มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
สถาบันวิจัยและพัฒนา
ระบบจัดการงานวิจัย
NSRU
RESEARCH
หน้าหลัก
ค้นหารายการ
ข้อมูลงานวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
รายงานสถิติ
งานวิจัย
งานทรัพย์สินทางปัญญา
เข้าสู่ระบบ
รายละเอียดโครงการวิจัย
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
วิถีแห่งความสุขบนพื้นฐานพุทธธรรมและภูมิปัญญา : กรณีศึกษา ชุมชน วัดเจ้าวัด ตำบลเจ้าวัด อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
The Way of Happiness Based on Buddhism and Wisdom : a case study of the Chao Wat temple community, Chao Wat district, Ban Rai District, Uthai Thani Province.
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
1 ตุลาคม 2561
วันสิ้นสุดโครงการ :
1 กันยายน 2562
ประเภทของการวิจัย :
การวิจัยและพัฒนา
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
ในปัจจุบันปัญหาสังคมเกิดขึ้นมากมาย ทำให้มนุษย์มีความสุขน้อยลง การวัดค่าความเจริญของประเทศด้วยค่าตัวเลขทางเศรษฐกิจนั้น เป็นค่าที่ไม่เป็นไปตามความจริง เพราะประชาชนยังไม่มีความสุขทั่วหน้า ปัจจัย 4 ยังไม่เพียงพอกับการดำเนินชีวิต ดังนั้นการแก้ปัญหาให้ประชาชนมีความสุขถึงจะเป็นวิธีที่ถูกต้อง องค์ประกอบและปัจจัยแห่งความสุขที่แท้จริงคืออะไร และวิธีการให้เกิดความสุขที่แท้จริงคืออะไร เป็นหน้าที่จะต้องศึกษาค้นคว้าหาความจริง ดังนั้นโจทย์วิจัยที่จะศึกษานี้ เป็นสิ่งที่ท้าทายและสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาประเทศหรือสังคมทั่วโลกให้มีความสุข เพราะความสุขเป็นสิ่งที่ปรารถนาของมนุษย์ทั้งมวล การพัฒนาประเทศที่ประสบความสำเร็จสูงสุด คือ ประชาชนมีความสุข การวิจัยในครั้งนี้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ข้อที่ 5.2.2 การพัฒนาคุณภาพคนไทยให้มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง (เพื่อสร้างวัคซีนให้กับสังคม) 5.2.5 การเสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันทางสังคม (เพื่อสร้างความเข้มแข็งสถาบันครอบครัวสู่สถาบันสังคม) สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ ฉบับที่ 8 ในยุทธศาสตร์การวิจัยที่ 1 การสร้างศักยภาพและความสามารถเพื่อการพัฒนาทางสังคม กลยุทธ์การวิจัยที่ 1 ปฏิรูปการศึกษา กระบวนการเรียนการสอนทั้งในและนอกระบบตลอดจนการพัฒนาระบบการเรียนรู้ด้วยตนเองระบบสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตในแต่ละท้องถิ่นด้วยการพัฒนาคนเด็กและเยาวชนนโยบายรัฐบาล (องค์ความรู้ได้นำมาสร้างเป็นหลักสูตรให้กับนักเรียนนักศึกษาให้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขที่แท้จริง) สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านการจัดการศึกษา (การพัฒนานักศึกษาด้วยการบูรณาการการเรียนการสอนกับกระบวนการทางวิจัย) ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านการวิจัยและบริการทางวิชาการ (อาจารย์พัฒนาด้านวิจัยและให้บริการทางวิชาการกับสังคม) ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม (วิจัยศึกษาศิลปวัฒนธรรมที่ทำให้มีความสุขและเป็นการทำนุบำรุงไว้คู่สังคมไทยต่อไป)สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ของคณะ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างความรู้และนวัตกรรมให้สามารถตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติ นานาชาติและนำไปใช้ประโยชน์ต่อการพัฒนาท้องถิ่น (ได้นวัดกรรมทำเป็นคู่มือปรัชญาแห่งความสุข) ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 ฟื้นฟูและสืบสานคุณค่า ความหลากหลายของวัฒนธรรมไทยทั้งที่เป็นวิถีชีวิต ประเพณี ค่านิยมที่ดีงามภูมิปัญญาท้องถิ่นและสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น (ศึกษาวิถีชีวิตในทุกด้านเพื่อเป็นองค์ความรู้แห่งความสุข) สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมให้สามารถตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติและนานาชาติตลอดจนนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์และสาธารณะต่อการพัฒนาท้องถิ่น (มีบทความวิชาการและหนังสือปรัชญาแห่งความสุขตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติและนานาชาติ) ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 บริหารจัดการองค์กรตามหลักธรรมาภิบาลให้มีศักยภาพในการสร้างงานวิจัยและบริการวิชาการให้มีประสิทธิภาพ (องค์ความรู้นี้สามารถไปใช้กับองค์กรแห่งความสุขได้) ฉะนั้นวิจัยนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการศึกษาและให้ได้มาซึ่งความรู้เพื่อป้องกันปัญหา แก้ไขปัญหา และพัฒนาประเทศ จนถึงสังคมโลกต่อไป
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1. เพื่อศึกษาองค์ประกอบและปัจจัยวิถีแห่งความสุขของชุมชนวัดเจ้าวัด ต.เจ้าวัด อ.บ้านไร่ อุทัยธานี 2. เพื่อศึกษาองค์ความรู้ภูมิปัญญาที่สอดคล้องกับพุทธธรรมของชุมชนวัดเจ้าวัด ซึ่งก่อให้เกิดความสุขที่แท้จริงและยั่งยืน 3. เพื่อนำเสนอรูปแบบวิถีแห่งความสุขบนพื้นฐานพุทธธรรมที่สอดคล้องกับภูมิปัญญา
ขอบเขตของโครงการ :
1. ขอบเขตด้านประชากร ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ชุมชนวัดเจ้าวัด ตำบลเจ้าวัด อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี 2. ขอบเขตด้านพื้นที่ทำการศึกษา ชุมชนวัดเจ้าวัด ต.เจ้าวัด อ.บ้านไร่ อุทัยธานี 3. ขอบเขตด้านวิธีการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในการจัดเก็บข้อมูลให้มีการประสานความร่วมมือกับตัวแทนผู้ร่วมวิจัยในพื้นที่ศึกษา และจัดเวทีวิถีแห่งความสุขในวัดพื้นที่ศึกษา 4. ขอบเขตด้านตัวแปรที่ศึกษา ตัวแปรที่ศึกษาครอบคลุมเนื้อหาในเรื่องต่อไปนี้ 4.1 องค์ประกอบและปัจจัยภายนอก คือ 1) สุขภาพ 2) การศึกษา 3) อาชีพ 4) รายได้ 5) ที่อยู่อาศัย 6) ชีวิตครอบครัว 7) การคมนาคมและการสื่อสาร 8) สิ่งแวดล้อมและ 9) การมีส่วนร่วม 10) ศิลปวัฒนธรรมประเพณีและค่านิยม 4.2 องค์ประกอบและปัจจัยภายใน คือ 1) ร่างกาย 2) จิตใจ 3) สติปัญญา 4) จิตวิญญาณ 5) อารมณ์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
1. ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 2. ทำให้มีการเผยแพร่ ความก้าวหน้าของผลงานวิจัย ของนักวิชาการสาขาปรัชญา 3. ทำให้ทราบองค์ประกอบและปัจจัยวิถีแห่งความสุขของชุมชนวัดเจ้าวัด ต.เจ้าวัด อ.บ้านไร่ อุทัยธานี 4. ได้องค์ความรู้ภูมิปัญญาวิถีแห่งความสุขบนพื้นฐานพุทธธรรมซึ่งก่อให้เกิดความสุขที่แท้จริงและยั่งยืน 5. ได้รูปแบบวิถีแห่งความสุขบนพื้นฐานพุทธธรรมที่สอดคล้องกับภูมิปัญญา
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
งานวิจัยครั้งนี้เป็น เชิงคุณภาพ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ประกอบและปัจจัยวิถีแห่งความสุขของชุมชนวัดเจ้าวัด ต.เจ้าวัด อ.บ้านไร่ อุทัยธานี เพื่อศึกษาองค์ความรู้ภูมิปัญญาที่สอดคล้องกับพุทธธรรมของชุมชนวัดเจ้าวัด ซึ่งก่อให้เกิดความสุขที่แท้จริงและยั่งยืน และเพื่อนำเสนอรูปแบบวิถีแห่งความสุขบนพื้นฐานพุทธธรรมที่สอดคล้องกับภูมิปัญญา ในบทนี้ ผู้วิจัยจะกล่าวถึงประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ 1. การออกแบบการวิจัย 2. ประชากรที่ใช้ในการวิจัย 3. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 4. การสร้างเครื่องมือในการวิจัย 5. การเก็บรวบรวมข้อมูล 6. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล 7. การตรวจสอบข้อมูล 8. การวิเคราะห์ข้อมูล
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
การดำเนินการวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยศึกษาเอกสาร และลงพื้นที่ จัดเวทีชาวบ้าน สนทนา สัมภาณษ์ และการสังเกต เก็บข้อมูล ชุมชนวัดเจ้าวัด ตำบลเจ้าวัด อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี เพื่อให้ทราบตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่
รายชื่อ
ประเภทนักวิจัย
บทบาทหน้าที่
สัดส่วน
1
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธนสิทธิ์ คณฑา
นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย
หัวหน้าโครงการวิจัย
100%
สถาบันวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130
หมายเลขโทรศัพท์
056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย
website
rdi.nsru.ac.th
Smart Rdi Nsru