รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การจัดการห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ของผักไฮโดรโปนิกส์ จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
Supply Chain Management and Logistic of Hydroponics Vegetables, Nakhonsawan Province
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
1 ตุลาคม 2561
วันสิ้นสุดโครงการ :
29 เมษายน 2562
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยเชิงสำรวจ
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         ปัจจุบันประชาชนนิยมบริโภคผักมากขึ้น เพื่อต้องการรักษาสุขภาพ แต่ผักที่วางขายในท้องตลาดทั่วไปนั้น พบว่ามีสารพิษตกค้าง เนื่องมาจากการใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืช รวมถึงมีการปนเปื้อนของเชื้อโรคต่างๆ ที่มาจากการปลูกพืชบนดิน ส่งผลให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค ผู้บริโภคจึงสนใจการบริโภคผักปลอดสารพิษเพื่อสุขภาพเพิ่มมากขึ้น และการปลูกผักปลอดสารพิษนั้น มีหลายรูปแบบ เช่น การปลูกผักแบบเกษตรอินทรีย์ การปลูกผักในโรงเรือน การปลูกผักไม่ใช้ดิน เป็นต้น ในการปลูกผักในดิน มักพบปัญหาเรื่องศัตรูพืช การเป็นโรคของพืช และการจัดการเรื่องปุ๋ยและน้ำ ส่งผลให้ผักมีการเจริญเติบโตช้าได้ไม่เต็มศักยภาพตามพันธุกรรมของผักชนิดนั้นๆ ส่วนการปลูกผักแบบไม่ใช้ดิน หรือไฮโดรโปนิกส์ (Hydroponics) เป็นการปลูกผักเลียนแบบธรรมชาติ คือปลูกผักในสารละลายธาตุอาหาร หรือปลูกลงวัสดุปลูกที่ไม่ใช้ดิน โดยอาศัยหลักการที่ผักต้องได้รับธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตผ่านระบบรากพืช พร้อมกับได้รับออกซิเจนและแสงแดดที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต ส่งผลให้การปลูกผักแบบไม่ใช้ดิน มีการเจริญเติบโตเต็มที่ตามศักยภาพของพันธุกรรมผักชนิดนั้น เนื่องจากสามารถใช้สารละลายธาตุอาหารและน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ดังนั้นการปลูกผักแบบไม่ใช้ดิน จึงเป็นแนวทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจ สำหรับการปลูกผักในอนาคต เพื่อลดการใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืช เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยและน้ำ ไม่สิ้นเปลืองแรงงาน ขั้นตอนการผลิตง่าย ส่งผลให้ประชาชนทั่วไปและผู้ประกอบธุรกิจ สามารถปลูกผักปลอดสารพิษแบบไม่ใช้ดินสำหรับการบริโภคภายในครอบครัวและการจำหน่ายภายในชุมชนได้ ซึ่งเป็นการเพิ่มรายได้อีกช่องทางหนึ่งด้วย การปลูกผักเชิงพาณิชย์ เพื่อจำหน่ายในชุมชนและจังหวัดนั้น ยังพบปัญหาและอุปสรรคอยู่มาก รวมทั้งการขาดข้อมูลในการผลิต การตลาด เทคโนโลยี และการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ เช่น ปัญหาด้านช่องทางการจัดจำหน่ายน้อย สภาพภูมิอากาศไม่เอื้อต่อการผลิต ต้นทุนจากการซื้อวัตถุดิบมาใช้ในการผลิต ขาดความรู้ความเข้าใจในการผลิตและการดำเนินธุรกิจ เป็นต้น ส่งผลให้เกิดความเสียหาย ผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค และต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นจึงนำแนวทางการจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ เข้ามาช่วยในการพัฒนาและจัดการการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์เชิงพาณิชย์ ซึ่งการจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์นั้น เป็นการบริหารจัดการตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ กล่าวคือตั้งแต่การจัดซื้อวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตจนถึงขั้นตอนการส่งมอบสินค้าแก่ผู้บริโภค โดยวิธีการนี้สามารถลดต้นทุนการผลิต การสูญเสียของวัตถุดิบ และเพิ่มมูลค่าแก่สินค้า สินค้าที่ได้มีคุณภาพ มาตรฐาน และความปลอดภัยคุ้มกับราคาสินค้าอีกด้วย
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1. เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปในการผลิต การจำหน่าย และการตลาดของผักไฮโดรโปนิกส์ ในจังหวัดนครสวรรค์ 2. เพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มมูลค่าแก่ผักไฮโดรโปนิกส์ ในจังหวัดนครสวรรค์ 3. เพื่อหาแนวทางการจัดการห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ของผักไฮโดรโปนิกส์ ในจังหวัดนครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :
1. การหาแนวทางการจัดการห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ของผักไฮโดรโปนิกส์ พิจารณาตั้งแต่การจัดหา วัตถุดิบในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์จนถึงขั้นตอนการจัดส่งผักไฮโดรโปนิกส์แก่ผู้บริโภค 2. ผักไฮโดรโปนิกส์ จะทำการศึกษาผักในกลุ่มผักสลัดเท่านั้น 3. ผักไฮโดรโปนิกส์ จะใช้วิธีการปลูกที่มีตัวกลางเป็นน้ำเท่านั้น 4. ประชากรและกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้ประกอบธุรกิจ เจ้าของกิจการ ผู้บริโภค และลูกจ้าง
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
1. ได้ข้อมูลสภาพทั่วไปในการผลิต การจำหน่าย และการตลาดของผักไฮโดรโปนิกส์ ในจังหวัดนครสวรรค์ 2. ได้แนวทางการจัดการห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ของผักไฮโดรโปนิกส์ ในจังหวัดนครสวรรค์ 3. ต้นทุนการผลิตลดลง และสินค้าผักไฮโดรโปนิกส์มีการเพิ่มมูลค่ามากขึ้น
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         1. ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของการจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ของผักไฮโดรโปนิกส์ และสภาพธุรกิจของผักไฮโดรโปนิกส์ในปัจจุบัน 2. เก็บรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นสำหรับใช้ในการวิเคราะห์การจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ของผักไฮโดรโปนิกส์ ตั้งแต่การจัดซื้อวัตถุดิบจนถึงการส่งมอบสินค้าแก่ผู้บริโภค 3. ศึกษาแนวทางการจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ของผักไฮโดรโปนิกส์ 4. วิเคราะห์ข้อมูลที่ใช้ในการจัดการโซ่อุปทานและ โลจิสติกส์ของผักไฮโดรโปนิกส์ 5. จัดหาแนวทางการจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ของผักไฮโดรโปนิกส์
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 นางสาวอาสาฬห์ อุตตาลกาญจนา นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 50%
2 นางสาวพุทธพร ไสว นักวิจัยภายนอกมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 50%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย