รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
ศึกษากระบวนการจิตตปัญญาศึกษาวิถีพุทธ เพื่อพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
Buddhist contemplative education process. To develop sustainable communities.
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
1 ตุลาคม 2556
วันสิ้นสุดโครงการ :
30 กันยายน 2557
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยประยุกต์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         การศึกษาที่มีอยู่ในโลกโดยทั่วไปขณะนี้ ซึ่งเน้นที่การเรียนรู้วิชาความรู้เรื่องต่างๆ อันเป็นเรื่องนอกตัวเท่านั้น แม้มีความจำเป็น แต่เมื่อขาดการเรียนรู้เรื่องในตัว ก็ขาดความสมบูรณ์ เอียงข้าง แยกส่วน เมื่อมนุษย์ขาดความสมบูรณ์ในตัวเอง ก็ทำให้โลกทัศน์และวิธีคิดเบี่ยงเบนไปจากความเป็นจริง เกิดความบีบคั้น ทั้งในตัวเองและระหว่างกันในสังคม เป็นต้นเหตุของปัญหาต่างๆ ในสังคมจนวิกฤต อนึ่งการขาดความสมบูรณ์ในตัวเอง ผลักดันให้ผู้คนในปัจจุบันต้องไปหาอะไรมาเติม สิ่งที่หามาเติมคือ หนึ่ง ยาเสพย์ติด สอง ความฟุ่มเฟือย สาม ความรุนแรง ซึ่งล้วนเป็นพฤติกรรมเบี่ยงเบนอันนำไปสู่ปัญหาอื่นๆ ให้ทับทวีมากขึ้น พฤติกรรมเหล่านี้จะแก้ไม่ได้เลยตราบใดที่มนุษย์ยังขาดความสมบูรณ์ในตัวเอง หากมีความสมบูรณ์ในตัวเอง มนุษย์จะมีความเป็นอิสระ มีความสุข และมีไมตรีจิตอันไพศาล อันเป็นไปเพื่อการอยู่ร่วมกันด้วยดี เพราะในศักยภาพของความเป็นมนุษย์นั้น มนุษย์สามารถมีความสุขและความสร้างสรรค์ในการทำงานร่วมกันได้กุญแจแห่งอนาคตของมนุษยชาติจึงอยู่ที่การเรียนรู้เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐาน(Transformative Learning) ทั้งในตัวเอง (Personal Transformation) และเชิงองค์กร (Organizational Transformation) จิตตปัญญาศึกษาวิถีพุทธ คือการศึกษาที่ทำให้เข้าใจด้านในของตัวเอง รู้ตัว เข้าถึงความจริง ทำให้เปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับโลกและผู้อื่น เกิดความเป็นอิสระ ความสุข ปัญญา และความรักอันไพศาลต่อเพื่อนมนุษย์และสรรพสิ่ง หรืออีกนัยหนึ่ง เกิดความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์โดยเน้นการศึกษาจากการปฏิบัติ เช่น จากการทำงาน ศิลปะ กิจกรรมชุมชน วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น กิจกรรมทางศาสนา การฝึกสมาธิ เจริญสติ สวดมนต์ ฟังธรรม การเป็นอาสาสมัครเพื่อสังคม สุนทรียสนทนา การเรียนรู้จากธรรมชาติ และจิตตภาวนา ชุมชนจิตตปัญญาศึกษา การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง เพื่อยกระดับจิตวิญญาณของตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เพื่อความสุขและการอยู่ร่วมกันด้วยสันติ ในสังคมต่อไป
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1. เพื่อศึกษากระบวนการเรียนรู้ด้วยจิตตปัญญาศึกษาวิถีพุทธในชุนชนตำบลวังหิน อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี 2. เพื่อสร้างองค์ความรู้ ความดี ความงาม ความจริง เกิดปัญญาและชีวิตสันติสุขที่ยั่งยืน 3. เพื่อเป็นชุมชนต้นแบบแก่ชุมชนทั่วประเทศ
ขอบเขตของโครงการ :
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
2557 เกิดกลไก กระบวนการเรียนรู้จิตตปัญญาศึกษาวิถีพุทธมีความร่วมมือในกิจกรรมด้านต่างๆ เช่น ด้านศาสนา ด้านวัฒนธรรม ด้านการศึกษา ด้านสุขภาพ ด้านเศรษฐกิจ และเกิดกระบวนการเรียนรู้ทั้งชุมชน (P) P 2557 เกิดเครือข่ายการเรียนรู้ร่วมกันในชุมชน/องค์การบริหารส่วนตำบล โรงเรียนอันเป็นเสมือนดังภูมิคุ้มกันของชุมชนในการรู้เท่าทันต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน (I) I 2557 สมาชิกในชุมชนทุกคน สามารถพัฒนาศักยภาพของตนให้เกิดปัญญารู้ดี รู้ชั่ว รู้คุณ รู้โทษ รู้เหตุรู้ผล รู้เท่าทันสภาวะการเปลี่ยนแปลงของโลก สามารถแก้ปัญหา สร้างสรรค์อาชีพที่ถูกต้องดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง ตั้งอยู่ในศีลธรรมอันดี ก่อให้เกิดชุมชนที่สันติสุข มีความเข็มแข็ง และการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของชุมชนได้ (G) G
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         คณะผู้วิจัยแบ่งขั้นตอนการดำเนินการวิจัย ออกเป็น 4 ระยะ ประกอบด้วย ปีงบประมาณ 2557 (1 ตุลาคม 2556 – 30 กันยายน 2557) ) ระยะที่ 1 - 3 ระยะที่ 1 ระยะเตรียมการและพัฒนาแนวคิดโครงการ แบ่งเป็น ขั้นที่ 1 การศึกษาปัญหาและกำหนดแนวทางในการดำเนินการ ขั้นที่ 2 การพัฒนาโครงการและการคัดเลือกชุดการอบรมตัวอย่าง ขั้นที่ 3 การรับสมัครและคัดเลือกผู้ร่วมวิจัย (กลุ่มตัวอย่าง) ระยะที่ 2 ระยะดำเนินการโครงการ แบ่งเป็น ขั้นที่ 1 การประชุมเตรียมความพร้อมผู้ร่วมวิจัย ขั้นที่ 2 การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการชุดการอบรมตัวอย่าง ขั้นที่ 3 การถอดบทเรียน ระยะที่ 3 ระยะสรุปผล วิเคราะห์ และสังเคราะห์งานวิจัย ปีงบประมาณ 2558 (1 ตุลาคม 2557 – 30 กันยายน 2558) ระยะที่ 4 ระยะที่ 4 ระยะสร้างเครือข่าย และเผยแพร่ผลการวิจัย (สร้างเครือข่าย ใน 3 จังหวัด คือ จังหวัดอุทัยธานี จังหวัดชัยนาท และจังหวัดนครสวรรค์) สถานที่ทำวิจัย ชุมชนตำบลวังหิน อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี การเก็บข้อมูล ในการเก็บข้อมูลระหว่างการดำเนินการวิจัยเพื่อนำมาวิเคราะห์ผลตามวัตถุประสงค์ของโครงการ คณะผู้วิจัยได?คำนึงถึงความหลากหลายในแง?ที่มาและลักษณะของข้อมูล ซึ่งจะช่วยให้การวิเคราะห์ภาพรวมและองค์ประกอบย่อยมีความสมบูรณ?ในการตอบคำถามหลักของการวิจัยได? ดังนั้น คณะผู้วิจัยจึงมีการเก็บข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ดังต่อไปนี้ 1) การสังเกตในระหว่างกระบวนการและภายหลังกระบวนการจากคณะผู้วิจัย ซึ่งทำหน้าที่สังเกตและบันทึกความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น 2) การสังเกตและบันทึกกระบวนการจากผู้สังเกตการณ?ภายนอก ซึ่งคณะผู้วิจัยได?เชิญคณะทำงานจากสถาบันต่าง ๆ มาเป็นผู?ทำหน้าที่บันทึกกระบวนการที่เกิดขึ้นในส่วนของการอบรมเชิงปฏิบัติการแต่ละครั้ง เพื่อจะนำข้อมูลเกี่ยวกับปรากฏการณ?ที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการดังกล่าวกลับมาวิเคราะห์อีกครั้งหนึ่ง 3) ประสบการณ?ตรงของผู?ร่วมวิจัยจากการเข้าร่วมในแต่ละกระบวนการ โดยรวบรวมข้อมูลจาก (1) บันทึกประจำวัน (Journal) ซึ่งคณะผู้วิจัยแจกสมุดบันทึกให้กับผู้ร่วมวิจัยคนละ 1 เล่ม โดยขอให้แต่ละคนบันทึกการเรียนรู?ในแต่ละครั้งของการเข้าร่วมการอบรมและข้อสังเกตในชีวิตประจำวันภายนอกการอบรมที่เชื่อมโยงกับการเรียนรู?ดังกล่าว (2) การสนทนาอย่างไม?เป็นทางการระหว่างผู?วิจัยและผู้ร่วมวิจัย (3) การประชุมกลุ่มย่อย (focus group) ซึ่งจัดขึ้นทุกครั้งภายในระยะเวลาไม?เกิน 5 – 7 วัน หลังการอบรมแต่ละครั้ง ครั้งหนึ่งมีผู้เข้าร่วมการประชุมไม?เกิน 10 คน โดยคำถามหลักส่วนใหญ่ของการประชุมคือการให้ผู้ร่วมวิจัยสะท้อนการเรียนรู้และข้อคิดเห็น (ทั้งข้อดีและข้อที่ควรปรับปรุง) ที่สังเกตเห็นได?จากประสบการณ?ตรงของตนเองในการเข้าร่วมอบรม ทั้งในแง?กิจกรรม กระบวนการ (4) การเขียนสรุปประสบการณ?การเรียนรู?และความเปลี่ยนแปลงในตนเองของผู้ร่วมวิจัยทุกๆ 3 เดือน ซึ่งเป็นการประมวลผลที่ได?รับจากการเข้าร่วมโครงการกับการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน 4) การสัมภาษณ์กระบวนกรของแต่ละชุดการอบรมเกี่ยวกับเป้าหมายและการออกแบบชุดการอบรม รวมทั้งข้อสังเกตอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอบรมที่จัดขึ้น 5) การสัมภาษณ์ผู้ร่วมวิจัยเกี่ยวกับผลที่เกิดขึ้นกับตนเองภายหลังจากการเข้าร่วมโครงการ ทั้งในการเรียนรู?และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและในหน้าที่การงาน
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 นายธนสิทธิ์ คณฑา นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 70%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย