มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
สถาบันวิจัยและพัฒนา
ระบบจัดการงานวิจัย
NSRU
RESEARCH
หน้าหลัก
ค้นหารายการ
ข้อมูลงานวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
รายงานสถิติ
งานวิจัย
งานทรัพย์สินทางปัญญา
เข้าสู่ระบบ
รายละเอียดโครงการวิจัย
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
แนวทางการพัฒนาการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ ตำบลเนินศาลา อำเภอโกรพระ จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
Developmental approach Welfare for the elderly in Nong Sala Krok Phra District, Nakhon Sawan Province
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
1 ตุลาคม 2561
วันสิ้นสุดโครงการ :
30 กันยายน 2562
ประเภทของการวิจัย :
อื่นๆ
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
ตามพระราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และรัชกาลที่ 10 ทรงมี พระราโชบายด้านการศึกษา เพื่อยกระดับการศึกษาและพัฒนาท้องถิ่นทั่วประเทศ มหาวิทยาลัย ราชภัฏนครสวรรค์เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ได้น้อมนำ พระราโชบายเป็นนโยบายและนำไปสู่การปฏิบัติให้เป็นแหล่งให้การศึกษาเรียนรู้ของชุมชนท้องถิ่น โดยมุ่งการพัฒนาคนเป็นสำคัญ สาขาวิชาสังคมวิทยา(การพัฒนาชุมชน) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฎนครสวรรค์ มุ่งผลิตบัณฑิตด้านการพัฒนาคน ชุมชนและสังคม ได้ตระหนักถึงความสำคัญการพัฒนา “คน” ทุกช่วงวัยอายุในชุมชนท้องถิ่น จึงได้นำเสนอโครงการวิจัย แนวทางพัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมของผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุมีอายุยืนขึ้น เฉลี่ยในผู้หญิง 74.5 ปี และผู้ชาย 69.9 ปี แม้ว่าผู้สูงอายุจะมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น แต่คุณภาพชีวิตมิได้ดีขึ้นตามด้วย เนื่องจากสภาพร่างกายที่เสื่อมลงประกอบกับสังคม ที่เปลี่ยนแปลงทำให้ผู้สูงอายุถูกทอดทิ้งสวนทางกับ ข้อเท็จจริงที่ว่าผู้สูงอายุ 1 คนต้องมีผู้ดูแลมากถึง 9 คนเลยทีเดียว นักวิชาการณ์คาดการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2568 ไทยจะก้าวกระโดดมีผู้สูงอายุมากถึง 14.4 ล้านคน และในปี พ.ศ. 2593 ผู้สูงอายุจะล้นเมือง มีจำนวนมากถึงร้อยละ 27 ของพลเมืองทั้งประเทศ ความชราภาพเป็นกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงอันยาวนานทางกายภาพ อารมณ์ พุทธิปัญญา ความสัมพันธ์ และฐานะทางการเงิน จึงไม่แปลกที่ยิ่งชราภาพมาก ยิ่งพบความแตกต่างมากตามไปด้วย ( https://www.facebook.com รับดูแลผู้สูงอายุ ดูแลผู้ป่วย สถานพักฟื้น ฟื้นฟู บ้านพักคนชรา ค้นคว้าเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2560 ) ในการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุในประเทศไทยทั้งระบบและรูปแบบการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุยังมีขอบข่ายจำกัด ซึ่งการดำเนินงานด้านสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทยที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน พบว่า มีปัญหาอุปสรรคหลายประการ คือ บริการที่มีอยู่ไม่สามารถสนองความต้องการและบริการที่ผู้สูงอายุต้องการ แต่รัฐไม่สามารถจัดให้ได้อย่างเหมาะสม เพียงพอ ทั่วถึง เป็นธรรม แม้ว่าจะมีนโยบายที่ชัดเจนต่อการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุ แต่มีข้อจำกัดในการบริหารจัดการด้านบุคลากร งบประมาณ ทรัพยากร ทางสังคม และการขาดแคลนข้อมูลผู้สูงอายุจึงส่งผลให้การดำเนินงานสวัสดิการสังคมไม่สามารถดำเนินการได้อย่างจริงจังและต่อเนื่อง ไม่ตอบสนองต่อนโยบายของรัฐ และจำเป็นอย่างยิ่งที่ภาครัฐต้องช่วยเหลือร่วมมือกันตอบสนองความต้องการในการจัดสวัสดิการด้านต่าง ๆ ได้ เช่น ด้านความมั่นคงของรายได้และการทำงาน ด้านการศึกษา ด้านสุขภาพอนามัย ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านสวัสดิการสังคม (วิไลพร สุตันไชยนนท์, 2547 : 7) จากศูนย์ข้อมูลประเทศไทยพบว่า ในจังหวัดนครสวรรค์มีจำนวนผู้สูงอายุถึง 86,546 คน ซึ่งการดูแลผู้สูงอายุขั้นพื้นฐานนั้น มาจากการได้รับเบี้ยยังชีพ เบี้ยยังชีพคนพิการ การได้รับการดูแลจากบุตรหลาน และผู้สูงอายุที่อาศัยยู่เพียงลำพังหรือต้องดูแลตนเอง ซึ่งทำให้เกิดการจัดระบบบริการที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานให้ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงการบริการได้ และนอกจากนี้ยังได้มีการส่งเสริมและพัฒนาสุขภาวะของผู้สูงอายุอีกด้วย(http://nakhonsawan.kapook.com,สำนักงานสถิตินครสวรรค์:2560) ตำบลเนินศาลา อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ มี 8 หมู่บ้าน จากการสำรวจในเดือนมีนาคม ปี พ.ศ. 2561 พบว่ามีจำนวนผู้สูงอายุจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 619 คน (ข้อมูลรายชื่อผู้สูงอายุที่ขึ้นทะเบียนรับเบี้ยยังชีพ ตำบลเนินศาลา อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ : 13 ตุลาคม 2561) ซึ่งเป็นจำนวนประชาชากรค่อนข้างสูง ในตำบลเนินศาลาส่วนใหญ่แล้วประกอบอาชีพเกษตรกรรมการปลูกอ้อย การทำไม้กวาด เป็นต้น ซึ่งในบางอาชีพนั้นไม่เหมาะกับผู้สูงอายุบางกลุ่ม ผู้สูงอายุบางกลุ่มป่วยเป็นโรคเรื้อรัง มีภาวะร่างกายพิการ และไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ การจัดสวัสดิการสังคมในด้านต่าง ๆ ยังไม่สอดคล้องกับความต้องการซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุในชุมชนจะใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข ดังนั้นการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุมีความสำคัญอย่างยิ่งทั้งในด้านเบี้ยยังชีพที่ทั่วถึงกลุ่มเป้าหมาย ด้านสุขภาพร่างกาย ด้านที่อยู่อาศัย ด้านมีงานทำมีรายได้ ด้านความมั่นคงทางรายได้ และด้านบริการสังคมทั่วไป จากข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้น ผู้วิจัยเป็นอาจารย์สังกัดสาขาวิชาสังคมวิทยา(การพัฒนาชุมชน) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ มุ่งผลิตบัณฑิตด้านการพัฒนาคน ชุมชนและสังคม มีความสนใจและตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนา “คน” ทุกช่วงวัยอายุในท้องถิ่นดังกล่าว ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาวิจัย แนวทางการพัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุในตำบลเนินศาลา อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาวิจัยไปใช้ประโยชน์ต่อการพัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในตำบลเนินศาลา อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ ให้มีความสอดคล้องกับความต้องการการดำเนินชีวิตและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ ตำบลเนินศาลา อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ 2. เพื่อศึกษาสถานภาพการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุที่มีในตำบลเนินศาลา 3. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ ตำบลเนินศาลา อำเภอโกรพระ จังหวัดนครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :
5.1 ได้ทราบข้อมูลสภาพปัญหาและความต้องการการจัดสวัสดิการของผู้สูงอายุ ตำบลเนินศาลา อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ 5.2 ได้ทราบข้อมูลสถานภาพการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุที่มีในตำบลเนินศาลา 5.3 ได้แนวทางการพัฒนาการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ ตำบลเนินศาลา อำเภอโกรพระ จังหวัดนครสวรรค์ 5.4 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการพัฒนาการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุตำบลเนินศาลา อำเภอโกรพระ จังหวัดนครสวรรค์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
การศึกษาวิจัย แนวทางการพัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในตำบลเนินศาลา อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ ครั้งนี้โดยใช้วิธีวิทยาการวิจัยแบบผสานวิธี โดยมีการศึกษาทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ(Mixed-methodology) โดยมุ่งศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการและแนวทางการพัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ ตำบลเนินศาลา อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ โดยมีรายละเอียดการศึกษา ดังนี้ 1. การคัดเลือกพื้นที่ การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในระดับตำบล อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ ทั้งนี้ตามที่องค์กรอนามัยโลกได้ระบุว่าพื้นที่ที่มีผู้สูงอายุ มากกว่าร้อยละ10 ถือว่าเป็น "สังคมผู้สูงอายุ" (Aging Society) และจะมีความรุนแรงของปัญหาที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุมากขึ้น ซึ่งพื้นที่ศึกษาคือ ตำบลเนินศาลา อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ เป็นพื้นที่ที่มีอัตราการของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะเวลา 1 ปี คือจากการสำรวจจำนวนผู้สูงอายุในปี 2560 มีจำนวน 528 คน ในปี 2561 จำนวนผู้สูงอายุมีจำนวนทั้งสิ้น 619 คน (ข้อมูล จากองค์การบริหารส่วนตำบลเนินศาลาวันที่ 13 ตุลาคม 2561) 2. การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง 2.1 ประชากรในการศึกษาเชิงปริมาณ การคํานวณสัดส่วนของผู้สูงอายุต่อประชากรทั้งหมดในตําบลเนินศาลามีขั้นตอน คือ 1. ขอบเขตประชากร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยประชากรผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ซึ่งจำนวนผู้สูงอายุในตำบลเนินศาลามีจำนวน 619 คน ประชากรผู้สูงอายุจาก 8 หมู่บ้าน (ข้อมูลวันที่ 13 ตุลาคม 2561 จาก องค์การบริหารส่วนตำบลเนินศาลา) 2.2 กําหนดกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาโดยการใช้ตารางสําเร็จรูปของ Taro Yamane (Yamane,1967) สําหรับการประมาณสัดส่วนที่ระดับความเชื่อมั่น 95% และความคลาดเคลื่อน ไม่เกิน ?5% ของพื้นที่ที่คัดเลือก ได้จํานวนกลุ่มตัวอย่างรวม 399 คน โดยมีสูตรการคํานวณขนาดตัวอย่างจากสูตร ตามวิธีของ ยามาเน่ (Taro Yamane 1973) N = โดย n คือ ขนาดกลุ่มตัวอย่าง N คือ ขนาดประชากร E คือ คลาดคลาดเคลื่อนของกลุ่ม แทนค่าในสูตรได้ดังนี้ N = = 399.35 คน ดังนั้นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยเท่ากับ 399 คน
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่
รายชื่อ
ประเภทนักวิจัย
บทบาทหน้าที่
สัดส่วน
1
นางสาวพรรณภัทร ใจเอื้อ
นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย
หัวหน้าโครงการวิจัย
100%
สถาบันวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130
หมายเลขโทรศัพท์
056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย
website
rdi.nsru.ac.th
Smart Rdi Nsru