยทำ หรือยังทำไม่สำเร็จ และ “ลงมือทำ” สิ่งนั้นให้สำเร็จด้วยตนเอง - มุ่งเป้าหมาย และเพียรพยายาม (Goal-directed Persistence) หมายถึง ความมุ่งมั่น อดทน ไม่ล้มเลิก เมื่อเจออุปสรรค แต่จะพยายามเรียนรู้และปรับปรุงวิธีทำงานให้ผ่านพ้นปัญหาไปได้ - ความจำเพื่อใช้งาน (Working memory) หมายถึง ความสามารถในการจดจำข้อมูลไว้ในใจและจัดการข้อมูลกับเหล่านั้น เพื่อทำความเข้าใจกับสิ่งต่าง ๆ เพื่อคิดแก้ปัญหา จำเป็นต้องอาศัยการมีความตั้งใจจดจ่อ (Attention) เป็นพื้นฐาน - ยืดหยุ่นความคิด (Shifting/ Cognitive flexibility) หมายถึง ความสามารถในการเปลี่ยนความคิด ไม่ยึดติดความคิดเดียว รู้จักเปลี่ยนมุมมองคิดนอกกรอบได้ สามารถทำงานหลายอย่างสลับไปมาได้ - วางแผนและจัดระบบดำเนินการ (Planning & Organizing) หมายถึง ความสามารถในคิดอย่างเป็นขั้นตอน ให้รอบคอบก่อนลงมือทำ จัดลำดับความสำคัญ จัดหมวดหมู่สิ่งต่าง ๆ ได้ดี และวางแผนอย่างเป็นระบบได้ - การควบคุมอารมณ์ (Emotional Control) หมายถึง ความสามารถในการรับรู้ และบอกอารมณ์ของตนเองได้ รวมถึงควบคุมการแสดงออกทางอารมณ์ให้ออกมาอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ 2) ความพึงพอใจของนักศึกษาได้รับกระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive Functions) ของเด็กปฐมวัยโดยการใช้กิจกรรมการเล่นละครและบทบาทสมมติ 6.4 ขอบเขตด้านเวลา ระยะเวลาของการทดลองใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive Functions) ของเด็กปฐมวัยโดยการใช้กิจกรรมการเล่นละครและบทบาทสมมติ ทำการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ระยะเวลา 14 สัปดาห์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
10.1 ได้กระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive Functions) ของเด็กปฐมวัยโดยการใช้กิจกรรมการเล่นละครและบทบาทสมมติ 10.2 นักศึกษามีความสามารถในการจัดกิจกรรมการเล่นละครและบทบาทสมมติ เพื่อพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive Functions) สำหรับเด็กปฐมวัย 10.3 เด็กปฐมวัยได้รับการส่งเสริมเพื่อพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive Functions) ของเด็กปฐมวัยโดยการใช้กิจกรรมการเล่นละครและบทบาทสมมติ ส่งผลต่อพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญาประโยชน์ในด้านปฏิบัติการ ได้แก่ 10.4 เพื่อเป็นแนวทางให้แก่ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กอนุบาล ในการนำกระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive Functions) ของเด็กปฐมวัย โดยการใช้กิจกรรมการเล่นละครและบทบาทสมมติ 10.5 เพื่อเป็นแนวทางให้แก่ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กอนุบาล ในการนำกิจกรรมการเล่นละครและบทบาทสมมติไปใช้ในการส่งเสริมและพัฒนาเด็กอนุบาลในด้านอื่น ๆ 10.6 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัยทั้งภาครัฐและเอกชน สามารถนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมและพัฒนาทักษะสมอง EF ตามบริบท ผ่านการเผยแพร่ผลงานวิจัยของนักวิจัย ได้แก่ การเผยแพร่ผ่านเว็ปไซด์ การจัดทำเป็นแผ่นซีดี การขยายผลด้วยการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนให้แก่นักศึกษาและครู การฝึกอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษาปฐมวัย การตีพิมพ์และการเผยแพร่ในวารสารระดับชาติ การนำเสนองานวิจัยในที่ประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานในรูปแบบโปสเตอร์ เป็นต้น 10.7 สถาบันที่ทำหน้าที่ผลิตครูปฐมวัยทั้งภาครัฐและเอกชนนำผลงานวิจัยไปให้ความรู้และฝึกปฏิบัติการให้แก่นักศึกษาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติตามรายวิชาของหลักสูตรและสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัย เมื่อเข้าสู่ระบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
การวิจัยเรื่อง การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive Functions) ของเด็กปฐมวัยโดยการใช้กิจกรรมการเล่นละครและบทบาทสมมติ เป็นการวิจัยพัฒนาทดลอง (Experimental development) 5 ขั้นตอน ดังรายละเอียดของวิธีการและเป้าหมายในแต่ละขั้นตอนดังนีขั้นที่ 1 สร้างและพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive Functions) ของเด็กปฐมวัยโดยการใช้กิจกรรมการเล่นละครและบทบาทสมมติวิธีดำเนินการ1) ประชุมวางแผนร่วมกับนักศึกษา และครูโรงเรียนสาธิต ในการดำเนินการวิจัยและเก็บข้อมูลเบื้องต้น2) จัดประชุมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่นักศึกษา ครู และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาปฐมวัยทั้งภาครัฐ และเอกชน เกี่ยวกับการพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive Functions) ของเด็กปฐมวัยโดยการใช้กิจกรรมการเล่นละครและบทบาทสมมติ3) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการจัดทำสื่อประกอบการแสดงละคร หุ่นเชิด และละครเวที4) กำหนดเทคนิคกระบวนการเรียนการสอน โดยคำนึงถึงกระบวนการเรียนการสอนและผลที่จะเกิดกับผู้เรียน ตลอดจนความเหมาะสมกับระดับความรู้ความสามารถของผู้เรียน ซึ่งผู้ศึกษาได้เลือกพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive Functions) ของเด็กปฐมวัยโดยการใช้กิจกรรมการเล่นละครและบทบาทสมมติ ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยพิจารณาจากทักษะสมอง EF (Executive functions) สำหรับเด็กปฐมวัย 6 ด้าน คือ 4.1 ริเริ่ม ลงมือทำ (Initiating) 4.2 มุ่งเป้าหมาย และเพียรพยายาม (Goal-directed Persistence) 4.3 ความจำเพื่อใช้งาน (Working memory) 4.4 ยืดหยุ่นความคิด (Shifting/ Cognitive flexibility) 4.5 วางแผนและจัดระบบดำเนินการ (Planning & Organizing) 4.6 การควบคุมอารมณ์ (Emotional Control) 5) กำหนดทฤษฎีการสอน โดยคำนึงถึงการนามาประยุกต์ใช้ในการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับเงื่อนไขหรือสภาพการณ์ในการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะในการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ประเภทต่าง ๆ ที่ต้องการซึ่งผู้ศึกษาได้เลือกการเล่นละครและบทบาทสมมติมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน โดยมีขั้นตอนดังนี้ ขั้นที่ 1 สร้างแรงบันดาลใจ (Inspire) ขั้นที่ 2 วางแผน ออกแบบ และสร้างสรรค์ (Planning, design and Creative) ขั้นที่ 3 แสดงละคร/บทบาทสมมติ (Drama/Role play) ขั้นที่ 4 สะท้อนความคิด (Reflection) 6) กำหนดองค์ประกอบและรายละเอียดของกระบวนการเรียนการสอน 6.1 ขั้นนำ - สร้างแรงบันดาลใจ (Inspire) จากการเล่านิทาน หรือเชิดหุ่นมือ 6.2 ขั้นสอน- ร่วมกันวางแผน ออกแบบ และสร้างสรรค์บทละครหรือบทบาทสมมติภายในกลุ่มของตนเอง (Planning, design and Creative)- แสดงละคร/บทบาทสมมติ (Drama/Role play) 6.3 ขั้นสรุป- สะท้อนความคิด (Reflection) 6.4 การประเมิน (กรมวิชาการ, 2545 และอัจฉรา เสาว์เฉลิม,2546) 6.4.1 การประเมินผู้เรียนตามสภาพจริง (Authentic Assessment) การประเมินหลังเรียน (Summative Evaluation) ใช้วิธีประเมินที่หลากหลายเน้นการสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนขณะทำงานโดยการประเมินเป็นการประเมินตามสภาพจริง 6.4.2 ศึกษาวัตถุประสงค์การเรียนการสอนและนำมากำหนดเป็นวัตถุประสงค์ของการประเมิน แล้วจึงเลือกเครื่องมือในการประเมินที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ให้เป็นการประเมินพัฒนาการของผู้เรียนรอบด้านตามสภาพจริง 6.5 การจัดประสบการณ์ (Experimental Learning Activities) 6.5.1 ผู้สอนมีบทบาทในการกระตุ้นและจูงใจให้ผู้เรียนสนใจเรียน 6.5.2 ให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับผู้อื่น6.5.3 เรียนมีความสามัคคีและมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรมการเรียนการสอน 6.5.4 เน้นทักษะกระบวนการค้นคว้า สืบค้นข้อมูลด้วยตนเอง6.6 สื่อและอุปกรณ์ (Media and Material) (Savery and Duffy ,1995) 6.6.1 เป็นสื่อที่สามารถพบเห็นในชีวิตประจำวัน6.6.2 ส่งเสริมทักษะการสืบค้นข้อมูล 7. กำหนดลักษณะของแผนการจัดการเรียนรู้ แผนกระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive Functions) ของเด็กปฐมวัยโดยการใช้กิจกรรมการเล่นละครและบทบาทสมมติ แบ่งออกเป็น 12 แผนการจัดการเรียนรู้ 8. การสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ แผนกระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive Functions) ของเด็กปฐมวัย โดยการใช้กิจกรรมการเล่นละครและบทบาทสมมติ ผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างดังนี้ 8.1 ศึกษาและวิเคราะห์จุดประสงค์การเรียนรู้ของรายวิชาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive Functions) ของเด็กปฐมวัย 8.2 ศึกษาเอกสารและตำราเรียน รายวิชาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive Functions) ของเด็กปฐมวัย8.3 สร้างตารางวิเคราะห์และจัดแบ่งเนื้อหา จุดประสงค์การเรียนรู้8.4 ศึกษากระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive Functions) ของเด็กปฐมวัยจากเอกสารต่าง ๆ และศึกษาจากรูปแบบกระบวนการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น8.5 จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ที่ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive Functions) ของเด็กปฐมวัย จำนวน 12 แผน 48 ชั่วโมง แผนละ 4 ชั่วโมง และเลือกนิทานประกอบแผน โดยใช้หลักในการเลือกจาก วัยของเด็ก เนื้อหาสาระ รูปภาพประกอบ ภาษาที่ใช้เป็นภาษาสั้น ๆ ง่าย ๆ (ประไพ ,2544: 35) จำนวน 12 เล่ม เวลา แล้วนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้ 8.6 ตรวจสอบแผนกระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive Functions) ของเด็กปฐมวัย โดยการใช้กิจกรรมการเล่นละครและบทบาทสมมติ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน ด้วยการพิจารณาความเหมาะสมและความสอดคล้อง8.7 ประเมินผล ปรับปรุงและแก้ไขชุดกิจกรรมตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญขั้นที่ 2 สร้างเครื่องมือประกอบการใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive Functions) ของเด็กปฐมวัยโดยการใช้กิจกรรมการเล่นละครและบทบาทสมมติวิธีดำเนินการ1. แบบประเมินระดับทักษะ EF สำหรับเด็กปฐมวัย การสร้างและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ มีการดำเนินการ ได้แก่ 1.1 ศึกษาเอกสารและตำราที่เกี่ยวข้องกับการวัดและประเมินผลด้วย แบบประเมินระดับทักษะ EF สำหรับเด็กปฐมวัย 1.2 ศึกษากรอบความคิดเกี่ยวกับทักษะ EF สำหรับเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นนำมาสร้างเป็นแบบประเมินระดับทักษะ EF สำหรับเด็กปฐมวัย 1.3 นำข้อมูลที่ได้มาสร้างเป็นแบบประเมินระดับทักษะ EF สำหรับเด็กปฐมวัย 1.4 นำแบบประเมินระดับทักษะ EF สำหรับเด็กปฐมวัยให้ผู้เชี่ยวชาญทำการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาและประเมินความสอดคล้องด้วยดัชนีความสอดคล้อง และนำไปหาค่าความเที่ยงตรง ความเชื่อมั่น และค่าอำนาจจำแนก 1.5 วิเคราะห์ข้อมูล โดยการพิจารณาเกณฑ์ความสอดคล้องด้วยดัชนีความสอดคล้อง ค่าความเที่ยงตรง ความเชื่อมั่น และค่าอำนาจจำแนก 1.6 นำแบบประเมินระดับทักษะ EF สำหรับเด็กปฐมวัยมาปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะและความคิดเห็นเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญ และผลจากการวิเคราะห์ค่าความเที่ยงตรง ความเชื่อมั่น และค่าอำนาจจำแนก2. ความพึงพอใจของนักศึกษาได้รับกระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive Functions) ของเด็กปฐมวัยโดยการใช้กิจกรรมการเล่นละครและบทบาทสมมติ การสร้างและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือมีการดำเนินการ ได้แก่ 2.1 ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแบบประเมินความพึงพอใจ 2.2 กำหนดวัตถุประสงค์ของแบบประเมินความพึงพอใจ 2.3 นำแบบประเมินความพึงพอใจที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นให้ผู้เชี่ยวชาญทำการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา และประเมินความสอดคล้องด้วยดัชนีความสอดคล้อง 2.4 นำแบบสอบถามความพึงพอใจ มาปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะและความคิดเห็นเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญ ขั้นที่ 3 ศึกษานำร่องวิธีดำเนินการการศึกษานำร่อง เป็นการตรวจสอบและปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive Functions) ของเด็กปฐมวัยโดยการใช้กิจกรรมการเล่นละครและบทบาทสมมติ ก่อนนำไปใช้ในการทดลอง มีขั้นตอนดังนี้ 1) ประชุมวางแผนร่วมกับครูโรงเรียนสาธิต ในการดำเนินการวิจัยและเก็บข้อมูลเบื้องต้น2) การจัดประชุมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่นักศึกษา ครู และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาปฐมวัยทั้งภาครัฐ และเอกชน เกี่ยวกับการพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive Functions) ของเด็กปฐมวัยโดยการใช้กิจกรรมการเล่นละครและบทบาทสมมติ3) นำกระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive Functions) ของเด็กปฐมวัยโดยการใช้กิจกรรมการเล่นละครและบทบาทสมมติ สำหรับกลุ่มที่ใช้ในการศึกษานำร่องทดลองใช้ชุดกิจกรรมกับนักศึกษา4) ประเมินผลนักศึกษา โดยนำผลการพัฒนามาปรับปรุง/แก้ไข เพื่อให้ได้แผนกระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive Functions) ของเด็กปฐมวัยโดยการใช้กิจกรรมการเล่นละครและบทบาทสมมติ และเครื่องมือสำหรับการนำไปใช้ในการทดลองขั้นตอนที่ 4 การทดลองใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive Functions) ของเด็กปฐมวัยโดยการใช้กิจกรรมการเล่นละครและบทบาทสมมติ ขั้นตอนที่ 5 การประเมินผลการใช้และปรับปรุงชุดกิจกรรม1. การวิเคราะห์ข้อมูล1.1. การวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างคะแนนการประเมินระดับทักษะ EF สำหรับเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive Functions) ของเด็กปฐมวัยโดยการใช้กิจกรรมการเล่นละครและบทบาทสมมติ
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่
รายชื่อ
ประเภทนักวิจัย
บทบาทหน้าที่
สัดส่วน
1
นางสาวสุชานาฎ ไชยวรรณะ
นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย
หัวหน้าโครงการวิจัย
100%
สถาบันวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130
หมายเลขโทรศัพท์
056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย
website
rdi.nsru.ac.th
Smart Rdi Nsru