มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
สถาบันวิจัยและพัฒนา
ระบบจัดการงานวิจัย
NSRU
RESEARCH
หน้าหลัก
ค้นหารายการ
ข้อมูลงานวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
รายงานสถิติ
งานวิจัย
งานทรัพย์สินทางปัญญา
เข้าสู่ระบบ
รายละเอียดโครงการวิจัย
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การพัฒนาวิชาชีพครูเพื่อส่งเสริมความเข้าใจและการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มในชั้นเรียนของครูประจำการ
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
Professional Development for Enhancing Inservice Teachers’ Understanding and Teaching STEM in their classroom
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
30 ตุลาคม 2560
วันสิ้นสุดโครงการ :
30 เมษายน 2562
ประเภทของการวิจัย :
การวิจัยและพัฒนา
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
จากข้อเท็จจริงในปัจจุบัน พบว่านักเรียนไทยมีผลการประเมินต่ำกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติทุกวิชา และมีแนวโน้มลดต่ำลงทุกวิชาเมื่อเทียบกับการประเมินครั้งแรกในปี 2000 (PISA 2000) (Organisation for Economic Co-operation and Development or OECD) (สถาบันส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2556, น. 18) นักเรียนขาดสมรถนะในการเรียนรู้ ประเทศไทยไม่สามารถพัฒนาเยาวชนให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะต่างๆ น้อยกว่าประเทศอื่นๆ ทำให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาให้ความสนใจในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เพราะในชีวิตประจำวันของผู้เรียนนั้นต้องใช้ความรู้มากมายหลายด้านในการทำงาน โดยเฉพาะการทำงานเป็นทีม เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม และเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างยั่งยืน จากปัญหาที่กล่าวมาจึงทำให้เกิดการปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ให้มีแนวโน้มที่จะเป็นการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้นำสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้ประโยชน์หรือใช้แก้ปัญหาต่างๆ โดยมีการบูรณการความรู้ที่หลากหลายเข้าด้วยกันเพื่อใช้ในการสร้างนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ โดยสะเต็มศึกษา เป็น แนวทางการจัดการศึกษาที่บูรณาการความรู้ใน 4 แขนงวิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ โดยเน้นการนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง ทำให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้เข้ากับกับชีวิตจริงได้ การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ไม่เน้นเพียงการท่องจำทฤษฎีหรือกฏทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ แต่เป็นการสร้างความเข้าใจทฤษฎีหรือกฏเหล่านั้นผ่านการปฏิบัติให้เห็นจริงควบคู่กับการพัฒนาทักษะการคิด ตั้งคำถาม แก้ปัญหาและการหาข้อมูลและวิเคราะห์ข้อค้นพบใหม่ๆ พร้อมทั้งสามารถนำข้อค้นพบนั้นไปใช้หรือบูรณาการกับชีวิตประจำวันได้ (NRC, 2012; Vasquezet al, 2013) จากความสำคัญของการเรียนรู้แบบบูรณาการดังกล่าว ทำให้รัฐบาลและหน่วยงานทางการศึกษาอย่างสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้ทำโครงการ STEM education เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ให้เกิดการบูรณาการกับศาสตร์อื่นๆ และนำไปสู่การแก้ไขปัญหาของการศึกษาที่ขาดการจัดการเรียนรู้ให้เกิดการบูรณาการ เพื่อให้นักเรียนนำความรู้มาใช้ในการแก้ไขปัญหา เกิดทักษะการคิด การสื่อสาร เมื่อพิจารณาแล้ว การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มนั้นมีบางส่วนที่มีรูปแบบคล้ายคลึงกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning) โดยเป็นการจัดการเรียนรู้วิธีหนึ่งโดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ ซึ่งผู้เรียนจะมีโอกาสได้แก้ปัญหาปลายเปิดต่างๆที่ผู้สอนได้กำหนดเช่นกัน ผู้เรียนได้พัฒนาความรู้ของตนเองอย่างเป็นธรรมชาติ และเกิดทักษะในการแก้ปัญหาของตนเองขึ้น รวมทั้งได้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีทักษะของการทำงานร่วมกับผู้อื่น ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมดถือว่าเป็นลักษณะการจัดการเรียนรู้ที่สามารถกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน (active learning) อีกด้วย หลักการคร่าวๆของการเรียนรู้แบบดังกล่าวมีดังต่อไปนี้คือตรวจสอบความรู้เดิมของผู้เรียน ตรวจสอบว่าผู้เรียนนั้นอยากรู้เกี่ยวกับอะไร และจะชักนำให้ผู้เรียนให้เข้าถึงข้อมูลสำหรับการแก้ปัญหานั้นๆได้อย่างไร โดยผู้สอนไม่ได้มีหน้าที่เป็นผู้แก้ปัญหาให้กับผู้เรียน (Schmidt et al, 2011) แต่จะรับบทบาทเป็นผู้ช่วยอำนวยความสะดวกให้แทน (facilitator) โดยมีหน้าที่คอยสนับสนุนสิ่งต่างๆ คอยกระตุ้นให้แก้ปัญหา ให้คำแนะนำ และคอยติดตามตรวจสอบกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยมุ่งสร้างให้ผู้เรียนนั้นได้มีความกล้า ความมั่นใจที่จะเผชิญกับปัญหาต่างๆ และคอยสร้างความเชื่อมั่น ส่งเสริมความมั่นใจให้กับผู้เรียนในขณะที่ผู้เรียนกำลังเกิดการเรียนรู้อยู่ ซึ่งจะต่างจากการเรียนรู้ในรูปแบบปกติ คือผู้สอนมีหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ให้ผู้เรียนโดยตรง อย่างการบรรยายหรือการอ่านจากตำราโดยตรง ซึ่งจัดว่าเป็นการสอนแบบใช้การบรรยายเนื้อหาเป็นหลัก lecture-based. (Hung, 2011) งานวิจัยในครั้งนี้จึงจำเป็นต้องพัฒนาวิชาชีพครูให้สามารถจัดการเรียนรู้แบบสะเต็ม โดยเริ่มต้นจากสำรวจความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็ม หลังจากนั้นให้ครูประจำการมีการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มในชั้นเรียน ร่วมกันการสร้างความเข้าใจการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็ม และพัฒนาการสอนสะเต็มของครูวิทยาศาสตร์ประจำการ รวมทั้งการผลิตบทเรียน และสื่อการเรียนการสอนของการดำเนินงานดังกล่าว
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1. เพื่อสำรวจความรู้ความเข้าใจเดิมของครูวิทยาศาสตร์ประจำการเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็ม 2. เพื่อสร้างรูปแบบที่เหมาะสมในการพัฒนาครูที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็ม 3. เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มของครูวิทยาศาสตร์ประจำการ
ขอบเขตของโครงการ :
1.ขอบเขตประชากร ได้แก่ ครูวิทยาศาสตร์ประจำการ สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์ 2. ขอบเขตเนื้อหา ได้แก่ รูปแบบการพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ประจำการที่พัฒนาจะผ่านกระบวนการวิจัย 3. ขอบเขตด้านระยะเวลา ได้แก่ การพัฒนาจะใช้เวลาร่วมกันดำเนินกิจกรรม ช่วงเวลาวันเสาร์-อาทิตย์และช่วงปิดภาคเรียนจัดการเรียนรู้ของครู
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
1. ได้องค์ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบการพัฒนาวิชาชีพครูที่สามารถนำไปพัฒนาต่อกับกลุ่มประชากรครู วิทยาศาสตร์ประจำการกลุ่มต่างๆได้ 2. เป็นการพัฒนาวิชาชีพครู ให้เกิดความเข้าใจและทักษะการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มที่จะส่งผลให้นักเรียนมีความสามารถและสมรถนะสูงขึ้น พร้อมแข่งขันกับต่างประเทศได้ 3. ครูประจำการสามารถพัฒนาและเผยแพร่ผลงานวิจัยในการประชุม/สัมมนาภายในประเทศ และ/หรือใน วารสารวิชาการนานาชาติ ได้แก่ Science Education Reasearch เป็นต้น
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
13.1 กลุ่มวิจัย (participant) กลุ่มวิจัยคือครูวิทยาศาสตร์ประจำการที่อยู่ภายใต้สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์ 13.2 วิธีการวิจัย งานวิจัยนี้ เป็นงานวิจัยเพื่อการพัฒนาโดยใช้รูปแบบของ action research โดยแบ่งระยะวิจัยออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ 13.2.1. ระยะที่ 1 สำรวจสภาพความเข้าใจและการจัดการเรียนการสอนแบบสะเต็ม มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความแนวคิดสะเต็มและศึกษาสภาพการสอนสะเต็มของครูผู้สอนว่าเป็นอย่างไร เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงและสร้างโปรแกรมพัฒนาวิชาชีพขึ้นต่อไป 13.2.2. ระยะที่ 2 ผู้วิจัยร่วมกันพัฒนาโปรแกรมพัฒนาวิชาชีพ นำไปใช้และประเมินผล โดยระหว่างการสร้างและนำโปรแกรมดังกล่าวไปใช้ จะอาศัยกระบวนการวิจัยแบบวงจรเชิงปฏิบัติการ เพื่อปรับปรุงโปรแกรมการพัฒนาวิชาชีพจนได้ข้อความรู้ขึ้นมา โดยวงจรแบ่งออกเป็นขั้นตอนดังนี้ 1) ศึกษาสภาพการณ์และปัญหา และวางแผนเพื่อการปฏิบัติการ (Plan) โดยร่วมกันวางแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถบูรณาการธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ขึ้น 2) ขั้นปฏิบัติ (Act) เป็นการดำเนินงานตามแผนที่ได้ร่วมกันวางไว้ในขั้นแรก โดยนำไปใช้จัดการเรียนรู้ในสภาพจริง 3) สังเกตผลการปฏิบัติ (Observe) เป็นขั้นตอนในการร่วมกันวิเคราะห์การดำเนินงานที่เกิดขึ้นว่าสามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่อย่างไร และสิ่งใดที่ควรปรับปรุง ซึ่งเป็นการร่วมกันสังเกตในผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัยทุกคน 4) สะท้อนความคิด (Reflect) คือการทบทวนอย่างพินิจพิเคราะห์ร่วมกัน ซึ่งนำไปสู่การปรับแผนการปฏิบัติงานและลงปฏิบัติใหม่อีกครั้ง เป็นวงจรที่ต่อเนื่องกันต่อไปจนสามารถแก้ปัญหาได้ โดยวงจร PAOR นี้ จะเกิดอยู่ตลอดเวลาระหว่างการวิจัย เพื่อให้เกิดการปรับปรุงเพื่อนำไปปฏิบัติและแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นขณะทำวิจัยได้อย่างทันท่วงที จากการปฏิบัติงานโดยอาศัยวงจรการวิจัยดังกล่าว เป็นหนทางนำไปสู่การได้มาซึ่งแนวทางการปฏิบัติที่ดี (Best practice)
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่
รายชื่อ
ประเภทนักวิจัย
บทบาทหน้าที่
สัดส่วน
1
นายศุภชัย ทวี
นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย
หัวหน้าโครงการวิจัย
100%
สถาบันวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130
หมายเลขโทรศัพท์
056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย
website
rdi.nsru.ac.th
Smart Rdi Nsru