รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การเพิ่มมูลค่าให้กับสมุนไพรรากบัวด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยีชีวภาพ
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
Value added for lotus root by biotechnological process
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
1 ตุลาคม 2560
วันสิ้นสุดโครงการ :
30 เมษายน 2562
ประเภทของการวิจัย :
การวิจัยและพัฒนา
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         จังหวัดนครสวรรค์เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีความหลากหลายของสมุนไพร ซึ่งในแต่ละอำเภอจะมีพืชสมุนไพรที่โดดเด่นแตกต่างกันไป พบว่ารากบัวเป็นสมุนไพรพื้นบ้านในเขตอำเภอชุมแสงที่มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมของจังหวัดนครสวรรค์ที่มีสรรพคุณที่เป็นประโยชน์นานัปการต่อสุขภาพ โดยน้ำรากบัว และรากบัวเชื่อมเป็นรูปแบบของการแปรรูปรากบัวที่พบมากและราคาไม่แพงการพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์รากบัวให้ได้เป็นผลิตภัณฑ์ที่แตกต่าง เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคและมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจ ผู้วิจัยจึงคิดที่จะนำเอาความรู้ทางเทคโนโลยีชีวภาพมาพัฒนาผลิตภัณฑ์จากรากบัวให้อยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์ไวน์และน้ำส้มสายชูหมักเนื่องด้วยนอกจากจะเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับรากบัวเพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับกลุ่มผู้ปลูกหรือผู้ผลิตแล้ว ในกระบวนการผลิตไวน์และน้ำส้มสายชูนั้น ยังเป็นกระบวนการสกัดเอาสารประกอบที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่มีสรรพคุณที่ดีต่อสุขภาพออกมาได้ดีอีกด้วย ซึ่งเป็นทางเลือกใหม่ให้กับผู้บริโภค อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนในพื้นที่หันมาอนุรักษ์ และทำการปลูกรากบัวเพิ่มมากขึ้นด้วย
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1.เพื่อศึกษาการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยีชีวภาพในการผลิตไวน์รากบัว 2.เพื่อศึกษาการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยีชีวภาพในการผลิตน้ำส้มสายชูหมักรากบัว
ขอบเขตของโครงการ :
1.เปรียบเทียบระยะเวลาในการหมักปริมาณน้ำตาลเริ่มต้น ปริมาณแอลกอฮอล์ และปริมาณของสารประกอบต้านอนุมูลอิสระที่ได้จากการผลิตไวน์รากบัวจากรากบัวต้ม และจากน้ำต้มรากบัว 2.เปรียบเทียบระยะเวลาการหมักปริมาณแอลกอฮอล์เริ่มต้น ปริมาณกรดแอซีติกและปริมาณสารประกอบต้านอนุมูลอิสระที่ได้จากการผลิตน้ำส้มสายชูหมักรากบัวจากรากบัวต้ม และจากน้ำต้มรากบัว
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
1 ได้ผลิตภัณฑ์ไวน์ และน้ำส้มสายชูหมักจากรากบัว 2 ได้องค์ความรู้เพื่อเป็นประโยชน์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรอื่นๆ ต่อไป 3 กลุ่มผู้ปลูกและผู้ขายผลิตภัณฑ์รากบัว ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการผลิตไวน์ และน้ำส้มสายชูหมัก เพื่อนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ และสร้างรายได้ต่อไป
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         1 การผลิตไวน์รากบัว แบ่งเป็น 1.1 ไวน์จากรากบัวต้มสุก นำรากบัวดิบมาต้มกับน้ำสะอาด พอสุกดีแล้ว แยกเอารากบัวต้มสุกมาทิ้งไว้ให้เย็น จากนั้นจึงนำไปคลุกกับลูกแป้ง แล้วทำการหมักไว้ในภาชนะปากกว้าง โดยปิดปากภาชนะด้วยผ้าขาวบางบ่มไว้ประมาณ 3 วัน แล้วเก็บตัวอย่างเพื่อวัดปริมาณน้ำตาล จากนั้นเติมน้ำสะอาดลงไป ผสมให้เข้ากัน เติมหัวเชื้อยีสต์ลงไป บ่มที่อุณหภูมิห้อง ประมาณ 7-14 วัน หรือมากกว่านั้น ทำการเก็บตัวอย่างเพื่อวัดปริมาณน้ำตาล ปริมาณแอลกอฮอล์ และวัดปริมาณสารประกอบต้านอนุมูลอิสระ 1.2 ไวน์จากน้ำรากบัว นำน้ำรากบัวที่ได้จากการต้มรากบัวมาเติมน้ำตาล และหัวเชื้อยีสต์ลงไป บ่มที่อุณหภูมิห้อง ประมาณ 7-14 วัน หรือมากกว่านั้น ทำการเก็บตัวอย่างเพื่อวัดปริมาณน้ำตาล ปริมาณแอลกอฮอล์ และสารประกอบต้านอนุมูลอิสระ 2 การผลิตน้ำส้มสายชูหมักจากรากบัว แบ่งเป็น 2.1 น้ำส้มสายชูหมักจากรากบัวต้มสุก ทำตามขั้นตอนการผลิตไวน์ในข้อ 13.1.1 จากนั้นจึงนำไวน์ที่ได้มาหมักกับเชื้อแบคทีเรียกรด แอซิติก บ่มไว้ที่อุณหภูมิห้อง ประมาณ 14 วัน ทำการเก็บตัวอย่างเพื่อวัดปริมาณแอลกอฮอล์ ปริมาณกรด และวัดปริมาณสารประกอบต้านอนุมูลอิสระ 2.2 น้ำส้มสายชูหมักจากน้ำรากบัวต้ม ทำตามขั้นตอนการผลิตไวน์ในข้อ 13.13.2 จากนั้นจึงนำไวน์ที่ได้มาหมักกับเชื้อแบคทีเรียกรด แอซิติก บ่มไว้ที่อุณหภูมิห้อง ประมาณ 14 วัน ทำการเก็บตัวอย่างเพื่อวัดปริมาณแอลกอฮอล์ ปริมาณกรด และวัดปริมาณสารประกอบต้านอนุมูลอิสระ 3 การวิเคราะห์น้ำตาล ใช้ refractometer 4 การวิเคราะห์ปริมาณแอลกอฮอล์ ใช้เครื่อง ebulliometer 5 การวัดปริมาณกรดใช้วิธีการไทเทรต 6 การวัดปริมาณสารประกอบสารประกอบต้านอนุมูลอิสระใช้วิธี DPPH และวิเคราะห์โดยใช้ HPLC
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
นำรากบัวมาทำแห้งเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตไวน์รากบัวโดยการแปรผันปริมาณกล้าเชื้อ Saccharomyces serevisiae TISTR 5019 เริ่มต้น และวัดค่าคุณสมบัติต่าง ๆ เมื่อได้ไวน์รากบัวแล้ว จึงนำไปทดสอบทางประสาทสัมผัส และนำไวน์รากบัวที่ได้นั้น ไปเป็นสารตั้งต้นในการผลิตนำ้ส้มสายชูรากบัว โดยมีการแปรผันปริมาณกล้าเชื้อ Acetobacter pasteurianus TISTR 102 เริ่มต้น และวัดค่าคุณสมบัติต่าง ๆ ของนำ้ส้มส่ายชูรากบัว
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 นางสาวติยะภรณ์ เหลืองพิพัฒน์ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 50%
2 นายธีระยุทธ เตียนธนา นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 20%
3 นายพันธ์ระวี หมวดศรี นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 20%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย