รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การพัฒนารูปแบบชุมชนการเรียนรู้เสมือนจริงด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยีสำหรับเยาวชน
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
DEVELOPMENT OF VIRTUAL LEARNING COMMUNITY OF INFORMATION MEDIA AND TECHNOLOGY OF YOUTH
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะครุศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
1 มกราคม 2561
วันสิ้นสุดโครงการ :
1 มกราคม 2561
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยเพื่อการเรียนการสอน
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
          ในปัจจุบัน รูปแบบการสอนที่จากเดิมให้ความสำคัญกับการถ่ายทอดความรู้จากผู้สอนไปสู่ผู้เรียนได้เปลี่ยนแปลงไปโดยให้ผู้เรียนเป็นผู้แสวงหาความรู้มากกว่าจะเป็นเพียงผู้รับความรู้จากผู้สอน ที่เรียกว่า การสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวเป็นผลมาจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ในหมวด 4 แนวทางการจัดการศึกษา มาตรา 22 เรื่องการจัดการศึกษา ที่ระบุว่า ต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2546) การสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เป็นแนวคิดที่เกี่ยวกับการลงมือทำของผู้เรียน (Harden and Crosby, 2000 อ้างใน O’Neill and McMahon, 2005) โดยมีเป้าหมายให้ผู้เรียนแสดงศักยภาพของตนออกมาให้ได้มากที่สุด มีลักษณะที่สำคัญ คือ ผู้เรียนมีทางเลือกในการเรียนสูง ผู้เรียนเป็นผู้แสวงหาความรู้มากกว่าเป็นผู้รับความรู้ และผู้เรียนไม่ถูกกำหนดทิศทางโดยผู้สอนเป็นหลัก (O’Neill and McMahon, 2005) ซึ่งแนวทางการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางมีหลากหลายรูปแบบ เช่น การเรียนแบบร่วมมือ การเรียนแบบประสบการณ์ การเรียนแบบอภิปัญญา การเรียนแบบส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และการเรียนแบบทำโครงงาน เป็นต้น (สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์, 2544) จากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสอนที่กล่าวมา ทำให้บทบาทของผู้สอนเปลี่ยนแปลงไป โดยผู้สอนต้องทำหน้าที่จัดสภาพแวดล้อม สื่อการสอน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยสถานศึกษาต้องส่งเสริมให้เกิดสภาพดังกล่าว ดังที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 หมวด 4 แนวทางการจัดการศึกษา มาตรา 22 เรื่องการจัดการศึกษา ในมาตรา 24 ข้อ 5 ได้ระบุใจความสำคัญว่า ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการส่งเสริมให้ผู้สอน สามารถจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อม สื่อการสอน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่ง (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2546) การจัดหาแหล่งเรียนรู้ ซึ่งเป็นข้อมูลที่จัดเก็บเป็นสื่อในรูปแบบต่างๆ และผู้เรียนสามารถเข้าถึงได้ (Surrey Board of Education, 2010) รวมทั้งมีเนื้อหาตรงกับความต้องการของผู้เรียน และสนับสนุนให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้และเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นแนวทางหนึ่งในการอำนวยความสะดวกผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ตามแนวทางการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งแหล่งเรียนรู้มีมากมายหลายรูปแบบ เช่น ห้องสมุด ห้องจัดนิทรรศการ พิพิธภัณฑ์ หรือแหล่งเรียนรู้ที่เป็นบุคคล เช่น ปราชญ์ชาวบ้าน หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (เจือจันทร์ จงสถิตอยู่, 2547) รวมทั้งแหล่งเรียนรู้ในรูปแบบชุมชนที่กระตุ้นผู้เรียนให้ได้รับความรู้และทักษะที่ต้องการ (Partnership for 21st Century Skill) ในสภาพแวดล้อมการศึกษาในระบบ ชุมชนการเรียนรู้เป็นกลุ่มของผู้เรียนและผู้สอนที่ถูกกระตุ้นด้วยความคิดและความต้องการที่เหมือนกัน ได้มารวมตัวกันและดำเนินกิจกรรมที่จะทำให้ได้ความรู้ ทักษะ หรือทัศนคติที่ต้องการ โดยกิจกรรมในชุมชนนั้น ถูกนำมาใช้เพื่อการแบ่งปันข้อมูลและการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลึกซึ้ง (Tele Apprentissage Communautaire et Transformatif, 1998) ซึ่งปัจจุบันโลกถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและการเชื่อมต่อ การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้จึงควรเป็นลักษณะเสมือน ออนไลน์ และทางไกล กล่าวคือ สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ไม่ต้องการสถานที่อีกต่อไป (Partnership for 21st Century Skill) ชุมชนการเรียนรู้ในรูปแบบเสมือนจึงได้เกิดขึ้น ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของผู้เรียนที่ไม่ขึ้นอยู่กับพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ แต่เป็นการรวมตัวของกลุ่มผู้เรียนที่มีวัตถุประสงค์ร่วมกันผ่านเทคโนโลยี ผู้เรียนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ถึงแม้ว่าจะอยู่ในสถานที่ที่แตกต่างกัน โดยการสร้างกลุ่มทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ (Kowch and Schwier, 1997) และสมาชิกแต่ละคนจะมีเป้าหมายการเรียนรู้ที่เปิดเผย เมื่อสมาชิกที่มีความรู้หรือมีทักษะสูงมีกิจกรรมร่วมกับสมาชิกที่มีความรู้และทักษะที่น้อยกว่า ก็จะทำให้เกิดการเรียนรู้ (Daniel, McCalla and Schwier, 2003) จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและความสำคัญของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ก่อให้เกิดชุมชนในรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า ชุมชนเสมือนจริง (Virtual Community) ขึ้น ซึ่งเป็นชุมชนในรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้นพร้อมกับการพัฒนาเทคโนโลยี และปัญหาของสังคมสมัยใหม่ ที่ทวีความซับซ้อนและรุนแรงยิ่งขึ้น การพิจารณาปัญหาและแนวทางแก้ปัญหา อาจจำกัดอยู่ในปริมณฑลของชุมชนที่มีอาณาเขตทางภูมิศาสตร์เล็กๆ ได้เพียงลำพัง ชุมชนแบบใหม่มีลักษณะเป็นชุมชนไร้พรมแดน สมาชิกหรือผู้สนใจสามารถเข้าร่วมได้โดยไม่จำกัดแหล่งที่อยู่ตราบที่ข่ายเทคโนโลยีทางการสื่อสารครอบคลุมถึง (สิริภา สงเคราะห์,2547) การรวมตัวของชุมชนเสมือนจริงเพื่อที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งร่วมกันถูกเรียกว่า ชุมชนการเรียนรู้เสมือนจริง (Virtual Learning Community) ซึ่ง Sharon Porterfield (2001) ได้อธิบายว่าชุมชนการเรียนรู้เสมือนจริงเป็นการจัดสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้บนชุมชนการเรียนรู้บนพื้นฐานของเป้าหมายร่วมกัน กระตุ้นปฏิสัมพันธ์และความร่วมมือของสมาชิก ซึ่งการเรียนรู้บนชุมชนการเรียนรู้เสมือนจริงนั้นปราศจากการแข่งขันระหว่างกันและมีจุดมุ่งหมายร่วมกันในการพัฒนาตนเอง (McLellan, 1998) ซึ่งการรวมกลุ่มของชุมชน อาจเริ่มจากพื้นฐานของแต่ละบุคคลที่มีคุณลักษณะคล้ายคลึงกัน เช่น เป็นกลุ่มคนที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน เป็นกลุ่มคนที่มีพื้นฐานขนบธรรมเนียมหรือ วัฒนธรรมเดียวกัน ซึ่งการเรียนรู้ผ่านชุมชนการเรียนรู้เสมือนจริงนั้น สามารถนำมาใช้กับการจัดการศึกษาในรูปแบบของการศึกษาตามอัธยาศัย สำหรับผู้ที่ต้องการพัฒนาตนเองหรือมีความสนใจร่วมกันที่พร้อมจะรวมตัวกันขึ้นเพื่อเรียนรู้ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการศึกษาในเรื่องหรือประเด็กที่สมาชิกสนใจร่วมกัน ประกอบกับความรู้ที่ผู้อำนวยความสะดวกใน ในปัจจุบัน รูปแบบการสอนที่จากเดิมให้ความสำคัญกับการถ่ายทอดความรู้จากผู้สอนไปสู่ผู้เรียนได้เปลี่ยนแปลงไปโดยให้ผู้เรียนเป็นผู้แสวงหาความรู้มากกว่าจะเป็นเพียงผู้รับความรู้จากผู้สอน ที่เรียกว่า การสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวเป็นผลมาจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ในหมวด 4 แนวทางการจัดการศึกษา มาตรา 22 เรื่องการจัดการศึกษา ที่ระบุว่า ต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2546) การสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เป็นแนวคิดที่เกี่ยวกับการลงมือทำของผู้เรียน (Harden and Crosby, 2000 อ้างใน O’Neill and McMahon, 2005) โดยมีเป้าหมายให้ผู้เรียนแสดงศักยภาพของตนออกมาให้ได้มากที่สุด มีลักษณะที่สำคัญ คือ ผู้เรียนมีทางเลือกในการเรียนสูง ผู้เรียนเป็นผู้แสวงหาความรู้มากกว่าเป็นผู้รับความรู้ และผู้เรียนไม่ถูกกำหนดทิศทางโดยผู้สอนเป็นหลัก (O’Neill and McMahon, 2005) ซึ่งแนวทางการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางมีหลากหลายรูปแบบ เช่น การเรียนแบบร่วมมือ การเรียนแบบประสบการณ์ การเรียนแบบอภิปัญญา การเรียนแบบส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และการเรียนแบบทำโครงงาน เป็นต้น (สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์, 2544) จากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสอนที่กล่าวมา ทำให้บทบาทของผู้สอนเปลี่ยนแปลงไป โดยผู้สอนต้องทำหน้าที่จัดสภาพแวดล้อม สื่อการสอน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยสถานศึกษาต้องส่งเสริมให้เกิดสภาพดังกล่าว ดังที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 หมวด 4 แนวทางการจัดการศึกษา มาตรา 22 เรื่องการจัดการศึกษา ในมาตรา 24 ข้อ 5 ได้ระบุใจความสำคัญว่า ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการส่งเสริมให้ผู้สอน สามารถจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อม สื่อการสอน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่ง (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2546) การจัดหาแหล่งเรียนรู้ ซึ่งเป็นข้อมูลที่จัดเก็บเป็นสื่อในรูปแบบต่างๆ และผู้เรียนสามารถเข้าถึงได้ (Surrey Board of Education, 2010) รวมทั้งมีเนื้อหาตรงกับความต้องการของผู้เรียน และสนับสนุนให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้และเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นแนวทางหนึ่งในการอำนวยความสะดวกผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ตามแนวทางการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งแหล่งเรียนรู้มีมากมายหลายรูปแบบ เช่น ห้องสมุด ห้องจัดนิทรรศการ พิพิธภัณฑ์ หรือแหล่งเรียนรู้ที่เป็นบุคคล เช่น ปราชญ์ชาวบ้าน หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (เจือจันทร์ จงสถิตอยู่, 2547) รวมทั้งแหล่งเรียนรู้ในรูปแบบชุมชนที่กระตุ้นผู้เรียนให้ได้รับความรู้และทักษะที่ต้องการ (Partnership for 21st Century Skill) ในสภาพแวดล้อมการศึกษาในระบบ ชุมชนการเรียนรู้เป็นกลุ่มของผู้เรียนและผู้สอนที่ถูกกระตุ้นด้วยความคิดและความต้องการที่เหมือนกัน ได้มารวมตัวกันและดำเนินกิจกรรมที่จะทำให้ได้ความรู้ ทักษะ หรือทัศนคติที่ต้องการ โดยกิจกรรมในชุมชนนั้น ถูกนำมาใช้เพื่อการแบ่งปันข้อมูลและการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลึกซึ้ง (Tele Apprentissage Communautaire et Transformatif, 1998) ซึ่งปัจจุบันโลกถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและการเชื่อมต่อ การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้จึงควรเป็นลักษณะเสมือน ออนไลน์ และทางไกล กล่าวคือ สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ไม่ต้องการสถานที่อีกต่อไป (Partnership for 21st Century Skill) ชุมชนการเรียนรู้ในรูปแบบเสมือนจึงได้เกิดขึ้น ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของผู้เรียนที่ไม่ขึ้นอยู่กับพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ แต่เป็นการรวมตัวของกลุ่มผู้เรียนที่มีวัตถุประสงค์ร่วมกันผ่านเทคโนโลยี ผู้เรียนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ถึงแม้ว่าจะอยู่ในสถานที่ที่แตกต่างกัน โดยการสร้างกลุ่มทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ (Kowch and Schwier, 1997) และสมาชิกแต่ละคนจะมีเป้าหมายการเรียนรู้ที่เปิดเผย เมื่อสมาชิกที่มีความรู้หรือมีทักษะสูงมีกิจกรรมร่วมกับสมาชิกที่มีความรู้และทักษะที่น้อยกว่า ก็จะทำให้เกิดการเรียนรู้ (Daniel, McCalla and Schwier, 2003) จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและความสำคัญของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ก่อให้เกิดชุมชนในรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า ชุมชนเสมือนจริง (Virtual Community) ขึ้น ซึ่งเป็นชุมชนในรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้นพร้อมกับการพัฒนาเทคโนโลยี และปัญหาของสังคมสมัยใหม่ ที่ทวีความซับซ้อนและรุนแรงยิ่งขึ้น การพิจารณาปัญหาและแนวทางแก้ปัญหา อาจจำกัดอยู่ในปริมณฑลของชุมชนที่มีอาณาเขตทางภูมิศาสตร์เล็กๆ ได้เพียงลำพัง ชุมชนแบบใหม่มีลักษณะเป็นชุมชนไร้พรมแดน สมาชิกหรือผู้สนใจสามารถเข้าร่วมได้โดยไม่จำกัดแหล่งที่อยู่ตราบที่ข่ายเทคโนโลยีทางการสื่อสารครอบคลุมถึง (สิริภา สงเคราะห์,2547) การรวมตัวของชุมชนเสมือนจริงเพื่อที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งร่วมกันถูกเรียกว่า ชุมชนการเรียนรู้เสมือนจริง (Virtual Learning Community) ซึ่ง Sharon Porterfield (2001) ได้อธิบายว่าชุมชนการเรียนรู้เสมือนจริงเป็นการจัดสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้บนชุมชนการเรียนรู้บนพื้นฐานของเป้าหมายร่วมกัน กระตุ้นปฏิสัมพันธ์และความร่วมมือของสมาชิก ซึ่งการเรียนรู้บนชุมชนการเรียนรู้เสมือนจริงนั้นปราศจากการแข่งขันระหว่างกันและมีจุดมุ่งหมายร่วมกันในการพัฒนาตนเอง (McLellan, 1998) ซึ่งการรวมกลุ่มของชุมชน อาจเริ่มจากพื้นฐานของแต่ละบุคคลที่มีคุณลักษณะคล้ายคลึงกัน เช่น เป็นกลุ่มคนที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน เป็นกลุ่มคนที่มีพื้นฐานขนบธรรมเนียมหรือ วัฒนธรรมเดียวกัน ซึ่งการเรียนรู้ผ่านชุมชนการเรียนรู้เสมือนจริงนั้น สามารถนำมาใช้กับการจัดการศึกษาในรูปแบบของการศึกษาตามอัธยาศัย สำหรับผู้ที่ต้องการพัฒนาตนเองหรือมีความสนใจร่วมกันที่พร้อมจะรวมตัวกันขึ้นเพื่อเรียนรู้ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการศึกษาในเรื่องหรือประเด็กที่สมาชิกสนใจร่วมกัน ประกอบกับความรู้ที่ผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้เป็นผู้เตรียมสถานการณ์การเรียนรู้ให้แก่สมาชิกส่วนหนึ่ง ก่อให้เกิดเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้ ทัศนคติ ระหว่างสมาชิกของชุมชนที่มีพื้นฐานที่แตกต่างกันอีกส่วนหนึ่ง ในการกระตุ้นให้สมาชิกแต่ละคนสร้างความรู้ขึ้นในตนเอง และสามารถนำความรู้ในเรื่องนั้นๆ ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนเองและพัฒนาชุมชนของตนได้ ซึ่งนับได้ว่าเป็นการเรียนรู้ในอีกรูปแบบหนึ่งโดยอาศัยระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมมามีบทบาทต่อการเรียนรู้ของบุคคลร่วมกัน ความจำเป็นด้านการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ในการเตรียมนักเรียนให้พร้อมกับชีวิตในศตวรรษที่ 21 เป็นเรื่องสำคัญของกระแสการปรับเปลี่ยนทางสังคมที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 ส่งผลต่อวิถีการดำรงชีพของสังคมอย่างทั่วถึง ครูจึงต้องมีความตื่นตัวและเตรียมพร้อมในการจัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักเรียนมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกในศตวรรษที่ 21 ที่เปลี่ยนไปจากศตวรรษที่ 20 และ 19 โดยทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่สำคัญที่สุด คือ ทักษะการเรียนรู้ (Learning Skill) ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เด็กในศตวรรษที่ 21 นี้ มีความรู้ ความสามารถ และทักษะจำเป็น ซึ่งเป็นผลจากการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการเรียน การสอน ตลอดจนการเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) วิจารณ์ พานิช (2555: 16-21) ได้กล่าวถึงทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 สาระวิชาก็มีความสำคัญ แต่ไม่เพียงพอสำหรับการเรียนรู้เพื่อมีชีวิตในโลกยุคศตวรรษที่ ๒๑ ปัจจุบันการเรียนรู้สาระวิชา (content หรือ subject matter) ควรเป็นการเรียนจากการค้นคว้าเองของศิษย์ โดยครูช่วยแนะนำ และช่วยออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนแต่ละคนสามารถประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเองได้ จะเห็นว่าทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information, Media, Technology Skill) เป็นอีกทักษะหนึ่งที่มีความสำคัญมากในศตวรรษที่ 21 ซึ่งผู้วิจัยเห็นว่าควรมีการพัฒนาเยาวชนไทยให้มีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะในการการคิดอย่างมีวิจารณญาณและปฏิบัติงานได้หลากหลาย โดยอาศัยความรู้ในด้านสารสนเทศ ความรู้เกี่ยวกับสื่อ ความรู้ด้านเทคโนโลยี โดยผสมผสานองค์ความรู้ ทักษะเฉพาะด้าน ความชำนาญการและความรู้เท่าทันด้านต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อความสำเร็จของผู้เรียนทั้งด้านการทำงานและการดำเนินชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1. พัฒนารูปแบบชุมชนการเรียนรู้เสมือนจริงด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยีสำหรับเยาวชน 2. ศึกษาผลการเรียนรู้ของเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมบนชุมชนการเรียนรู้เสมือนจริงด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี 3. ศึกษาความคิดเห็นของเยาวชนที่มีต่อกิจกรรมบนชุมชนการเรียนรู้เสมือนจริง
ขอบเขตของโครงการ :
ขอบเขตการวิจัยในครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 ด้าน ดังนี้ 7.1 ขอบเขตด้านเนื้อหา 1) ศึกษารูปแบบชุมชนการเรียนรู้เสมือนจริงในการจัดการเรียนรู้ตามอัธยาศัยแก่เยาวชนด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี 2) ลักษณะชุมชนการเรียนรู้เสมือนจริงเป็นแบบผสมผสานระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและกิจกรรมแบบพบปะจริง 3) เนื้อหาสำหรับการนำไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นสิ่งที่ได้จากความต้องการของเยาวชน 4) ชุมชนการเรียนรู้เสมือนจริงเป็นการประยุกต์ใช้เครื่องมือ (Tools) ต่างๆ ที่มีอยู่บนอินเทอร์เน็ต 7.2 ขอบเขตด้านประชากร 1) กลุ่มประชากร คือ เยาวชนในจังหวัดนครสวรรค์ที่กำลังศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าในปีการศึกษา 2560 จากสถาบันการศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ มีจำนวนนักเรียนระหว่าง 1,501-2,500 ได้แก่ โรงเรียนนครสวรรค์ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ จำนวนนักเรียน 3,813 คน โรงเรียนสตรีนครสวรรค์ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ จำนวนนักเรียน 3,013 คน โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ จำนวนนักเรียน 2,555 คน รวมทั้งสิ้น 9,381 คน 2) กลุ่มตัวอย่าง คือ เยาวชนในจังหวัดนครสวรรค์ที่กำลังศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนนครสวรรค์ โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม และโรงเรียนสตรีนครสวรรค์ โดยการสุ่มอย่างง่าย ใช้ตารางทาโรยามาเน่ จำนวน 385 คน 3) ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีการศึกษา ที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทหรือเอก ในสาขาเทคโนโลยีการศึกษาหรือสาขาที่เกี่ยวข้อง มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการออกแบบรูปแบบการเรียนการสอนและการเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 4) ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ และประสบการณ์ทางด้านเทคโนโลยีการศึกษา หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง และทางด้านชุมชนเสมือนจริง
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
1. ได้รูปแบบชุมชนการเรียนรู้เสมือนจริงสำหรับเยาวชนด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี 2. เป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้หรือบูรณาการการจัดการเรียนรู้ตามอัธยาศัย 3. เป็นแนวทางในการสร้างความตระหนักและให้ความสำคัญกับนวัตกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตในยุคเครือข่ายทางสังคม (Social Network) 4. เยาวชนมีทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยีเพื่อนำไปบูรณาการในการเรียนรู้และการดำรงชีวิต
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         1. พัฒนารูปแบบชุมชนการเรียนรู้เสมือนจริงสำหรับเยาวชนด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี 1.1 การสนทนากลุ่ม 1.2 การสำรวจความต้องการและความพร้อม 1.3 การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 1.4 การพัฒนารูปแบบ 1.5 การพิจารณาและประเมินคุณภาพรูปแบบ 1.6 การรับรองรูปแบบ 2. ศึกษาผลการเรียนรู้ของเยาวชนด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี 2.1 การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรม 2.2 การพัฒนาชุมชนการเรียนรู้เสมือนจริงสำหรับเยาวชนฯ 2.3 การศึกษาผลการเรียนรู้จากการทดลองใช้ 3. ศึกษาความคิดเห็นของเยาวชนด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี 3.1 การสำรวจความคิดเห็นของเยาวชน
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
แหล่งชุมชนการเรียนรู้เสมือนจริงสำหรับเยาวชนที่สร้างความตระหนักและให้ความสำคัญกับนวัตกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตในยุคเครือข่ายทางสังคม (Social Network) เยาวชนสามารถใช้งานด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้องซึ่งผลที่ได้สามารถนำไปบูรณาการในการเรียนรู้และการดำรงชีวิตในยุคดิจิทัลได้
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 นายภราดร พิมพันธุ์ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 50%
2 นางสาวดวงใจ พุทธเษม นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 50%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย