รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การพัฒนาโรงเรียนต้นแบบการสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายตามความหลากหลายของวัฒนธรรม และวิถีชีวิตของชุมชนในจังหวัดนครสวรรค์ โดยยึดหลักแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
The Development of Model Schools in Physical Fitness Promotion according for Variety of Cultures and Community Life of Nakhonsawan by used The Principle of Sufficiency Economy
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะครุศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
1 ตุลาคม 2560
วันสิ้นสุดโครงการ :
1 ตุลาคม 2561
ประเภทของการวิจัย :
อื่นๆ
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         ………สุขภาพดีเป็นทุนสำคัญของการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนดังนั้นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ ประชาชนมีสุขภาพดีทั้งกายและใจจึงเป็นกระบวนการสำคัญที่ช่วยผลักดันให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ และเพิ่มระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2557) ซึ่งปัจจัยพื้นฐานของสุขภาพและโอกาสที่จะเข้าถึงสุขภาพไม่ได้ขึ้นกับภาคส่วนที่ให้บริการสุขภาพเพียงด้านเดียว การสร้างเสริมสุขภาพต้องเกิดจากการดำเนินการร่วมกันของทุกภาคส่วนที่เห็นความสำคัญของสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคส่วนที่ดูแลสุขภาพ ภาคสังคมและเศรษฐกิจ ภาคเอกชน องค์กรอาสาสมัคร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคอุตสาหกรรมและสื่อมวลชน ประชาชนทุกเพศทุกวัยมีบทบาทต่อสุขภาพในฐานะบุคคล สมาชิกครอบครัว และสมาชิกชุมชน กลุ่มวิชาชีพ กลุ่มทางสังคม และบุคลากรทางสุขภาพมีภารกิจสำคัญในการเป็นสื่อกลางระหว่างภาคส่วนที่มีความต้องการแตกต่างกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสุขภาพ (สินศักดิ์ชนม์ อุ่นพรมมี, 2556) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (2557) กล่าวว่า สถานการณ์ปัจจุบันและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพเพิ่มมากขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของประชากรและสิ่งแวดล้อมรวมทั้งพฤติกรรมและวัฒนธรรมการสาเหตุจากการพัฒนาประเทศและระบบเศรษฐกิจที่เจริญเติบโต ความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่างๆ ได้เข้ามามีบทบาทในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์มากขึ้น เช่น การใช้ลิฟท์แทน การขึ้นลงบันได การใช้เครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ แทนการเดินหรือใช้มือ เป็นต้น เครื่องอำนวยความสะดวกเหล่านี้ทำให้มนุษย์เราได้เคลื่อนไหวกันน้อยลงและไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย (ศุภวรรณ วงศ์สร้างทรัพย์ และคณะ, 2555) การขาดการออกกำลังกายย่อมส่งผลเสียต่อทรัพยากรบุคคลซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ ดังจะเห็นได้ชัดจากผลสำรวจของ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (2554) พบว่า ประชากรภาคเหนือมีภาวการณ์เจ็บป่วยสูงเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ โดยมีอัตราการเจ็บป่วยเป็นร้อยละ 34.2 ในปี 2552 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 21.5 ในปี 2550 ภาวการณ์เจ็บป่วยและความเสี่ยงด้านพฤติกรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเยาวชนประชาชนภาคเหนือดื่มสุราสูงเป็นอันดับ 1 ของประเทศโดยในปี 2549 มีผู้ดื่มสุราร้อยละ 36.1 และกลุ่มเยาวชนอายุไม่เกิน 24 ปี ดื่มสุราสูงกว่าทุกภาคในอัตราร้อยละ 30.7 การดำรงชีวิตแบบนี้ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพขึ้นมากมาย ซึ่งปัญหาสำคัญ 1 ใน 10 อันดับของประเทศไทยที่ทำลายสุขภาพและฆ่าชีวิตคนไทยแต่ละปีเป็นจำนวนมากก็คือ การขาดการออกกำลังกาย (จุฬาภรณ์โสตะ, 2543) ทั้งที่ผลจากการขาดการออกกำลังกายนั้น ก่อให้เกิดโทษและผลเสียต่อสุขภาพ อันเป็นสาเหตุนำไปสู่ความเจ็บป่วย และโรคร้ายแรงอื่นๆ ตามมา (พิชิต ภูติจันทร์, 2547) โดยเฉพาะโรคอ้วนที่ถือว่าเป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง และเป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่างๆมากมาย และยังส่งผลกระทบต่อทางด้านจิตใจและสังคม จึงนับว่าเป็นภัยเสี่ยงที่กำลังคุกคามชีวิตของมนุษย์ทุกเพศทุกวัยมากขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มเด็กอ้วน (วรางคณา สุวรรณรัตน์, 2549) และโรคอ้วนในเด็กยังก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ เช่น ไขมันผิดปกติ เบาหวาน (สำนักงานคณะ กรรมการคุ้มครองผู้บริโภค, 2545) โรคอ้วนเป็นปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย จากการสำรวจภาวะอาหารและโภชนาการของประเทศไทย ครั้งที่ 5 พ.ศ.2546 เด็กวัยเรียนเป็นโรคอ้วนร้อยละ 13.6 และจากการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการเด็กวัยเรียน พ.ศ.2553 พบว่าเป็นโรคอ้วนร้อยละ 13.7 และในปี 2554 พบร้อยละ 17.0 (กระทรวงสาธารณสุข, 2557) ปัจจัยสำคัญยิ่งอันหนึ่งที่ก่อให้เกิดความอ้วน คือ การขาดการออกกำลังกาย ดังนั้นการออกกำลังกายจึงนับว่าเป็นการสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายที่สำคัญ คือช่วยให้มนุษย์สามารถ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังช่วยควบคุมน้ำหนักหรือปริมาณไขมันในร่างกายให้เกิดความสมดุล (สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์ และคณะ, 2548) โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพต้องสร้างเสริมให้เกิดขึ้น เพราะเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานของการมีสุขภาพดี และนำไปสู่สมรรถภาพทางกลไกให้เกิดผลเร็วยิ่งขึ้น จากการที่มนุษย์มีการเคลื่อนไหวและใช้แรงกายน้อยกอปรกับขาดซึ่งการออกกำลังกายนี้ จึงก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพที่นำมาซึ่งความเจ็บป่วย และเป็นสาเหตุโรคแห่งการตาย(ดนัย ขุ่มด้วง และคณะ, 2552) กระทรวงสาธารณสุข (2557) จึงได้วางแผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ปี 2557 โดยมีนโยบายด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในกลุ่มเด็กวัยเรียน เพื่อลดปัญหาภาวะอ้วน (สถานการณ์โรคอ้วนในเด็กวัยเรียนร้อยละ 17.0 ในปี 2554) รวมทั้งส่งเสริมให้เด็กไทยมีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสิ่งสำคัญที่สุดในการสร้างเสริมสุขภาพของเด็ก คือ การส่งเสริมกิจกรรมการออกกำลังกาย (กุลยา ตันติผลาชีวะ, 2547) เพราะการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพนอกจากจะทำให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว ยังช่วยป้องกันรักษาและลดอัตราความเสี่ยงจากการเกิดโรคได้ การออกกำลังกายจึงถือได้ว่าเป็นพฤติกรรมสุขภาพที่สำคัญยิ่งสำหรับวัยเด็ก เพราะนอกจากผลทางด้านร่างกายแล้วสิ่งสำคัญยิ่งกว่านั้นคือ ผลต่อพฤติกรรมเมื่อเป็นผู้ใหญ่ ซึ่งการออกกำลังกายของเด็กไม่จำเป็นจะต้องเป็นรูปแบบเท่านั้น แต่ยังรวมถึงกิจกรรมที่ทำให้เกิดความสนุกสนาน และเป็นกิจกรรมที่เน้นการพัฒนาการตามวัยด้วย (วิศาล คันธารัตนกุล, 2549) ปัจจุบันกิจกรรมการออกกำลังกายมีหลายวิธี เช่น การเดิน การวิ่ง การเล่นกีฬาต่างๆ การออกแบบโปรแกรมการออกกำลังกายแบบง่ายๆ สะดวกสนุกสนานและมีประโยชน์ที่เหมาะสมกับผู้ฝึก มุ่งพัฒนากล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกายตามชนิดและปริมาณที่กำหนดไว้ เหมาะสมที่จะใช้ฝึกกับในการพัฒนาสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ (กรมวิชาการ, 2532) เป้าหมายอันดับแรกของการออกกำลังกาย และเป็นตัวบ่งชี้ถึงการที่จะมีสุขภาพกายที่ดีนั้น คือการมีสมรรถภาพทางกายที่ดี สมรรถภาพทางกาย เป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการดำรงชีพในปัจจุบัน เมื่อบุคคลมีความสมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจแล้ว การดำเนินชีวิตก็จะมีความสุขและมีประสิทธิภาพ นั่นก็คือการมีสมรรถภาพทางกายที่ดี ซึ่งเป็นผลทำให้มีสุขภาพดี ร่างกายมีการเจริญเติบโตแข็งแรงประสิทธิภาพของการทำงานของระบบหายใจและระบบไหลเวียนโลหิต ประสานสัมพันธ์กันดีและลดอัตราการเสี่ยงเป็นโรคต่างๆ อีกทั้งยังทำให้มีทรวงทรง ของร่างกายได้สัดส่วน มีทักษะทางกีฬาที่ดีทำให้เกิดความสนุกสนานกับการเข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกายและกีฬา (ศุภวรรณ วงศ์สร้างทรัพย์ และคณะ, 2555) การจะมีสมรรถภาพทางกายที่ดีนั้นสามารถสร้างให้เกิดขึ้นและรักษาไว้โดยการออกกำลังกายหรือฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอหากขาดการออกกำลังกายแล้วสมรรถภาพทางกายก็จะค่อยๆลดต่ำลงและเกิดปัญหาทางด้านสุขภาพตามมา (ศุภวรรณ วงศ์สร้างทรัพย์ และคณะ, 2555) ดังนั้นหากนักเรียนได้ฝึกออกกำลังกายอย่าง สม่ำเสมอและต่อเนื่องทุกวันจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต แล้ว นักเรียนจะได้รับประโยชน์อย่างสูงสุดจากการออกกำลังกาย เพราะการออกกำลังกายเป็นกิจกรรมเสริมสร้างสุขภาพ และบุคลิกภาพที่ควร (กรมวิชาการ, 2538) การทำให้การออกกำลังกายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตนั้นเราถือว่าเป็น การออกกำลังกายแบบยั่งยืน ซึ่งสถาบันการศึกษาสามารถมีส่วนในการปลูกฝังโดยการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งเป็นการตอบสนองต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน (คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2555) กล่าวว่า การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต มุ่งสร้างกระแสสังคมให้ส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกันของคนต่างวัย ควบคู่กับการส่งเสริมให้องค์กร กลุ่มบุคคล ชุมชน ประชาชน และสื่อทุกประเภทเป็นแหล่งเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์สื่อสารด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย รวมถึงส่งเสริมการศึกษาทางเลือกที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน และสนับสนุนปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต การที่จะให้เด็กและเยาวชนได้รับการพัฒนาอย่างถูกต้องเพียงพอและครบถ้วนต้องให้ความสำคัญของสุขภาพทั้งทางร่างกาย จิตใจและสังคม เพื่อให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ปรับตัวได้ต่อสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มีทักษะชีวิต มีภูมิคุ้มกันต่อปัญหาและความเสี่ยงต่างๆ จากปัจจัยเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้โรงเรียนซึ่งเปรียบเสมือนบ้านหลังที่สองของเด็กทำให้ชีวิตของเด็กวัยเรียนมีสังคมที่กว้างขึ้น (เกียรติกำจร กุศลและคณะ, 2556) การสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายแบบพอเพียงแก่เด็กเยาวชนและครอบครัวให้มีดุลยภาวะเป็นสิ่งที่ควรให้ความร่วมมือและวางแผนการทำงาน (จีระศักดิ์ เจริญพันธ์ และเฉลิมพล ตันสกุล, 2550) การสร้างสมรรถภาพแบบพอเพียงอาจเป็นทางออกของการใช้ชีวิตแบบพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน บนเงื่อนไข ความรู้และคุณธรรมได้เป็นอย่างดี (รงค์ ประพันธ์พงศ์, 2550) กลยุทธ์ และการออกแบบโปรแกรมการสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายควรปรับให้เหมาะกับความต้องการของท้องถิ่น และสามารถนำไปปรับใช้ได้กับระบบทางสังคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน (สินศักดิ์ชนม์ อุ่นพรมมี, 2556) ดังนั้นการสร้างสมรรถภาพทางกายแบบพอเพียงจึงเป็นทางออกในการสร้างสมรรถภาพ และสุขภาพให้แก่ชุมชน เพราะ โดยการนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตั้งแต่ฉบับที่ 8 ต่อเนื่องจนถึง ปัจจุบัน ที่ให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม และมุ่งให้ “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนวิธีการพัฒนาเป็นบูรณาการแบบองค์รวมเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่สมดุล และน้อมนํา“ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นแนวทางปฏิบัติและให้ความสําคัญกับการพัฒนาที่ยึด “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” ในการพัฒนาที่สมดุลทั้งคน สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ให้พร้อมรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในประเทศ เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน และความอยู่เย็นเป็นสุขของคนไทยทุกคน (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2555) การใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักในการสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายแก่ครอบครัว เด็ก และเยาวชน เนื่องจากเป็นแนวคิดและแนวปฏิบัติที่สามารถนำมาปรับใช้ได้ทั้งในโรงเรียนและชุมชน โดยยืนบนฐานทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศในชุมชน ยึดหลักการพึ่งตนเอง เน้นทางสายกลาง ไม่ฟุ่มเฟือยจนไร้ประโยชน์ไม่มุ่งวัตถุเป็นที่ตั้งใช้สติปัญญาในการดำรงชีวิต ไม่ลงทุนกับสิ่งที่มีความเสี่ยงสูง มีจิตสำนึกที่ดีมีความเอื้ออาทรกัน มีความเกื้อกูลเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายในชุมชน มีการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีการใช้ภูมิปัญญาที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและวิถีชีวิตของชุมชน (เสรี พงศ์พิศ 2550) เป็นการตอบโจทย์ของยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน ที่ให้ความสําคัญกับ การพัฒนาคุณภาพคนไทยให้มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง มุ่งพัฒนาคุณภาพคนไทยทุกช่วงวัย สอดแทรกการพัฒนาคนด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่เสริมสร้างวัฒนธรรมการเกื้อกูล พัฒนาทักษะให้คนมีการเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิตอีกด้วย (คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2555) จากที่ได้กล่าวมาจะเห็นได้ว่า เราสามารถนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาสมรรถภาพทางกายผ่านทางสถานศึกษาได้ เนื่องด้วยภาวะความเจ็บป่วยของประชากรภาคเหนือยังคงเป็นอันดับหนึ่งคิดเป็นร้อยละ 34.2 ของทั้งประเทศ (สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2554) โดยเฉพาะในจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งถือว่าเป็น 1 ในจังหวัดที่สำคัญของภาคเหนือ ซึ่งในปัจจุบันยังคงประสบกับปัญหาที่ต้องรอการแก้ไขด้านคุณภาพชีวิต และภาวะการเจ็บป่วยที่เกิดจากกาอกกำลังกาย ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเกี่ยวกับปอด เบาหวาน และความดันโลหิตที่มีแนวโน้มของอัตราการตายเพิ่มขึ้นทุกปี ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาโรงเรียนต้นแบบการสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายตามความหลากหลายของวัฒนธรรม และวิถีชีวิตของชุมชนในจังหวัดนครสวรรค์ โดยยึดหลักแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และมุ่งเน้นให้ประชากรเกิดการพัฒนาสมรรถภาพทางกายแบบยั่งยืนตามความหลากหลายของวัฒนธรรม และวิถีชีวิตของท้องถิ่นนั้นๆ ตามแนววิสัยทัศน์ด้านการวิจัยของยุทธศาสตร์การวิจัย (พ.ศ. 2555 – 2559) ที่กำหนดไว้ว่า“ประชาชนภาคเหนือมีองค์ความรู้จากการวิจัยสร้างสรรค์ทรัพยากรมนุษย์ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้วยฐานทรัพยากรชุมชน และท้องถิ่น” (สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2554) และยังเป็นการตอบสนองต่อแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืนอย่างเห็นได้ชัด
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1. เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาโรงเรียนต้นแบบการสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายตามความหลากหลายวัฒนธรรม และวิถีชีวิตของจังหวัดนครสวรรค์ โดยยึดหลักแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2. เพื่อพัฒนาโรงเรียนต้นแบบการสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายตามความหลากหลายวัฒนธรรม และวิถีชีวิตของจังหวัดนครสวรรค์ โดยยึดหลักแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ขอบเขตของโครงการ :
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา (Research and Development) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะพัฒนาโรงเรียนต้นแบบการสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายตามความหลากหลายวัฒนธรรม และวิถีชีวิตของจังหวัดนครสวรรค์ โดยยึดหลักแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ครู นักเรียน และผู้ปกครอง ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ในระดับชั้นประถมและมัธยมศึกษา โดยให้กลุ่มประชากรทำการวัด pre-test โดยใช้แบบทดสอบสมรรถภาพของกรมพลศึกษา และใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) เพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกายของกลุ่มประชากร โดยมีตัวแปรอิสระ คือ รูปการพัฒนาโรงเรียนต้นแบบการสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายตามความหลากหลายวัฒนธรรม และวิถีชีวิตของจังหวัดนครสวรรค์ โดยยึดหลักแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตัวแปรตาม คือ สมรรถภาพทางกายของโรงเรียนต้นแบบการสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายตามความหลากหลายวัฒนธรรม และวิถีชีวิตของจังหวัดนครสวรรค์ โดยยึดหลักแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
1. ทราบถึงปัญหาและแนวทางการพัฒนาโรงเรียนต้นแบบการสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายตามความหลากหลายของวัฒนธรรม และวิถีชีวิตของชุมชนจังหวัดนครสวรรค์โดยยึดหลักแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2. ได้รูปแบบการสร้างโรงเรียนต้นแบบการสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายตามความหลากหลายของวัฒนธรรม และวิถีชีวิตของชุมชนจังหวัดนครสวรรค์โดยยึดหลักแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3. ได้โรงเรียนต้นแบบการสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายตามความหลากหลายของวัฒนธรรม และวิถีชีวิตของชุมชนจังหวัดนครสวรรค์โดยยึดหลักแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         ………การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา (Research and Development) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะพัฒนาโรงเรียนต้นแบบการสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายตามความหลากหลายของวัฒนธรรม และวิถีชีวิตของจังหวัดนครสวรรค์ โดยยึดหลักแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ครู นักเรียน และผู้ปกครอง ของโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ในระดับชั้นมัธยมศึกษา โดยวิธี การเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (PurposiveSampling) จากกลุ่มตัวอย่างที่ได้ ทำการวัด pre-test โดยใช้แบบทดสอบสมรรถภาพของกรมพลศึกษา และใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) เพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกายของกลุ่มประชากร โดยมีตัวแปรอิสระ คือ รูปแบบการพัฒนาโรงเรียนต้นแบบการสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายตามความหลากหลายของวัฒนธรรม และวิถีชีวิตของจังหวัดนครสวรรค์ โดยยึดหลักแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตัวแปรตาม คือ สมรรถภาพทางกายของประชากรโรงเรียนต้นแบบการสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายตามความหลากหลายของวัฒนธรรม และวิถีชีวิตของจังหวัดนครสวรรค์ โดยยึดหลักแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยผู้วิจัยได้แบ่งวิธีดำเนินการวิจัยดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาโรงเรียนต้นแบบการสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายตามความหลากหลายของวัฒนธรรม และวิถีชีวิตของชุมชนจังหวัดนครสวรรค์ โดยยึดหลักแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ขั้นตอนที่ 2 เก็บข้อมูลสมรรถภาพทางกายของโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยทำการทดสอบสมรรถภาพทางกายทุก ๆ 1 เดือน ขั้นตอนที่ 3 วิเคราะห์ข้อมูลสมรรถภาพทางกายของโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนารูปแบบการพัฒนาโรงเรียนต้นแบบการสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายตามความหลากหลายของวัฒนธรรม และวิถีชีวิตของชุมชนจังหวัดนครสวรรค์ โดยยึดหลักแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ขั้นตอนที่ 4 พัฒนาและสร้างรูปแบบการพัฒนาโรงเรียนต้นแบบการสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายตามความหลากหลายของวัฒนธรรม และวิถีชีวิตของชุมชนจังหวัดนครสวรรค์ โดยยึดหลักแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยการเชิญผู้เชี่ยวชาญสาขาที่เกี่ยวข้องจำนวน 5 คน เพื่อทำการสนทนากลุ่ม (focus group) ขั้นตอนที่ 5 ตรวจสอบรูปแบบการพัฒนาโรงเรียนต้นแบบการสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายตามความหลากหลายของวัฒนธรรม และวิถีชีวิตของชุมชนจังหวัดนครสวรรค์ โดยยึดหลักแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ขั้นตอนที่ 6 ทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาโรงเรียนต้นแบบการสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายตามความหลากหลายของวัฒนธรรม และวิถีชีวิตของชุมชนจังหวัดนครสวรรค์ โดยยึดหลักแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) ขั้นตอนที่ 7 การประเมินประสิทธิภาพ ปรับปรุงแก้ไข และพัฒนารูปแบบการพัฒนาโรงเรียนต้นแบบการสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายตามความหลากหลายของวัฒนธรรม และวิถีชีวิตของชุมชนจังหวัดนครสวรรค์ โดยยึดหลักแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแล้วทดลองซ้ำโดยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR)
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 นายปพนสรรค์ โพธิพิทักษ์ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 50%
2 นายทินกร ชอัมพงษ์ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 25%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย