รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การศึกษาประสิทธิภาพเครื่องต้นแบบแผงรับความร้อนรังสีอาทิตย์จากวัสดุเหลือใช้
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
The Efficiency of Prototype Solar Heating Panels from Used Materials.
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
19 พฤศจิกายน 2556
วันสิ้นสุดโครงการ :
18 พฤศจิกายน 2557
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยประยุกต์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         จากรายงานของกรมอุตุนิยมวิทยาของประเทศไทยในปี พ.ศ.2555 พบว่าอุณหภูมิของประเทศไทยความแปรปรวนมากกว่าปีก่อนๆ พบว่าพื้นที่บนยอดดอยและพื้นที่หุบเขาของประเทศไทยที่มีประชากรอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ได้แก่ชาวไทยภูเขาต่างๆ ต่างก็ประสบกับปัญหาอากาศหนาวเย็นในช่วงฤดูหนาวของประเทศไทย ด้วยในระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ มีอุณหภูมิต่ำกว่าปกติประมาณ 3-5 องศาเซลเซียส ซึ่งเขายอดดอยอุณหภูมิต่ำสุด 1.1 องศาเซลเซียส ที่อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นอุณห๓มิต่ำกว่าเฉลี่ยมาตรฐานของประเทศไทยทำให้เกิดภัยหนาว และปัญหาโรคหนาวตาย ด้วยปัญหาดังกล่าวทางกลุ่มวิจัยมีแนวคิดพัฒนางานวิจัยด้านการผลิตลมร้อนภายในบ้านเรือนให้แก่ชุมชนชาวเขา ซึ่งเป็นแนวทางในการวิจัยและพัฒนาเครื่องมือที่สามารถสร้างความอบอุ่นภายในครัวเรือนโดยใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ให้เกิดใช้ประโยชน์
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1.เพื่อออกแบบและสร้างเครื่องต้นแบบแผงรับความร้อนรังสีอาทิตย์จากวัสดุเหลือใช้ 2.เพื่อทดลองศึกษาผลของตัวแปรที่มีต่อประสิทธิภาพการถ่ายเทความร้อนในตัวเก็บรังสีอาทิตย์จากวัสดุเหลือใช้
ขอบเขตของโครงการ :
1.ขอบเขตด้านเนื้อหา 1.1 การศึกษาข้อมูลเบื้องต้นการสร้างแผงรับความร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์ 1.2 การศึกษารูปแบบการสร้างต้นเครื่องต้นแบบแผงผลิตลมร้อนจากวัสดุเหลือใช้ 1.3 การศึกษาและทดลองเครื่องต้นแบบแผงผลิตลมร้อนจากวัสดุเหลือใช้ 2.ขอบเขตด้านพื้นที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ 3.ขอบเขตระยะเวลา ช่วงเวลาหน้าหนาวของประเทศไทยตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2556- 28 กุมภาพันธ์ 2557
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
1.ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านวิศวกรรมพลังงานให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนให้เกิดประโยชน์ 2. ส่งเสริม สร้างแนวคิดการพัฒนางานวิจัยเพื่อชุมชนแก่บุคลากรภายในองค์กร นักศึกษาทั้งในสาขาและนอกสาขาวิศวกรรมศาสตร์พลังงาน 3. ได้แนวทางต่อยอดงานวิจัยและพัฒนาด้านวิศวกรรมพลังงาน 4. ได้ผลงานวิจัยที่สามารถตีพิมพ์เผยแพร่ทั้งงานสัมมนาวิชาการและวารสารวิชาการในระดับชาติและระดับนานาชาติ
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของอุปกรณ์รับรังสีอาทิตย์ ขั้นตอนที่ 2 ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องการศึกษาประสิทธิภาพเครื่องต้นแบบแผงรับความร้อนรังสีอาทิตย์จากวัสดุเหลือใช้ ขั้นตอนที่ 3 ออกแบบ คำนวณและทดสอบเครื่องต้นแบบแผงรับความร้อนรังสีอาทิตย์จากวัสดุเหลือใช้ ขั้นตอนที่ 4 บันทึกผลการทดลอง วิเคราะห์ สรุปผลการศึกษาประสิทธิภาพเครื่องต้นแบบแผงรับความร้อนรังสีอาทิตย์จากวัสดุเหลือใช้ ขั้นตอนที่ 5 การเผยแพร่และถ่ายทอดเครื่องต้นแบบแผงรับความร้อนรังสีอาทิตย์จากวัสดุเหลือใช้
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 นายกฤษณะ ร่มชัยพฤกษ์ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 50%
2 นายปฐมพงค์ จิโน นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 25%
3 นายถิรายุ ปิ่นทอง นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 25%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย