รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การจัดการเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ตามกรอบแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
Management of appropriate technologies to promote organic rice production within the concept of sufficiency economy
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
1 ตุลาคม 2560
วันสิ้นสุดโครงการ :
30 กันยายน 2561
ประเภทของการวิจัย :
อื่นๆ
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         พื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์สิ่งสำคัญอย่างแรกก็คืออาหาร สมัยก่อนอาหารหาได้มากมาย อาหารเป็นสิ่งล้ำค่าและจะต้องค้นหาเพื่อดำรงชีพ โดยเทคนิคในการหาอาหารต้องสอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศ และเทคนิคนี่เองที่ทำให้มนุษย์มีพัฒนาการ การหาอาหารในยุคบุพกาลเริ่มต้นด้วยการเก็บของป่า ล่าสัตว์ แต่อาหารพื้นฐานคือ พืชผักจากป่ามิใช่เนื้อสัตว์และอาหารเหล่านี้ก็เป็นพวกธัญพืช ซึ่งมนุษย์เรียนรู้พืชแต่ละชนิดว่า ชนิดใดสามารถให้พลังงานที่เพียงพอต่อการยังชีพได้ทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรตและวิตามินต่างๆ ในขณะที่การพึ่งพาอาหารจากประเภทเนื้อสัตว์เป็นการรอคอยที่ยาวนาน การได้ธัญพืชมาชดเชยจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตเอาไว้ ข้าวนับได้ว่าเป็นอาหารหลักสำคัญของมนุษย์ทั่วทุกมุมโลก ซึ่งมิได้มีเพียงข้าวเจ้าหรือข้าวเหนียวเท่านั้นที่เป็นภาพลักษณ์ของข้าว ข้าวทั้งสองชนิดเป็นเพียงส่วนหนึ่งของธัญพืชทั่วโลกที่ประกอบไปด้วยข้าวประเภทต่างๆ เช่น ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวฟ่าง ข้าวไรย์ ข้าวโพด และพืชตระกูลถั่วที่เมล็ดมีคุณสมบัติเหมือนข้าว เช่น ลูกเดือย บัควีท เป็นอาหารหล่อเลี้ยงประชากรทั่วโลกแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ข้าวเจ้าและข้าวเหนียวเป็นอาหารสำคัญมาแต่ดั้งเดิม ดังนั้นมนุษย์ก็คงจะหลีกหนีอาหารประเภทข้าวหรือเรียกโดยรวมว่าธัญพืชไปไม่พ้น ด้วยความที่ข้าวเป็นศูนย์รวมของสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีพเป็นหลัก หากไม่นับเนื้อสัตว์ที่เพิ่งได้รับความสำคัญในระยะหลัง อาหารคาร์โบไฮเดรตจากข้าวนับเป็นอาหารที่ให้พลังงานหลักต่อมนุษย์ทั่วโลก ในประเทศไทยอาหารที่ให้พลังงานหลักก็คือข้าวเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นข้าวเจ้าหรือข้าวเหนียวที่เป็นอาหารพื้นฐานแต่เดิม ทั้งอาหารคาว - หวาน อาหารว่าง ขนม อาหารในพิธีกรรม อาหารของเจ้านายหรือชาวบ้านก็ล้วนแต่ประกอบขึ้นจากข้าวเจ้าและข้าวเหนียว “ข้าว” เป็นเช่นเดียวกับ“อากาศ” ที่ใช้หายใจ เป็นสิ่งจำเป็นที่สุดของชีวิตที่ขาดไม่ได้ แต่ดูเหมือนว่าคนไทยรู้เรื่องราวของข้าวและสิ่งที่เกี่ยวข้องกับข้าวน้อยมากอย่างไรก็ตามข้าวก็เป็นสิ่งที่ไม่อาจจะสลัดพ้นออกจากสังคมไทยได้แม้ว่าความหมายของข้าวในสังคมเมืองจะเหลือบทบาทเพียงแค่อาหาร แต่ในความเป็นจริงแล้วเมื่อเปรียบเทียบสังคมเมืองและชนบท ข้าวยังเป็นโครงสร้างความสัมพันธ์พื้นฐานที่สุดโดยเฉพาะในสังคมที่ยังมีการทำนา ข้าวยังคงมีบทบาทในการดำรงชีวิตอย่างมาก ในอดีตชีวิตของชาวนาขึ้นอยู่กับวงจรชีวิตและการเติบโตของข้าว ปัจจุบันแม้ว่าวงจรชีวิตของข้าวจะเลือนหายและไม่ได้กำหนดบทบาทของชาวนามากนัก เพราะข้าวได้เปลี่ยนบทบาทมากำหนดตัวเงินแทน แต่สำหรับชาวนาข้าวก็ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการเลี้ยงชีพอยู่เหมือนเดิม ที่ผ่านมา ประเทศไทยพยายามพัฒนาตัวเองจากการที่ถูกมองว่าเป็นประเทศ “ด้อยพัฒนา”ให้ก้าวสู่ประเทศ “กำลังพัฒนา” ด้วยการพัฒนาประเทศตามแบบตะวันตก โดยกำหนดทิศทางการพัฒนา ขึ้นมาเป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทิศทางในการพัฒนาด้านการเกษตรไปในลักษณะของการทำลายทรัพยากร เช่น การบุกเบิกพื้นที่ป่า การส่งเสริมให้ขยายพื้นที่เพาะปลูกส่งเสริมให้เพิ่มจำนวนครั้งของการปลูก การใช้เทคโนโลยี สารเคมีและปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิตทำให้ต้นทุนการผลิตสูง แต่ผลที่ตามมาคือ เกษตรกรยากจนลง ราคาผลผลิตถูกกดต่ำเพื่อผลประโยชน์ของพ่อค้าคนกลาง หนี้สินเพิ่มขึ้น ไร้ที่ทำกิน ต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมลดลงและเสื่อมโทรม ระบบการผลิตล้มละลาย และเกษตรกรบางกลุ่มไม่สามารถพึ่งตนเองได้ การคุกคามของระบบทุนนิยมและการขยายตัวทางเศรษฐกิจต่อสังคมชนบท โดยเฉพาะชาวนาเกิดความยากจนมากขึ้น สูญเสียที่ดินให้นายทุน ปล่อยสารพิษตกค้างในผลผลิตและสิ่งแวดล้อม มีปัญหาสุขภาพอนามัย เกิดการสูญหายของทรัพยากร พันธุกรรมพืช บุกรุกพื้นที่ป่า ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทิศทางในการพัฒนาประเทศจึงปรับรูปแบบและวิสัยทัศน์ใหม่ ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตั้งแต่ฉบับที่ 7 เป็นต้นมา จึงมุ่งเน้นการพัฒนาการเกษตรเพื่อสู่ความยั่งยืน โดยการดำเนินตามรอยเบื้องพระยุคลบาท ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ระบบเศรษฐกิจต่างๆ ที่อยู่ในแนวทางธรรมชาติจึงเริ่มกลับคืนมาใหม่ นำไปสู่วิถีชีวิตดั้งเดิมของคนไทยในคำกล่าวที่ว่า “ในน้ำมีปลาในนามีข้าว” โครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทยในช่วงเวลา 40 ปีที่ผ่านมาได้เปลี่ยนแปลงจากภาคการเกษตรเพื่อยังชีพสู่ภาคเกษตรเพื่อการค้า เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากการพัฒนาการเกษตรแผนใหม่ หรือที่รู้จักกันดีในนามของ “การปฏิวัติเขียว” (Green Revolution) ซึ่งเน้นการใช้สารเคมีปุ๋ยเคมี การจัดการน้ำเพื่อการเกษตร (ชลประทาน) และมีการนำนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีใหม่ๆเช่น เครื่องจักรเข้ามาใช้ในไร่นาเพื่อช่วยเพิ่มผลผลิต (Conway และ Barbier, 1990) จากการพัฒนาเกษตรตามแนวคิดดังกล่าวสารเคมีและปุ๋ยเคมีจึงเป็นปัจจัยการผลิตที่มีบทบาทสำคัญต่อการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ในปัจจุบันพบว่ามีการใช้ปุ๋ยเคมี สารกำจัดวัชพืช สารกำจัดศัตรูพืช และสารอื่นๆ อย่างกว้างขวาง ซึ่งการใช้สารเคมีดังกล่าวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี โดยในปี 2530 มีการนำเข้าสารกำจัดแมลง สารกำจัดโรคพืช สารกำจัดวัชพืช และสารอื่นๆ รวมกันเป็นจำนวน 14,625ตัน มูลค่า 1,752 ล้านบาท และในช่วงระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมาพบว่า มีแนวโน้มการใช้สารเคมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ คือ ในปี 2544 มีการนำเข้าสารเคมีทางการเกษตรสูงถึง 48,855 ตัน มูลค่า 8,642 ล้านบาท การเกษตรอินทรีย์ (Organic Agriculture) ถือได้ว่าเป็นระบบหนึ่งของการผลิตทางการเกษตรที่อยู่ในทางเลือกของการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืน (Sustainable Agriculture) เป็นระบบการเกษตรที่ไม่มีการใช้สารเคมีหรือสารสังเคราะห์โดยกรรมวิธีทางเคมีต่างๆ ซึ่งรวมถึงการใช้ปุ๋ยเคมีในการปรับปรุงดินและการใช้สารเคมีในการควบคุมศัตรูพืช แต่จะเน้นการนำสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ เช่น เศษเหลือจากการเกษตรต่างๆ กลับมาใช้ประโยชน์ หรือในบางครั้งอาจนำเอาสิ่งมีชีวิต เช่น จุลินทรีย์บางชนิดเข้ามาช่วยในกิจกรรมการเกษตร การเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินจะให้ความสำคัญแก่ปุ๋ยธรรมชาติและปุ๋ยอินทรีย์เป็นหลักและในกรณีที่เกิดปัญหาการระบาดของศัตรูพืชก็จะปล่อยให้ศัตรูธรรมชาติ (Natural Enemies) ควบคุมศัตรูพืช (Pets) เอง หรือควบคุมโดยใช้วิธีชีวภาพ (Biological Control) หรืออาจใช้สารสกัดจากพืช (Plants Extracts) ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของความพยายามที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรเปลี่ยนแปลงวิถีการผลิตหันมาทำการเกษตรอินทรีย์ ระบบข้าวอินทรีย์ (Organic Rice System) เป็นระบบการจัดการปัจจัยการผลิต กระบวนการผลิต และการแปรรูปข้าวที่ได้จากการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ (Organic Farming) ซึ่งเป็นรูปแบบการผลิตที่มีเป้าหมายเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในทรัพยากรดิน เนื่องจากดินเป็นทรัพยากรพื้นฐาน (Resource Base) ในกระบวนการผลิตข้าวที่สำคัญ ซึ่งมีหลักการในการปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินด้วยการใช้อินทรีย์วัตถุ เช่น ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก นับได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญและมีแนวทางหลักในการฟื้นฟูดินในระบบเกษตรอินทรีย์มากที่สุด เนื่องจากอินทรีย์วัตถุที่ผ่านกระบวนการย่อยสลายหรือที่เรียกว่ากันโดยทั่วไปว่า“ฮิวมัส” (Humus) นั้นนับได้ว่าเป็นอินทรีย์วัตถุที่มีความสำคัญต่อความอุดมสมบูรณ์ของดินหลายประการ ได้แก่ ช่วยป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน ช่วยเก็บกักแร่ธาตุที่มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช นอกจากนี้ฮิวมัสยังสามารถเก็บกักน้ำได้เป็นจำนวนมากช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง และยังช่วยลดสารพิษในดินด้วยการดักจับโลหะหนักที่เป็นพิษต่อพืชทำให้พืชไม่สามารถดูดซึมได้อีกด้วย จากที่กล่าวมาในข้างต้นแสดงเห็นว่าระบบเกษตรอินทรีย์เป็นระบบการเกษตรที่ช่วยฟื้นฟูนิเวศเกษตรหรือทรัพยากรธรรมชาติให้กลับมาสมบูรณ์ได้อีกครั้ง นับได้ว่าระบบเกษตรอินทรีย์เป็นแนวทางอีกหนึ่งแนวทางในการจัดการทรัพยากรโดยเฉพาะปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความอุดมสมบูรณ์ของดินได้เป็นอย่างดี จากความสำคัญและปัญหาดังที่กล่าวมาซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นความสำคัญเร่งด่วนที่ต้องได้รับการปรับปรุงและเปลี่ยนแนวคิดของเกษตรกรผู้ทำนาโดยผู้วิจัยจะน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาสร้างกระบวนการที่มีส่วนร่วมของชุมชนการปรับปรุงและหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมของชุมชนที่มีอยู่ในธรรมชาติมาช่วยทำให้ปัญหาต่างๆในการผลิตข้าวให้เป็นข้าวอินทรีย์ และมีการขยายผลต่อไปยังชุมชนอื่นๆต่อไป
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1. เพื่อศึกษาระบบและรูปแบบการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกร 2. เพื่อสร้างกระบวนการและเทคโนโลยีจากธรรมชาติที่เหมาะสมมาใช้ในการผลิตข้าวอินทรีย์ 3. เพื่อทดสอบ ประเมินผล และส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์
ขอบเขตของโครงการ :
1. ขอบเขตด้านประชากร ได้แก่ กลุ่มเกษตรกร ที่อยู่ในพื้นที่ชุมชนศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง หมู่ 4 ตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี 2. ขอบเขตด้านพื้นที่ ได้แก่ ชุมชนศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงหมู่ 4 ตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี 3. ขอบเขตด้านเนื้อหาการศึกษาวิจัย ได้แก่ บริบทของชุมชน รูปแบบการผลิตข้าวอินทรีย์ การสร้างและทดสอบเทคโนโลยีการผลิตข้าวอินทรีย์ และส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีกับชุมชน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
1. ทราบข้อมูลการผลิตข้าวอินทรีย์ 2. เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนากระบวนการผลิตข้าวอินทรีย์ 3. เพื่อจะได้เป็นแนวทางในการส่งเสริมเผยแพร่การผลิตข้าวอินทรีย์ 4. เป็นต้นแบบและศูนย์กลางของการเรียนรู้การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีจากธรรมชาติการผลิตข้าวอินทรีย์ใช้ในชุมชน 5. มีการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีจากธรรมชาติการผลิตข้าวอินทรีย์และทราบประสิทธิภาพ การลดรายจ่าย และแนวทางการใช้เทคโนโลยีจากธรรมชาติการผลิตข้าวอินทรีย์สำหรับใช้เผยแพร่ขยายผลไปยังชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
          13.1 วิธีการดำเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพตามกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม(Participatory Action Research : PAR )เพื่อศึกษา โดยได้กำหนดขั้นตอนการวิจัยตามแนวคิดของเคมมิส และแมคแทกการ์ท(Kemmis and Me Taggart, 1991, pp.169-170 อ้างถึงใน องอาจ นัยพัฒน์, 2551, หน้า 301-303) ตามกรอบแนวคิดทั้ง 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 (1) จัดการประชุมคณะผู้วิจัยร่วมกับผู้นำชุมชน ผู้ทรงคุณวุฒิ และคัดเลือกตัวแทนและพื้นที่ในชุมชน (2) ร่วมกันลงพื้นที่สำรวจเก็บข้อมูลในพื้นที่ โดยการศึกษาสำรวจข้อมูลพื้นฐาน เอกสารทางวิชาการต่างๆ และการสนทนากลุ่ม เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลพื้นฐานด้านศักยภาพและรูปแบบการผลิตข้าวอินทรีย์โดยใช้แบบสอบถาม (3) คณะผู้วิจัยร่วมกับแกนนำของชุมชนและตัวแทนชาวบ้าน เดินทางไปศึกษาตามศูนย์การเรียนรู้ที่ประสบความสำเร็จที่ได้รับการยอมรับ (4) คณะผู้วิจัยร่วมกับแกนนำของชุมชมจัดสนทนากลุ่ม โดยสะท้อนข้อมูลได้รับรู้และตรวจสอบข้อมูลด้าน ซึ่งขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญ เพื่อนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ รูปแบบ และเทคโนโลยีการผลิตข้าวอินทรีย์ของชุมชนหรือกลุ่มเกษตรกร ขั้นตอนที่ 2 (1) คณะผู้วิจัย จัดประชุมกลุ่ม นำเสนอข้อมูลทางวิชาการรูปแบบต่างๆ เพื่อรับฟังความคิดเห็นของกลุ่มชาวบ้านโดยวิธีการสนทนากลุ่ม (2) คัดเลือกพื้นที่วิจัย ภายในชุมชน เพื่อสร้าง และศึกษาประสิทธิภาพ (3) คณะผู้วิจัยร่วมกับผู้นำชุมชน ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นักวิชาการจากพลังงานจังหวัด และชาวบ้าน ร่วมกันจัดเวทีสาธารณะเพื่อคืนข้อมูลที่ได้จากการศึกษาและทดลอง มาตรวจสอบความถูกต้อง ศึกษาถึงข้อจำกัดและข้อดีของเทคโนโลยีพลังงานที่เลือกใช้ โดยร่วมกันวิเคราะห์เทคโนโลยีที่ศึกษาเพื่อนำสู่การปฏิบัติจริงในพื้นที่ให้กับคนในชุมชน (4) คณะผู้วิจัยร่วมกับผู้นำชุมชน และชาวบ้าน ร่วมกันศึกษาและวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาในชุมชนและร่วมกันสร้างพื้นที่ในชุมชนเพื่อเป็นฐานในการเรียนรู้และต้นแบบต่อไป ขั้นตอนที่ 3 (1) คณะผู้วิจัย นำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ที่ผ่านการสังเคราะห์ผลการวิจัยอย่างเป็นระบบ ในลักษณะของการสื่อสารสาธารณะ ให้กับสังคมได้รับทราบถึงแนวทางการสร้างชุมชนต้นแบบการผลิตข้าวอินทรีย์ (2) คณะผู้วิจัย จัดการถ่ายทอดและฝึกอบรมการผลิตข้าวอินทรีย์ให้กับกลุ่มชาวบ้านมีโดยมีการติดตามและประเมินผล 13.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐาน จากผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม และผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นแนวการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม ร่วมกับวิธีสังเกต ฯลฯ 13.3 การเก็บรวบรวบข้อมูล ชุมชนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ดังนี้ 13.4.1. การเก็บข้อมูลภาคสนามลักษณะแนวกว้างและลึก โดยใช้ทั้งแบบสอบถามและการสัมภาษณ์เป็นรายบุคคล ทั้งที่เป็นรูปแบบทางการและไม่เป็นทางการ 13.4.2.xการเก็บข้อมูลการจัดเวทีประชาคมและการประชุมสัมมนาทั้งในกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่ 13.4.3. การเก็บข้อมูลจากจัดกิจกรรม การศึกษาดูงาน โดยการสังเกตรวบรวมจากการเข้าร่วมกิจกรรมกับการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 13.4.4. การเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ที่ใช้ในการวิจัย เพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงประมาณและเชิงคุณภาพ 13.4.5. การเก็บข้อมูลจากผู้ทรงคุณวุฒิ ในลักษณะการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) โดยใช้แบบประเมิน ได้จากการสนทนากลุ่ม การทำเวทีประชาคม และกิจกรรมการมีส่วนร่วม
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
พื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์สิ่งสำคัญอย่างแรกก็คืออาหารสมัยก่อนอาหารหาได้มากมายอาหารเป็นสิ่งล้ำค่าและจะต้องค้นหาเพื่อดำรงชีพโดยเทคนิคในการหาอาหารต้องสอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศและเทคนิคนี่เองที่ทำให้มนุษย์มีพัฒนาการการหาอาหารในยุคบุพกาลเริ่มต้นด้วยการเก็บของป่าล่าสัตว์แต่อาหารพื้นฐานคือพืชผักจากป่ามิใช่เนื้อสัตว์และอาหารเหล่านี้ก็เป็นพวกธัญพืชซึ่งมนุษย์เรียนรู้พืชแต่ละชนิดว่าชนิดใดสามารถให้พลังงานที่เพียงพอต่อการยังชีพได้ทั้งโปรตีนคาร์โบไฮเดรตและวิตามินต่างๆในขณะที่การพึ่งพาอาหารจากประเภทเนื้อสัตว์เป็นการรอคอยที่ยาวนานการได้ธัญพืชมาชดเชยจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตเอาไว้ ข้าวนับได้ว่าเป็นอาหารหลักสำคัญของมนุษย์ทั่วทุกมุมโลกซึ่งมิได้มีเพียงข้าวเจ้าหรือข้าวเหนียวเท่านั้นที่เป็นภาพลักษณ์ของข้าวข้าวทั้งสองชนิดเป็นเพียงส่วนหนึ่งของธัญพืชทั่วโลกที่ประกอบไปด้วยข้าวประเภทต่างๆเช่นข้าวสาลีข้าวโอ๊ตข้าวฟ่างข้าวไรย์ข้าวโพดและพืชตระกูลถั่วที่เมล็ดมีคุณสมบัติเหมือนข้าวเช่นลูกเดือยบัควีทเป็นอาหารหล่อเลี้ยงประชากรทั่วโลกแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศข้าวเจ้าและข้าวเหนียวเป็นอาหารสำคัญมาแต่ดั้งเดิมดังน
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 นายเสกสิทธิ์ รัตนสิริวัฒนกุล นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 50%
2 นายณัฐเศรษฐ์ น้ำคำ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 20%
3 นายสิปปวิชญ์กร สิทธิอัครานนท์ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 10%
4 นายจรรโลง พิรุณ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 10%
5 นางสาวชัญญพัชร์ จารุวัชรเศรษฐ์ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 10%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย