มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
สถาบันวิจัยและพัฒนา
ระบบจัดการงานวิจัย
NSRU
RESEARCH
หน้าหลัก
ค้นหารายการ
ข้อมูลงานวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
รายงานสถิติ
งานวิจัย
งานทรัพย์สินทางปัญญา
เข้าสู่ระบบ
รายละเอียดโครงการวิจัย
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การศึกษาประสิทธิภาพและพัฒนาการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำไหลโดยใช้กังหัน ชนิดแกนตั้งในชุมชนตะเคียนเลื่อนริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาจังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
The Study Efficiency and Development of Generate Electricity from Water Flow by Vertical Axis Turbine at Takeanluen Community Nakhon Sawan Province
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
7 พฤษภาคม 2561
วันสิ้นสุดโครงการ :
6 พฤศจิกายน 2562
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยประยุกต์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
ปัจจุบันความต้องการใช้ไฟฟ้า ของประเทศไทยมีเพิ่มขึ้น โดยเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556 มีความต้องการใช้ไฟฟ้า มีค่าเท่ากับ 24,251.15 เมกะวัตต์ (การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, 2556) สาเหตุของความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มเนื่องจากการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคม มีผลทำให้อัตราการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจและการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรเป็นไปอย่างรวดเร็ว ที่ ต้องอาศัยพลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อน จึงต้องผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น เพื่อตอบสนองต่อความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้า ซึ่งการผลิตไฟฟ้านั้นส่วนใหญ่จะใช้พลังงานในกลุ่มปิโตรเลียมที่ใช้แล้วหมดไป และยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ภาวะโลกร้อน ฝนกรด เป็นต้น จากข้อมูลข้างต้น พลังงานทดแทนเป็นอีกทางเลือกที่ใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า เพราะพลังงานทดแทนเป็นพลังงานที่สะอาดไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถหมุนเวียนมาใช้ใหม่ได้อีก โดยการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การผลิตไฟฟ้าโดยอาศัยพลังงานศักย์ของน้ำ (น้ำตก, เขื่อน) และการผลิตไฟฟ้าที่อาศัยพลังงานจลน์ของน้ำ (แน่น้ำ, ลำธาร) ประเทศไทยมีพื้นที่รวม 512,000 ตารางกิโลเมตร แบ่งพื้นที่ตามสภาพภูมิประเทศซึ่งมีลุ่มน้ำสายหลัก ได้เป็น 25 ลุ่มน้ำหลัก ในปี พ.ศ. 2554 ได้รับปริมาณน้ำฝนประมาณ 932,722 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ซึ่งร้อยละ 70 ของปริมาณน้ำจำนวนนี้ จะซึมลงใต้ดินและระเหยกลับไปสู่บรรยากาศ และค้างที่อยู่ในแอ่งน้ำ หนอง และบึงธรรมชาติ ส่วนที่เหลือร้อยละ 30 เป็นน้ำท่าที่ไหลไปตามแม่น้ำ ลำคลอง ห้วย ธารและลำต่างๆ โดยภาคเหนือมีปริมาณน้ำท่าประมาณ 38,567 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีปริมาณน้ำท่าประมาณ 61,513 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ภาคกลางมีประมาณ 24,976 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ภาคตะวันออกประมาณ 23,882 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี และภาคใต้ประมาณ 64,486 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี จังหวัดนครสวรรค์เป็นจังหวัดหนึ่งที่อยู่ในเขตภาคเหนือของประเทศไทยซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำเจ้าพระยา คือ การรวมตัวของแม่น้ำ 4 สาย ไหลมาบรรจบกันที่ อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ เป็นแม่น้ำน่าน และไหลรวมกันที่อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์จากนั้นไหลลงไปทางทิศใต้ผ่านจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร ก่อนออกสู่อ่าวไทย รวมความยาวจากจังหวัดนครสวรรค์ถึงปากอ่าวไทยมีความยาว 370 กิโลเมตร เมื่อจังหวัดนครสวรรค์เป็นสถานที่รวมตัวของแม่น้ำ 4 สายทำให้แม่น้ำเจ้ายาในจังหวัดนครสวรรค์มีปริมาณน้ำเฉลี่ยรายปี 22,016 ล้านลบ.ม. ไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ซึ่งมีปริมาณมากที่สุดในประเทศไทย ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงศึกษาและค้นคว้าเครื่องผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานน้ำไหลแบบกังหันแกนตั้ง เพื่อนำกระแสไฟฟ้าจ่ายให้กับชุมชน เพื่อเป็นทางเลือกในการใช้พลังงานทดแทนของชุมชนริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาจังหวัดนครสวรรค์ ดังนั้นจึงมีการศึกษาทางด้านพลังงานทดแทนเพื่อบรรเทาปัญหาวิกฤตพลังงาน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐและกระทรวงพลังงานตลอดจนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับปัจจุบันและยังเกิดความมั่นคงและยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อม
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1.2 วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย 1. เพื่อออกแบบและสร้างเครื่องผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำไหลแบบกังหันแกนตั้ง เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของใบกังหันชนิดแกนตั้งขนาด 20 เซนติเมตร, 30 เซนติเมตร และ40 เซนติเมตร 2. เพื่อวิเคราะห์ขนาดของใบกังหันชนิดแกนตั้งที่เหมาะสมกับแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตชุมชน ตะเคียนเลื่อนจังหวัดนครสวรรค์ 3. เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของเครื่องผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำไหลแบบ กังหันแกนตั้ง 4. เพื่อจัดทำคู่มือการออกแบบสร้างและคู่มือการใช้งานของเครื่องผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำ ไหลแบบกังหันแกนตั้งที่ใช้บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตชุมชนตะเคียนเลื่อนจังหวัดนครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :
1.3 ขอบเขตของโครงการวิจัย 1. ขอบเขตพื้นที่ ชุมชนตะเคียนเลื่อนจังหวัดนครสวรรค์ เก็บข้อมูลโดยการทดสอบใน ช่วงเวลา 8.00-16.00 น. 2. ขอบเขตประชากร/ กลุ่มตัวอย่าง: ตำบลตะเคียนเลื่อน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ มีประชากรจำนวน 70 ครัวเรือน ซึ่งเป็นชุมชนที่มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านตลอดแนวข้างของชุมชน มีความเร็วของกระแสน้ำคงที่ สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานน้ำไหลได้ตลอดทั้งปี 3. ขอบเขตตัวแปรและเนื้อหา 1) ระดับน้ำและความเร็วของกระแสน้ำ 2) ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าจากใบกังหัน 3 ขนาด 3) ระยะเวลาคืนทุนของเครื่องผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำไหล 4) วิเคราะห์ขนาดของใบกังหันที่มีความเหมาะสมในการนำมาผลิตไฟฟ้าบริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาชุมชนตะเคียนเลื่อนจังหวัดนครสวรรค์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
1.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากงานวิจัย 1. ได้เครื่องผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำไหลแบบกังหันแกนตั้ง 2. ได้ผลการทดสอบประสิทธิภาพของกังหันแบบแกนตั้ง ขนาด 20 เซนติเมตร, 30 เซนติเมตร และ 40 เซนติเมตร 3. ได้ทราบผลขนาดของใบกังหันที่เหมาะสมสำหรับแม่น้ำเจ้าพระยาในเขต อำเภอเมืองใน เขต จังหวัดนครสวรรค์ 4. ได้ผลความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของเครื่องผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำไหลแบบกังหันแกน ตั้ง
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
บทที่ 3 วิธีการดำเนินการวิจัย งานวิจัยนี้ ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการทดสอบ เริ่มจากหาพื้นที่รับแรงของใบกังหัน หาแรงต้านที่ได้จากใบกังหัน หาแรงบิดของใบกังหัน หาความเร็วของใบกังหัน กำลังที่ได้รับจากน้ำขาเข้าใบกังหัน และกำลังไฟฟ้าที่ผลิตได้ รวมถึงหาประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าจากกังหันน้ำแกนตั้ง 3.1 รูปแบบวิจัย การศึกษาการออกแบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานน้ำไหลแบบกังหันแกนตั้งใช้รูปแบบการวิจัยหลายรูปแบบแสดงดังภาพที่ 3.1 ภาพที่ 3.1 แผนภูมิแสดงขั้นตอนการดำเนินการวิจัย 3.2 การคำนวณการออกแบบเครื่องต้นแบบการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานน้ำไหลแบบกังหันแกนตั้ง 3.2.1 การคำนวณ จากการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นโดยระเอียดและนำมาเป็นแนวทางในการดำเนินการคำนวณทางวิศวกรรมในส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องดังนี้ พื้นที่รับแรงของใบกังหัน (A) กำหนดเงื่อนไขในการออกแบบกังหันดังนี้ รัศมีใบกังหันใบขนาดที่ 1 ยาว 20 เซนติเมตร และรัศมีใบกังหันขนาดที่ 2 ยาว 30 เซนติเมตร และรัศมีใบกังหันขนาดที่ 3 ยาว 40 เซนติเมตร โดยแต่ละขนาดมีความสูงเท่ากับ 30 เซนติเมตร พื้นที่รับแรงใบกังหันเท่ากับ A = b ? h ดังนั้นพื้นที่รับแรงของกังหันใบที่ 1 ใบที่ 2 และ ใบที่ 3 เท่ากับ 0.06 ตารางเมตร, 0.09 ตารางเมตร และ 0.12 ตารางเมตร ตามลำดับ แรงต้านจากใบกังหัน (F) F = 1/2 C_D ?V^2 A เมื่อ CD คือ สัมประสิทธิ์แรงต้านการไหล F คือ แรงต้านของใบกังหัน (นิวตัน) ? คือ ความหนาแน่นของน้ำ (กิโลกรัม/ลูกบากศ์เมตร) A คือ พื้นที่รับแรงของใบกังหัน (ตารางเมตร) V คือ ความเร็วของกระแสน้ำ (เมตร/วินาที) ในงานวิจัยนี้ได้คำนวณหาแรงต้านของใบกังหันน้ำชนิดแกนตั้ง ขนาด 30 เซนติเมตร x 20 เซนติเมตร ขนาด 30 เซนติเมตร x 30 เซนติเมตร และขนาด 30 เซนติเมตร x 40 เซนติเมตร และใช้ค่าสัมประสิทธิ์แรงต้านการไหลสำหรับใบกังหันแกนตั้งชนิด C-section (open side facing flow) มีค่าเท่ากับ 2.30 แรงบิดของใบกังหันน้ำชนิดแกนตั้งโดยเฉลี่ย (T) การหาแรงบิดของใบกังหันน้ำชนิดแกนตั้งสามารถคำนวณได้จากสมการ T = FR เมื่อ T คือ แรงบิดของใบกังหันน้ำชนิดแกนตั้ง (นิวตัน-เมตร) F คือ แรงต้านของใบกังหัน (นิวตัน) R คือ รัศมีของใบกังหัน (เมตร) ความเร็วรอบของใบกังหันน้ำชนิดแกนตั้ง (นิวตัน) การหาความเร็วรอบของใบกังหันน้ำชนิดแกนตั้งสามารถคำนวณได้จากสมการ N = (60xV)/2?R เมื่อ N คือ ความเร็วรอบของใบกังหันน้ำชนิดแกนตั้ง (รอบ) V คือ ความเร็วของกระแสน้ำ เมตร/วินาที) R คือ รัศมีของใบกังหัน (เมตร) กำลังที่ได้รับจากน้ำขาเข้าใบกังหัน (Pin) การวิเคราะห์กำลังที่ได้จากน้ำขาเข้าใบกังหันน้ำชนิดแกนตั้ง จากใบขนาด 30 เซนติเมตร x 20 เซนติเมตร ขนาด 30 เซนติเมตร x 30 เซนติเมตร และขนาด 30 เซนติเมตร x 40 เซนติเมตรสามารถคำนวณได้จากสมการ Pin = (2?TN )/60 เมื่อ Pin คือ กำลังที่ได้รับจากน้ำขาเข้า (วัตต์) T คือ แรงบิดของใบกังหันน้ำชนิดแกนตั้ง (นิวตัน-เมตร) N คือ ความเร็วรอบของใบกังหันน้ำชนิดแกนตั้ง (รอบ) กำลังไฟฟ้าที่ผลิตได้ (POUT) การวิเคราะห์กำลังไฟฟ้าที่ผลิตได้ จากใบขนาด 30 เซนติเมตร x 20 เซนติเมตร ขนาด 30 เซนติเมตร x 30 เซนติเมตร และขนาด 30 เซนติเมตร x 40 เซนติเมตร สามารถคำนวณได้จากสมการ POUT = VI เมื่อ POUT คือ กำลังไฟฟ้าที่ผลิตได้ (วัตต์) V คือ แรงดันไฟฟ้า (โวลต์) I คือ กระแสไฟฟ้า (แอมแปร์) ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า (?) การวิเคราะห์กำลังไฟฟ้าที่ผลิตได้ จากใบขนาด 30 เซนติเมตร x 20 เซนติเมตร ขนาด 30 เซนติเมตร x 30 เซนติเมตร และขนาด 30 เซนติเมตร x 40 เซนติเมตร สามารถคำนวณได้จากสมการ ? = (Pout / Pin) x100 เมื่อ POUT คือ กำลังไฟฟ้าที่ผลิตได้ (วัตต์) Pin คือ กำลังที่ได้รับจากน้ำขาเข้า (วัตต์) ออกแบบขนาดทุ่นลอยน้ำ (V) โครงสร้างของกังหันน้ำชนิดแกนตั้งสำหรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำไหลมีน้ำหนักประมาณ 350 กิโลกรัม V = (W x g) / (? x g) V = (350 x 9.81) / (1000 x 9.81) = 0.35 ลูกบาศก์เมตร ถ้าใช้ถังน้ำ 100 ลิตร เป็นทุ่นลอยน้ำจะมีความจุ 100 ลิตร หรือ 0.1 ตารางเมตร ดังนั้นจะต้องใช้ถังน้ำมัน 100 ลิตร จำนวน 0.35 / 0.1 = 3.5 ถัง ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงเลือกใช้ถังน้ำขนาดความจุ 100 ลิตร จำนวน 4 ถัง เป็นทุ่นลอย เพื่อความสมดุลทั้ง 2 ด้าน 3.3 การออกแบบเครื่องต้นแบบการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานน้ำไหลแบบกังหันแกนตั้ง ภาพที่ 3.2 แสดงแบบเครื่องผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำไหลแบบกังหันแกนตั้ง หลักการทำงานของเครื่องผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำไหลแบบกังหันแกนตั้งในงานวิจัยนี้ ได้ออกแบบแผ่นเหล็กบางสำหรับบังคับทางน้ำไหลให้เข้าไปที่ใบกังหันโดยตรงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการหมุนของใบกังหัน ให้สามารถหมุนได้ความเร็วรอบและมีแรงทางกลเพิ่มสูงขึ้น โดยส่งต่อไปที่ชุดทดรอบเพื่อทำการผลิตไฟฟ้าในเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้อาศัยหลักการ เมื่อมีขดลวดตัวนำตัดผ่านสนามแม่เหล็กจะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าที่ขดลวดตัวนำ ในงานวิจัยนี้ได้ออกแบบและสร้างเครื่องผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำไหลชนิดแกนตั้ง โดยใช้เหล็กกล่องขนาด 1.5 นิ้ว เชื่อมต่อขึ้นเป็นโครงสร้าง รายละเอียดดังรูปที่ 2 เพื่อรองรับถังน้ำเพื่อทำเป็นทุ่นลอยน้ำ ขนาด 100 ลิตร รายละเอียดดังรูปที่ 3 มีความสูงของถังขนาด 1.2 เมตร ข้างละ 2 ถัง รวมเป็นจำนวน 4 ถัง รวมถึงออกแบบใบกังหันสำหรับรับน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้า 3 ขนาด ประกอบด้วย ใบกังหันขนาด 20 เซนติเมตร ยาว 30 เซนติเมตร จำนวน 12 ใบ, ขนาด 30 เซนติเมตร ยาว 30 เซนติเมตร จำนวน 12 ใบ และขนาด 40 เซนติเมตร ยาว 30 เซนติเมตร จำนวน 12 ใบ ซึ่งแต่ละชุดจะประกอบไปด้วยใบกังหันจำนวน 12 ใบ ทำจากแผ่นเหล็กบาง ทำการตัดและดัดเชื่อมขึ้นรูป ประกอบเป็นใบกังหันทั้ง 3 ขนาด เมื่อประกอบใบกังหันพร้อมติดตั้งเพลาไว้ที่กลางตัวกังหัน ดังรูปที่ 4 และทำการติดตั้งชุดเครื่องกำเนิดไฟฟ้า รายละเอียดดังรูปที่ 5 และติดตั้งชุดทดรอบ ดังรูปที่ 6 รวมถึงติดตั้งอุปกรณ์สำหรับการวัดค่าพลังงานไฟฟ้าเพื่อทำการทดสอบเปรียบเทียบประสิทธิภาพขนาดใบกังหันที่เหมาะสมในการผลิตไฟฟ้า ภาพที่ 3.3 โครงสร้างเครื่องผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำไหลแบบกังหันแกนตั้ง ภาพที่ 3.4 ถังน้ำสำหรับใช้ทำทุ่นลอยน้ำ ภาพที่ 3.5 ลักษณะใบกังหันที่ออกแบบและสร้างในการวิจัย ภาพที่ 3.6 ส่วนประกอบและลักษณะการติดตั้งของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในการวิจัย ภาพที่ 3.7 ส่วนประกอบของชุดทดรอบ ภาพที่ 3.8 ส่วนประกอบของเครื่องผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำไหลแบบแกนตั้ง 3.4 วิธีการทดลองเครื่องต้นแบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานน้ำไหลแบบกังหันแกนตั้ง การดำเนินการทดลองเครื่องผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานน้ำไหลแบบกังหันแกนตั้ง เพื่อปรับปรุงเครื่องต้นแบบการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานน้ำไหลแบบแกนตั้งสำหรับชุมชนริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาจังหวัดนครสวรรค์ คณะผู้วิจัยจึงได้แยกการทดลองดังนี้ 3.4.1 การทดลองการผลิตไฟฟ้าจะเป็นการทดลองอัตราการผลิตไฟฟ้าต่อชั่วโมงจากใบกังหัน ทั้ง 3 ขนาดคือ 20 เซนติเมตร 30 เซนติเมตร 40 เซนติเมตร นำข้อมูลที่ได้จากการทดลองนี้ไปหาประสิทธิภาพของเครื่องต้นแบบการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานน้ำไหลแบบแกนตั้งสำหรับชุมชนริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาจังหวัดนครสวรรค์ 3.4.2 การทดลองเครื่องต้นแบบการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานน้ำไหลแบบกังหันแกนตั้ง ใช้ใบกังหัน 3 ขนาด ทำการทดสอบขนาดละ 3 วัน ตั้งแต่เวลา 8:00 – 16:00 น. วัดความเร็วน้ำ , วัดกระแสไฟฟ้า , วัดแรงดันไฟฟ้า ทำการทดลอง จดบันทึกทุกๆ 20 นาที 3.4.3 ทดลองเครื่องผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานน้ำไหลแบบกังหันแกนตั้ง ใบกังหัน ขนาด 20 เซนติเมตร วัดความเร็วน้ำ, วัดกระแสไฟฟ้า, วัดแรงดันไฟฟ้า ทำการทดลอง 2 วัน จำบันทึกทุกๆ 20 นาที 3.4.4 ทดลองเครื่องผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานน้ำไหลแบบกังหันแกนตั้ง ใบกังหัน ขนาด 30 เซนติเมตร วัดความเร็วน้ำ, วัดกระแสไฟฟ้า, วัดแรงดันไฟฟ้า จดบันทึกทุกๆ 20 นาที ทำการทดลอง 2 วัน 3.4.5 ทดลองเครื่องผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานน้ำไหลแบบกังหันแกนตั้ง ใบกังหัน ขนาด 40 เซนติเมตร วัดความเร็วน้ำ, วัดกระแสไฟฟ้า, วัดแรงดันไฟฟ้า ทำการทดลอง 2 วัน จดบันทึกทุกๆ 20 นาที 3.5 การวิเคราะห์ข้อมูล นำผลที่ได้จากการทดลองมาคำนวณและแสดงผลโดยการทำตารางและกราฟ เพื่อเปรียบเทียบผลที่ได้ และทำการวิเคราะห์ผลการท
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่
รายชื่อ
ประเภทนักวิจัย
บทบาทหน้าที่
สัดส่วน
1
นายจักราวุฒิ เตโช
นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย
หัวหน้าโครงการวิจัย
50%
2
นายถิรายุ ปิ่นทอง
นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย
ผู้ร่วมวิจัย
50%
สถาบันวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130
หมายเลขโทรศัพท์
056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย
website
rdi.nsru.ac.th
Smart Rdi Nsru