รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วมของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
The development of learning management process by the participation of phrapariyattt in Nakhonsawan.
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
19 พฤศจิกายน 2556
วันสิ้นสุดโครงการ :
18 พฤศจิกายน 2557
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยประยุกต์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11(พ.ศ. 2555-2559) ที่มียุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันทางสังคม โดยการสร้างความเข้มแข็งและพัฒนาบทบาทของสถาบันหลักทางสังคมให้เอื้อต่อการพัฒนาพัฒนาคน ปัจจุบันซึ่งเป็นยุคโลกาภิวัตน์ (Globalization) วิทยาการสมัยใหม่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ แพร่ขยายไปได้อย่างไร้พรมแดนซึ่งวิทยาการเหล่านี้มีความสัมพันธ์และสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ รวมทั้งการพัฒนาประเทศเป็นอย่างยิ่งการเตรียมคนในชาติให้มีความพร้อมให้สามารถปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และมีศักยภาพเพียงพอต่อการเป็นทรัพยากรที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ เป็นสิ่งที่ผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายต้องตระหนักการศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาประเทศต้องอาศัยความมีคุณภาพของคนในชาติ เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า ประเทศชาติจะพัฒนาได้อย่างรวดเร็วต้องอาศัยทรัพยากรหลัก คือ คนในชาติที่มีการศึกษาดี มีความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ รู้เท่าทันวิทยาการสมัยใหม่และสามารถนำความรู้ความสามารถมาใช้ในการพัฒนาชาติบ้านเมือง พัฒนารากฐานการดำรงชีวิตของตนได้อย่างสมดุล การพัฒนาการศึกษาจึงเป็นภารกิจเร่งด่วนที่ต้องดำเดินการเพื่อพัฒนาคนให้ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันในสังคมโลก การพัฒนาการศึกษาให้มีคุณภาพเป็นกระบวนการที่ต้องใช้ทรัพยากรอย่างหลากหลาย เพียงพอ ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ต้องดำเนินการอย่างจริงจังและต่อเนื่อง การศึกษาเป็นกลไกลที่สำคัญที่จะทำให้มนุษย์มีความรู้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะความรู้เกี่ยวกับการใช้เหตุผล เพื่อแสวงหาสิ่งที่ดีให้แก่ชีวิตตนเองและสังคม ตลอดจนในการดำรงชีพอย่างมีคุณภาพ ในทางปรัชญานั้นถือว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมาล้วนมีความสามารถด้วยกันทั้งสิ้น จึงเป็นหน้าที่ของการจัดระบบการศึกษาที่จะทำให้พบว่ามนุษย์แต่ละคนมีความสามารถในด้านใด และพยายามส่งเสริมให้มนุษย์ได้มีโอกาสพัฒนาทักษะตามความสามารถและความถนัดของทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน รวมทั้งได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาค สังคมใดที่ส่งเสริมให้ประชาชนมีการศึกษาเฉลี่ยระดับสูงและมีเกณฑ์จะส่งผลให้ประชาชนมีความสามารถในการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ ประกอบกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช ๒๕๔๒ มาตรา ๖ กล่าวว่า การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อการพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา ความรู้ คุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข การเรียนการสอนในปัจจุบันมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนเการสอนมากขึ้น มีการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนเพิ่มขึ้นจากเดิม อีกทั้งยังบูรณาการวิชาต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับท้องถิ่น/ชุมชนที่ผู้เรียนได้อาศัยอยู่ ทำให้การเรียนรู้ของผู้เรียนมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ แต่การเรียนการสอน ส่วนใหญ่ก็ยังมีการดำเนินกิจกรรมในรูปแบบภาคทฤษฏีในห้องเรียนอยู่ การปฏิบัติจริงในห้องเรียน หรือตามสถานที่จริงยังมีอยู่น้อยทำให้ผู้เรียนส่วนใหญ่ขาดทักษะในการปฏิบัติงาน โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาได้ดำเนินการจัดการศึกษาโดยยึดแนวนโยบาย กฎหมาย และมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของชาติมาเป็นหลักในการจัดการศึกษาโดยเฉพาะการนำชุมชนและท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาโดยมีกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียนให้ครอบคลุมกระบวนการต่อไปนี้ คือ การจัดทำแผนการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การใช้สื่อประกอบการสอน และการวัดและประเมินผลการเรียนการสอน แต่โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ยังขาดการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วม ทั้งจากครูผู้สอน ผู้ปกครองและแม้แต่ตัวผู้เรียนเอง ผู้บริหารและครูผู้สอนจึงควรสร้างกระบวนการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วมให้มากขึ้นกว่าเดิมเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนเอง ดังนั้นจากสภาพปัญหาดังกล่าวผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาค้นคว้า พัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วมของของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ ด้วยการพัฒนาครูภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เข้ามามีส่วนร่วมกับโรงเรียนในการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อจะนำผลการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ไปใช้ประโยชน์ในปรับปรุงการบริหารจัดการศึกษา พัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์เป็นไปตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรต่อไป
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1.เพื่อศึกษาการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วมของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ 2.เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วมของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ 3.เพื่อศึกษาหาแนวทางการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วมของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :
ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยสามารถกำหนดขอบเขตการวิจัยเฉพาะ การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วมของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วมของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา และแนวทางการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วมของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครสวรรค์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         ในการศึกษาการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วมของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ผู้วิจัยสามารถกำหนดวิธีวิจัยได้ดังนี้ การออกแบบการวิจัย ผู้วิจัยได้ออกแบบการวิจัยโดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อทำการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ประชากร และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เชิงคุณภาพ ใช้การประชุมกลุ่ม อภิปรายกลุ่มย่อย (Focus Group Discussion) และสัมภาษณ์เชิงลึก (In-dept Interview) จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญเพื่อการจัดการเรียนการสอนโดยการมีส่วนร่วมของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จ. นครสวรรค์ 1.ผู้บริหารโรงเรียน 2.ครูผู้สอน 3.ตัวแทนผู้ปกครอง 4.ผู้แทนชุมชน 5.นักเรียน พื้นที่ที่ทำการศึกษา พื้นที่ที่ทำการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกข้อมูล/แบบบันทึก การสังเกต แบบตรวจสอบ/บันทึกรายการ ปรากฏการณ์ เหตุการณ์ หรือพฤติกรรมของกลุ่มบุคคล ชุมชน และหน่วยงาน หรือจากหลักฐานเอกสารต่าง ๆ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา โดยการเก็บรวมข้อมูลผู้วิจัย ได้แยกการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้วิธีการ 2 แบบร่วมกันคือ 1. การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) และใช้การสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว(Individual interview) 2. การคัดเลือกผู้ร่วมสนทนากลุ่ม ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงที่มีคุณสมบัติตรง ตามที่ผู้วิจัยได้กำหนดไว้หรือกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเรื่องการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วมของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ โดยแบ่งตามวัตถุประสงค์ได้ดังนี้ วัตถุประสงค์ข้อ 1.เพื่อศึกษาการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วมของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก(In-dept Interview) การสังเกต หรือจากหลักฐานเอกสารต่าง ๆ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา วัตถุประสงค์ข้อ 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วมของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ใช้แบบสัมภาษณ์ การสังเกต ปรากฏการณ์ เหตุการณ์ หรือพฤติกรรมของกลุ่มบุคคล ชุมชน และหน่วยงาน หรือจากหลักฐานเอกสารต่าง ๆ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา วัตถุประสงค์ข้อ 3. เพื่อศึกษาหาแนวทางการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วมของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ใช้การประชุมกลุ่ม อภิปรายกลุ่มย่อย (Focus Group Discussion) และสัมภาษณ์เชิงลึก (In-dept Interview) จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญเพื่อเสนอแนวทางการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วมของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูล เชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาใช้แบบสัมภาษณ์ การสังเกต ปรากฏการณ์ เหตุการณ์ หรือพฤติกรรมของกลุ่มบุคคล ชุมชน และหน่วยงาน หรือจากหลักฐานเอกสารต่าง ๆ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ถึง เพื่อศึกษาหาแนวทางการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วมของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ ขอบเขตของการวิจัย ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยสามารถกำหนดขอบเขตการวิจัยเฉพาะ การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วมของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา และหาแนวทางการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วมของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครสวรรค์
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 นางวิชญาภา เมธีวรฉัตร นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 100%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย