รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การศึกษาการทนความร้อนและการอยู่รอดของกระบือเผือกไทย ภายใต้ความเสี่ยงของสภาพอากาศ งานวิจัยประยุกต์ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษา : จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดชัยนาท และ จังหวัดอุทัยธานี
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
Study of Heat tolerance in Thai White Buffalos on Survival under the Effects of Climatic Risk Applied Research of Sufficient Economy Philosophy on the Sustainable of Life. Case Studies : Nakhonsawan Province, Chainat Province and Uthaitany P
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
1 ตุลาคม 2555
วันสิ้นสุดโครงการ :
30 กันยายน 2556
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยประยุกต์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         ประเทศไทยและอีกหลายประเทศทั่วโลกต้องประสบปัญหาในการเลี้ยงสัตว์ภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูงซึ่งอุณหภูมิสภาพแวดล้อมที่สูงเป็นระยะเวลานานรวมถึงสภาพอากาศแบบร้อนชื้นไม่เพียงแต่ในประเทศไทยที่ประสบปัญหาเกี่ยวกับความร้อนในการผลิตปศุสัตว์แต่ยังเป็นปัญหาต่อผลผลิตในหลายด้านเป็นปัญหาระดับโลกอันเนื่องมาจากปัญหาภาวะโลกร้อนและแม้แต่ในฤดูกาลที่แตกต่างกันซึ่งโดยทั่วไปแบ่งฤดูกาลออกเป็น 3 ฤดูได้แก่ ฤดูหนาวเริ่มต้นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ ฤดูร้อนเริ่มต้นตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงมิถุนายนและฤดูฝนเริ่มต้นตั้งแต่ที่เดือนกรกฎาคม-ตุลาคม (Anon, 2007) ปัญหาที่เกี่ยวกับความเครียดในสัตว์เนื่องจากความร้อนยังทำให้การผสมติดของสัตว์ลดลงตามไปด้วย (Hansen,1994;Khongdeeและคณะ,2005)ในสภาวะอากาศร้อนชื้นทำให้เกิดความชื้นของอากาศสูงส่งผลต่อความสามารถในการระบายความร้อนของตัวสัตว์ออกสู่สภาพแวดล้อมภายนอกถูกจำกัด จนสามารถทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นได้หากสัตว์ไม่สามารถรักษาสมดุลของร่างกายให้อยู่ในสภาพปกติสัตว์จะประสบปัญหาความเครียดเนื่องจากความร้อน (Heat stress) (Vajrabukka, 1992) ความเครียดเนื่องจากความร้อนมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ได้แก่ อุณหภูมิ,อากาศ, การแผ่รังสี, ความชื้น, และความเร็วลม (Vajrabukka, 1992) ทำให้ค่าทางสรีระวิทยาของสัตว์มีการเปลี่ยนแปลงหากเกิดปัญหาดังกล่าวเป็นเวลานานสามารถทำให้สัตว์ตายได้ (Blackshaw และBlackshaw,1994)
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1. ศึกษาการทนความร้อนของ กระบือเผือกไทย ที่มีความแตกต่างของสีผิวของสัตว์ในการทนความร้อนเมื่อเลี้ยงดูภายใต้อุณหภูมิสูงในเขตร้อนชื้นของประเทศไทยตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในเขต 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดชัยนาท และ จังหวัดอุทัยธานี 2. ศึกษาการลดผลกระทบของความเครียดเนื่องจากความร้อน โดยการดัดแปลงโรงเรือนด้วยวิธีการ ดัดแปลงหลังคาสองชั้นเพื่อลดอุณหภูมิสภาพอากาศร้อนที่มีผลต่อร่างกายของกระบือเผือกของไทยในระยะยาวด้วยวิธีการดัดแปลงโรงเรือนประหยัดพลังงาน 3. การถ่ายทอดเทคโนโลยี การอยู่รอดของกระบือไทย ภายใต้ความเสี่ยงด้านสภาพอากาศตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง 4. สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ทั้งในระดับปริญญาโท และปริญญาตรี เพื่อให้มีความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานวิจัยในทางวิทยาศาสตร์ การเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ
ขอบเขตของโครงการ :
1. ขอบเขตในเชิงปริมาณ กระบือเผือก และกระบือปกติ ในเขต 3 จังหวัด ได้แก่ จ.ชัยนาท จ.อุทัยธานี จ.นครสวรรค์ 2. ขอบเขตในเชิงคุณภาพ ได้กระบือเผือก และกระบือปกติ ในเขต 3 จังหวัด ได้แก่ จ.ชัยนาท จ.อุทัยธานี จ.นครสวรรค์ที่มีความสามารถในการให้ผลผลิต และมีระบบสืบพันธุ์ที่สมบูรณ์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
1.การถ่ายทอดเทคโนโลยี การอยู่รอดของกระบือไทย ภายใต้ความเสี่ยงด้านสภาพอากาศ ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         1. ลงพื้นที่สำรวจกระบือเผือกในเขต จ.ชัยนาท จ.อุทัยธานี จ.นครสวรรค์ 2. จัดการทดลองในพื้นที่ เพื่อเก็บข้อมูลงานวิจัย 3. วิเคราะห์ผลการทดลองในห้องปฎิบัติการ 4. เผยแพร่งานวิจัยในเขตพื้นที่ จ.ชัยนาท จ.อุทัยธานี จ.นครสวรรค์ 5. การกำหนดพื้นที่ เขตพื้นที่ จ.ชัยนาท จ.อุทัยธานี จ.นครสวรรค์ 6. ประชากรตัวอย่าง เขตพื้นที่ จ.ชัยนาท จ.อุทัยธานี จ.นครสวรรค์ 7. การสุ่มตัวอย่าง 8. การเผยแพร่ผลงานวิจัย
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 นายสมชาย ศรีพูล นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 50%
2 นางสาวฐิตาภรณ์ คงดี นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 50%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย