รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
แนวทางการส่งเสริมการใช้ภาษาอังกฤษในชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ของตำบลหนองนมวัว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
The Guidelines for Promoting English in OTOP Tourism Community of Nong Nom Wua Sub-District, Lat Yao District, Nakhon Sawan Province.
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
1 ตุลาคม 2561
วันสิ้นสุดโครงการ :
30 กันยายน 2562
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยประยุกต์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         องค์การท่องเที่ยวโลก (World Tourism Organization: WTO) คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวโลก ในปีพ.ศ. 2556 และปีพ.ศ. 2563ว่าจะมีนักท่องเที่ยวถึง 1,006 ล้านคน และ1,561 ล้านคน โดยมีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.15 ต่อปี และคาดการณ์ต่อไปอีกว่าจำนวนนักท่องเที่ยวที่มายังภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะมีถึง 397 ล้านคน ในปีพ.ศ. 2563 เพิ่มขึ้นคิดเป็น ร้อยละ 6.55 ต่อปี (พจนา บุญคุ้ม, 2556: 12) การท่องเที่ยวของไทยมีอัตราการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 5.7 ต่อปีซึ่งสูงกว่าอัตรา การขยายตัวของการท่องเที่ยวโลก (4.20%) จากการจัดลำดับ ประเทศที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติมากที่สุด 40 อันดับแรก ของโลก ประเทศไทยมีจำนวนนักท่องเที่ยวมากเป็นอันดับที่ 21 ของโลก การพยากรณ์คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ที่เข้ามาประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นจาก 8.59 ล้านคนในปีพ.ศ. 2542 เป็น 9.43 ล้านคน ในปีพ.ศ. 2543 ในปีพ.ศ. 2544 มีจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เข้ามาเที่ยว 10.6 ล้านคน และมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 20.3 ล้านคน ในปีพ.ศ. 2555 และในปีพ.ศ. 2556 มี 23.1 ล้านคน (การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, 2556: 24) ปัจจุบันการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้มีการกำหนดแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยว ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและขนบธรรมเนียม วิถีชีวิตไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติได้ตระหนักถึงความสำคัญของการท่องเที่ยวที่จะสามารถเพิ่มสมรรถนะและขีดของการแข่งขันของประเทศไทยต่อประเทศคู่แข่งได้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 พ.ศ. 2550-2556 ได้กล่าวถึงการท่องเที่ยวไว้ในหัวข้อยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ฟื้นฟูและรักษาสภาพแวดล้อมชุมชน ศิลปวัฒนธรรมและแหล่งท่องเที่ยวไว้ดังนี้คือเพื่อเป็นการเกื้อกูล หนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจชุมชน โดยรักษาสภาพแวดล้อมแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติศิลปกรรม โบราณคดี เพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและใช้ผังเมืองเป็นกลไก ประสานการจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองให้เกิดความน่าอยู่และยั่งยืน (ชาชิวัฒน์ ศรีแก้ว, 2554: 71) การท่องเที่ยวได้ถูกกล่าวถึงใน ฐานะของธุรกิจการค้าการบริการที่มีศักยภาพที่สามารถช่วยขยาย การจ้างงาน การกระจายรายได้และการหารายได้จากเงินตราต่าง ประเทศ และได้ถูกบรรจุให้เป็น “แนวทางเร่งด่วนในการฟื้นฟู เศรษฐกิจและสังคม” ในประเทศไทยได้มีการจัดลำดับศักยภาพ ด้านการท่องเที่ยวระดับจังหวัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เป็นรูปธรรมการท่อง เที่ยวประเภทหนึ่งซึ่งเน้นความสำคัญกับแหล่งท่องเที่ยว ที่เกี่ยวข้องกับ มรดกประเพณีที่สืบทอดต่อ ๆ กันมา และ วัฒนธรรมที่ดึงดูดความสนใจ โดยสิ่งที่ดึงดูดความสนใจนัก ท่องเที่ยวนั้นมีหลายอย่างประกอบด้วยวิถีชีวิตพิพิธภัณฑ์การแสดง แหล่งโบราณคดีศิลปะ ละคร การแสดงดนตรีสากล และการ แสดงดนตรีพื้นบ้าน ประเพณีพิธีกรรมทางศาสนา หัตถกรรมงาน ฝีมือ และการกระทำอื่น ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม (จุฑามาศ คงสวัสดิ์, 2550: 1) ดังนั้น วัฒนธรรมที่นำมาใช้ประโยชน์ในการท่องเที่ยวจึงมีความหมายรวมถึงสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ที่ มนุษย์สร้างขึ้นมา ได้แก่สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์โบราณ วัตถุโบราณสถาน ศิลปวัตถุพิพิธภัณฑสถาน ลักษณะการประกอบ อาชีพที่มีความโดดเด่น สถานที่แสดงทางด้านขนบธรรมเนียม ประเพณีการละเล่นพื้นเมืองต่าง ๆ งานหัตกรรม และสินค้าใน ท้องถิ่นต่าง ๆ ตลอดจนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ เป็นต้น ในภาวะปัจจุบันที่อิทธิพลของโลกาภิวัฒน์ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง และยังจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ นั้นการเรียนรู้ภาษาของประเทศอื่นย่อมได้เปรียบในการทำกิจการต่าง ๆ เพราะคงไม่มีใครจะติดต่อสื่อสารและรู้เรื่องได้ดีเท่ากับการพูดภาษาเดียวกัน เคยมีเรื่องเล่ากันเล่นว่าประเทศไทยที่ค้าขายสิงคโปร์ มาเลย์ ฮ่องกง ไต้หวัน ไม่ได้ก็เพราะว่ามาติดต่อกับประเทศไทยแล้วสื่อสารกันยังไม่ชัดเจนจึงต้องผ่านตัวแทนที่รู้ภาษาดีกว่าเช่นสิงคโปร์ มาเลเซีย ฮ่องกง ไต้หวัน หรือแม้แต่ฟิลิปปินส์ก็ตาม ซึ่งเราจะเห็นว่าประเทศเหล่านั้นล้วนแล้วแต่ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาที่อาจคิดได้ว่าเป็นภาษาสากล หลายประเทศประกาศให้เป็นภาษาราชการอีกภาษาหนึ่ง นอกจากภาษาของตัวเองแน่นอนว่าประเทศที่ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ภาษาอังกฤษนั้นย่อมทราบดีว่า คนจะเรียนรู้ภาษาให้ซาบซึ้งสามารถใช้ภาษาเข้าสู่สังคมและวัฒนธรรม สามารถใช้ภาษาได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับสังคมวัฒนธรรมตามสถานการณ์ได้ในทุกทักษะของภาษา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้ดีจะมีโอกาสในการจ้างงาน และได้รับการสนับสนุนส่งเสริมในงานในหน้าที่ให้ยิ่งขึ้นไป มากกว่าผู้ที่ไม่มีทักษะทางภาษาเลย ดังตัวอย่างที่หน่วยงานห้างร้าน บริษัท ที่ประกาศรับพนักงาน แต่แนบท้ายด้วยคำว่ามีความสามารถทางภาษาที่สามารถติดต่อสื่อสารได้ นั่นก็คือต้องมีทักษะการฟังและการพูดเป็นอย่างน้อยอันเนื่องจากภาษาอังกฤษมีการใช้กันทั่วโลกมากกว่าภาษาอื่น ๆ มีการเรียนการสอนกันทั่วโลกมากกว่าภาษาอื่นจึงคิดให้เป็นภาษาสากลที่ติดต่อสื่อสารได้ทั่วโลก การเรียนการสอนภาษาอังกฤษประการแรกน่าจะใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างกันอย่างเหมาะสมตามสถานการณ์ เช่นเดียวกับการที่เราเรียนรู้ภาษาแรกจากพ่อแม่ พี่เลี้ยง เป็นการเรียนรู้แบบธรรมชาติ ไม่จำเป็นต้องท่องศัพท์ แปล หรือ รู้หลักไวยากรณ์ ดังนั้นการเรียนการสอนในระดับเริ่มเรียนรู้ภาษานั้น คงต้องเน้นการมีส่วนร่วมทางภาษาให้มากที่สุด คือผู้เรียนต้องเรียนรู้จากการฟังและพูดอย่างเป็นธรรมชาติจนเกิดทักษะ เริ่มจากการพูดในชีวิตประจำวันในครอบครัว แล้วค่อยขยายออกไปสู่โลกภายนอกมากขึ้น เพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ในการศึกษาขั้นสูงขึ้นการสอนทักษะการพูดและการฟังจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง และผู้สอนอันเป็นต้นแบบจะต้องพัฒนาความรู้ทางภาษาให้ใกล้เคียงกับเจ้าของภาษาให้มากที่สุด มิฉะนั้นแล้วจะเข้าลักษณะแม่ปูสอนลูกให้เดินให้ตรง ในเรื่องนี้ปัจจุบันแม้จะแก้ได้บ้างโดยอาศัยเทคโนโลยี ที่บันทึกเสียงการพูดคุย การออกเสียงที่ถูกต้องไว้ แล้วก็ตาม แต่การแสดงความรู้สึก แสดงอารมณ์ที่เกี่ยวข้องนั้นก็ยังต้องใช้เจ้าของภาษามาเป็นผู้สอนถึงจะทำให้เกิดการเรียนรู้ทางภาษาได้เร็วการสื่อสารในสถานการณ์ต่าง ๆ จะสื่อสารกันได้อย่างน้อยที่สุดก็ต้องฟังรู้เรื่องก่อนแล้วจึงจะทำให้สามารถพูดโต้ตอบได้ หรือพูดได้ พูดเป็น หรือใช้เป็น และเป็นประโยชน์ นอกจากการโต้ตอบแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศกันก็คงรวมไปถึงการเล่าเรื่อง บรรยาย แสดงความคิด ความเห็น ความรู้สึก วิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งก็ต้องมีการประเมินที่ได้ยินได้ฟังมา จากการวิเคราะห์สังเคราะห์อีกทีหนึ่ง จึงถือว่าสุดยอดในการเรียนรู้ทางภาษาและจากที่ประเทศเรากำลังประสบกับภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจ ตามเศรษฐกิจกระแสโลก และวิกฤติการเมือง การเรียนรู้ภาษาให้แตกฉานก็เป็นการช่วยบรรเทาภาวะทางเศรษฐกิจในขณะนี้ได้ อันเนื่องมาจากที่รัฐบาลประกาศให้การท่องเที่ยวเป็นวาระแห่งชาติ การเข้าใจเรียนรู้ภาษาต่างประเทศจะทำให้การติดต่อสื่อสารกับชาวต่างประเทศที่จะเข้ามาท่องเที่ยวประเทศไทยดีขึ้น เป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจให้เข้ามาเที่ยวประเทศไทยมากขึ้น สถาบันการศึกษาที่มีศักยภาพ น่าจะมีส่วนส่งเสริม ช่วยเหลือประเทศในแง่นี้ได้ (จิตพิสุทธิ์ จันตะคุต, 2561: ออนไลน์) ความสำคัญของภาษาอังกฤษได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตของคนไทย และคนทั่วโลกไปแล้ว มนุษยชาติทุกวันนี้สื่อสารกันด้วยภาษาอังกฤษ ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสารกันโดยตรง การใช้อินเตอร์เน็ต การดูทีวี การดูภาพยนตร์ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์หนังสือคู่มือทางด้านวิชาการต่าง ๆ ฯลฯ บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาออกมาในปัจจุบัน ถ้ามีความรู้ภาษาอังกฤษทั้งพูดและเขียนเสริมเข้าไปด้วยอีก โอกาสที่จะหางานก็จะไม่จำกัดแค่ในประเทศไทย เท่านั้น ถ้าท่านเป็นคนหนึ่งที่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ ท่านคงจะไม่ปฏิเสธได้ถึงสิทธิพิเศษที่ท่านมีเหนือคนอื่นที่ไม่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ ด้วยเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ทำให้โลกของเราแคบลงไปถนัดตา ทุกวันนี้ท่านสามารถรับรู้ข่าวสาร หรือติดต่อกับเพื่อนต่างชาติได้ภายในเสี้ยววินาที ท่านจะไม่เข้าถึงสิทธิพิเศษเหล่านี้เลย ถ้าท่านไม่รู้ภาษาอังกฤษ ระบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนของไทยหลายท่านอาจจะบอกว่า ประเทศไทยเราก็ให้ความสำคัญกับการเรียนภาษาอังกฤษมาตั้งนานแล้ว แต่ทำไมคนไทยถึงพูดภาษาอังกฤษสู้คนฟิลิปปินส์ไม่ได้เลย นั่นก็เพราะว่าหลักสูตรภาษาอังกฤษของกระทรวงศึกษาธิการของเรายังไม่ได้เน้นการพูดภาษาอังกฤษ จะเน้นแต่หลักไวยากรณ์ คำแปล และการอ่านเพื่อความเข้าใจและให้สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้เป็นส่วนใหญ่ สิ่งที่จะต้องปรับปรุงอย่างมากในระบบการเรียนภาษาอังกฤษของไทยเราคือ การเน้นการพูดออกเสียง ไม่ว่าจะเป็นการออกเสียงพยัญชนะแต่ละตัว การเน้นเสียงหนักเบา ซึ่งจะต้องมีสื่อช่วยสอนที่เป็นมัลติมีเดีย คือ มีทั้งภาพ เสียง และตัวหนังสือ ให้ด้วย แทนระบบเก่าที่มีแต่ตัวหนังสือเท่านั้น ทำให้การออกเสียงตามคำอ่านที่เขียนในตำราหรือพจนานุกรมที่ผิด ๆ เช่นคำว่า cat ในพจนานุกรมอังกฤษไทยจะเขียนคำอ่านเป็น แค้ท ซึ่งแปลมาจากคำอ่านพจนานุกรมอังกฤษเป็นอังกฤษ ทำให้คนไทยเข้าใจว่า ไม่ต้องออกเสียงตัว t ที่อยู่ตอนท้ายด้วย น่าจะเขียนคำอ่านเป็น แค่ท-ถึ (ออกเสียง ถึ เบา ๆ ) แต่ถ้าเราจัดทำสื่อการเรียนการสอนแบบมัลติมีเดีย เด็กก็จะได้ยินทั้งเสียงที่ถูกต้อง ได้เห็นภาพ และตัวหนังสือด้วย ซึ่งทำได้ไม่ยาก และต้นทุนก็ไม่มาก การเรียนของเด็กก็จะมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น (จิตพิสุทธิ์ จันตะคุต, 2561: ออนไลน์) กระแสสังคมที่เกิดการตื่นตัวในการตื่นตัวในการส่งเสริมวัฒนธรรมและประเพณีที่เป็นรากฐานสำคัญที่ยึดคนในพื้นที่เป็นศูนย์กลางภายใต้สถานการณ์ของสังคมฐานความรู้ ภายในแนวคิดวัฒนธรรมชุมชน (Community Culture) ที่ให้ความสำคัญกับชาวบ้าน เชื่อว่าชาวบ้านมีศักยภาพในการพัฒนาตนเอง การจัดการจากฐานความคิดที่ยึดวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นตัวตั้งมุ่งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในชุมชนท้องถิ่นได้ศึกษาเรียนรู้เพื่อให้เข้าใจถึง ความเจริญงอกงามในด้านต่าง ๆ ของคน สังคม และวิถีชีวิตของชุมชนทั้งในด้านประวัติศาสตร์ ปราชญ์ท้องถิ่น วิถีชีวิต การประกอบอาชีพ ศิลปะและประเพณี ทั้งในอดีตและปัจจุบัน (พระธรรมปิฎก, 2532: 93-94) โดยเห็นว่าวัฒนธรรมเป็นพื้นฐานและเครื่องมือสำหรับสร้างเสริมความสามัคคี กลมเกลียวและความเป็นปึกแผ่นในหมู่ประชาชนให้การประพฤติปฏิบัติของสมาชิกในสังคมซึ่งอาจจะช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหา ตลอดทั้งตอบสนองความต้องการของสมาชิกและของสังคม วัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์ ช่วยให้ชนในชาติมีความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน อันจะทำให้บังเกิดความรักความสามัคคีกันและจะส่งผลต่อการรวมพลังกันของหมู่คณะและธำรงไว้ซึ่งความมั่นคง (สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, 2557) ช่วยเสริมสร้างสิ่งใหม่และดำรงสภาพเดิม สร้างการรับรู้ เข้าใจและความเป็นจริงในปัจจุบัน การนำเอามิติเชิงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชนบนพื้นฐานคนชุมชนเป็นเจ้าของ มีส่วนร่วมในการตัดสินใจและกำหนดทิศทาง สร้างความภาคภูมิใจในตนเอง การคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์และวัฒนธรรมท้องถิ่น และเกิดการเรียนรู้ระหว่างคนในและคนนอก ทั้งนี้ชุมชนวัฒนธรรมคือ ชุมชนที่มีวัฒนธรรมของตนเอง มีระบบและคุณค่าที่รวบรวมจากประวัติศาสตร์ที่ผ่านกระบวนการคิดและการปฏิบัติจนกระทั่งยึดถือเป็นวิถีชีวิต โดยให้ความสำคัญกับคุณค่าของคน การผสมกลมกลืนระหว่างสมาชิกด้วยกัน ทั้งนี้มีแนวคิดพื้นฐานที่ว่าชุมชนมีวัฒนธรรมที่เป็นรากฐานและวัฒนธรรมดังกล่าวเป็นพลังผลักดันการพัฒนาชุมชนด้วยการรับรู้และมีจิตสำนึกในวัฒนธรรมของชุมชนตนเอง การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมมีจุดมุ่งหมายให้ความรู้ ความภาคภูมิใจเกี่ยวกับลักษณะวัฒนธรรมประวัติศาสตร์ โบราณคดีและสถานที่ต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นโยเกี่ยวเนื่องกับความเป็นอยู่ของสังคม (บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา, 2542: 5) วัฒนธรรมที่สัมพันธ์กับการท่องเที่ยว อาทิ โบราณวัตถุ โบราณสถาน แหล่งประวัติศาสตร์ สถานที่สำคัญทางศาสนา งานศิลปกรรม สถาปัตยกรรม นาฏศิลป์ ดุริยางศิลป์ งานเทศกาลและประเพณี งานศิลปหัตถกรรม และสินค้าของที่ระลึก รวมถึงวิถีชีวิตและอัธยาศัยไมตรีของประชาชนในท้องถิ่น มีการจัดการท่องเที่ยว โดยชุมชนเน้นให้ชุมชนเข้ามีส่วนร่วมกำหนดทิศทางบนฐานคิดความรู้สึกเป็นเจ้าของทรัพยากรและเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยการนำเอาทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้เป็นต้นทุนหรือปัจจัยในการจัดการท่องเที่ยวอย่างเหมาะสม และพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชนให้มีความรู้ความสามารถ การตัดสินใจ การวางแผน การดำเนินงาน การสรุปบทเรียน เน้นให้เกิดความยั่งยืน เกิดประโยชน์ต่อท้องถิ่น และความสามารถในการรองรับของธรรมชาติเป็นสำคัญ (สินธุ์ สโรบล, 2546: 12) ชุมชนวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ มีการกระจายตัวในพื้นที่อำเภอต่าง ๆ อาทิ กลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำ กลุ่มชาติพันธุ์ไทยพวน กลุ่มชาติพันธุ์มอญ และชุมชนที่สัมพันธ์กับมิติทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีของชาติเป็นชุมชนเก่าแก่ที่มีรากฐานทางวัฒนธรรมที่สืบต่อกันมากระจายอยู่ในพื้นที่อำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ได้มีการส่งเสริมสนับสนุนจากหน่วยงานทั้งในระดับจังหวัด หน่วยงานในระดับท้องถิ่นในการสืบค้นและถอดบทเรียนจากคนในพื้นที่ เกิดการเรียนรู้วิถีชุมชนท้องถิ่นและมีการส่งเสริมกิจกรรมฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นในด้านต่าง ๆ อาทิ การจัดถนนคนเดินวิถีวัฒนธรรมพื้นบ้าน การจัดแสดงศิลปะพื้นบ้านของกลุ่มชาติพันธุ์ การอนุรักษ์และฟื้นฟูการละเล่นต่าง ๆ การส่งเสริมกลุ่มอาชีพสตรีตัดเย็บเสื้อผ้า กลุ่มพัฒนาผู้สูงอายุ กลุ่มผลิตภัณฑ์จากกะลาและกลุ่มเยาวชนเพื่อสืบสานวัฒนธรรมและประเพณี และในปี พ.ศ. 2552-2555 กระแสสังคมที่เกิดการตื่นตัวในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมวัฒนธรรมและประเพณีที่เป็นรากฐานสำคัญที่ยึดคนในพื้นที่เป็นศูนย์กลางภายใต้สถานการณ์ของสังคมฐานความรู้การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่มุ่งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในชุมชนท้องถิ่นได้ศึกษาเรียนรู้เพื่อให้เข้าใจถึง ความเจริญงอกงามในด้านต่าง ๆ ของ คน สังคม และวิถึชีวิตของชุมชน ทั้งในด้านประวัติศาสตร์ ปราชญ์ท้องถิ่น วิถีชีวิต การประกอบอาชีพ ศิลปะและประเพณี ทั้งในอดีตและปัจจุบัน เพื่อเสริมสร้างสิ่งใหม่และดำรงสภาพเดิม เพื่อสร้างความเข้าใจและรับรู้ความเป็นจริงในปัจจุบัน โดยใช้วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชนบนพื้นฐานคนชุมชนเป็นเจ้าของ มีส่วนร่วมในการตัดสินใจและกำหนดทิศทาง สร้างความภาคภูมิในในตนเอง การคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์และวัฒนธรรมท้องถิ่น และเกิดการเรียนรู้ระหว่างคนในและคนนอก (วรภพ วงศ์รอด, 2559: 2) รัฐบาลปัจจุบัน มีนโยบายลดความเหลื่อมล้ำของสังคมที่มุ่งเน้นสร้างรายได้และความเจริญ ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ โดยให้ภาคเอกชนและภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการร่วมกับภาครัฐ เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับการดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ที่เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2544 ในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการระดับประเทศ คือ คณะกรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ (กอ.นตผ.) เป็นผู้ขับเคลื่อน และมอบหมายให้ กรมการพัฒนาชุมชน เป็นผู้รับผิดชอบหลักส่งเสริมการดำเนินงาน OTOP จนถึงปัจจุบัน เป็นเวลา 16 ปี โดย ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ สนับสนุนส่งเสริม ยกระดับผลิตภัณฑ์ และพัฒนาช่องทางการตลาดที่หลากหลาย เพื่อให้ขายได้ มุ่งปรับตัวสู่การค้าแบบสากล ทำให้ผลิตภัณฑ์ของคนในชุมชนส่วนใหญ่ไม่สามารถแข่งขันได้ ต้องออกไปขายสินค้าตามที่ต่าง ๆ ไม่มีความสุข รายได้ไปตกอยู่แก่ผู้ประกอบการคนเดียว หรือบางกลุ่มเล็ก ไม่กระจายถึงประชาชนกลุ่มใหญ่ในชุมชนอย่างแท้จริง ทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนฐานราก ไม่ประสบ ผลสัมฤทธิ์เท่าที่ควร กอปรกับ รายได้จากการท่องเที่ยวที่เป็นกระแสหลักของประเทศ ส่วนใหญ่ตกไปอยู่ในกลุ่มทุนเอกชน เช่น โรงแรม ร้านอาหาร ห้างร้านใหญ่ ๆ กรุ๊ปทัวร์ ไม่ลงไปถึงฐานรากเช่นเดียวกัน ดังนั้น จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนผ่านยุคการผลักดันขายสินค้า OTOP ออกจากชุมชนเพียงด้านเดียว สู่การเพิ่มชองทางสร้างรายได้ตามความต้องการ (Demand Driven Local Economy) โดยการขายสินค้า อยู่ในชุมชน ที่มาจากการท่องเที่ยว โดยใช้เสน่ห์ ภูมิปัญญา วิถีชีวิต วัฒนธรรม และความคิดสร้างสรรค์ แปลงเป็นรายได้ ทั้งนี้ครอบครัวและลูกหลานยังอยู่ร่วมกัน ไม่ต้องแข่งขันนำผลิตภัณฑ์ออกไปขายนอกชุมชน เป็นชุมชนท่องเที่ยวที่เป็นเจ้าบ้านที่ดี ชวนกันคิด ชวนกันทำ ผลิตสินค้าและบริการ รวมทั้งมีการเชื่อมโยง เส้นทางท่องเที่ยวระดับชุมชน ที่มีเสน่ห์ดึงดูด และมีคุณค่าเพียงพอให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมเยือนและ ใช้จ่ายเงินในทุกกิจกรรมของชุมชน ซึ่งรายได้จะกระจายอยู่กับคนในชุมชน ทุกคนมีความสุข เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน (Strength with in) และเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากอย่างแท้จริง (กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย, 2561: 2-3) ในส่วนของชุมชนวัฒนธรรมตำบลหนองนมวัว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์นั้นประวัติของตำบลนี้คือ เดิมอำเภอลาดยาวเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอโกรกพระมีสภาพแวดล้อมทั่วไปเป็นป่าทึบ อุดมสมบูรณ์ทั้งทางด้านกายภาพและชีวภาพ ปัจจุบันตำบลลาดยาวประกอบไปด้วย 15 หมู่บ้านคือ บ้านบึงหล่ม, บ้านคลองสาลี, บ้านทุ่งแม่น้ำน้อย, บ้านลาดยาว, บ้านดอนปอ, บ้านดงมะไฟ, บ้านวังชมพู, บ้านหนองกระทุ่ม, บ้านหนองขี้ใต้, บ้านวังยาง, บ้านหนองไทร, บ้านดอนธาตุ, บ้านริมบึง ในส่วนเดิมตำบลหนองนมวัวเป็นส่วนหนึ่งของตำบลหนองยาว อำเภอลาดยาว ต่อมาได้แยกออกมาเป็นตำบลหนองนมวัว ในปี พ.ศ.2515 เพื่อความสะดวกในการปกครองดูแลได้ทั่วถึง โดยใช้ชื่อตำบลหนองนมวัวตามชื่อหมู่บ้านที่เป็นศูนย์กลาง โดยหนองนมวัวนั้นเดิมทีมีหนองน้ำขนาดใหญ่และมีต้นนมวัวขึ้นอยู่มาก และเมื่อมีการตั้งชุมชนในบริเวณนี้จึงเรียกว่า "หนองนมวัว" ตำบลหนองนมวัว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอลาดยาว ห่างจากที่ว่าการ อำเภอลาดยาว ประมาณ 10 กิโลเมตร ห่างจากศาลากลางจังหวัดนครสวรรค์ ประมาณ 30 กิโลเมตร และห่าง จากกรุงเทพมหานครโดยทางรถยนต์ ประมาณ 350 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 43 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 26,875 ไร่ ภูมิประเทศในตำบลหนองนมวัวเป็นพื้นที่ค่อนข้างลาดเอียง โดยเทจากที่สูงทางตะวันตกมาทางตะวันออก จึงทำให้ ตำบลหนองนมวัว ประสบปัญหาเกี่ยวกับน้ำท่วมเป็นประจำ และบางส่วนเป็นพื้นที่ราบต่ำ จึงใช้พื้นที่ บริเวณนี้ ทำนา ทำไร่ ฯลฯ ประชากรอาศัยหนาแน่นเป็นหย่อม ๆ ชาวตำบลหนองนมวัวมีลักษณะแบบสังคมเกษตรวิถีชาวพุทธ ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม พึ่งพาอาศัยกัน มีวัดเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนในตำบล จึงอยู่ร่วมกันอย่าง สันติสุข และยังคงสืบสานประเพณีวัฒนธรรมสำคัญของตำบล ซึ่งส่วนใหญ่ เกี่ยวข้องกับวัดและพิธีกรรมทางศาสนา ได้แก่ ประเพณีสงกรานต์ ที่มีพิธีรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ ตามส่วนราชการและในหมู่บ้าน ประเพณีแห่เทียน เข้าพรรษา ณ วัดในหมู่บ้าน ประเพณีตักบาตรเทโวโรหนะ และประเพณีลอยกระทง โดยเฉพาะที่วัดหนองนมวัว หมู่ที่ 1 และวัดโป่งยอ หมู่ที่ 8 (องค์การบริหารส่วนตำบลหนองนมวัว: ออนไลน์) จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะทำวิจัยเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมการใช้ภาษาอังกฤษในชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ของตำบลหนองนมวัว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อส่งเสริมการใช้ภาษาอังกฤษในชุมชน OTOP นวัตวิถี โดยใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อการจัดการชุมชนให้มีทักษะในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
3.1 เพื่อศึกษาแนวทางในการส่งเสริมการใช้ภาษาอังกฤษในชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ของตำบลหนองนมวัว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน 3.2 เพื่อพัฒนาทักษะทางด้านภาษาอังกฤษแก่ชุมชนเพื่อใช้ในการสื่อสารภายในชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ของตำบลหนองนมวัว อำเภอลาดยาว
ขอบเขตของโครงการ :
ขอบเขตด้านเนื้อหา แนวทางในการส่งเสริมในการใช้ภาษาอังกฤษในชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ของตำบลหนองนมวัว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ขอบเขตด้านประชากร สำหรับประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ตำบลหนองนมวัว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ ที่เป็นผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้บริหารในชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สภาวัฒนธรรม ชาวบ้านในชุมชนหมู่ 5 หนองกระดูกเนื้อ ขอบเขตด้านตัวแปร ด้านเชิงปริมาณ ได้แก่ ชาวบ้านในชุมชนหมู่ 5 หนองกระดูกเนื้อ ด้านเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้บริหารในชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สภาวัฒนธรรม ด้านเชิงคุณภาพ ได้แก่ แนวทางการส่งเสริมการใช้ภาษาอังกฤษในชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ของตำบลหนองนมวัว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ ขอบเขตด้านระยะเวลา กำหนดระยะเวลา 1 ปี ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561–กันยายน 2562
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
11.1 ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติ ที่ปรากฏอยู่ในฐานข้อมูล (TCI) หรือวารสารวิชาการระดับชาติตามประกาศ สมศ. จำนวน 1 บทความ หรือ 11.2 เผยแพร่ในที่ประชุมวิชาการระดับชาติ จำนวน 1 ครั้ง หรือ 11.3 ตีพิมพ์บทความฉบับสมบูรณ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceedings) จำนวน 1 บทความ 11.4 ได้ทราบแนวทางในการส่งเสริมการใช้ภาษาอังกฤษในชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ของตำบลหนองนมวัว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน 11.5 ได้พัฒนาทักษะทางด้านภาษาอังกฤษแก่ชุมชนเพื่อใช้ในการสื่อสารภายในชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ของตำบลหนองนมวัว อำเภอลาดยาว 11.6 นำผลการวิจัยมาเป็นแนวทางในการพัฒนา หรือกำหนดนโยบายการจัดการการใช้ภาษาอังกฤษในชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ของตำบลหนองนมวัว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ ต่อไป
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         13.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง สำหรับประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ตำบลหนองนมวัว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ ที่เป็นผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 218 คน ได้แก่ ผู้บริหารในชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สภาวัฒนธรรม และชาวบ้านในชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ตำบลหนองนมวัว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ 13.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสอบถาม (Questionnaire) ใช้แบบสอบถามที่มีโครงสร้างเป็นแบบสอบถามที่มีประเด็นคำถามที่กำหนดขึ้นไว้เป็นการถามเกี่ยวกับการใช้ภาษาอังกฤษของมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ตำบลหนองนมวัว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ แบบสัมภาษณ์แบบลึก (In-Depth Interview) ใช้แบบสัมภาษณ์ที่ไม่มีโครงสร้าง เป็นแบบสัมภาษณ์ที่มีประเด็นคำถามกำหนดขึ้นไว?ในการสนทนาอย่างกว้าง ๆ เพียงประเด็นหลัก ๆ ส?วนประเด็นอื่น ๆ มักจะมีเพิ่มเติมขึ้นระหว่างการสนทนา โดยไม่มีการเรียงลำดับคำถามไว?แน่นอนตายตัวจะปิดการสัมภาษณ์เมื่อไหร่ก็ได? ตามที่ผู้สัมภาษณ์เห็นว่าได?ข้อมูลเป็นที่เพียงพอแล?ว และมีการสนทนากลุ่มเพื่อทราบแนวทางในการพัฒนา หรือกำหนดนโยบายการจัดการการใช้ภาษาอังกฤษในชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ของตำบลหนองนมวัว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ เป็นต้น 13.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล 13.3.1 ข้อมูลจากเอกสาร กระทำโดยการศึกษาค้นคว้าและรวบรวมจาก เอกสาร ตำรา บทความและงานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงข้อมูลที่เป็นเอกสาร ของชุมชนหรือพื้นที่ 13.3.2 ข้อมูลภาคสนาม มีขั้นตอนปฏิบัติดังนี้ 13.3.2.1 ติดต่อประสานกับผู้นำชุมชน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่าง ๆ เพื่อสร้างความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย 13.3.2.2 ลงพื้นที่เพื่อสำรวจพื้นที่ที่จะศึกษา โดยใช้วิธีการพูดคุยอย่าง ไม่เป็นทางการ เพื่อสร้างสัมพันธ์ภาพกับคนในชุมชน รวมทั้งเพื่อเป็นการเก็บ รวบรวมข้อมูลพื้นฐานในชุมชน ตลอดจนการใช้วิธีการสังเกตทั้งแบบมีส่วนร่วม และไม่มีส่วนร่วม 13.3.2.3 การสอบถามโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) กับชาวบ้านในชุมชน สำหรับเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ภาษาอังกฤษในชุมชนท่องเที่ยว OTOP ของตำบลหนองนมวัว ซึ่งผู้วิจัยกำหนดประเด็นที่สอบถามไว้เรียบร้อยแล้ว และระหว่างการสอบถามที่ผู้วิจัยใช้วิธีการพูดคุยเชื่อมโยงเรื่องราวต่าง ๆ ไป เรื่อย ๆ เพื่อให้เกิดความเป็นกันเองและไว้วางใจมากขึ้น 13.3.2.4 การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-Depth Interview) กับผู้บริหารในชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และสภาวัฒนธรรม สำหรับเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ภาษาอังกฤษในชุมชนท่องเที่ยว OTOP ของตำบลหนองนมวัว ซึ่งผู้วิจัยกำหนดประเด็นที่สัมภาษณ์ไว้เรียบร้อยแล้ว และระหว่างการสัมภาษณ์ผู้วิจัยใช้วิธีการพูดคุยเชื่อมโยงเรื่องราวต่าง ๆ ไป เรื่อย ๆ เพื่อให้เกิดความเป็นกันเองและไว้วางใจมากขึ้น 13.3.2.5 การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participatory Observation) และ การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non-Participatory Observation) โดยผู้วิจัยได้ เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่ชุมชนดำเนินการ เช่น ประเพณีต่าง ๆ การละเล่น พื้นบ้าน แบบแผนวิถีการดำเนินชีวิต วัฒนธรรมการกินอยู่ อาหารการกิน 13.3.2.6 การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) สำหรับการหาแนวทางในการใช้ภาษาอังกฤษในชุมชนท่องเที่ยว OTOP เพื่อหาแนวทางในการใช้ภาษาอังกฤษในชุมชนท่องเที่ยว OTOP ตำบลหนองนมวัว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ 13.3.2.7 การอบรมเชิงปฎิบัติการ/ ศึกษาดูงาน เพื่อสร้างการเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนกับชุมชนต่าง ๆ เพื่อสรรค์สร้างความคิด ความเชื่อ ค่านิยมที่มี ต่อระบบเศรษฐกิจของชุมชน 13.4 การวิเคราะห์ข้อมูล การวิจัยในครั้งนี้ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล 2 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ 1. การวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร โดยการศึกษาจากเอกสารวิชาการ รายงานการวิจัยต่าง ๆ จากข้อมูลทุติยภูมิทั้งหมด รวมทั้งข้อมูลจากระบบอินเตอร์เน็ต โดยการวิเคราะห์เนื้อหา 2. วิเคราะห์ข้อมูลจากการตอบแบบสอบถาม โดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลและตรวจสอบข้อมูลผู้วิจัยจะดำเนินการไปพร้อม ๆ กันกับการเก็บรวบรวมข้อมูล จะทำการตรวจสอบข้อมูลที่ได้มาด้วยการตอบแบบสอบถาม ส่วนที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ 1. การวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร โดยการศึกษาจากเอกสารวิชาการ รายงานการวิจัยต่าง ๆ จากข้อมูลทุติยภูมิทั้งหมด รวมทั้งข้อมูลจากระบบอินเตอร์เน็ต โดยการวิเคราะห์เนื้อหา 2. วิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ทั้งแบบทางการ และไม่เป็นทางการ ผู้วิจัยใช้วิธีการตีความ และสร้างข้อสรุปแบบอุปนัยจากข้อมูล และนำเสนอเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ข้อมูลและตรวจสอบข้อมูลผู้วิจัยจะดำเนินการไปพร้อม ๆ กันกับการเก็บรวบรวมข้อมูล จะทำการตรวจสอบข้อมูลที่ได้มาด้วยการซักถาม เป็นการแลกเปลี่ยนคำถาม ต่อจากนั้นก็ทำการแยกแยะข้อมูลออกเป็นหมวดหมู่ พร้อมกับพิจารณาถึงความสมบูรณ์ครบถ้วนในทุกประเด็นของข้อมูล โดยนำมาเปรียบเทียบกับกรอบแนวคิดในการวิจัยและวัตถุประสงค์ของการวิจัย นอกจากนี้ ยังมีการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulation) เป็นการตรวจสอบแหล่งที่มา ของข้อมูล ตรวจสอบด้านข้อมูล และตรวจสอบด้านวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 นายธนาภัสสร์ สนธิรักษ์ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 100%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย