รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
รูปแบบการจัดสวัสดิการสังคมที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุในเทศบาลตำบลหนองฉาง อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
MODEL OF SOCIAL WELFARE OF MANAGEMENT FOR ELDERLY APPROPRIATE IN NONG CHANG SUB-DISTRICT MUNICIPALITY, NONG CHANG DISTRICT, UTHAI THANI PROVINCE.
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
1 ตุลาคม 2561
วันสิ้นสุดโครงการ :
30 กันยายน 2562
ประเภทของการวิจัย :
การวิจัยพื้นฐาน
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         การเปลี่ยนแปลงของประชากรในศตวรรษที่ ๒๑ แสดงให้เห็นชัดเจนถึงการเพิ่มจำนวนประชากรสูงอายุ อันเป็นผลจากการลดลงของอัตราเกิด จากการลดลงของประชากรวัยหนุ่มสาว ร่วมกับพัฒนาการเทคโนโลยีทางการแพทย์ การรักษาโรค และการขจัดติดเชื้อต่าง ๆ ตลอดจนการดูแลด้านโภชนาการและความสะอาดด้านสุขาภิบาลที่ช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น อายุขัยเฉลี่ยของประชากรเพิ่มมากขึ้นจากจำนวนประชากรสูงอายุที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้มีข้อสังเกตถึงลักษณะการเพิ่มของประชากรผู้สูงอายุคือ ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วการเพิ่มจำนวนประชากรจะเป็นลักษณะแบบค่อยเป็นค่อยไป ในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาการเพิ่มจำนวนประชากรผู้สูงอายุจะเป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในทวีปเอเชีย พบว่า ประเทศกลุ่มเอเชียตะวันออกจะมีจำนวนการเพิ่มประชากรผู้สูงอายุมากกว่าประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันตก และพบการเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ ในกลุ่มประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากจำนวนประชากรผู้สูงอายุทั่วโลกที่มีอยู่ร้อยละ ๕ ในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ คาดว่าจะเป็นร้อยละ ๑๐ ในปี พ.ศ. ๒๕๙๓ โดยองค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่าในปี พ.ศ.๒๕๖๘ ในกลุ่มประชากรจำนวนทุก ๗ คน จะพบผู้สูงอายุ ๑ คน จากการเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุทั่วโลก พบประเด็นสาเหตุสำคัญและนำไปสู่ปัญหาทางสุขภาพ คือ ปัญหาความยากจนและการมีรายได้น้อย ซึ่งส่งผลให้ความพึงพอใจในชีวิตลดลง การรับการตอบสนองความต้องการพื้นฐาน ได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย และการรับบริการทางการแพทย์ลดลง มีผลต่อภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุในที่สุด (สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ,คู่มือแนวทางการจัดตั้งและดำเนินการคลินิกผู้สูงอายุ,กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.๒๕๔๘) การที่ประชากรไทยในอนาคตเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ จนอิ่มตัวแล้วลดลงนั้น เป็นผลเนื่องมาจากภาวะเจริญพันธุ์ที่ลดต่ำลงและคนไทยมีชีวิตยืนยาวขึ้นอีก ลักษณะเช่นนี้ทำให้โครงสร้างอายุของประชากรเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัดเจน หากดูที่จำนวนประชากร เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ในช่วง ปี พ.ศ. 2548 – 2578 จะมีจำนวนลดลงจาก 14 ล้าน (ร้อยละ 23 ของประชากรทั้งหมด) เหลือ 9 ล้านคนเศษ (ร้อยละ 14) ส่วนประชากรวัยแรงงาน (อายุ 15 – 59 ปี) นั้นมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย กล่าวคือในช่วง พ.ศ. 2548 – 2558 จำนวนจะเพิ่มขึ้นจาก 41 ล้าน เป็น 43 ล้านคน หลังจากนั้นจะลดจำนวนลงเหลือ 38 ล้านคนในปี พ.ศ. 2578 อาจกล่าวได้ว่าจำนวนประชากรวัยแรงงานในอนาคตอีก 30 ปีข้างหน้าเกือบไม่เปลี่ยนแปลงเลยก็ว่าได้ อย่างไรก็ตาม การที่จำนวนประชากรวัยเด็กจะลดลงอย่างมากจะมีผลทำให้จำนวนประชากรในวัยเรียน (อายุ 6 – 21 ปี) ลดลงอย่างต่อเนื่องจาก 16 ล้านคนในปี พ.ศ. 2548 เป็น 11 ล้านคนในปี พ.ศ. 2578 สำหรับประชากรกลุ่มสุดท้าย คือ กลุ่มผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) คนกลุ่มนี้มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มอื่น ๆ ในปี พ.ศ. 2548 มีประชากรสูงอายุอยู่ 6 ล้านคนเศษ (ร้อยละ 10) เมื่อถึงปี พ.ศ. 2578 จำนวนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นเป็น 16 ล้านคน (ร้อยละ 25) เท่ากับเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าตัวในเวลาราว ๆ 30 ปีเท่านั้น(สำนักงานสถิติแห่งชาติ. มปป.สำมะโนประชากร พ.ศ. 2503) สัดส่วนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วส่งผลให้ลักษณะการพึ่งพิงทางเศรษฐกิจระหว่างประชากรวัยต่าง ๆ เปลี่ยนไป เดิมมีประชากรวัยเด็กที่ต้องพึ่งพิงประชากรวัยแรงงานมากกว่าผู้สูงอายุ แต่ในอนาคตอันใกล้นี้ จะมีผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพิงประชากรวัยแรงงานมากกว่าเด็ก อัตราส่วนระหว่างประชากรวัยแรงงานต่อผู้สูงอายุจะลดลงจนเหลือเพียง 2 ต่อผู้สูงอายุ 1 คน ในอีก 30 ปีข้างหน้า ซึ่งในประเทศไทยระบบและรูปแบบการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุมีขอบข่ายจำกัดนอกจากนั้นแบบแผนการให้บริการก็ยังไม่เป็นระบบและรูปแบบที่ดีพอผู้สูงอายุในประเทศไทยนับว่ายังได้รับความสนใจดูแลน้อยทั้งจากภาครัฐและเอกชนนโยบายและการบริการต่างๆที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุมักได้รับการมองว่าเป็นเรื่องไม่เร่งด่วนและมีความสำคัญเป็นอันดับรองเมื่อเปรียบเทียบกับประชากรกลุ่มอื่นในการดำเนินงานด้านสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นคืองานสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุได้ส่งผลให้เกิดประโยชน์แก่ผู้สูงอายุเพียงบางกลุ่มเท่านั้นไม่สามารถกระจายได้ทั่วถึงและตอบสนองต่อความต้องการที่แท้จริงของผู้สูงอายุ (กิติพัฒน์ นนทปัทมะดุล, 2536: 42) ถึงแม้ว่า ประเทศไทยจะยังไม่มีการกำหนดให้เรื่องการเตรียมความพร้อมสู่สังคมผู้สูงอายุเป็นวาระแห่งชาติก็ตาม แต่ในช่วงที่ผ่านมามีการกำหนดนโยบาย กฎหมาย กลไกและการดำเนินงานหลายเรื่องที่จะช่วยเป็นรากฐานของการทำงานในระยะต่อไปได้ ทั้งนี้ในการประเมินการดำเนินงานที่มีอยู่ในปัจจุบันจะอาศัยการประเมินผลการดำเนินงานในเรื่องผู้สูงอายุ แล้วจึงพัฒนาไปสู่การดำเนินงานในกลุ่มวัยอื่น ๆ โดยประเทศไทยมีสถานะและความก้าวหน้าในการดำเนินงานด้านกฎหมาย นโยบายและกลไกการทำงาน (กรอบยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมสังคมไทยสู่สังคมผู้สูงอายุ) ดังนี้ ๑) พรบ. ผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๔๖ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๔๗ เป็นต้นมา กำหนดให้ผู้สูงอายุได้รับการคุ้มครอง ส่งเสริมและสนับสนุนในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่จัดให้ผู้สูงอายุ โดยสะดวกและรวดเร็วเป็นกรณีพิเศษ การศึกษา ศาสนาและข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ การประกอบอาชีพหรือฝึกอาชีพที่เหมาะสม การพัฒนาตนเองและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม การรวมกลุ่มในลักษณะเครือข่ายหรือชุมชน การอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยโดยตรงแก้ผู้สูงอายุในอาคารสถานที่ ยานพาหนะ หรือบริการสาธารณะอื่น การช่วยเหลือด้านค่าโดยสารยานพาหนะตามความเหมาะสม การยกเว้นค่าเข้าชมสถานที่ของรัฐ การช่วยเหลือผู้สูงอายุ ซึ่งได้รับอันตรายจากการถูกทารุณกรรมหรือถูกแสวงหาประโยชน์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือถูกทอดทิ้ง การให้คำแนะนำ ปรึกษา ดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องในทางคดีหรือทางแก้ไขปัญหาครอบครัว การจัดที่พักอาศัย อาหาร เครื่องนุ่งห่มและสงเคราะห์เบี้ยยังชีพตามความจำเป็นอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม การสงเคราะห์ในการจัดงานศพตามประเพณีและอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติกำหนด รวมทั้งให้มีการลดหย่อนภาษีเงินได้ในกรณีผู้บริจาคเงินหรือทรัพย์สินให้แก่กองทุนและผู้อุปการะเลี้ยงดูบุพการี ซึ่งเป็นผู้สูงอายุที่ไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพตลอดจนให้มีการจัดตั้งกองทุนผู้สูงอายุขึ้นด้วย ๒) แผนผู้สูงอายุฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๕-๒๕๖๔) ประกอบด้วย (๑) ยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมของประชากร เพื่อวัยสูงอายุที่มีคุณภาพ ครอบคลุมเรื่องหลักประกันด้านรายได้เพื่อวัยสูงอายุ การให้การศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต และการปลูกจิตสำนึกให้คนในสังคมตระหนักถึงคุณค่าและศักดิ์ศรีของผู้สูงอายุ (๒) ยุทธศาสตร์การส่งเสริมผู้สูงอายุครอบคลุมเรื่อง การส่งเสริมความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพ การอยู่ร่วมกันสร้างความเข้มแข็งขององค์กรผู้สูงอายุ การทำงานและการหารายได้ การสนับสนุนผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ การสนับสนุนสื่อทุกประเภทให้มีรายการเพื่อผู้สูงอายุและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุได้รับความรู้ และสามารถเข้าถึงข่าวสารและสื่อ การให้ผู้สูงอายุมีที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและปลอดภัย (๓) ยุทธศาสตร์ด้านระบบคุ้มครองทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุ ครอบคลุมเรื่องรายได้หลักประกันด้านสุขภาพ ครอบครัว ระบบบริการและเครือข่ายการเกื้อหนุน (๔) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ ครอบคลุมเรื่องการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนางานด้านผู้สูงอายุระดับชาติ และการพัฒนาบุคลากร (๕) ยุทธศาสตร์การประมวลและพัฒนาองค์ความรู้และการติดตามประเมินผล ครอบคลุมเรื่องการศึกษาและการพัฒนาระบบข้อมูล ๓) นโยบายของรัฐบาลรัฐบาลแถลงเมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๔๘ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ เตรียมความพร้อมให้แก่สังคมผู้สูงอายุ ยึดหลักการให้ผู้สูงอายุเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าของระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เป็นผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ โดยสร้างหลักประกันด้านรายได้ และระบบการออมในวัยทำงานที่เพียงพอสำหรับช่วงวัยสูงอายุ สร้างพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมกับช่วงวัย สนับสนุนครอบครัวให้เข้มแข็งสามารถดูแลสมาชิกได้อย่างมีคุณภาพ ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับผู้มีอายุเกิน ๖๕ ปี และส่งเสริมการใช้ประสบการณ์ของผู้สูงอายุในกระบวนการพัฒนาประเทศโดยระบบคลังสมอง ๔) แผนบริหารราชการแผ่นดินระยะ ๔ ปี (พ.ศ. ๒๕๔๙-๒๕๕๑) กำหนดกลยุทธ์หลักการเตรียมความพร้อมสู่สังคมผู้สูงอายุ ๔ ประการได้แก่ (๑) สร้างความเข้มแข็งให้สถาบันครอบครัวและชุมชน ร่วมกันพัฒนาศักยภาพ และคุ้มครองสมาชิกช่วงวัยอย่างเป็นองค์รวม (๒) ฟื้นฟูค่านิยมที่ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันของคนต่างวัยและเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุนำความรู้และประสบการณ์มาทำประโยชน์เพื่อสังคมและสร้างรายได้ (๓) ส่งเสริมการออมและสร้างหลัก ประกันด้านรายได้ในช่วงวัยทำงานอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการเพิ่มโอกาสในการทำงานของผู้สูงอายุ และ (๔) สร้างและขยายโอกาสในการเข้าถึงหลักประกันทางสังคมขั้นพื้นฐานสำหรับผู้สูงอายุ ๕) นโยบายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ นโยบายเมืองไทยแข็งแรง (Healthy Thailand) มุ่งการสร้างความแข็งแรงทางสุขภาพของประชาชนอย่างเป็นองค์รวมทั้งในมิติทางกาย จิตใจ สังคม ปัญญาและจิตวิญญาณ เช่น การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การบริโภคอาหารที่ปลอดภัย การมีอายุขัยเฉลี่ยยืนยาวพร้อมสุขภาพที่แข็งแรง มีหลักประกันการเข้าถึงบริการสุขภาพที่ได้มาตรฐาน มีครอบครัวอบอุ่น เด็กและคนแก่ได้รับการเอาใจใส่จากครอบครัวมี IQ, EQ และ MQ ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ได้รับการศึกษาในระบบโรงเรียนไม่น้อยกว่า ๑๒ ปี และมีโอกาสเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต มีสัมมาอาชีพและรายได้ที่เพียงพอ มีที่อยู่อาศัยที่ถูกสุขลักษณะ อยู่ในสภาพ แวดล้อมที่ดี ลดละเลิกอบายมุขและสิ่งเสพติด มีความรู้รักสามัคคี แก้ปัญหาความขัดแย้งด้วยสันติวิธี และยึดมั่นในศาสนธรรมและวัฒนธรรมที่ดีงาม ๖) หน่วยงานกลางในการดำเนินการด้านผู้สูงอายุ ปัจจุบันมีคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานผู้สูงอายุแห่งชาติ (กสผ.) ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย แผนหลัก แนวทางปฏิบัติ และสนับสนุนการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุเป็นไปตาม พ.ร.บ. ผู้สูงอายุ พ.ศ.๒๕๔๖ โดยมีสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นหน่วยงานกลางในการดำเนินงานรวมทั้งอยู่ในระหว่างการจัดตั้งกองทุนผู้สูงอายุ นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานภาครัฐ เอกชนและชุมชนจำนวนมากที่ดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาผู้สูงอายุ ทั้งนี้ถึงแม้ว่าประเทศไทยได้มีการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุในหลายรูปแบบ ในขณะเดียวกันก็ยังพบปัญหาและอุปสรรคในการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุไทย ซึ่งสวัสดิการสังคมที่รัฐจัดให้กับผู้สูงอายุยังไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้สูงอายุ ไม่สามารถตอบสนองปัญหาได้อย่างแท้จริง ไม่ครอบคลุมผู้สูงอายุทั้งหมดและยังไม่สามารถกระจายได้ทั่วถึงและผู้สูงอายุขาดการรับรู้และความเข้าใจในสิทธิของผู้สูงอายุตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุพ.ศ.2546 รวมทั้งการจัดบริการที่ภาคประชาชนไม่มีส่วนร่วม ทำให้ไม่ได้รับความร่วมมือประเด็นสำคัญ คือ บุตรหลานหรือคนในครอบครัวขาดความตระหนักถึงความสำคัญของผู้สูงอายุ เพราะคิดว่าผู้สูงอายุเป็นภาระของครอบครัวหรือสังคม จึงให้ความสนใจและความเข้าใจต่อผู้สูงอายุน้อย ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีความต้องการสวัสดิการสังคมจากภาครัฐ ภาคเอกชนหรือภาคประชาชนเพื่อเติมเต็มความต้องการของผู้สูงอายุเองมากขึ้น (นารีรัตน์จิตรมนตรี และ สาวิตรี ทยานศิลป์, 2552) ด้วยเหตุผลดังกล่าวผู้วิจัยจึงมีความสนใจในการศึกษากลไกการจัดการด้านสวัสดิการสังคมที่เหมาะสมของผู้สูงอายุ ในเขตพื้นที่เทศบาลอำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี เนื่องด้วยลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมของเทศบาลอำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานีมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว พร้อมๆ กับการพัฒนาทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในพื้นที่ รวมทั้งเพื่อนำผลการศึกษาไปใช้เป็นแนวทางในการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ ให้เกิดประสิทธิภาพและสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
6.1 เพื่อศึกษารูปแบบ และวิธีการจัดสวัสดิการสังคมที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุในเทศบาลตำบลหนองฉาง อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี 6.2 เพื่อเสนอแนวทางการจัดสวัสดิการสังคมที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุในเทศบาลตำบลหนองฉาง อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี
ขอบเขตของโครงการ :
7.1 ขอบเขตด้านเนื้อหา ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยมุ่งศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบการจัดสวัสดิการสังคมที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุในเทศบาลตำบลหนองฉาง อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี โดยศึกษาการจัดสวัสดิการสังคมที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุในเทศบาลตำบลหนองฉาง ใน 6 ด้าน คือ 1) ด้านสุขอนามัย 2) ด้านการแก้ไขปัญหาความยากจนและด้อยโอกาส 3) ด้านที่อยู่อาศัย 4) ด้านสิ่งแวดล้อม 5) ด้านความปลอดภัยในทรัพย์สิน และ 6) ด้านการศึกษาและการฝึกอาชีพ และแนวคิดด้านคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์การอนามัย (WHOQOL Group, 1996 อ้างถึงใน พัชรี หล้าแหล่ง,2556, หน้า 10) ประกอบไปด้วย 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านร่างกาย 2) ด้านจิตใจ 3) ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และ 4) ด้านสิ่งแวดล้อม 7.2 ขอบเขตด้านพื้นที่ การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้จำกัดขอบเขตอยู่ในพื้นที่เทศบาลตำบลหนองฉาง อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี ซึ่งมีองค์การปกครองส่งท้องถิ่น คือ เทศบาลตำบลหนองฉาง 7.3 ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ เจ้าหน้าที่กองสวัสดิการของเทศบาลตำบลหนองฉาง จำนวน 3 คน และประชากรผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลหนองฉาง จำนวน 12 คน โดยทำการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ (Interview) โดยเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informants) 7.3 ขอบเขตด้านระยะเวลา ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาวิจัยตั้งแต่เดือน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
9.1 ได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการสังคมของเทศบาลตำบลหนองฉาง อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี 9.2 สามารถนำข้อมูลที่ได้ไปกำหนดเป็นแนวทางในการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุในเทศบาลตำบลหนองฉาง อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี 9.3 สามารถนำผลที่ได้จากการศึกษามาทำการวางแผนและพัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         การศึกษาวิจัยเรื่อง “รูปแบบการจัดสวัสดิการสังคมที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุในเทศบาลตำบลหนองฉาง อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี” ผู้วิจัยได้กำหนดระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึกแบบมีโครงสร้างและการวิเคราะห์เชิงพรรณนาโดยใช้ผลที่ได้จากการสัมภาษณ์ ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและแนวคิดที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์เชิงลึก ซึ่งผู้วิจัยจะได้นำเสนอขั้นตอนในการดำเนินการวิจัย ดังนี้ ๑ การศึกษาข้อมูลเอกสาร (Documentary research) ๒ การสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth Interview) วิธีการวิจัย การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้กำหนดระเบียบวิธีการวิจัย โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) อันประกอบด้วย กระบวนการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารหรือการวิจัยเชิงเอกสาร (Document Research) กระบวนการสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth Interview) โดยมีเหตุผลประการสำคัญของการนำระเบียบวิธีการวิจัยดังกล่าวข้างต้นมาใช้ในการดำเนินการวิจัย ดังมีสาระสำคัญพอสรุปได้ดังนี้ 1. การวิจัยเชิงเอกสาร (Document Research) การกำหนดระเบียบวิธีการวิจัย โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงเอกสาร (Document Research) นั้น โดยเบื้องต้น ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยตามระเบียบวิธีการวิจัยโดยการใช้กระบวนวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยกระบวนการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารหรือการวิจัยเชิงเอกสาร (Document Research) โดยการทบทวนแนวคิด ทฤษฎี และวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการจัดการด้านสวัสดิการสังคมที่เหมาะสมของผู้สูงอายุ โดยเริ่มต้นจากการศึกษาดังนี้ 1) กฎหมายว่าด้วยการจัดสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 และพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 ได้ให้ความคุ้มครอง ส่งเสริม และการสนับสนุนต่อสิทธิประโยชน์ของผู้สูงอายุ 2) ปัญหาของผู้สูงอายุซึ่งว่าด้วยปัญหาด้านสังคมที่ผู้สูงอายุไม่มีญาติพี่น้องมาดูแลปัญหาด้านเศรษฐกิจ คือค่าใช้จ่ายในการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ และปัญหาด้านกายภาพของที่อยู่อาศัยที่ไม่เหมาะสมกับผู้สูงอายุเป็นต้น 3) แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับผู้สูงอายุว่าด้วยความหมายของผู้สูงอายุ ทฤษฎีที่ว่าด้วยบทบาทของผู้สูงอายุในสังคม ว่าด้วยกิจกรรมของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ในสังคม และทฤษฎีว่าด้วยความทันสมัย คือเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม และเทคโนโลยี ทำให้เกิดผลกระทบต่อผู้สูงอายุ ด้านสถานภาพ บทบาทของผู้สูงอายุ เป็นต้น 4) แนวคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับความต้องการว่าด้วยความต้องการหรือความจำเป็นขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ซึ่งมีความจำเป็นหลายระดับผู้สูงอายุก็มีความต้องการที่จะได้รับการเลี้ยงดู หรือความจำเป็นขั้นพื้นฐานเหมือนกัน 5) การจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุ ตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 ว่าด้วยการจ่ายเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุ นโยบาย และมาตรการของผู้สูงอายุด้านต่างๆ เช่น ด้านสวัสดิการสุขภาพอนามัย ด้านสาธารณูปโภค ด้านที่พักอาศัย หรือด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของผู้สูงอายุ 6) แนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมว่าด้วยการที่ประชาชนจะมีทั้งสิทธิและหน้าที่ที่จะเข้าร่วมในการแก้ปัญหาทางสุขภาพของเขา มีความรับผิดชอบมากขึ้นที่จะสำรวจตรวจสอบความจำเป็นเรื่องสุขภาพอนามัย การระดมทรัพยากรท้องถิ่นและเสนอแนะทางแก้ไขใหม่ๆ เช่นเดียวกับการก่อตั้งและดำรงรักษาองค์การต่างๆ ในท้องถิ่น 2. การสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth Interview) สำหรับการกำหนดระเบียบวิธีการวิจัย โดยการใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) โดยการใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีลักษณะเป็นการสัมภาษณ์เจาะลึก โดยมีการออกแบบโครงสร้างของข้อคำถามที่สามารถนำไปใช้ในการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างหรือการสัมภาษณ์แบบชี้นำ (Guided Interview) กล่าวคือ เป็นการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างหรือการสัมภาษณ์แบบปลายเปิด ซึ่งเป็นวิธีการวิจัยที่มีความยืดหยุ่นและเปิดกว้างหรือมีการนำคำสำคัญ (Keywords) มาใช้ประกอบการชี้นำคำสัมภาษณ์ กล่าวคือมีการร่างข้อคำถามที่มีลักษณะปลายเปิดที่มีคำสำคัญพร้อมกับลักษณะของข้อคำถามที่มีความยืดหยุ่นและพร้อมที่จะมีการปรับเปลี่ยนถ้อยคำของข้อคำถามให้มีความสอดคล้องกับผู้มีส่วนร่วมในการวิจัยหรือผู้สัมภาษณ์แต่ละคนในแต่ละสถานการณ์ที่มีเหตุการณ์หรือมีสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ ตลอดจนบุคคลที่มีความสำคัญหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับกลไกการจัดการด้านสวัสดิการสังคมที่เหมาะสมของผู้สูงอายุ ร่วมทั้งผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีความสำคัญใน กลไกการจัดการด้านสวัสดิการสังคมแก่ผู้สูงอายุ ตอบข้อคำถามจากการสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth Interview) อันทำให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่มีความหลากหลายในมิติต่างๆ และข้อเท็จจริงในทางปฏิบัติ ที่มีทั้งมิติของความลึกและมิติของความกว้างในเรื่องที่เกี่ยวกับรูปแบบการจัดด้านสวัสดิการของผู้สูงอายุ 3. เทคนิค SWOT การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้เทคนิค SWOT ซึ่งเป็นกลยุทธ์สำคัญและจำเป็นสำหรับการพัฒนาองค์กร ในที่นี้คือ กลุ่มชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลหนองฉาง เนื่องจากทุกองค์กรต่างใช้กลยุทธ์ในการทำงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ โดยกลยุทธ์ของแต่ละองค์กรจะถูกกำหนดตามธรรมชาติและลักษณะขององค์กรนั้น ๆ ทั้งนี้ การที่องค์กรจะกำหนดกลยุทธ์ได้นั้นจำเป็นศึกษาสถานภาพหรือสภาวะขององค์กรของตนเสียก่อน นอกจากนั้น ยังต้องมีกระบวนการกำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมสำหรับตนเอง วิธีการและเทคนิคในการวิเคราะห์สภาวะขององค์กรและกระบวนการกำหนดกลยุทธ์มีหลายวิธีด้วยกัน หนึ่งในวิธีการเหล่านี้ คือ กระบวนการวิเคราะห์ SWOT ซึ่งเป็นวิธีการที่รู้จักและใช้กันอย่างแพร่หลาย SWOT เป็นคำย่อมาจากคาว่า Strengths, Weaknesses, Opportunities, and Threats Strengths คือ จุดแข็ง หมายถึง ความสามารถและสถานการณ์ภายในองค์กรที่เป็นบวกซึ่งองค์กรนำมาใช้เป็นประโยชน์ในการทางานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ หรือ หมายถึงการดำเนินงานภายในที่องค์กรทำได้ดี เช่น ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ สถานภาพทางการเงิน บุคลากร ผลผลิต มีเครือข่ายการจัดจำหน่ายที่ครอบคลุม โดยประเมินค่าเป็นระดับจากสูงสุดไปหาต่ำสุด อย่างไรก็ตาม จุดแข็งในบางมิติอาจไม่มีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กรก็ได้ Weaknesses คือ จุดอ่อน หมายถึง สถานการณ์ภายในองค์กรที่เป็นลบและด้อยความสามารถ ซึ่งองค์กรไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการทำงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ หรือหมายถึงการดำเนินงานภายในที่องค์กรทำได้ไม่ดี เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับตัวแทนจำหน่ายไม่ราบรื่น ต้นทุนการผลิตสูงกว่าองค์กรอื่น โดยการประเมินจะประเมินจากค่าสูงสุดไปหาต่ำสุด Opportunities คือ โอกาส หมายถึง ปัจจัยและสถานการณ์ภายนอกที่เอื้ออานวยให้การทำงานขององค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ หรือหมายถึง สภาพแวดล้อมภายนอกที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินการขององค์กร ทั้งนี้ องค์กรควรพิจารณาโอกาสในมิติของความดึงดูดใจและความน่าประสบความสำเร็จขององค์กร Threats คือ อุปสรรค หมายถึง ปัจจัยและสถานการณ์ภายนอกที่ขัดขวางการทำงานขององค์กรไม่ให้บรรลุวัตถุประสงค์ หรือหมายถึงสภาพแวดล้อมภายนอกที่เป็นปัญหาต่อองค์กรและมักจะตรงข้ามกับ Opportunities บางครั้งการจำแนกโอกาสและอุปสรรคเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เพราะทั้งสองสิ่งนี้สามารถเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงอาจทำให้สถานการณ์ที่เคยเป็นโอกาสกลับกลายเป็นอุปสรรคได้และในทางกลับกัน อุปสรรคอาจกลับกลายเป็นโอกาสได้เช่นกัน ด้วยเหตุนี้องค์กรมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ของตนให้กันต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์แวดล้อมหลักการสำคัญของ SWOT คือ การวิเคราะห์โดยการสำรวจจากสภาพการณ์ ๒ ด้าน คือสภาพการณ์ภายในและสภาพการณ์ภายนอก ดังนั้น การวิเคราะห์ SWOT จึงเรียกได้ว่าเป็นการวิเคราะห์สภาพการณ์ (Situation Analysis) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อให้รู้ตนเองรู้จักสภาพแวดล้อมชัดเจนและวิเคราะห์โอกาส-อุปสรรค การวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายนอกและภายในองค์กร ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารขององค์กรทราบถึงการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายนอกองค์กร ทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคต รวมทั้งผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ที่มีต่อองค์กรธุรกิจและจุดแข็ง จุดอ่อนและความสามารถด้านต่าง ๆ ที่องค์กรมีอยู่ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการกำหนดวิสัยทัศน์ การกำหนดกลยุทธ์และการดำเนินตามกลยุทธ์ระดับองค์กรที่เหมาะสมต่อไป ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย สำหรับการวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้กำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจากผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ ตลอดจนบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีความสำคัญในกลไกการจัดการด้านสวัสดิการสังคมแก่ผู้สูงอายุ ทั้งนี้ เพื่อให้ทราบถึงแนวคิด และทรรศนะทางด้านต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับรูปแบบการจัดการด้านสวัสดิการสังคมแก่ผู้สูงอายุ โดยดำเนินกระบวนการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง ด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Random) ดังกล่าวมาดำเนินการประมวลผลข้อมูลอันนำไปสู่ค้นค้นพบต่อไป ในส่วนของการกำหนดประชากร และกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sample) สำหรับกระบวนวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ครั้งนี้ ผู้วิจัยได้กำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่างสำหรับการสัมภาษณ์เจาะลึกจากเจ้าหน้าที่กองสวัสดิการของเทศบาลตำบลหนองฉาง จำนวน 3 คน และประชากรผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลหนองฉาง จำนวน 12 คน โดยทำการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลวิจัย ได้แก่ แนวคำถามที่ใช้ในการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interview) ที่สร้างขึ้น โดยใช้การทบทวนแนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาเป็นกรอบคำถามในการสัมภาษณ์ ซึ่งการสัมภาษณ์จะเป็นในลักษณะคำถามปลายเปิด (Open-endedquestion) เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลแต่ละด้านที่ต้องการศึกษา โดยแบบการสัมภาษณ์เป็น 2 ฉบับประกอบด้วย มีรายละเอียดดังนี้ ฉบับที่ 1 เป็นแบบสอบถามที่ผู้สัมภาษณ์ใช้เป็นคู่มือในการสัมภาษณ์ เพื่อสอบถามข้อมูลเจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาชุมชนของเทศบาลตำบลหนองฉาง อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี จำนวน 3 คน โดยมีประเด็นคำถามดังนี้ ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 ด้านจัดสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ ตอนที่ 3 ด้านคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ตอนที่ 4 แนวทางการจัดสวัสดิการสังคมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของ ฉบับที่ 2 เป็นแบบสอบถามที่ผู้สัมภาษณ์ใช้เป็นคู่มือในการสัมภาษณ์ เพื่อสอบถามข้อมูลประชากรผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลตำบลหนองฉาง อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี จำนวน 12 คน โดยมีประเด็นคำถามดังนี้ ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 ด้านจัดสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ ตอนที่ 3 ด้านคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ตอนที่ 4 แนวทางการจัดสวัสดิการสังคมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของ การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ในการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผู้วิจัยได้กำหนดวิธีการสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth Interview) โดยใช้กระบวนวิธีการสัมภาษณ์แบบชี้นำ (Guided Interview) อันเป็นกระบวนวิธีการสัมภาษณ์ที่ไม่มีรูปแบบข้อคำถามที่ตายตัว หรือกระบวนวิธีการสัมภาษณ์ที่มีลักษณะที่ไม่มีข้อคำถามที่เป็นมาตรฐาน (Unstructured or Unstandardized Interview) กล่าวคือ เป็นกระบวนการวิธีสัมภาษณ์ที่ไม่มีการกำหนดโครงสร้างของข้อคำถามที่นำมาใช้ในการสัมภาษณ์เจาลึก (In-depth Interview) อย่างชัดเจน เพียงแต่มีการกำหนดลักษณะของข้อคำถามที่มีลักษณะเปิดกว้างมีความยืดหยุ่น และมีการนำคำสำคัญ (Keyword) มาใช้ประกอบในการชี้นำในกระบวนการสัมภาษณ์ โดยที่ลักษณะของข้อคำถามเช่นว่านี้ สามารถที่จะปรับเปลี่ยนถ้อยคำหรือให้มีความสอดคล้องกับผู้มีส่วนร่วมในการวิจัยหรือผู้ให้สัมภาษณ์แต่ละคนตามสถานการณ์ที่มีการขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงไปได้ตลอดเวลา ในการกำหนดกระบวนการ และขั้นตอนในการออกการวิจัย (Research Design) หรือการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในกระบวนการวิจัยนั้น ผู้วิจัยได้กำหนดกระบวนการและขั้นตอนในการดำเนินการวิจัย อันมีสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้ 1) การศึกษาข้อมูลวิจัยจากเอกสารทางวิชาการ และผลของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกลไกการจัดสวัสดิการแก่ผู้สูงอายุ 2)การดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกลไกการจัดสวัสดิการแก่ผู้สูงอายุ 3) การดำเนินการเพื่อกำหนดกระบวนการ ขั้นตอนและแนวทางในการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนร่วมในการวิจัยหรือผู้ให้สัมภาษณ์อันประกอบด้วยบริหารองค์กรเทศบาล ผู้สูงอายุ ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับรูปแบบการจัดสวัสดิการแก่ผู้สูงอายุ 4) การออกแบบวิจัย (Research Design) หรือการสร้างแบบสัมภาษณ์ สำหรับนำไปใช้ในกระบวนการสัมภาษณ์เจาะลึก โดยการออกแบบหรือสร้างแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างหรือการสัมภาษณ์แบบชี้นำ ซึ่งมีลักษณะเป็นกระบวนวิธีการสัมภาษณ์ที่มีแบบหรือลักษณะที่ไม่เป็นมาตรฐาน ทั้งนี้ ได้มีการกำหนให้นำแบบสัมภาษณ์ดังกล่าวมาดำเนินกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องชัดเจนในเชิงเนื้อหาให้สอดคล้องกับประเด็นปัญหาและวัตถุประสงค์ของการวิจัย โดยผู้ทรงคุณวุฒิและนักวิชาการโดยเบื้องตนก่อนเพื่อที่จะนำแนวคิดหรือข้อเสนอแนะอันเป็นประโยชน์ที่ได้รับจากผู้ทรงคุณวุฒิ และนักวิชาการ มาใช้ในการปรับปรุงข้อคำถามของแบบสัมภาษณ์รวมทั้งจะได้มีการนำแบบสัมภาษณ์ที่ได้รับการปรับปรุงแล้วไปดำเนินการทดลองสัมภาษณ์กับผู้ทรงคุณวุฒิ และนักวิชาการ หรือบุคคลที่มีส่วนสำคัญกับกระบวนการในการจัดสวัสดิการแก่ผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นผู้ที่มีคุณลักษณะใกล้เคียงกับผู้มีส่วนร่วมในการวิจัยหรือผู้ให้สัมภาษณ์ เพื่อที่จะนำสภาพปัญหาหรือข้อบกพร่องของแบบสัมภาษณ์ไปดำเนินการปรับปรุงครั้งสุดท้ายก่อนที่จะนำไปใช้ในการดำเนินกระบวนการสัมภาษณ์จริง เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่มีความถูกต้องสมบูรณ์ อันมีผลต่อการนำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ไปใช้ในกระบวนการประมวลผลข้อมูลต่อไป การเก็บรวบรวมข้อมูล ในด้านกระบวนการหรือแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่นำมาใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้กำหนดกระบวนการหรือแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลใน ๒ ลักษณะ ได้แก่ กระบวนการหรือแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการเก็บรวบรวมจากการศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากเอกสารวิชาการ และจากสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ และการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจาะลึก กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลดังกล่าวเป็นกระบวนการเก็บตามแนวทางกระบวนวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ มีสาระสำคัญดังนี้ 1) การเก็บรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการและข้อมูลจากสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับกระบวนการในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ และข้อมูลจากสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศนั้น ผู้วิจัยได้ดำเนินการในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากสถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งแหล่งข้อมูลจากส่วนราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลในระดับทุติยภูมิ (Secondary Data) ประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ รายงานการศึกษาวิจัย และผลงานวิจัยประเภทต่างๆ เป็นต้น เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการออกแบบหรือสร้างแบบสัมภาษณ์เจาะลึกรวมทั้ง เพื่อนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในกระบวนการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลจากการสัมภาษณ์เจาะลึก 2) การเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เจาะลึก การเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth Interview) นั้น ผู้วิจัยได้กำหนดแนวทางประการสำคัญในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการขอความร่วมมือ จากองค์กรเทศบาล หรือหน่วยงานจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นตัวแทนของกลุ่มตัวอย่างสำหรับการวิจัยครั้งนี้ เพื่อขอสัมภาษณ์อย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ตลอดถึงผู้ที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการจัดสวัสดิการแก่ผู้สูงอายุด้วย ดังนั้น ในกระบวนการสัมภาษณ์เชิงลึก ทางผู้วิจัยได้ดำเนินกระบวนการบันทึกข้อมูล โดยวิธีการจดบันทึกข้อมูลและการบันทึกเสียงของผู้มีส่วนร่วมในการวิจัยหรือผู้ให้สัมภาษณ์ โดยการขออนุญาตจากผู้มีส่วนร่วมในการวิจัยหรือผู้ให้สัมภาษณ์ก่อนทำการบันทึกเสียงหากได้รับอนุญาต เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในกระบวนการตรวจสอบและตรวจทานความถูกต้องย้อนกลับในภายหลังได้ การวิเคราะห์ข้อมูล 1. ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพจากการการสัมภาษณ์เชิงลึก ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) และสรุปความตามประเด็นสำคัญที่ศึกษา 2. ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพจากการการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) และสรุปความตามประเด็นสำคัญที่ศึกษา ซึ่งผู้วิจัยได้นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาใช้ในกระบวนการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล โดยดำเนินการร่วมกับกระบวนการรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากเอกสาร (Documentary Research) โดยกระบวนการและวิธีการวิเคราะห์ตามกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลโดยพิจารณาประเด็นหลัก (Major themes) มาพิจารณาแยกออกเป็นประเด็นย่อย (Sub-themes) และหัวข้อย่อย (Categories) ซึ่งเป็นกระบวนการวิเคราะห์โดยการเริ่มต้นจากการวิเคราะห์ภาพรวมไปสู่ไปสู่ประเด็นย่อยของการบวนการวิเคราะห์ตามแนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพ นอกจากนี้ในระหว่างการดำเนินตามกระบวนการสัมภาษณ์เจาะลึก ผู้วิจัยได้ดำเนินการสะท้อนกลับ (Reflecting) ในแต่ละช่วงหรือขั้นตอนควบคู่ไป เพื่อเสริมสร้างให้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการใช้กระบวนการในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เจาะลึก ที่นำมาใช้ในการวิจัยครั้งนี้มีความตรง (Rigor) เพื่อให้กระบวนการวิจัยครั้งนี้มีความเข้มข้นมากขึ้น รวมทั้งผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนา เพื่อแสวงหาข้อค้นพบ จากกระบวนวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญที่สามารถนำไปสู่การทำข้อเสนอแนะในการทำนโยบายขององค์กรเทศบาล และนำไปสู่แนวทางในการปฏิบัติต่อไป 3. การวิเคราะห์ SWOT เพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทั้งภายนอกและภายในของชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลสุเทพ ผลจากการวิเคราะห์ SWOT นี้จะใช้เป็นแนวทางในการกำหนดวิสัยทัศน์ การกำหนดกลยุทธ์เพื่อให้ชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลสุเทพเกิดการพัฒนาไปในทางที่เหมาะสมอย่างยั่งยืน
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 นางสาวดนธินี ฟองคำ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 100%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย