มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
สถาบันวิจัยและพัฒนา
ระบบจัดการงานวิจัย
NSRU
RESEARCH
หน้าหลัก
ค้นหารายการ
ข้อมูลงานวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
รายงานสถิติ
งานวิจัย
งานทรัพย์สินทางปัญญา
เข้าสู่ระบบ
รายละเอียดโครงการวิจัย
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
ผลของการใช้ ดีดี. ดินเดิม เอ็นไซม์ ต่อการย่อยสลายตอซังและฟางข้าวในแปลงนา
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
Effect of DD. DinDerm Enzyme on Decomposition of Rice Stubble and Straw in Rice Field
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
27 กันยายน 2561
วันสิ้นสุดโครงการ :
30 มีนาคม 2562
ประเภทของการวิจัย :
การพัฒนาทดลอง
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
ข้าว (rice) เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญของประเทศไทยชนิดหนึ่งที่ส่งออกไปยังประเทศต่าง ๆ เกือบทั่วโลก แต่การผลิตข้าวของประเทศไทยยังมีต้นทุนการผลิตสูง อีกทั้งยังก่อให้เกิดการเสื่อมคุณภาพของดินและน้ำ และก่อให้เกิดมลภาวะทางอากาศ จากการเผาฟางข้าวในขณะเตรียมแปลง ตอซังและฟางข้าวเป็นอินทรียวัตถุอย่างหนึ่งที่ได้มาหลังการเก็บเกี่ยวข้าว มีประโยชน์ต่อการปรับปรุงดิน ทำให้ดินร่วนซุย มีการระบายอากาศมากขึ้น ทำให้รากพืชเจริญเติบโตแพร่กระจายในดินได้มากขึ้น การซึมผ่านของน้ำและการอุ้มน้ำของดินดีขึ้น และเมื่อตอซังฟางข้าวย่อยสลายจะปลดปล่อยธาตุอาหารพืชลงสู่ดินโดยตรง ถึงแม้จะมีปริมาณธาตุอาหารน้อยกว่าปุ๋ยเคมี แต่จะมีทั้งธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรอง ที่จะค่อยๆ ปลดปล่อยให้เป็นประโยชน์ต่อพืชในระยะยาว ซึ่ง Dobermann and Fairhurst (2002) ได้รายงานไว้ว่าในฟางข้าวแห้งมีไนโตรเจน (N) 0.5-0.8, ฟอสฟอรัส (P2O5) 0.16-0.27 เปอร์เซ็นต์, โพแทสเซียม (K2O) 1.4-2.0 เปอร์เซ็นต์, กำมะถัน (S) 0.05-0.10 เปอร์เซ็นต์ และซิลิกอน (Si) 4-7 เปอร์เซ็นต์ การเผาตอซังฟางข้าวจะทำให้สูญเสียธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแตสเซียม และกำมะถัน (กรมวิชาการเกษตร, 2557) นอกจากนี้ตอซังฟางข้าวยังช่วยดูดยึดธาตุอาหารจากการใส่ปุ๋ยเคมีไม่ให้สูญเสียไปจากดินโดยง่าย เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมี รวมทั้งเป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุที่เป็นแหล่งอาหารและพลังงานของจุลินทรีย์ในดิน ทำให้ปริมาณและกิจกรรมของจุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนธาตุอาหารในดินให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืชเพิ่มขึ้น (ยงยุทธ และคณะ, 2551) ปัจจุบันจึงมีการทดลองหมักย่อยสลายตอซังฟางข้าวก่อนเตรียมแปลงปลูกแต่การหมักย่อยสลายฟางข้าวในปัจจุบันยังใช้เวลาค่อนข้างนานเป็นเวลา 10-15 วัน จึงจะสามารถเตรียมแปลงปลูกได้ ด้วยเหตุนี้เกษตรกรไทยจึงยังมีการเผาฟางข้าวก่อนเตรียม และก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมาย อาทิเช่น 1) ทำให้เกิดเขม่าควัน เศษฝุ่นละออง ก๊าซพิษ และส่งผลเสียต่อสุขภาพ 2) เป็นสาเหตุของสภาวะโลกร้อนและก่อให้เกิดภัยธรรมชาติ เช่น ฝนทิ้งช่วงมากขึ้น น้ำท่วมบ่อยขึ้น และเกิดไฟป่ามากขึ้น 3) ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางกายภาพของดิน โดยความชื้นในดินลดลง ดินจับตัวกันแน่น สภาพดินแข็งทำให้ไถเตรียมดินได้ตื้น หน้าดินน้อยลงทำให้รากแพร่กระจายได้น้อย 4) ชีวภาพของดินคือจุลินทรีย์ แมลง และสัตว์เล็ก ๆ ที่เป็นประโยชน์ ในดินนาตายลง และ 5) อินทรียวัตถุและธาตุอาหารที่สำคัญลดลง แต่อย่างไรก็ตามในขณะนี้พบว่ามีการทดลองใช้เอนไซม์ย่อยสลายตอซังและฟางข้าวจนสามารถทำให้ย่อยสลายได้ภายใน 7 วัน ซึ่งเป็นระยะเวลาไม่นานที่จะทำให้เกษตรกรพอใจได้ จึงควรมีการทดลองใช้เอนไซม์ย่อยสลายตอซังและฟางข้าวในสภาพแปลงปลูก เพื่อทำให้เกษตรกรมั่นใจในประสิทธิผลและเลือกใช้วิธีการนี้ในการกำจัดตอซังฟางข้าวต่อไปในอนาคต
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ ดีดี. ดินเดิม เอนไซม์ ต่อย่อยสลายตอซังและฟางข้าว 2. เพื่อทราบการเปลี่ยนแปลงปริมาณธาตุอาหารหลักของพืชในดิน และการเจริญเติบโตของต้นกล้าข้าวหลังจากการใช้ผลิตภัณฑ์ ดีดี. ดินเดิม เอนไซม์ 3. เพื่อทราบผลของผลิตภัณฑ์ ดีดี. ดินเดิม เอนไซม์ ในการลดการเกิดข้าวดีด ปริมาณผลผลิต และต้นทุนในการผลิตข้าว
ขอบเขตของโครงการ :
แบ่งเป็น 2 การทดลอง ดังนี้ 1.ประสิทธิภาพของ ดี.ดี.ดินเดิม เอ็นไซม์ ในการย่อยสลายตอซังและฟางข้าว 2. การเจริญเติบโตของต้นกล้าข้าวและผลผลิตหลังจากการใช้ ดี.ดี.ดินเดิม เอ็นไซม์ ย่อยสลายตอซังและฟางข้าว
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
- ทราบประสิทธิผลของ ดี.ดี.ดินเดิม เอ็นไซม์ ในการย่อยสลายตอซังและฟางข้าว - ได้ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ หน่วยงานภาคเอกชน และเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
การเตรียมพื้นที่โดยใช้รถไถทำคันดินขนาดกว้างและสูงเป็น 50 และ 30 เซนติเมตร ตามลำดับ กั้นรอบแปลง ขุดดินที่ฐานคันดิน แล้วปูพลาสติกคลุมคันดิน ฝังชายพลาสติกลึกในดิน 30 เซนติเมตร กลบดินทับ เพื่อป้องกันการซึมน้ำเข้าหรือสูญเสียน้ำไปยังแปลงทดลองข้างเคียง โดยแบ่งเป็นแปลงย่อย ขนาด 400 ตารางเมตร จำนวน 12 แปลง ทำการปล่อยน้ำเข้านาให้มีระดับสูงประมาณ 10-15 เซนติเมตร ย่ำตอซังและฟางข้าวให้จมน้ำ นำเอนไซม์ ดีดีดินเดิม ฉีดพ่นลงบนตอซังฟางข้าวในแปลงย่อยให้ทั่ว หมักไว้เป็นเวลา 7 วัน จากนั้นทำการตีฟางและทำเทือก แล้วปลูกข้าว โดยวิธีการปักดำ ระยะ 20 ? 20 เซนติเมตร การศึกษาวิจัยในครั้งนี้วางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อคสมบูรณ์ (Randomized Complete Block Design) จำนวน 4 ซ้ำ เปรียบเทียบกับการฉีดพ่นจุลินทรีย์ พด.1 และการเผาตอซังฟางข้าวดังนี้ กรรมวิธีที่ 1 ทำการหมักย่อยฟางข้าวด้วยเอนไซม์ ดี.ดี. ดินเดิม (500 ซีซี/ไร่) กรรมวิธีที่ 2 ทำการหมักย่อยฟางข้าวด้วยจุลินทรีย์ พด.1 (5 ลิตร/ไร่) กรรมวิธีที่ 3 ทำการเผาฟางข้าว จากนั้นเก็บข้อมูลประสิทธิภาพในการย่อยสลายตอซังและฟางข้าวแบ่งเป็น 2 การทดลอง ดังนี้ การทดลองที่ 1 ประสิทธิภาพของ ดี.ดี.ดินเดิม เอ็นไซม์ ในการย่อยสลายตอซังและฟางข้าว ก่อนทำการทดลองสุ่มเก็บตัวอย่างดินในแต่ละแปลงย่อย (ตามวิธีการของกรมพัฒนาที่ดิน) เพื่อนำไปตรวจวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารหลักของพืช หลังจากดำเนินการวิจัย สุ่มเก็บตัวอย่างตอซังและฟางข้าวในแต่ละแปลงย่อย นำมากตรวจวัดแรงตัดตอซังและฟางข้าววิเคราะห์โดยเครื่อง Texture analyzer (กิโลกรัม) และทำการสุ่มตัวอย่างน้ำในแต่ละแปลงย่อย นำมาตรวจวัดค่าความเป็นกรด-ด่างของน้ำ จากนั้นทำการสุ่มเก็บตัวอย่างดินในแต่ละแปลงย่อยอีกครั้ง เพื่อนำไปตรวจวิเคราะห์ความเป็นกรด-ด่างของดินและปริมาณธาตุอาหารหลักของพืช เก็บข้อมูลต่างๆ ดังต่อไปนี้ 1.1 ปริมาณธาตุอาหารหลักของพืช ได้แก่ ไนโตรเจน (N) ฟอฟอสรัส (P) และโพแทสเซียม (K) โดยทำการวิเคราะห์ทั้งก่อนและหลังการทดลองย่อยสลายฟาง 1.2 แรงตัดตอซังและฟางข้าววิเคราะห์โดยเครื่อง Texture analyzer (กิโลกรัม) 1.3 ความเป็นกรด-ด่างของดินและน้ำ การทดลองที่ 2 การเจริญเติบโตของต้นกล้าข้าวและผลผลิตหลังจากการใช้ ดี.ดี.ดินเดิม เอ็นไซม์ ย่อยสลายตอซัง และฟางข้าว หลังทำการหว่านเมล็ดโดยเครื่องหว่านเมล็ดแล้วใส่ปุ๋ยสูตร 16-20-0 อัตรา 35 กิโลกรัมต่อไร่ หลังข้าวแตกกอใส่ปุ๋ยยูเรียสูตร 46-0-0 อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับการใส่ปุ๋ยสูตร 16-20-0 อัตรา 35 กิโลกรัมต่อไร่ และในระยะกำเนิดช่อดอกใส่ปุ๋ยสูตร 0-0-21 อัตรา 5 กิโลกรัมต่อไร่ ทำการดังต่อไปนี้ 2.1 ความสูงของต้นข้าว (เซนติเมตร) ภายในพื้นที่เก็บตัวอย่างขนาดกว้าง x ยาว เท่ากับ 50 x 50 เซนติเมตร จำนวน 5 จุดต่อแปลง ทุก 15 วัน 2.2 นับจำนวนการแตกกอของต้นข้าว 2.3 ความยาวของเมล็ดข้าวเปลือก (มิลลิเมตร) โดยเวอร์เนียร์แคลิเปอร์ 2.4 จำนวนเมล็ดลีบ (เปอร์เซ็นต์) 2.5 จำนวนเมล็ดด่าง (เปอร์เซ็นต์) 2.6 จำนวนข้าวดีด (เปอร์เซ็นต์) 2.7 จำนวนเมล็ดต่อรวง (เปอร์เซ็นต์) 2.8 จำนวนวัชพืช (ต้นต่อพื้นที่) 2.9 น้ำหนักเมล็ดข้าวเปลือก 1,000 เมล็ด (กรัม) นำเมล็ดข้าวออกจากรวงข้าวที่เก็บมาจากแปลงวิจัยแล้วจึงนำไปชั่งน้ำหนัก โดยใช้เครื่องชั่งอย่างละเอียดทศนิยม 2 ตำแหน่ง 2.10 น้ำหนักผลผลิตข้าวเปลือกต่อไร่ (กิโลกรัม)
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
ทดสอบประสิทธิภาพ ดี.ดี. ดินเดิม เอ็นไซม์ ในการย่อยสลายฟางข้าว การเจริญเติบโตข้างต้นข้าว และปริมาณผลผลิต
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่
รายชื่อ
ประเภทนักวิจัย
บทบาทหน้าที่
สัดส่วน
1
นายปัณณวิชญ์ เย็นจิตต์
นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย
ผู้ร่วมวิจัย
40%
2
นางศรัณยา เพ่งผล
นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย
หัวหน้าโครงการวิจัย
60%
สถาบันวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130
หมายเลขโทรศัพท์
056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย
website
rdi.nsru.ac.th
Smart Rdi Nsru