รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ ต.บ้านแก่ง จ.นครสวรรค์ ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
Terracotta Product of knowledge Bang Kang Nakhonsawan Province To develop a creative economy
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
21 กันยายน 2561
วันสิ้นสุดโครงการ :
20 กันยายน 2562
ประเภทของการวิจัย :
ไม่ระบุ
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นความรอบรู้ของชาวบ้าน ซึ่งสั่งสม ถ่ายทอด และปฏิบัติจนเป็นวิถีชีวิต คนไทยได้ใช้ภูมิปัญญาในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิต เช่น โรคภัยไข้เจ็บ ภัยธรรมชาติ การประกอบอาชีพ การดูแล และการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นของตน ผสมผสานกับวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เสริมสร้างกำลังใจให้อยู่รวมกัน ทำกิจกรรมร่วมกันจนกลายเป็นประเพณีที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิต นอกจากนั้นยังมีวัฒนธรรมที่ใช้ยึดเหนี่ยวจิตใจ ในปัจจุบัน การนำแนวคิดของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative economy) เพื่อสร้างความแตกต่าง รวมทั้งเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการ ในส่วนของประเทศไทย เป็นประเทศที่มีรากฐานทางวัฒนธรรมที่เก่าแก่ยาวนาน ประกอบกับภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของไทย (ชูวิทย์ มิตรชอบ: ๒๕๕๒)และเป็นแหล่งกำเนิดอารยะธรรมต่างๆ ที่เก่าแก่ของโลก ดังที่ได้พบหลักฐานที่เป็นงานศิลปหัตถกรรมและหัตถกรรมของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ในหลายท้องที่ทั่วไปในประเทศไทย (วิบูลย์ ลี้สุวรรณ : ๒๕๔๖) จากกรอบแนวคิดของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๑ พ.ศ.๒๕๕๕-๒๕๕๙ ประเด็นยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่ภาคเกษตรกรรม บริการ และ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าและบริการ และเป็นการสร้างโอกาสสำหรับธุรกิจใหม่ที่ใช้ความคิดเชิงสร้างสรรค์ (สำนักงานเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ : ๒๕๕๒) ในประเทศไทย คิดเป็นสัดส่วนเฉลี่ยประมาณร้อยละ ๑๑ ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (การคำนวณของ สำนักงานบัญชีประชาชาติ โดยใช้ข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศระหว่างปี ๒๕๔๑-๒๕๕๑ )โดยกลุ่มงานสร้างสรรค์ตามลักษณะงาน หรือสร้างสรรค์และออกแบบ กลุ่มมรดกทางวัฒนธรรม และกลุ่มสื่อสมัยใหม่ เป็นกลุ่มที่มีมูลค่าสูงสุด และเมื่อพิจารณาแยกเป็นกลุ่มย่อยจะพบว่าการออกแบบเป็นกลุ่มที่มีมูลค่าสูงสุด รองลงมาคือ กลุ่มงานฝีมือและหัตถกรรม และกลุ่มแฟชั่น โดยทั้ง ๓ กลุ่มมีมูลค่ารวมกันประมาณร้อยละ ๙.๕ ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ซึ่งในพื้นที่ตำบลบ้านแก่ง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์มีภูมิปัญญาด้านการปั้น เครื่องปั้นดินเผาที่สืบทอดต่อกันมาหลายยุคหลายสมัยจากรุ่นสู่รุ่นและมีการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์หลายรูปแบบ อีกทั้งยังเป็นแหล่งสร้างรายได้ให้กับชุมชน แต่ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาระสบปัญหาในด้านการขนส่ง ซึ่งผลิตภัณฑ์ขนาดใหญ่ แต่ผลกำไรกลับน้อยไม่เหมาะกับการซื้อติดกลับเพื่อเป็นของฝาก หรือเพิ่มผลกำไรได้ ผู้วิจัยตะหนักถึงคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่นเครื่องปั้นดินเผาของบ้านมอญ ต.บ้านแก่ง จ.นครสวรรค์ ที่ยังคงมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องซึ่งเป็นตำบลหนึ่งที่มีมรดกตกทอดกันมาตั้งแต่อดีตอันยาวนาน จนถึงปัจจุบันเป็นชุมชนที่เก่าแก่ดังนั้นชาวบ้านจึงมีภูมิปัญญาด้านการปั้นเครื่องปั้นดินเผาที่ตนเองที่ได้รับถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษและค้นคว้าด้วยตนเองหลากหลายวิธี ผู้วิจัยจึงมีความน่าสนใจในการศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นของเครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ ต.บ้านแก่ง จ.นครสวรรค์ และสร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ บนพื้นฐานการใช้องค์ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ ต.บ้านแก่ง จ.นครสวรรค์ หากผู้วิจัยศึกษาและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ดินเผาในรูปแบบอื่นอาจแก้ปัญหานี้ได้
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1. เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ ต.บ้านแก่ง จ.นครสวรรค์ ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 2. สร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ ต.บ้านแก่ง จ.นครสวรรค์ 3. ประเมินผลการสร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา
ขอบเขตของโครงการ :
ขอบเขตด้านพื้นที่ 1. ตำบลบ้านแก่ง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 2. พัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาโดยใช้แนวคิดเศร็ษฐกิจสร้างสรร
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
1.ได้ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาใหม่ที่สร้างผลกำรไได้มากกว่าเดิม 2. ได้องค์ความรู้ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 3. กิดการต่อยอดทางธุรกิจ 3. ชุมชนสามารถสร้างแนวคิดสร้างสรรในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากต้นทุนในท้องถิ่นได้
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         ประชากรตัวอย่าง การสุ่มตัวอย่าง ขั้นตอนและวิธีการในการวิเคราะห์ข้อมูล ฯลฯ 1 การกำหนดแหล่งข้อมูลที่เป็นเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่นเครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 2 ดำเนินการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและวิเคราะห์คุณลักษณะภูมิปัญญาท้องถิ่น จากฐาพื้นฐานทางวัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ทั้งที่มีรูปลักษณ์ และไม่มีรูปลักษณ์ 3 ศึกษาภาคสนาม (Field Study) ในชุมชนที่เป็นพื้นที่มีภูมิปัญญาท้องถิ่น และพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ - ด้านพื้นที่ พื้นที่ เส้นทางอุทัยธานี –บ้าน จังหวัดอุทัยธานี - ประชากร ได้แก่ ชาวบ้าน ผู้นำท้องถิ่น - เครื่องมือ ได้แก่ การบันทึกเสียง แบบสัมภาษณ์ - การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสัมภาษณ์ และสังเกตจากการเข้าร่วมกิจกรรมที่จัดขึ้นในท้องถิ่น เป็นข้อมูลปฐมภูมิ และการศึกษา แนวคิด ศึกษาทฤษฎีเกี่ยวกับวัฒนธรรมชุมชนที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่น จังหวัดนครสวรรค์ เป็นข้อมูลทุติยภูมิ 4. พัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น ในอำเภอเมือง สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยประชุมกลุ่มภูมิปัญญาท้องถิ่นและให้ความรู้การพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ จากนั้นคัดเลือกจากกลุ่มภูมิปัญญาท้องถิ่น ในอำเภอเมือง จังหวัด อุทัยธานี จำนวน ๑ กลุ่ม มาพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น แบบมีส่วนร่วม ระหว่างผู้วิจัย กลุ่มผู้ผลิต ผู้นำชุมชน และหน่วยงานภาครัฐ 5.สร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์จากแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 6.สรุปผลการวิจัยและรายงานผลการวิจัย
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
เป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าจากแนวความคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 นายจิรทัศน์ ดาวสมบูรณ์ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 100%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย