มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
สถาบันวิจัยและพัฒนา
ระบบจัดการงานวิจัย
NSRU
RESEARCH
หน้าหลัก
ค้นหารายการ
ข้อมูลงานวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
รายงานสถิติ
งานวิจัย
งานทรัพย์สินทางปัญญา
เข้าสู่ระบบ
รายละเอียดโครงการวิจัย
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การศึกษาสารเสริมในอาหารต่อสมรรถนะและต้นทุนการผลิตสุกร: กรณีศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
The Study of Feed Additive on Swine Performance and Cost Production : A Case Study in Nakhon Sawan Province
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
11 ธันวาคม 2562
วันสิ้นสุดโครงการ :
10 ธันวาคม 2563
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยประยุกต์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
การผลิตเนื้อสุกรของประเทศต่างๆ พ.ศ. 2555 - 2559 พบว่า เพิ่มขึ้นอัตราร้อยละ 0.48 ต่อปี ในปี พ.ศ. 2559 การผลิตเนื้อสุกรของโลกมีปริมาณรวม 108.20 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีพ.ศ. 2558 ซึ่งมี ปริมาณ 111.38 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 2.86 ประเทศต่างๆ ส่วนใหญ่ผลิตเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะประเทศผู้ผลิต ที่ส าคัญ ได้แก่ สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา บราซิล รัสเซีย เวียดนาม และแคนาดา ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.13 ร้อยละ 1.95 ร้อยละ 2.74 ร้อยละ 5.86 ร้อยละ 2.36 และร้อยละ 1.80 ตามล าดับ ส่วนจีนมีสัดส่วนของ การผลิตลดลงร้อยละ 0.34 27 ปีพ.ศ. 2560 คาดว่าการผลิตเนื้อสุกรจะมีปริมาณรวม 111.01 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ประมาณร้อยละ 2.60 (กรมปศุสัตว์, 2560) การเลี้ยงสุกรในปัจจุบันได้มีการพัฒนาในรูปการค้ามากขึ้นเพื่อให้สัตว์เจริญเติบโตเร็ว และการ ให้ผลผลิตสูง ต้น ทุนต่ำ มีการนำ เอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้มากขึ้นซึ่งมีผลทำ ให้สุกรเกิดความเครียด เพิ่มขึ้นทำให้เกิดการสูญเสียสุกรเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะลูกสุกรที่เพิ่งหย่า นม เนื่องจากลูกสุกรเหล่านี้มักอ่อนแอและการเกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่าย เกษตรกรส่วนใหญ่มักนิยมใช้สารปฏิชีวนะต่างๆ มาเสริมในสูตร อาหารเพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโต, ลดความเครียด และป้องกันการเกิดโรค ซึ่งสารปฏิชีวนะเหล่านี้มีข้อเสียเท่าๆกับประโยชน์ทั้งนี้เพราะสารปฏิชีวนะเป็นสารที่ผลิตจากเชื้อจุลินทรีย์จะมีฤทธิ์ไปทำ ลายเชื้อจุลินทรีย์ ทั้งที่เป็นประโยชน์และเป็นโทษ และถ้าหากใช้เป็นระยะเวลานานๆจะมีผลทำ ให้เชื้อโรคเกิดการดื้อยาและ มักมีผลตกค้างในตัวสัตว์อีกด้วย ต่อมาจึงได้มีการหันมาใช้สารอีกชนิดซึ่งมีบทบาทคล้ายกับ สารปฏิชีวนะ คือช่วยให้สัตว์มีสุขภาพแข็งแรงและมีการเจริญเติบโตดีขึ้นด้วย นั่นคือจุลินทรีย์พวกโปรไบโอติกจะมีข้อ ดี กว่าตรงที่เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เมื่อสัตว์กินเข้าไปแล้วจะเจริญในระบบทางเดิน อาหารและสร้างสภาวะสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ซึ่งมักเสียสมดุลไปในสภาวะที่เกิดความเครียด ช่วยปรับ ให้จุลินทรีย์ที่ เป็นโทษลดปริมาณลงจนไม่สามารถเกิดอันตรายต่อสัตว์ได้นอกจากนี้โปรไบโอติกยังช่วยให้ ประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์จากอาหารดีขึ้นอีกทั้งไม่มีผลตกค้างในตัวสัตว์โปรไบโอติกเป็นกลุ่มของจุลินทรีย์ที่ยังมีชีวิตและนำมาใช้เป็นอาหารเสริมในสัตว์โดยที่บทบาทของจุลินทรีย์เหล่านี้ช่วยให้ลำไส้เกิด ความสมดุลในลำไส้ของสัตว์และก่อให้เกิดประโยชน์ต่างๆอีกมากมาย นอกจากนี้อุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรของประเทศไทยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็น ทางด้านอาหาร พันธุ์การจัดการ และการป้องกันโรค เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การหย่านมลูกสุกรให้เร็วขึ้นก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งเพื่อเพิ่มจำนวนครอกต่อปีของแม่สุกรอย่างไรก็ตามเป็นที่ทราบกันว่าการหย่านมลูกสุกรที่เร็วไปเป็นสาเหตุของการเกิดความเครียดอีกทั้งระบบทางเดินอาหารของสุกรในระยะดังกล่าวยังมีการพัฒนาไม่สมบูรณ์ ทำให้ประสิทธิภาพในการย่อยและดูดซึมสารอาหารต่ำ ลูกสุกรมีอาการท้องร่วง สุขภาพอ่อนแอ การสร้างภูมิต้านทานและการเจริญเติบโตลดลง ปัจจุบันได้มีการนำเอนไซม์ชนิดต่างๆ มาใช้ผสมอาหารสัตว์มากขึ้นเพื่อทำให้สัตว์ได้รับประโยชน์จากองค์ประกอบในอาหารสัตว์อย่างคุ้มค่า โดยหนึ่งในเอนไซม์ที่นิยมนำมาผสมในอาหารสัตว์ได้แก่ เอนไซม์ phytase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่มีคุณสมบัติในการย่อย phytase ที่พบมากในส่วนประกอบของอาหารสัตว์ให้ได้เป็น phosphorus ที่อยู่ในรูปที่กระเพาะสัตว์สามารถดูดซึมไป ใช้ได้ ซึ่งเอนไซม์ phytase ที่เป็นที่ต้องการในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์นั้น ควรจะต้องทำงานได้ดี ในสภาวะที่มีความเป็นกรดที่สูง หรือในสภาวะที่เหมือนสิ่งแวดล้อมในกระเพาะสัตว์นั้นๆ รวมทั้ง สามารถทำงานได้ดีในอุณหภูมิร่างกายของสัตว์ และที่สำคัญคือต้องมีความสามารถในการทน ร้อนได้ดี เนื่องจากในการผลิตอาหารสัตว์ต้องผ่านกระบวนการอัดเม็ดที่มีการใช้ความร้อนสูง (80-90?C)กรดไฟติก (Phytic acid) เป็นรูปแบบของ ฟอสฟอรัสที่พบในเมล็ดธัญพืชประมาณ 1-5% ของน้ำหนักเมื่อกรดไฟติกจับกับแร่ธาตุประจุ บวก เช่น Ca, Mg, Fe และ Zn จะอยู่ในรูปของ ไฟเตส (Phytase) ไฟเตส ถือเป็นปัญหาของการผลิตสัตว์กระเพาะเดี่ยว เนื่องจากสัตว์กระเพาะเดี่ยวผลิตเอนไซม์ไฟเตส (Phytase) ที่ทำหน้าที่ย่อยไฟเตสได้น้อย สัตว์จึงใช้ประโยชน์จากฟอสฟอรัสในอาหารสัตว์ได้น้อย เกิดการตกค้างของฟอสฟอรัสในมูลและนำไปสู่ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ เอนไซม์ phytase มักถูกเสริม ในอาหารสุกรทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะในลูกสุกรหย่านม การเสริมไฟเตสทางการค้าในอาหารสุกร หย่านมช่วยเพิ่มการใช้ประโยชน์ได้ของ ฟอสฟอรัสและลดการขับฟอสฟอรัสออกในมูลและช่วยเพิ่ม ประสิทธิภาพการเจริญเติบโตในลูกสุกร
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1 เพื่อศึกษาระดับเสริมเอนไซม์ในอาหารต่อสมรรถนะและต้นทุนการผลิตสุกรระยะรุ่น 2 เพื่อศึกษาระดับเสริมโปรไบโอติกในอาหารต่อสมรรถนะและต้นทุนการผลิตในสุกรขุน
ขอบเขตของโครงการ :
การทดลองที่ 1 การศึกษาการเสริมเอนไซม์ไฟเตสในอาหารต่อสมรรถนะและต้นทุนการผลิตในสุกรระยะรุ่น โดยสัตว์ทดลองใช้สุกร 3 สายพันธุ์ (พันธุ์ลาร์จไวท์, แลนด์เรซ, ดูร็อค) จำนวน 36 ตัว วางแผนการทดลองแบบทำการวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบรูณ์ (Complete Randomized Design ; CRD) แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 3 ซ้ำๆ ละ 4 ตัว การทดลองที่ 2 การศึกษาการเสริมโปรไบโอติก Bacillus sp.ในอาหารต่อสมรรถนะและต้นทุนการผลิตสุกรระยะขุนโดยมีสัตว์ทดลองใช้สุกร 3 สายพันธุ์ (เป็นลูกผสม พันธุ์ลาร์จไวท์,แลนด์เรซ,ดูร็อค) โดยวางแผนการทดลองแบบ (Complete Randomized Design ; CRD ) การทดลองที่ 3 เพื่อจัดทำเอกสารการใช้สารเสริมในอาหารสุกรเผยแพร่ให้หน่วยงานปศุสัตว์ ปศุสัตว์อำเภอ, จังหวัด
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
12. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. เพื่อทราบถึงปริมาณของผลการเสริมโปรไบโอติกในอาหารที่มีผลทำให้อัตราการเจริญเติบโตสุกรขุนสูงสุด 2.ข้อมูลที่ได้เป็นแนวทางในการนำไปแนะนำให้เกษตรกรที่เลี้ยงสุกรรุ่น-ขุนและผู้ที่สนใจทั่วไปได้ 3.เพื่อนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาความสำคัญของโปรไบโอติกที่มีคุณสมบัติที่ดีและสามารถนำไปใช้ในกระบวนการการผลิตอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4.เพื่อนำความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ไปปรับปรุงต่อยอดโปรไบโอติก 5.ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนทำให้สุกรมีสุขภาพที่ดีลดการเกิดโรคท้องเสีย 6 เพื่อทราบถึงปริมาณของผลการเสริมเอนไซม์ไฟเตสในสูตรอาหารข้นที่มีผลทำให้อัตราการเจริญเติบโตของสุกรรุ่นสูงสุด 7. เพื่อนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาความสำคัญของเอนไซม์ไฟเตส ที่มีคุณสมบัติที่ดีและสามารถนำไปใช้ในกระบวนการผลิตอาหารสัตว์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด 8. นำความรู้ที่ได้ศึกษาวิจัยครั้งนี้เพื่อไปต่อยอดในการปรับปรังเอนไซม์ ไฟเตส 9. ช่วยในการปรับปรุงประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิต ทำให้สุกรย่อยอาหารได้มากขึ้น ช่วยให้ผลผลิตมากขึ้น 10. เพื่อรักษาการผลิตได้คงที่ ลดความแปรปรวนของคุณค่าทางโภชนะของวัตถุดิบอาหารสัตว์ ช่วยให้อาหารสัตว์มีความสม่ำเสมอ ทำให้สัตว์มีการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตที่ดี 11. ช่วยรักษาสุขภาพของทางเดินอาหาร โดยปรับปรุงการย่อยได้ของโภชนะ ทำให้เหลือโภชนะสำหรับการเจริญเติบโตของเชื้อก่อโรคน้อยลง 12. สิ่งแวดล้อมดีขึ้นการย่อยและการดูดซึมอาหารดีขึ้น ลดปริมาณมูลที่เกิดขึ้น 13. เพื่อลดปัญหามลภาวะเรื่องกลิ่นและการทำลายดิน 14.สามารถเพิ่มอัตราส่วนของวัตถุดิบคุณภาพต่ำราคาถูกในอาหารผสม และเปิดโอกาสให้มีการนำวัตถุดิบอาหารใหม่ๆ มาใช้ในอาหารสัตว์ได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นผลผลิตจากธรรมชาติโดยตรง วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร หรือผลิตผลพลอยได้จากโรงงานอุตสาหกรรม 15. ทราบถึงความรู้ และทัศนคติของเกษตรกรผู้เลี้ยงในชุมชนต่อการผลิตในสภาวะปัจจุบัน
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
การศึกษาสารเสริมในอาหารต่อสมรรถนะและต้นทุนการผลิตสุกร : กรณีศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์ สามารถแบ่งการทดลองเป็นดังนี้ การทดลองที่ 1 การศึกษาการเสริมเอนไซม์ไฟเตสในอาหารต่อสมรรถนะและต้นทุนการผลิตในสุกรระยะรุ่น โดยสัตว์ทดลองใช้สุกร 3 สายพันธุ์ (พันธุ์ลาร์จไวท์, แลนด์เรซ, ดูร็อค) จำนวน 36 ตัว วางแผนการทดลองแบบทำการวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบรูณ์ (Complete Randomized Design ; CRD) แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 3 ซ้ำๆ ละ 4 ตัว สามารถจัดเป็นทรีตเมนต์ดังนี้ ทรีตเมนต์ที่ 1 : กลุ่มควบคุม ไม่เสริมเอนไซม์ไฟเตส ทรีตเมนต์ที่ 2 : กลุ่มเสริมเอนไซม์ไฟเตส 0.5 เปอร์เซ็นต์ในอาหาร ทรีตเมนต์ที่ 3 : กลุ่มเสริมเอนไซม์ไฟเตส 1.0 เปอร์เซ็นต์ในอาหาร อาหารสัตว์ โดยผสมตามความต้องการของสุกรระยะรุ่น 18%CP วัตถุดิบหลักคือ มันหมักยีสต์ 12% CP และหัวอาหารสุกรสำเร็จ 20% CP การวางการทดลอง เพื่อศึกษาระดับการเสริมเอนไซม์ไฟเตสในอาหารสุกรระยะรุ่น น้ำหนักเฉลี่ย 30 กิโลกรัม โดยอาหารและนำให้อย่างเต็มที่ ad libitum การเก็บข้อมูลและตัวอย่าง ประสิทธิภาพการผลิต บันทึกปริมาณการกินได้ทุกสัปดาห์ น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นทุกสัปดาห์เพื่อนำไปคำนวณ ปริมาณอาหารที่กิน (Feed Inteke : FI) น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น(Weight gain) อัตราการแลกเนื้อ (Feed Conversion Ratio : FCR) อัตราการเจริญเติบโต (ADG) และนำข้อมูลการผลิตคำนวณต้นทุนค่าอาหาร เปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของแต่ละกลุ่มทางสถิติ Duncan s new multiple range test โดยโปรแกรม Sttistical Analysis System (SAS) (มนชัย,2544) การทดลองที่ 2 การศึกษาการเสริมโปรไบโอติก Bacillus sp.ในอาหารต่อสมรรถนะและต้นทุนการผลิตสุกรระยะขุนโดยมีสัตว์ทดลองใช้สุกร 3 สายพันธุ์ (เป็นลูกผสม พันธุ์ลาร์จไวท์,แลนด์เรซ,ดูร็อค) โดยวางแผนการทดลองแบบ (Complete Randomized Design ; CRD ) สามารถจัดเป็นทรีตเมนต์ดังนี้ ทรีตเมนต์ที่ 1 : กลุ่มควบคุม ไม่เสริมโปรไบโอติก ทรีตเมนต์ที่ 2 : กลุ่มเสริมโปรไบโอติก Bacillus sp. 0.5 เปอร์เซ็นต์ในอาหาร ทรีตเมนต์ที่ 3 : กลุ่มเสริมโปรไบโอติก Bacillus sp. 1.0 เปอร์เซ็นต์ในอาหาร อาหารสัตว์ผสมตามความต้องการของสุกรระยะขุ่น 16%CP วัตถุดิบหลัก คือ มันหมักยีสต์ 12% CP และหัวอาหารสุกรสำเร็จ 20%เปอร์เซ็นโปรตีน ดังนั้นในการจัดการสุกรระยะขุน 16 เปอร์เซ็นโปรตีนต้องผสมมันหมักยีสต์และหัวอาหารอัตตรา1:1 โดยอาหารและนำให้อย่างเต็มที่ ad libitum เพื่อศึกษาการเสริมโปรไบโอติกในอาหารสุกรในระยะขุนสามสาย(พันธุ์ลาร์จไวท์,แลนด์เรซ,ดูร็อค) น้ำหนักเฉลี่ยเริ่มต้น 48 กิโลกรัม จำนวน 36 ตัว คละเพศ แบ่งเป็น 3 กลุ่มกลุ่มละ 3 ซำละๆ 4 ตัวโดย อาหารสัตว์ผสมตามความต้องการของสุกรระยะขุ่น 16%CP วัตถุดิบหลัก คือ มันหมักยีสต์ 12% CP และหัวอาหารสุกรสำเร็จ 20%เปอร์เซ็นโปรตีน การเก็บข้อมูลและตัวอย่าง หาประสิทธิภาพการผลิตบันทึกปริมาณการกินได้ทุกสัปดาห์น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นทุกสัปดาห์เพื่อนำไปคำนวณปริมาณอาหารที่กิน (Feed Inteke: FI) น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น (Weight gain) อัตราการแลกเนื้อ (Feed Conversion Ratio: FCR) อัตตราการเจริญเติบโต(ADG)นำข้อมูลการผลิตคำนวณต้นทุนค่าอาหารและเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของแต่ละกลุ่มทางสถิติ Duncan s new multiple range test โดยโปรแกรม Sttistical Analysis System (SAS) (มนชัย, 2544) ทดลองที่ 3 เพื่อจัดทำเอกสารการใช้สารเสริมในอาหารสุกรเผยแพร่ให้หน่วยงานปศุสัตว์ ปศุสัตว์อำเภอ, จังหวัด
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
การศึกษาระดับการเสริมเอนไซม์และโปรไบโอติกในอาหารต่อสมรรถนะและต้นทุนการผลิตสุกรระยะรุ่น- ขุุนที่เหมาะต่อการเลี้ยง การทดลองที่ 1 การศึกษาการเสริมเอนไซม์ไฟเตสในอาหารต่อสมรรถนะและต้นทุนการผลิตในสุกรระยะรุ่น การทดลองที่ 2 การศึกษาการเสริมโปรไบโอติก Bacillus sp.ในอาหารต่อสมรรถนะและต้นทุนการผลิตสุกรระยะขุน
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่
รายชื่อ
ประเภทนักวิจัย
บทบาทหน้าที่
สัดส่วน
1
นายปิยลาภ มานะกิจ
นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย
ผู้ช่วยผู้วิจัย
20%
2
นายธันวา ไวยบท
นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย
หัวหน้าโครงการวิจัย
80%
สถาบันวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130
หมายเลขโทรศัพท์
056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย
website
rdi.nsru.ac.th
Smart Rdi Nsru