รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การเก็บเกี่ยวน้ำจากอากาศ
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
Harvesting Water from the Air
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
30 ตุลาคม 2560
วันสิ้นสุดโครงการ :
29 ตุลาคม 2561
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยประยุกต์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         เกษตรกรรมเป็นหนึ่งในอาชีพหลักของคนไทยและผลิตผลทางการเกษตรก็จัดเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของประเทศ ข้อมูลจากศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์รายงานมูลค่าการส่งออกโดยรวมของสินค้าภาคการเกษตรในปี 2558 มีมากกว่า 670,000 ล้านบาทแต่อย่างไรก็ตามในปีที่ผ่านมาได้เกิดผลกระทบจากฝนทิ้งช่วงในพื้นที่การเกษตร ทำให้ผลผลิตลดลงอย่างรวดเร็ว จากผลการวิเคราะห์ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบพื้นที่ได้รับความเสียหายจากสถานการณ์อุทกภัยในปี 2557 มากกว่า 89,000 ไร่ และในปี 2558 ไม่ต่ำกว่า 180,000 ไร่ คิดเป็นมูลค่าความเสียหายมากกว่า1000 ล้านบาท และจากการวิเคราะห์ยังพบพื้นที่ทำการเกษตรประสบความเสียหายอันเนื่องมาจากฝนทิ้งช่วงในปี 2557มากกว่า 20,000 ไร่ คิดเป็นมูลค่าความเสียหายกว่า 150 ล้านบาท และในปี 2558 เกิดความเสียหายไม่ต่ำกว่า 1,000,000 ไร่ คิดเป็นมูลค่าของผลประโยชน์ของประเทศสูงกว่า 7,000 ล้านบาท ด้วยผลกระทบจากภัยแล้งดังกล่าว ทางรัฐบาลจำได้กำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งแบบบูรณาการด้วยร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ซึ่งในภาคการเกษตรนั้นได้มีการผลักดันให้เกษตรกรเลี่ยงการปลูกพืชหลักในฤดูแล้ง และได้แนะนำให้ปลูกพืชใช้น้ำน้อย พืชอายุสั้น และพืชที่มีตลาดรองรับแทน เช่นพืชตระกูลถั่ว คะน้า ผักกาดหอม เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ปัญหาของความต้องการน้ำในการทำการเกษตรของเกษตรกรก็ยังคงมีอยู่ รวมไปถึงปัญหาอื่น ๆ เช่น การระบาดของศัตรูพืช การหาตลาดรองรับผลผลิต ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนสร้างความเสี่ยงให้กับเกษตรกร และมีผลผลิตได้ไม่ตรงตามเป้าหมายที่วางไว้ ปัญหาภัยแล้งนั้นเป็นปัญหาที่ทุกภาคส่วนช่วยกันแก้ไขมาเป็นเวลานานโดยมีการจัดหาแหล่งน้ำเพื่อทำการเพาะปลูก เช่น การขุดสระ เจาะบ่อบาดาล เป็นต้น แต่วิธีการแก้ปัญหาดังกล่าวนั้นมีผลข้างเคียง คือ การขุดสระเพื่อใช้กักเก็บน้ำนั้น ภาครัฐหรือเกษตรกรต้องลงทุนสูง ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณหรืออาจก่อเกิดหนี้สินให้กับเกษตรกร และการเจาะบ่อบาดาลนั้นก่อให้เกิดปัญหาอื่น ได้แก่ ดินทรุดหรือยุบตัว จากปัญหาดังกล่าวผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะศึกษาและพัฒนาอุปกรณ์สำหรับดึงน้ำจากอากาศ โดยจะศึกษาในพื้นที่ที่ประสพปัญหาภัยแล้งอย่างต่อเนื่องและเป็นประจำ หาค่าความเหมาะสมต่อการทำการเกษตรต่อไป
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1. เพื่อสร้างอุปกรณ์สำหรับดึงน้ำจากอากาศ 2. เพื่อคำนวณหาวิธีการจ่ายน้ำที่เหมาะสมสำหรับพืชแต่ละชนิด 3. เพื่อสร้างความทันสมัยให้กับแปลงการเกษตรที่ควบคุมด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่
ขอบเขตของโครงการ :
- พื้นที่ อำเภอแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ และพื้นที่อื่นเพื่อเปรียบเทียบข้อมูล - พืช ได้แก่พืชไร่ เช่น มันสัมปะหลัง หรือ อ้อย เป็นต้น
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
ด้านวิชาการ 1. ผลงานทางวิชาการในการศึกษาความเชื่อมโยงการใช้เทคโนโลยีกับแปลงการเกษตร 2. มีการบูรณาการความรู้ทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ ภูมิศาสตร์ และ เกษตร เข้าด้วยกันเป็นลักษณะของสหวิชา เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีในแปลงการเกษตร 3. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาความเหมาะสมของการให้น้ำของพืชแต่ละชนิด 4. ความเป็นเลิศในด้านวิชาการทางด้านการใช้เทคโนยีเพื่อแก้ปัญหาทางด้านการเกษตร ด้านสังคมและชุมชน 1. เพื่อเพิ่มรอบการเพาะปลูกให้กับชุมชน และเกษตรกร เศรษฐกิจ/พาณิชย์ 2. เพิ่มรายได้จากรอบการเพาะปลูกที่มีมากขึ้นให้กับเกษตรกร 3. ลดรายจ่ายให้กับเกษตรกร เนื่องจากไม่ต้องขุดบ่อบาดาล หรือขุดสระกักเก็บน้ำ หน่วยงานด้านการเกษตร 1. ได้อุปกรณ์ที่ใช้ในการแก้ปัญหาภัยแล้ง ด้านสิ่งแวดล้อม 1. ลดอัตราการใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย เนื่องจากเกษตรกรไม่จำเป็นต้องใช้น้ำจากระบบชลประทานเพื่อทำการเกษตร
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         1. ศึกษาข้อมูลวิธีการดึงน้ำจากอากาศ ด้วยเทคนิคและอุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ 2. วัดปริมาณผลที่ได้จากความชื้นในระดับต่าง ๆ พร้อมจดบันทึกข้อมูล 3. นำอุปกรณ์ที่ได้ไปทำการทดลองในพื้นที่เป้าหมาย 4. บันทึกผลการทดสอบอุปกร์ สรุป และจัดทำแนวทางการนำไปใช้งานจริง 5. นำผลที่ได้จากการวิจัยลงสู่ชุมชน แปลงการเกษตร สถานที่การทดลอง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 นายถิรภัทร มีสำราญ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 20%
2 นายวิฑูร สนธิปักษ์ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 60%
3 นายคณินณัฎฐ์ โชติพรสีมา นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 20%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย