มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
สถาบันวิจัยและพัฒนา
ระบบจัดการงานวิจัย
NSRU
RESEARCH
หน้าหลัก
ค้นหารายการ
ข้อมูลงานวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
รายงานสถิติ
งานวิจัย
งานทรัพย์สินทางปัญญา
เข้าสู่ระบบ
รายละเอียดโครงการวิจัย
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
ตัวแบบการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจที่ ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมที่มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
Model of strategy implementation, Philosophy of Sufficiency Economy, and Value – Based Economy affecting the Economics Development of Thailand
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
1 ตุลาคม 2560
วันสิ้นสุดโครงการ :
30 กันยายน 2561
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยประยุกต์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
วาระแห่งการพัฒนาโลกภายหลัง ค.ศ. 2015 คือการจัดทำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในกรอบสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals–SDGs) ในช่วงเวลา 15 ปี ซึ่งจะส่งผลกระทบกับการวางแนวทางการพัฒนาประเทศในอนาคต ที่ต้องเน้นขจัดความยากจนให้หมดไป ประชาชนมีสุขภาพที่ดี มีระบบการศึกษา มีความเท่าเทียมกันทางเพศ ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจแบบยั่งยืน มีระบบโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน ลดความไม่เท่าเทียมกันทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ มีรูปแบบการผลิตและการบริโภคแบบยั่งยืน เตรียมความพร้อมในการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สงวนรักษาทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ มีการจัดการทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน ส่งเสริมให้สังคมมีความสุข มีความยุติธรรมและส่งเสริม ความเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาร่วมกัน การวางเป้าหมายทางเศรษฐกิจของประเทศไทยจึงเป็นการวางกรอบนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ ไทยให้สามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม(Value – Based Economy) มีฐานคิดหลัก คือ การเปลี่ยนจากการผลิตสินค้า โภคภัณฑ์ ไปสู่สินค้าเชิง นวัตกรรม เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรมไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม และเปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิตสินค้า ไปสู่การเนินภาคบริการมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การกำหนดวิสัยทัศน์เชิงนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย หรือ โมเดลพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาล ภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่เข้ามาบริหารประเทศบนวิสัยทัศน์ที่ว่า “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” โดยมีภารกิจสำคัญในการขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศด้านต่างๆ เพื่อปรับแก้ จัดระบบ ปรับทิศทางและสร้างหนทางพัฒนาประเทศให้เจริญ สามารถรับมือกับโอกาสและภัยคุกคามแบบใหม่ๆที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รุนแรงในศตวรรษที่ 21 ประเทศไทย 4.0 จึงเป็นเศรษฐกิจใหม่(New Engines of Growth)ที่มีรายได้สูง โดยวางเป้าหมายให้เกิดเช่นเดียวกันกับประเทศที่พัฒนา อาทิ สหรัฐอเมริกา “A Nation of Makers” อังกฤษ “Design of Innovation” อินเดีย “Made in India” เป็นต้น ทั้งนี้เพราะ การพัฒนาเศรษฐกิจ (Economics Development) เป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิดความจำเริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนานเพียงพอที่จะทำให้เกิดการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสภาพทางสังคมและยกระดับการดำรงชีพของประเทศให้สูงขึ้น เกิดการเพิ่มขึ้นของรายได้ที่แท้จริงต่อบุคคล (per capita real income) ตลอดระยะเวลา เพื่อให้มาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชนส่วนใหญ่ดีขึ้นกว่าเดิม มีการกระจายรายได้เป็นไปอย่างเสมอภาค และประชาชนส่วนใหญ่ได้รับประโยชน์จากรายได้ที่เพิ่มขึ้นอย่างเท่าเทียมกัน ตามมุมมองความคิดของ ชุมปีเตอร์ (Joseph Schumpeter) นักเศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม ใน The Theory of Economic Development ได้อธิบายว่า การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจไม่สามารถจะอธิบายได้โดยอาศัยเพียงสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจในอดีตที่ผ่านมาเท่านั้น หากแต่ต้องอธิบายในลักษณะที่ระบบเศรษฐกิจมีการปรับตัวเมื่อเกิดปรากฏการณ์ใหม่ๆขึ้นภายในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งโดยทั่วไปนวัตกรรมใหม่ๆ(Innovation) นี้จะเกิดจากผู้ผลิตเป็นสำคัญ และการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นได้ก็โดยการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการมีความคิดใหม่ๆ(Innovation) ขึ้น ประกอบด้วย 1) การผลิตสินค้าใหม่ หรือที่มีคุณภาพใหม่ 2) การใช้วิธีการผลิตแบบใหม่ และการบรรจุหีบห่อ 3) การเปิดตลาดสินค้าและบริการใหม่ 4) การค้นพบทรัพยากรและแหล่งอุปทานของวัตถุดิบแหล่งใหม่ 5) การจัดองค์การใหม่ของอุตสาหกรรม (อนุชา ภูริพันธุ์ภิญโญ : มสธ , 14 -16) ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อสร้างความเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นนั้น สิ่งสำคัญก็คือการที่ประเทศให้ความสำคัญต่อการพัฒนาการวิจัยและพัฒนา(Research and development) เทคโนโลยีและนวัตกรรมจึงปัจจัยสำคัญทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาเศรษฐกิจออย่างก้าวกระโดด จากสถานะของประเทศและบริบทการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่ประเทศกำลังประสบอยู่ ทำให้การกำหนดวิสัยทัศน์แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ยังคงมีความต่อเนื่องจากวิสัยทัศน์แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 และ กรอบหลักการของการวางแผนที่น้อมนำและประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม การพัฒนาที่ยึดหลักสมดุล ยั่งยืน โดยวิสัยทัศน์ของการพัฒนาใน แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ต้องให้ความสำคัญกับการกำหนดทิศทางการพัฒนาที่มุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านประเทศไทย จากประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง มีความมั่นคง และยั่งยืน สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมี ความสุข และนำไปสู่การบรรลุวิสัยทัศน์ระยะยาว “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ของประเทศ อย่างไรก็ตาม กรอบวิสัยทัศน์แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ยังคงมีความต่อเนื่องจากวิสัยทัศน์แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 โดยเป็นกรอบหลักการของการวางแผนที่น้อมนำและประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม เศรษฐกิจพอเพียงจึงเป็น แนวพระราชดำริที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ฯ ได้ทรงพระราชทานแก่ปวงชนชาวไทย ซึ่งมีหลักการสำคัญ คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อให้มีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินงานทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตในของคนให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบเพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี การขับเคลื่อนกลยุทธ์(Strategy implementation)และนโยบายทางเศรษฐกิจของประเทศจึงเป็นกลไกที่สำคัญที่จะทำให้เป้าหมายและวิสัยทัศน์ของประเทศบรรลุเป้าหมาย โดยมีเจตนาสำคัญที่จะให้เป็นแผนเชิงรุกไปสู่อนาคต ซึ่งถือเป็นการวางแนวความคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategy thinking)เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง การจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategy Management) ประกอบด้วยกระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategy Planning) การนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ (Strategy Implementation) การควบคุมและประเมินผลเชิงกลยุทธ์ (Strategy Control) เป็นกลไกสำคัญสู่จุดหมายปลายทางที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงและกระแสโลกาภิวัฒน์ ดังนั้น การนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ(Strategy implementation) จึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญที่จะนำกลยุทธ์ไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ Bruce Henderson กล่าวว่า ความได้เปรียบในการแข่งขัน (competitive advantage) เป็นผลที่เกิดจากการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ โดยที่ การนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติให้บรรลุผลนั้นเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและยุ่งยากซับซ้อนมากกว่าการกำหนดกลยุทธ์ (Lawrence G. Hrebiniak) เนื่องจากการกำหนดกลยุทธ์เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ “การทำสิ่งที่ถูกต้อง (doing the right thing)” และเป็นความรับผิดชอบเบื้องต้นของผู้บริหารระดับสูงขององค์การ ส่วนการแปลงกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ “การทำสิ่งที่กำหนดไว้ให้ถูกต้อง (doing thing right)” เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม(Value – Based Economy) คือ การใช้นวัตกรรม(Innovation) และการทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความสามารถในการใช้ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะและประสบการณ์ทางเทคโนโลยีหรือการจัดการมาพัฒนาและผลิตใหม่ในทางเศรษฐกิจให้เกิดมูลค่าเพิ่ม(Value-added)ขึ้น ในทางเศรษฐศาสตร์ นวัตกรรม คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์ จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่เพื่อทําให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ กล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า "การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และ ถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม" ซึ่งแนวคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 อาทิ Joseph Schumpeter(1934) เช่นผลงาน The Theory of Economic Development โดยเน้นที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนา ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันนำไปสู่การได้มาซึ่งนวัตกรรมทางเทคโนโลยี(Technological Innovation) เพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์เป็นหลัก และทฤษฎีที่รู้จักมากน่าจะเป็น Theory of Disruptive Innovation ของ Prof. Clayton Christensen แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และ Diffusion of Innovation Theory ของ Prof. Everett Rogers ซึ่งพัฒนาตั้งแต่ปี 1962 อย่างไรก็ตาม แนวคิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจบนพื้นฐานของการใช้องค์ความรู้ (Knowledge) การศึกษา (Education) การสร้างสรรค์งาน (Creativity) และการใช้ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual property) ที่เชื่อมโยงกับรากฐานความหลากหลายทางวัฒนธรรม และ ความหลากหลายทางธรรมชาติ การสั่งสมความรู้ของสังคม และเทคโนโลยี/นวัตกรรมสมัยใหม่ จึงเป็นแนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทยใหม่ที่จะสร้างความมั่งคั่ง และยั่งยืน ด้วยระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม(Value – Based Economy)เป็นสำคัญ เพื่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจและการบรรลุเป้าหมายของการพัฒนาเศรษฐกิจโดยทั่วไปเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม 5 ประการ ได้แก่ (1)มีมาตรฐานการครองชีพดีขึ้น (2)มีการกระจายรายได้ที่ดี (3)การมีงานทำ (4)การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และ (5)การควบคุมการเกิดมลภาวะเป็นพิษที่เกิดจากการพัฒนาเศรษฐกิจ นโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์และนวัตกรรมสามารถดำเนินการได้บนพื้นฐานของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาคน และการนำศักยภาพและความรู้ของคนมาใช้อย่างรอบคอบ และมีสติ เมื่อปัจเจกบุคคลนำศักยภาพและความคิดสร้างสรรค์ที่มีอยู่ไปสร้างสรรค์พัฒนาสินค้าและบริการที่มีคุณค่า และมีคุณภาพมากขึ้น จะสามารถสร้างรายได้เพื่อยังชีพให้แก่ตนและครอบครัวมากขึ้น ทำให้สามารถที่จะพึ่งตนเองได้ มีสินทรัพย์ส่วนเกินที่จะนำไปออม เป็นภูมิคุ้มกันเมื่อเกิดภาวะวิกฤติที่อาจเกิดขึ้นได้ ส่วนที่เหลือมากกว่านั้นก็สามารถนำไปช่วยเหลือจุนเจือครอบครัว ช่วยเหลือผู้ที่ด้อยโอกาสหรือด้อยศักยภาพกว่า และสร้างสรรค์คุณค่าที่ดีแก่ชุมชนและสังคมต่อไปได้ ในขณะที่ แนวคิดการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติเปรียบเสมือนกลไกการทำงานผ่านองค์การและหน่วยงานที่ดำเนินนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศที่จะต้องคำนึงถึงสาระสำคัญ กระบวนการ สภาพแวดล้อมและผลสำเร็จของกลยุทธ์เชิงนโยบายตามกรอบการพัฒนาประเทศเป็นสำคัญ ดังนั้น การบูรณาการแนวความคิดการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจจึงเป็นการค้นหากลวิธีเพื่อมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจและนำพาประเทศเข้าสู่การพัฒนาสู่โลกที่หนึ่ง ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาตัวแบบการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมที่มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย ทั้งนี้เพื่อจะได้นำผลวิจัยไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาประเทศและก่อให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนา และสอดคล้องกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์การพัฒนาประเทศต่อไป
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
การวิจัยเรื่อง ตัวแบบการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจที่ ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมที่มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ประกอบด้วย 6.1 เพื่อสร้างตัวแบบการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมที่มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย และทำการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้าง 6.2 เพื่อศึกษาขนาดความสำคัญในแต่ละองค์ประกอบของ การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย 6.3 เพื่อศึกษาขนาดของผลกระทบ การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมที่มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย 6.4 . เพื่อพัฒนาแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยที่คำนึงถึง การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม
ขอบเขตของโครงการ :
7.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม จำนวน 15-17 คน 2) เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ตั้งแต่ปี พ.ศ.2550 ถึงปัจจุบัน 3) ประชาชนที่อยู่อาศัยในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ ได้แก่ (1) ประชาชนของประเทศไทยที่อยู่ในกลุ่มคนที่เกิดระหว่างปี 2508-2522 อายุ 29-43 ปี (2) ประชาชนของประเทศไทยที่อยู่ในกลุ่มคนที่เกิดระหว่างปี 2489-2507 อายุ 44-62 ปี กลุ่มเป้าหมายทั้งสองกลุ่มเน้นเฉพาะผู้ที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ทั้งนี้เนื่องจาก เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ที่มีความรู้ในเรื่องที่เกี่ยวข้อง การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมที่มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย และควรเป็นผู้ที่อยู่อาศัยในเขตชุมชนเมือง ซึ่งจะทำการเก็บรวบรวมข้อมูลในจังหวัดที่มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด(GPP)สูงสุดของแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคใต้ ประกอบด้วย เชียงใหม่ สมุทรปราการ นครราชสีมา ระยอง ราชบุรี สงขลา ตามลำดับ รวมทั้งสิ้น จำนวน 8,630,928 คน (สำนักงานสถิติแห่งชาติ.2553.online) และ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ประชาชน 2 ช่วงอายุที่อยู่อาศัยในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ ประกอบด้วย ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคใต้ จำนวน 2,400 คน โดยแบ่งออกตามภูมิภาคต่าง ๆ ภูมิภาคละ 400 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multistage Random Sampling) 7.2. ขอบเขตด้านเนื้อหา เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แนวคิดเกี่ยวกับการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม 2) แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยที่คำนึงถึง การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม 7.3. ขอบเขตด้านระยะเวลา ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 1 ปี 7.4. ขอบเขตด้านตัวแปร ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ได้แก่ เนื้อหาเกี่ยวกับกลยุทธ์(Strategy content) กระบวนการกลยุทธ์ (Strategy process) สภาพแวดล้อมกลยุทธ์(Strategy context) และ ผลลัพธ์กลยุทธ์(Strategy outcome) 2) ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ ความมีเหตุผล ความพอประมาณ การมีภูมิคุ้มกัน และ ความรู้ ความมีคุณธรรม 3) เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ได้แก่ ความรู้(Knowledge) การศึกษา(Education) ความคิดสร้างสรรค์ (Creative) ความสามารถในการตอบสนองลูกค้า(Responsiveness) 4) การพัฒนาเศรษฐกิจ ได้แก่ มีมาตรฐานการครองชีพดีขึ้น การกระจายรายได้ที่ดี การมีงานทำการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และ การควบคุมการเกิดมลภาวะเป็นพิษที่เกิดจากการพัฒนาเศรษฐกิจ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
10.1 ได้ตัวแบบการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมที่มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย 10.2 ได้ขนาดความสำคัญและผลกระทบในแต่ละองค์ประกอบของ การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย 10.3 สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับแผนพัฒนาประเทศได้ โดยการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม และการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ มาประยุกต์ใช้ในประเด็นที่องค์ประกอบใดที่รัฐบาลควรให้ความสำคัญในการพัฒนาประเทศ นำไปสู่การกำหนดเป็นนโยบายสาธารณะและมาตรการสำคัญในการพัฒนา 10.4 ได้องค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการวิจัยการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมในแต่ละพื้นที่เป้าหมาย 10.5 ได้กระบวนทัศน์ในการพัฒนาแบบใหม่ที่เริ่มต้นจากระดับล่างและก่อตัวกลายเป็นความต้องการที่สอดคล้องกับชุมชนท้องถิ่น 10.6 เป็นการสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ในงานวิจัยทางการรัฐศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสร์ 10.7 ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการทางรัฐศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสร์และ วิจัย ทั้ง ภายในและภายนอก มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
การวิจัยครั้งนี้ ใช้ระเบียบวิธีเชิงบรรยายบรรยาย (Descriptive Research) โดยใช้วิธีการสังเคราะห์เชิงคุณภาพ (Qualitative Synthesis) การวิเคราะห์องค์ประกอบ (factor Analysis) และหาขนาดของผลกระทบด้วยสมการโครงสร้าง (Structural Equation Model: SEM) ซึ่งมีวิธีดำเนินการวิจัย ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาและสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมและค้นหาขนาดของผลกระทบด้วยสมการโครงสร้าง ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 1) เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวกับการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม 2) ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม 3) ผู้นำ ผู้บริหาร และ 4) ประชาชนในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 1) เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวกับการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ตั้งแต่ปี 2550 ถึงปัจจุบัน 2) ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ซึ่งได้มาจากการเลือกตัวอย่างแบบ เจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 15 -17 คน โดยกำหนดคุณสมบัติผู้ทรงคุณวุฒิ ดังนี้ (1) เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถทางด้านการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (2) เป็นผู้ มีความรู้ความสามารถทางด้านสังคมศาสตร์ ซึ่งเป็นครู อาจารย์ ในสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา หรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (3) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่น ๆ ที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม 3) ประชาชนที่อยู่อาศัยในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ ได้แก่ (1) ประชาชนของประเทศไทยที่อยู่ในกลุ่มคนที่เกิดระหว่างปี 2508-2522 อายุ 29-43 ปี (2) ประชาชนของประเทศไทยที่อยู่ในกลุ่มคนที่เกิดระหว่างปี 2489-2507 อายุ 44-62 ปี กลุ่มเป้าหมายทั้งสองกลุ่มเน้นเฉพาะผู้ที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ทั้งนี้เนื่องจาก เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ที่มีความรู้ในเรื่องที่เกี่ยวข้อง การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมที่มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย และควรเป็นผู้ที่อยู่อาศัยในเขตชุมชนเมือง ซึ่งจะทำการเก็บรวบรวมข้อมูลในจังหวัดที่มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด(GPP)สูงสุดของแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคใต้ ประกอบด้วย เชียงใหม่ สมุทรปราการ นครราชสีมา ระยอง ราชบุรี สงขลา ตามลำดับ รวมทั้งสิ้น จำนวน 8,630,928 คน (สำนักงานสถิติแห่งชาติ.2553.online) และ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ประชาชน 2 ช่วงอายุที่อยู่อาศัยในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ ประกอบด้วย ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคใต้ จำนวน 2,400 คน โดยแบ่งออกตามภูมิภาคต่าง ๆ ภูมิภาคละ 400 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multistage Random Sampling) 4) ผู้นำและผู้บริหารชุมชนท้องถิ่นเป้าหมาย จำนวน 10-12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 4 ระดับ ตอนที่ 3 แบบสอบถามเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 4 ระดับ ตอนที่ 4 แบบสอบถามเกี่ยวกับเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 4 ระดับ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบสอบถามเกี่ยวกับการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม มีขั้นตอนในการสร้างและพัฒนา ดังต่อไปนี้ 1. ศึกษาค้นคว้า และสังเคราะห์เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เพื่อกำหนดแนวทางในการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 2. ดำเนินการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 3. นำเครื่องมือที่สร้างขึ้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเที่ยงตรง (Validity) โดยการหาค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถามกับจุดประสงค์ (Index of Item Objective Congruence : IOC) และความครอบคลุมของเนื้อหา จำนวน 5 ท่าน โดยแบบสอบถามมีค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถามกับจุดประสงค์ 4. ปรับปรุงแก้ไขเครื่องมือ หลังจากที่ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบแล้ว โดยปรับปรุง ภาษาและข้อความบางตอนของเครื่องมือ 5. นำเครื่องมือที่ได้ปรับปรุงแล้วไปทดลองใช้ (Tryouts) กับกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเพื่อหาคุณภาพของเครื่องมือ โดยการหาค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค 6. นำแบบสอบถามที่ได้ปรับปรุงแก้ไขโดยสมบูรณ์แล้ว ไปดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลกับ ประชาชนที่อยู่อาศัยในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ ประกอบด้วย ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคใต้ ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างเพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป การเก็บรวบรวมข้อมูล 1. สังเคราะห์แนวคิด ทฤษฎี และเอกสารที่เกี่ยวกับการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม และ ค้นหาขนาดของผลกระทบด้วยสมการโครงสร้าง 2. สัมภาษณ์แบบลึก (In-depth Interview) ผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม 3. วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) ของการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม การพัฒนาเศรษฐกิจ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป 4. วิเคราะห์ผลกระทบด้วยสมการโครงสร้าง (Structural Equation Model: SEM) ของ การพัฒนาเศรษฐกิจ โดยใช้ปัจจัยการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมเป็นตัวทำนาย ด้วยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป 5. วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่าง (Compare means Analysis) ของการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป การวิเคราะห์ข้อมูล คณะผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล โดยข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้วิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirm Factor Analysis) วิเคราะห์ผลกระทบด้วยสมการโครงสร้าง (Structural Equation Model: SEM) และ วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่าง (Compare means Analysis) ระยะที่ 2 เพื่อพัฒนาแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยที่คำนึงถึง การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม 2) กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแต่ละภูมิภาค กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม จำนวน 20-25 คน 2) กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแต่ละภูมิภาค ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ ได้แก่ แนวทางสัมภาษณ์และการพูดคุยเพื่อการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม และ แนวการสนทนากลุ่ม การเก็บรวบรวมข้อมูล 1. นำข้อมูลจากระยะที่ 1 มาเป็นประเด็นพัฒนาเครื่องมือในการสัมภาษณ์เชิงลึกและการพูดคุย 2. ดำเนินสัมภาษณ์แบบลึก (In-depth Interview) ผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม และกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแต่ละภูมิภาค 3. ยกร่างแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยที่คำนึงถึง การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม 4.ประชุมสัมมนาร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อปรับปรุงโครงร่างแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยที่คำนึงถึง การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม 5.สรุปและจัดทำเอกสารแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยที่คำนึงถึง การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม การวิเคราะห์ข้อมูล คณะผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล โดยข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
เป็นงานวิจัยเพื่อค้นหาตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ได้แก่ เนื้อหาเกี่ยวกับกลยุทธ์(Strategy content) กระบวนการกลยุทธ์ (Strategy process) สภาพแวดล้อมกลยุทธ์(Strategy context) และ ผลลัพธ์กลยุทธ์(Strategy outcome) 2) ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ ความมีเหตุผล ความพอประมาณ การมีภูมิคุ้มกัน และ ความรู้ ความมีคุณธรรม 3) เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ได้แก่ ความรู้(Knowledge) การศึกษา(Education) ความคิดสร้างสรรค์ (Creative) ความสามารถในการตอบสนองลูกค้า(Responsiveness) เพื่ออธิบาย 4) การพัฒนาเศรษฐกิจ ได้แก่ มีมาตรฐานการครองชีพดีขึ้น การกระจายรายได้ที่ดี การมีงานทำการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และ การควบคุมการเกิดมลภาวะเป็นพิษที่เกิดจากการพัฒนาเศรษฐกิจ
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่
รายชื่อ
ประเภทนักวิจัย
บทบาทหน้าที่
สัดส่วน
1
นายสมญา อินทรเกษตร
นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย
หัวหน้าโครงการวิจัย
100%
สถาบันวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130
หมายเลขโทรศัพท์
056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย
website
rdi.nsru.ac.th
Smart Rdi Nsru