รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การศึกษาและพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานกล้วยในเขตจังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
A Study for Development of the Bananas Supply Chain Management Information Systems in Nakhon Sawan Province.
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
สถาบันวิจัยและพัฒนา
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
30 ตุลาคม 2561
วันสิ้นสุดโครงการ :
30 กันยายน 2562
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยประยุกต์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         จังหวัดนครสวรรค์ เป็นแหล่งปลูกกล้วยในอันดับต้นๆ ของประเทศไทย ซึ่งจากการวิเคราะห์สถานการณ์การผลิตกล้วยของกรมส่งเสริมการเกษตร พบว่า การผลิตส่วนใหญ่ผลิตโดยเกษตรกรรายย่อย มีการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว ไม่ดีพอ และไม่เป็นระบบเหมือนประเทศผู้ผลิตหลัก อายุการเก็บรักษาสั้นไม่ทนทานในการขนส่ง ขาดวางแผนการผลิตที่สอดคล้องความต้องการตลาด ขาดข้อมูลข่าวสารด้านการตลาด รวมทั้งขาดความสัมพันธ์ของทุกฝ่ายในโซ่อุปทานการผลิต ทำให้เกิดปัญหาในด้านการผลิตที่มีปริมาณคุณภาพผลผลิตมาตรฐานมีไม่เพียงพอกับความต้องการ การกระจุกตัวของผลผลิต ต้นทุนการผลิตสูง ขาดกลยุทธ์การตลาดทั้งในและต่างประเทศ ราคาไม่จูงใจต่อราคามีความแปรปรวนสูง และระบบขนส่งยังด้อยประสิทธิภาพ (ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมส่งเสริมการเกษตร, 2559) การนำระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานจะเป็นกระบวนการโดยรวมของการไหลของวัสดุ สินค้า ตลอดจนข้อมูล และธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านองค์การที่เป็นผู้ส่งมอบ ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย ไปจนถึงลูกค้าหรือผู้บริโภคโดยที่องค์การต่าง ๆ เหล่านี้มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจต่อกัน โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการดำเนินงาน ทำให้เกษตรกรผู้ผลิตกล้วย ผู้ค้ากล้วย และผู้บริโภคกล้วย มีสามารถในการบริหารการทำงานให้สอดคล้องกัน แบ่งปันข้อมูลที่จำเป็นเพื่อความคล่องตัวในการดำเนินงาน และใช้ทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดร่วมกันในห่วงโซ่อุปทาน ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะศึกษาและพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานกล้วยในเขตจังหวัดนครสวรรค์ขึ้น ซึ่งระบบสารสนเทศจะเป็นแนวทางการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน โดยเชื่อมโยงและแบ่งปันข้อมูลสารสนเทศ และข้อมูลต่าง ๆ ที่มีผลกระทบการดำเนินงานได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และทันต่อเวลา อีกทั้งยังสามารถนำสารสนเทศที่ได้มาใช้ในการแก้ปัญหา และสนับสนุนการตัดสินใจในการดำเนินงานในห่วงโซ่อุปทาน เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1. เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานกล้วยในเขตจังหวัดนครสวรรค์ 2. เพื่อศึกษาความต้องการในการใช้งานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานกล้วยในเขตจังหวัดนครสวรรค์ 3.เพื่อพัฒนาต้นแบบระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานกล้วยในเขตจังหวัดนครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :
1. ขอบเขตด้านประชากร ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยในจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 1,065,334 คน (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2560: ออนไลน์) โดยผู้วิจัยทำการกำหนดกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เกษตรกร คู่ค้า และผู้ซื้อกล้วย ซึ่งอาศัยในเขตจังหวัดนครสวรรค์ มีจำนวนนับได้ไม่แน่นอน (Infinite population) โดยเลือกจากวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ จากจำนวนประชากรที่อาศัยในจังหวัดนครสวรรค์ และกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยการใช้โปรแกรมจีพาวเวอร์ (G*Power) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่สร้างจากสูตรของโคเฮน (Cohen, 1997) ผ่านการตรวจสอบและรับรองคุณภาพจากนักวิจัยจำนวนมาก (นงลักษณ์ วิรัชชัย, 2555) ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 402 ตัวอย่าง 2. ขอบเขตด้านการศึกษาแนวทางการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน ได้แก่ ข้อมูลการจัดการผลิต ข้อมูลการบริหารจัดการ ข้อมูลการจัดส่งสินค้า และปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นภายในห่วงโซ่อุปทาน 3. ขอบเขตด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศ ได้แก่ การพัฒนาระบบสารสนเทศในรูปแบบเว็บไซต์เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงระบบสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว ด้วยโปรแกรมภาษาพีเอชพี (PHP) และฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล (MySQL) เนื่องจากเป็นโปรแกรมภาษาในรูปแบบโอเพนซอร์สที่ไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
1. ทราบถึงแนวทางการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานกล้วยในเขตจังหวัดนครสวรรค์ 2. ทราบถึงความต้องการในการใช้งานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานกล้วยในเขตจังหวัดนครสวรรค์ 3. ได้ต้นแบบระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานกล้วยในเขตจังหวัดนครสวรรค์
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         วิธีดำเนินการวิจัย การดำเนินการวิจัยในครั้งนี้ มีกระบวนการในการดำเนินการที่ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้ 1. ศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จากการค้นคว้าหาข้อมูลตามห้องสมุด อินเตอร์เน็ต และ ผู้มีประสบการณ์ทางการวิจัย 2. ศึกษาและสำรวจข้อมูลเบื้องต้นในสนาม โดยการสังเกตพฤติกรรมด้วยตนเอง และสัมภาษณ์พูดคุยกับกลุ่มตัวอย่าง 3. สร้างแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi-Structure Interview) เพื่อเก็บศึกษาและรวบรวมข้อมูล ขั้นตอนการเก็บผลผลิต ขั้นตอนการบริหารจัดการ ขั้นตอนการจัดส่งสินค้า ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นภายในห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งกระบวนการในการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 402 คน จากการสุ่มอย่างง่าย 4. นำแบบสัมภาษณ์ที่ได้มาทำการสังเคราะห์ และวิเคราะห์หาค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่าง ควอไทล์ เพื่อสังเกตแนวโน้มของการตอบว่าเป็นไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่ และนำข้อมูลที่ได้มาสร้างเป็นแบบสอบถามการศึกษาความต้องการใช้ข้อมูลการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานกล้วย 5. สร้างแบบสอบถามการศึกษาความต้องการใช้ข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานกล้วยของเกษตรกร คู่ค้า และผู้ซื้อกล้วย ในเขตจังหวัดนครสวรรค์ โดยดำเนินการสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 402 คน เพื่อรวบรวบข้อมูลให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานมากที่สุด 6. นำแบบสอบถามที่ได้มาทำการวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ตามแบบของลิเคิร์ท (Likert) ที่ได้จากการตอบแบบสอบถามของจากกลุ่มตัวอย่าง เพื่อทำการกำหนดข้อมูลในระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน 7. พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานกล้วยในเขตจังหวัดนครสวรรค์ ให้สามารถแสดงผลได้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 8. ทดสอบและทำการติดตั้งระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานกล้วยในเขตจังหวัดนครสวรรค์ 9. สร้างแบบประเมินความพึงพอใจการใช้งานระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานกล้วยในเขตจังหวัดนครสวรรค์
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 นางสาวจิตาพัชญ์ ไชยสิทธิ์ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 50%
2 นางสาวลฎาภา แผนสุวรรณ์ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 50%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย