รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา สู่ประชาคมอาเซียน สำหรับโรงเรียนเครือข่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
The Development of Training Curriculum to School Curriculum Development Asean Community for
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะครุศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
19 พฤศจิกายน 2556
วันสิ้นสุดโครงการ :
18 พฤศจิกายน 2557
ประเภทของการวิจัย :
การพัฒนาทดลอง
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         ประเทศไทยในยุคโลกาภิวัตน์ มีความจำเป็นอย่างยิ่งยวด ที่จะต้องปรับตัวอย่างมากและ รวดเร็ว ภายใต้บริบทการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างนานาชาติ ตั้งแต่ระดับประเทศเพื่อนบ้านในระดับ ภูมิภาคทีมีพรมแดนติดต่อกัน ซึ่งรวมกันเป็นประชาคมอาเซียน มีวัตถุประสงค์สำคัญอันเป็นเสาหลัก ๓ เสาหลัก คือประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน ประชมคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคม สังคมและวัฒนธรรมอาเซียน โดยมุ่งหวังให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข โดยการแก้ไข ปัญหาในภูมิภาคด้วยสันติวิธีและมุ่งสร้างความมั่นคงความสามารถในการแข่งขันกับภูมิภาคอื่น ลดช่องว่างการพัฒนาร่วมมือช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ รวมทั้งมีจุดมุ่งหมายยกระดับคุณภาพชีวิตของ ประชาชน ความร่วมมือทางการศึกษาและวัฒนธรรม เป็นกลไกสำคัญเพื่อการบรรลุจุดม่งหมายของ ประชาคมอาเซียน พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มาตรา 7 ระบุว่า กระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมือง การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รู้จักรักษา และส่งเสริมสิทธิหน้าที่ เสรีภาพ ความเคารพกฎหมาย ความเสมอภาคและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย รู้จักรักษาผลประโยชน์ส่วนรวม และของประเทศชาติ รวมทั้งส่งเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมของชาติ การกีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและความรู้อันเป็นสากลตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการประกอบอาชีพ รู้จักพึ่งตนเอง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่รู้และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องและตามมาตรา 27 (วรรค 2) กำหนดให้สถานศึกษามีหน้าที่จัดทำสาระของหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของสถานศึกษาโดยตรงที่จะต้องจัดทำหลักสูตรที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น การพัฒนาหลักสูตรอาเซียนเพื่อการรู้อาเซียน จำเป็นที่ผู้จัดทำต้องมีความรู้ความเข้าใจข้อมูลพื้นฐานของประเทศสมาชิกอาเซียนในเบื้องต้น จากนั้นต้องพิจารณาระดับความสำคัญของความรู้ความเข้าใจที่ต้องการในหลักสูตรนั้นๆ ว่าคืออะไร มีเป้าหมายอย่างไร แล้วจึงดำเนินการพัฒนาหลักสูตร โดยกำหนดรูปแบบของหลักสูตร กระบวนการพัฒนาหลักสูตร ตลอดจนองค์ประกอบสำคัญของหลักสูตรที่สอดคล้องกับข้อมูลที่ได้ จึงจะสามารถพัฒนาหลักสูตรที่ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างสันติและมีความสุขในสังคมอาเซียนได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นฐานของพันธสัญญาระหว่างหลักสูตรกับผู้เรียน และกับสังคมพร้อมเนื้อหาและข้อมูลที่จำเป็น (สำลี ทองธิว,2555.) รัฐบาลไทยได้ร่วมมือกับอาเซียนในการเสร้างสร้างความแข็งแกร่งและความเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาคทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองและความมั่นคง ตลอดจนสังคมและวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับกฎบัตรอาเซียนและนโยบายของรัฐบาลไทยในการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทศสมาชิกอาเซียน โดยใช้การศึกษาเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนา เพื่อเป็นรากฐานสำคัญในการเสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองในทุกด้าน การรับรองปฏิญญาชะอำ-หัวหิน ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาเพื่อบรรลุประชาคมอาเซียนที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและการพัฒนาภูมิภาคอย่างยั่งยืน และได้กำหนดให้สาขาการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งในการตอบสนองการสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ภายในปี พ.ศ. 2558 กระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดบทบาทการดำเนินงานด้านต่างประเทศเชิงรุก โดยเน้นการกระชับความสัมพันธ์และการขยายความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน และในภูมิภาคอาเซียนภายใต้กรอบความร่วมมือด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะกรอบความร่วมมือด้านการศึกษา ซึ่งเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของประเทศสมาชิกอาเซียน (สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา,2555.) บทบาทสำคัญซึ่งสถานศึกษาทุกแห่งสามารถสร้างความพร้อมให้กับเด็กและเยาวชนไทยได้คือ การปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา ในมิติของวิสัยทัศน์ทีต้องมองภาพอนาคตทะลุก้าวไปในการอยู่ร่วมในฐานะประชาชนใน ประชาคมอาเซียน ในมิติของหลักการ จุดหมายที่ชัดเจนอันจะนำเด็กและเยาวชนไปสู่อนาคต ที่สำคัญ คือ โครงสร้างหลักสูตร โครงสร้างเวลา หน่วยการเรียนรู้ซึ่งต้องมีการออกแบบให้สามารถพัฒนาผู้เรียนไปสู่เป้าหมายอย่างชัดเจน ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้จัดทำหลักสูตรฝึกอบรมการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน สำหรับโรงเรียนเครือข่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เพื่อผลักดันการดำเนินการด้านการศึกษาของประเทศไทยให้สอดรับต่อการเป็นประชาคมอาเซียนและพัฒนาเยาวชนไทยให้มีสมรรถนะที่สำคัญสำหรับ การดำเนินชีวิตในประชาคมอาเซียน
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1. เพื่อสร้างหลักสูตรฝึกอบรมการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน 2. เพื่อทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน 3. เพื่อประเมินหลักสูตรฝึกอบรมการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน
ขอบเขตของโครงการ :
6.1 ขอบเขตด้านเนื้อหา 1. สร้างหลักสูตรฝึกอบรมการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งประกอบด้วย หลักการและเหตุผล จุดมุ่งหมายของหลักสูตรฝึกอบรม โครงสร้างของหลักสูตรฝึกอบรม เนื้อหาสาระของหลักสูตร กิจกรรมการฝึกอบรม ระยะเวลาในการฝึกอบรม สื่อและแหล่งการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการฝึกอบรม และเอกสารประกอบหลักสูตร ได้แก่ คู่มือสำหรับผู้ให้การฝึกอบรม ประกอบด้วย คู่มือดำเนินการฝึกอบรมและแผนการฝึกอบรม 2. ทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน โดยใช้เนื้อหาในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน 3. การประเมินหลักสูตรฝึกอบรมการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน โดยการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรม โดยใช้การประเมินเชิงระบบโดยประเมินในด้านต่างๆต่อไปนี้ 3.1 ปัจจัยนำเข้า (Input) ได้แก่ ความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมในด้านหลักสูตร เอกสารประกอบหลักสูตร สื่อประกอบการฝึกอบรม วิทยากร ระยะเวลาและสถานที่ 3.2 ด้านกระบวนการใช้หลักสูตรฝึกอบรม (Process) ได้แก่ ความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมในด้าน การวางแผนการฝึกอบรม การดำเนินการอบรม การใช้สื่อประกอบการฝึกอบรม และการวัดและประเมินผลการฝึกอบรม 3.3 ด้านผลผลิต (Output) ได้แก่ ความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมในด้านความรู้ที่ได้รับ ความสามารถในการปฏิบัติ การนำความรู้ที่ได้จากการอบรมไปใช้ให้เกิดประโยชน์ 6.2 กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมาย ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นผู้บริหาร และครู โรงเรียนเครือข่ายฝึก ประสบการณ์วิชาชีพครู จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี 6.3 ขอบเขตด้านพื้นที่ โรงเรียนเครือข่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู นครสวรรค์ อุทัยธานี 6.4 ขอบเขตด้านเวลา ในการวิจัยครั้งนี้ใช้ระยะเวลาในการดำเนินงาน ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2556 ถึง 30 กันยายน 2557
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
เช่น การเผยแพร่ในวารสาร จดสิทธิบัตรฯลฯ และหน่วยงานที่นำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ 11.2 ผู้บริหาร และครูผู้สอน ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสามารถดำเนินการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียนได้ 11.3 สามารถนำหลักสูตรดังกล่าวไปขยายผลในการฝึกอบรมผู้บริหารและครูให้มีความสามารถในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน แก่โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สนใจ
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (research and development) โดยดำเนินการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งมีขั้นตอนวิธีดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ขั้นสร้างหลักสูตรฝึกอบรมการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน ขั้นตอนที่ 2 ขั้นทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน ขั้นตอนที่ 3 ขั้นประเมินหลักสูตรฝึกอบรมการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 นางสาวอาภากร โพธิ์ดง นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 100%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย