รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
รูปแบบการเรียนการสอนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารตามแนวอภิปัญญาด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 : กรณีศึกษาโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
The Information Communication and Technology Instructional Model Based on Metacognition Approach by Using Cooperative Learning Management for the Primary 6 : A case of Schools Under Nakhon Sawan Municipality
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะครุศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
19 พฤศจิกายน 2556
วันสิ้นสุดโครงการ :
18 พฤศจิกายน 2557
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยประยุกต์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         ปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากยิ่งขึ้น คนส่วนใหญ่ต่างใช้เทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร ในการทำงานเพื่อรวดเร็วและแม่นยำ ทำให้องค์กรหลายๆองค์กร ต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบขององค์กร ทั้งในเรื่องของการจัดเก็บเอกสาร การติดต่อสื่อสาร การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทั้งในระดับหน่วยงานขนาดเล็กไปจนหน่วยงานขนาดเล็กไปจนหน่วยงานขนาดใหญ่ ทั้งที่อยู่ในกำกับของรัฐและเอกชนต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบขององค์กรที่จากเดิม ผู้ปฏิบัติงานทั้งในด้านเป็นผู้ให้บริการ นักพัฒนาระบบ หรือผู้ใช้บริการจะต้องจำเป็นต้องมีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อที่จะใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสอดคล้องกับ การเสวนาพิเศษในหัวข้อ “What are the big decisions that will shape our future” โดย ดร.ทนง พิทยะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่กล่าวว่า “มีช่องว่างระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนในเรื่อง digital literacy ในระดับที่สูงมาก เช่น เอกชนมีการประยุกต์ใช้ไอแพดเพื่อธุรกิจ การใช้ซอฟแวร์ต่างๆ เพื่อธุรกิจเพื่อสร้างประสิทธิภาพของตัวเอง แต่ภาครัฐมีพัฒนาการที่ช้ามาก และตามไม่ทัน ซึ่งเป็นปัญหาต่อการพัฒนาระบบการบริหารภาครัฐ” (http://thaipublica.org/2012/09/thailand-at-the-crossroads-seminar/)นอกจากนี้แล้วกระทรวงศึกษาธิการได้มีนโยบายแจกแทปเล็ตเพื่อการศึกษาให้กับเด็กระดับประถมศึกษาปีที่ 1 และยังมีโครงการขยายให้กับนักศึกษาระดับอื่นๆในอนาคต ซึ่งเป็นนโยบายที่ช่วยลดช่องว่างทางเทคโนโลยี และเพิ่มโอกาสทางการเข้าถึงเทคโนโลยีให้กับเด็กทุกคน เป็นการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งจากแนวนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการดังกล่าวได้สร้างแรงกระตุ้นให้กับบุคลากรทางการศึกษาในการประยุกต์ใช้แท็ปเล็ตในการเรียนการสอนมากขึ้น
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1.เพื่อสร้างรูปแบบการเรียนการสอนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารตามแนวอภิปัญญา (Metacognition) ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครจังหวัดนครสวรรค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 2.เพื่อนำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารตามแนวอภิปัญญา (Metacognition) ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครจังหวัดนครสวรรค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ขอบเขตของโครงการ :
ในการวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยได้กำหนดด้านต่างๆออกเป็น 2 ด้าน ดังนี้ 1.ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1.ผู้เชี่ยวชาญได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบการสอน ผู้เชี่ยวชาญด้านแนวคิดอภิปัญญา (Metacognition) ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ศึกษา/เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ด้านละ 4 ท่าน จำนวน 16 ท่าน 2.ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการสอนวิชาคอมพิวเตอร์/เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 4 ท่าน 3.ครูผู้สอนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการคัดสรรจากโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์ ดังรายชื่อโรงเรียนต่อไปนี้ จำนวน 8 ท่าน 1. โรงเรียนเทศบาล 1 (วัดไทรใต้) 2.โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดปากน้ำโพใต้) 3. โรงเรียนเทศบาล3 (วัดพรหมจริยาวาส) 4.โรงเรียนเทศบาล 4 (วัดวรนาถบรรพต) 5.โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดช่องเขาคีรีศรีสิทธิวราราม) 6.โรงเรียนเทศบาล6 (วัดจอมคีรีนาคพรต) 7.โรงเรียนเทศบาล 7 (วัดสุคตวราราม) 8.โรงเรียนเทศบาล 8 (วัดไทรเหนือ) 2.รูปแบบการเรียนการสอนมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ 1.แนวคิดทฤษฎีที่นำมาใช้ในการสร้างรูปแบบการเรียนการสอนได้แก่ -แนวคิดอภิปัญญา (Metacognition)-การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ –หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2.หลักการ ทฤษฎีและแนวคิดของรูปแบบการเรียนการสอนได้แก่-ทฤษฎีและแนวคิดอภิปัญญา (Metacognition)-หลักการ ทฤษฎีและแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) 3.วัตถุประสงค์ของรูปแบบการเรียนการสอน – วัตถุประสงค์ตามหลักการ ทฤษฎีและแนวคิดอภิปัญญา (Metacognition) – วัตถุประสงค์ตามหลักการ ทฤษฎีและแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) 4.เนื้อหาวิชา ได้แก่ เนื้อหาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยีชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้แก่ เรื่องที่ 1 การรวบรวมข้อมูลและการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล เรื่องที่ 2 การวางเค้าโครงนำเสนอข้อมูลและการเก็บรักษาข้อมูล เรื่องที่ 3 การค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ต เรื่องที่ 4 ขั้นตอนการแก้ปัญหาเบื้องต้น เรื่องที่ 5 การถ่ายทอดความคิดเพื่อแก้ปัญหา เรื่องที่ 6 การแก้ปัญหา เรื่องที่ 7 คอมพิวเตอร์ช่วยแก้ปัญหา 5.กระบวนการเรียนการสอน ใช้แนวการจัดการเรียนการสอน ดังนี้ 1.ขั้นวางแผน 2.ขั้นดำเนินการ3.ขั้นตรวจสอบ 6.การวัดและประเมินผล – ใช้วิธีการวัดและการประเมินผลการเรียนการสอนของกลุ่มงานอาชีพและเทคโนโลยีตามหลักสูตรฯ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
ครูสอนคอมพิวเตอร์สามารถนำรูปแบบการเรียนการสอนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารตามแนวอภิปัญญา หรือ Metacognition สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในโรงเรียน
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         การกำหนดพื้นที่ในการวิจัยในครั้งนี้ จะดำเนินการที่โรงเรียนสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์ ดังรายชื่อโรงเรียนต่อไปนี้ โรงเรียนเทศบาล 1 (วัดไทรใต้) 2.โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดปากน้ำโพใต้) 3. โรงเรียนเทศบาล3 (วัดพรหมจริยาวาส) 4.โรงเรียนเทศบาล 4 (วัดวรนาถบรรพต) 5.โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดช่องเขาคีรีศรีสิทธิวราราม) 6.โรงเรียนเทศบาล6 (วัดจอมคีรีนาคพรต) 7.โรงเรียนเทศบาล 7 (วัดสุคตวราราม) 8.โรงเรียนเทศบาล 8 (วัดไทรเหนือ) 1.ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1.ผู้เชี่ยวชาญได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบการสอน ผู้เชี่ยวชาญด้านแนวคิดอภิปัญญา (Metacognition) ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ศึกษา/เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ด้านละ 4 ท่าน จำนวน 16 ท่าน 2.ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการสอนวิชาคอมพิวเตอร์/เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 4 ท่าน 3.ครูผู้สอนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการคัดสรรจากโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์ ดังรายชื่อโรงเรียนต่อไปนี้ จำนวน 8 ท่าน 1. โรงเรียนเทศบาล 1 (วัดไทรใต้) 2.โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดปากน้ำโพใต้) 3. โรงเรียนเทศบาล3 (วัดพรหมจริยาวาส) 4.โรงเรียนเทศบาล 4 (วัดวรนาถบรรพต) 5.โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดช่องเขาคีรีศรีสิทธิวราราม) 6.โรงเรียนเทศบาล6 (วัดจอมคีรีนาคพรต) 7.โรงเรียนเทศบาล 7 (วัดสุคตวราราม) 8.โรงเรียนเทศบาล 8 (วัดไทรเหนือ) ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย มีดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารตามแนวอภิปัญญา (Metacognition) ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครจังหวัดนครสวรรค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยการศึกษาเอกสารจากแหล่งข้อมูลต่างๆ การสร้างรูปแบบการเรียนการสอนและการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 2 การประเมินและปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารตามแนวอภิปัญญา (Metacognition)ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครจังหวัดนครสวรรค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยการประเมินรูปแบบการเรียนการสอนและพิจารณาแผนการเรียนรู้และการปรับปรุงและรับรองรูปแบบการเรียนการสอน ขั้นตอนที่ 3 การนำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารตามแนวอภิปัญญา (Metacognition) ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครจังหวัดนครสวรรค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551โดยนำเสนอเป็นแผนภูมิแสดงความสัมพันธ์ประกอบความเรียงอธิบาย
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 นายวุฒิชัย พิลึก นักวิจัยภายนอกมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 100%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย