มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
สถาบันวิจัยและพัฒนา
ระบบจัดการงานวิจัย
NSRU
RESEARCH
หน้าหลัก
ค้นหารายการ
ข้อมูลงานวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
รายงานสถิติ
งานวิจัย
งานทรัพย์สินทางปัญญา
เข้าสู่ระบบ
รายละเอียดโครงการวิจัย
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคมในการเลี้ยงสัตว์ แบบบูรณาการ ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
Economy of Profitability in Animal Production and Social Community Applied Research of Sufficient Economy Philosophy on the Sustainable of Life
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
1 ธันวาคม 2557
วันสิ้นสุดโครงการ :
1 ตุลาคม 2560
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยประยุกต์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นนโยบายสำคัญระดับชาติที่สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กำหนดไว้ตั้งแต่ในแผนพัฒนาฉบับที่ 8-9 เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศ โดยกระทรวงมหาดไทย (2551) ได้มอบให้กรมการพัฒนาชุมชน เป็นเจ้าภาพหลักรับผิดชอบในการขับเคลื่อนขยายผลหมู่บ้านพอเพียง โดยบูรณาการการทำงานร่วมกันในทุกกรมและรัฐวิสาหกิจโดยเฉพาะกรมการปกครองและกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ในการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้สัมฤทธิ์ผลอย่างยั่งยืน และได้จัดทำกรอบแนวคิดในการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นรากฐานของชีวิตประชาชนในหมู่บ้าน โดยใช้หลักการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม การทำงานร่วมกัน และการเรียนรู้จากการปฏิบัติและใช้เทคนิค กระตุ้นความคิด สร้างจิตสำนึกด้วยการตั้งใจคำถามที่โดนใจ ไม่ใช้ บอกให้จำ เริ่มต้นด้วยตัวชี้วัดเป็นเป้าหมายโดยใช้พัฒนากร อาสาสมัคร ผู้นำชุมชน เป็นชุดปฏิบัติการร่วมกับกรรมการหมู่บ้านและภาคีการพัฒนาเพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ทั้งในระดับหมู่บ้านและครัวเรือนโดยมียุทธศาสตร์ เพื่อให้ประชาชนได้ปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งถือได้ว่าเป็นการพัฒนาประชาชนให้เข้มแข็ง และเป็นการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนอีกด้วย แต่การดำเนินงานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้ดำเนินงานไปด้วยความราบรื่นทั้งหมด อาจมีปัญหาบางประการที่เป็นปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน และการวัดประเมินผลการดำเนินงานเพื่อการพัฒนาต่อไป ภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งเป็นรากฐานของความเป็นชาติไทย มีการสืบทอดมาจากบรรพชนอย่างต่อเนื่อง แต่ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีสมัยที่สามารถจัดเก็บและอำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้และถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นได้มาก จึงสมควรที่จะได้รับการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้และการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เป็นระบบเพื่อให้ประชาชนได้นำไปใช้ในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน คณะผู้วิจัยต้องการทราบถึงกระบวนการเรียนรู้และการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกระบวนการเรียนรู้และการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นอกจากนี้ จะได้นำข้อค้นพบจากการวิจัยไปพัฒนารูปแบบกระบวนการเรียนรู้และการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงต่อไป
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เครือข่ายศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเป็นแหล่งเรียนรู้ของเกษตรกร ศึกษาผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคมในการเลี้ยงสัตว์แบบบูรณาการตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน
ขอบเขตของโครงการ :
เครือข่ายศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง 15 ศูนย์การเรียนรู้ การปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชน ผสมผสานระหว่าง ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคมในการเลี้ยงสัตว์แบบบูรณาการ ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำชุมชนกับการปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชน การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านการวางแผนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข โดยใช้การบริหารวงจรคุณภาพ PDCA
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
การวิจัยครั้งนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ได้วิเคราะห์ผลการวิจัย ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคมในการเลี้ยงสัตว์แบบบูรณาการแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เน้นแนวทางให้ศูนย์การเรียนรู้เป็นแหล่งการเรียนรู้การปฏิบัติกิจกรรม โดยมีผู้นำชุมชนเรียนรู้ร่วมกันกับเกษตรกร มีเครือข่ายร่วมกิจกรรมด้วยความสามัคคี ระดมสมองแสดงความเห็น ส่งเสริมให้ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง จัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์อย่างต่อเนื่อง โดยมีหน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาให้ความรู้ นำผลงานวิจัยมาใช้ประโยชน์ ทางด้านการบูรณาการการเลี้ยงสัตว์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงที่ถูกต้องตามหลักการและปรับใช้ให้เข้ากับสภาพของชุมชน เช่น นำวัตถุดิบอาหารสัตว์ในท้องถิ่นมาผสมอาหารสัตว์ใช้เอง การส่งเสริมเทคโนโลยีการลดอุณหภูมิในโรงเรือน การทำฟางหมัก การทำหญ้าหมัก เพื่อเพิ่มมูลค่าอาหารสัตว์ให้ใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้การเลี้ยงสัตว์ได้รับผลตอบแทนสูงสุด
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
การวิจัยในครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมสาน (Mixed Methodology) ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) โดยเป็นวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) แบบวัดครั้งเดียว (One shot study) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากร ได้แก่ ประชาชนที่เป็นสมาชิกศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง 15 ศูนย์การเรียนรู้จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 190 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่เป็นสมาชิกของศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง 15 ศูนย์การเรียนรู้ จังหวัดนครสวรรค์ โดยการคำนวณหาขนาดตัวอย่าง (Sample size) โดยใช้สูตร (Yamane, 1973) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 140 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. แบบสอบถาม ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ซึ่งมีลักษณะเป็นคำถามแบบเลือกคำตอบ ส่วนที่ 2 โดยให้เลือกตอบได้คำตอบเดียว ใช้มาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) แบ่งออกเป็น 5 ระดับ 2. แบบสัมภาษณ์ 2.1 สร้างประเด็นคำถามที่กำหนดเป็นตัวแปรอิสระเพื่อการสัมภาษณ์กับผู้ให้ข้อมูล 2.2 ดำเนินการสัมภาษณ์กับผู้ให้ข้อมูล ทดสอบเครื่องมือ ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือนำไปทดสอบด้วยการหาความตรงของเนื้อหา (Content validity) และการหาความเชื่อมั่น (Reliability) การเก็บรวบรวมข้อมูล 1. ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data) เป็นข้อมูลที่รวบรวมจากแบบสอบถามมีขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูล ดังนี้ 1.1 ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 1.2 คณะผู้วิจัยตรวจสอบความลงรหัสตัวเลข (Code) ตามเกณฑ์ของเครื่องมือแต่ละส่วน 1.3 คณะผู้วิจัยและผู้ช่วยวิจัยดำเนินการสัมภาษณ์กับผู้ให้ข้อมูลตามกลุ่มพื้นที่ 2. ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) รวบรวมข้อมูลประกอบกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย รูปแบบการวิจัย การศึกษาในครั้งนี้ ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมสาน (Mixed Methodology) ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) โดยเป็นวิจัยเชิงสำรวจ (survey research) แบบวัดครั้งเดียว (one shot study) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1. ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ประชาชนที่เป็นสมาชิกศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง 15 ศูนย์การเรียนรู้จังหวัดนครสวรรค์ การสุ่มตัวอย่าง มีขั้นตอนดังนี้ การคำนวณหาขนาดตัวอย่าง (Sample size) โดยใช้สูตรต่อไปนี้ (Taro Yamane, 1967, p. 886-887) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ซึ่งผู้วิจัยได้สร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 1. แบบสอบถาม ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ ซึ่งมีลักษณะเป็นคำถามแบบเลือกคำตอบ ส่วนที่ 2 ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมในการรักษาภูมิปัญญาการลอมฟางเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ในฤดูแล้ง โดยให้เลือกตอบได้คำตอบเดียว ใช้มาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) แบ่งออกเป็น 5 ระดับ กำหนดระดับคะแนนของข้อความ ดังต่อไปนี้ มีการปฏิบัติมากที่สุด ให้คะแนน 5 มีการปฏิบัติมาก ให้คะแนน 4 มีการปฏิบัติปานกลาง ให้คะแนน 3 มีการปฏิบัติน้อย ให้คะแนน 2 มีการปฏิบัติที่สุด ให้คะแนน 1 2. แบบสัมภาษณ์ 2.1 สร้างประเด็นคำถามที่กำหนดเป็นตัวแปรอิสระเพื่อการสัมภาษณ์กับผู้ให้ข้อมูล 2.2. ดำเนินการสัมภาษณ์กับผู้ให้ข้อมูล โดยการคัดเลือกจากตัวแทนของเกษตรกรที่กรอกแบบสอบถาม การทดสอบเครื่องมือ คณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ โดยการนำไปทดสอบหาความตรง (Validity) และความเชื่อมั่น (Reliability) ดังนี้ 1. การหาความตรงของเนื้อหา (Content Validity) คณะผู้วิจัยนำแบบสอบถามที่สร้างขึ้นเสนอต่อผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา เพื่อทำการตรวจสอบความถูกต้องของภาษาที่ใช้จากนั้นนำมาหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ (Index of Item Objective Congruence: IOC) ซึ่งได้ค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 0.60-1.00 หลังจากนั้นนำมาแก้ไขปรับปรุง เพื่อดำเนินการในขั้นต่อไป 2. การหาความเชื่อมั่น (Reliability) คณะผู้วิจัยนำแบบสอบถามทั้งหมดไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างในจังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกัน จำนวน 30 ชุด นำแบบสอบถามที่ได้ไปทดสอบความเชื่อมั่นรวมโดยใช้วิธีการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) ซึ่งมีสูตรในการคำนวณ ดังนี้ (วิเชียร เกตุสิงห์, มปพ., หน้า 114 – 117) * = เมื่อ * คือ ค่าความเชื่อมั่น k คือ จำนวนข้อ Vi 2 คือ ความแปรปรวนของคะแนนแต่ละข้อ Vt 2 คือ ความแปรปรวนของคะแนนรวมทุกข้อ ในการหาค่าความเชื่อมั่นตามสูตรนี้ จะต้องนำคะแนนแต่ละข้อมาหาความแปรปรวนและต้องหาความแปรปรวนของคะแนนที่รวมทุกข้อเข้าด้วยกัน ได้ค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับ (Alpha: (*) เท่ากับ 0.978 การเก็บรวบรวมข้อมูล คณะผู้วิจัยได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูล 2 ประเภท ดังนี้ 1. ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) เป็นข้อมูลที่รวบรวมจากแบบสอบถามมีขั้นตอน การเก็บรวบรวมข้อมูล ดังนี้ 1.1 ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นกรอบในการศึกษาวิจัยแล้วนำมาสร้างเป็นแบบสอบถามเพื่อใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 1.2 คณะผู้วิจัยติดต่อประสานกับกลุ่มตัวอย่างเพื่อแจกแบบสอบถามและสัมภาษณ์ 1.3 คณะผู้วิจัยอธิบายขั้นตอนการดำเนินการและวัตถุประสงค์ของการวิจัยให้ผู้ช่วยผู้วิจัยได้ทราบ เพื่อให้ช่วยเก็บข้อมูลในพื้นที่ซึ่งผู้วิจัยได้กำหนดแบ่งกลุ่มผู้ช่วยวิจัยใน 2 จังหวัด พร้อมทั้งเตรียมเครื่องมือในการเก็บข้อมูลให้ผู้ช่วยผู้วิจัยได้นำไปดำเนินการ 1.4 คณะผู้วิจัยและผู้ช่วยวิจัยเดินทางไปเพื่อพบกลุ่มตัวอย่างโดยการแจกแบบสอบถาม ในพื้นที่ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยตนเอง 1.5 คณะผู้วิจัยตรวจสอบความถูกต้องและความครบถ้วนสมบูรณ์ของแบบสอบถาม ที่ได้รับตอบคืนมา 1.6 คณะผู้วิจัยนำแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความถูกต้องและความครบถ้วน คัดเลือกเฉพาะฉบับที่มีความสมบูรณ์ มาลงรหัสตัวเลข (code) ตามเกณฑ์ของเครื่องมือแต่ละส่วน แล้วจึงนำไปประมวลผล และวิเคราะห์ข้อมูลในขั้นต่อไป 1.7 คณะผู้วิจัยและผู้ช่วยวิจัยดำเนินการสัมภาษณ์กับผู้ให้ข้อมูลตามที่กำหนดนัดหมาย ตามกลุ่มพื้นที่ของแต่ละจังหวัด โดยดำเนินการตามปฏิทินการวิจัย 2. ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) เป็นข้อมูลที่เก็บรวบรวมจากหนังสือ ตำรา บทความ ผลงานวิจัยและเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ประกอบการกำหนดกรอบแนวคิด ในการวิจัย (Conceptual Framework) ครั้งนี้และใช้อ้างอิง (Reference) ในการเขียนรายงานผลการวิจัย (Research Report) การวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้การวิจัยดำเนินไปอย่างน่าเชื่อถือ จึงใช้การวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ซึ่งคณะผู้วิจัยมีขั้นตอนในการวิเคราะห์ข้อมูลดังต่อไปนี้ 1. ผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องของแบบสอบถามทุกฉบับก่อนเพื่อดูความสมบูรณ์ให้ครบถ้วนและลงหมายเลขประจำแบบสอบถามเพื่อให้เกิดความสะดวกต่อการตรวจสอบในภายหลัง 2. นำเอาข้อมูลจากแบบสอบถามมาลงรหัส (Coding sheets) และบันทึกลงหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ 3. ประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ (Statistical Package) SPSS for Windows (Statistical Package for the Social Science for Windows) เพื่อนำผลทางสถิติมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลและทดสอบสมมติฐาน 4. หลังจากทราบผลการทดสอบสมมติฐาน นำผลการทดสอบสมมติฐานที่ได้ไปทำการวิเคราะห์อิทธิพล (path analysis) หรือมีชื่ออื่น ๆ ที่แตกต่างไปอีก เช่น การวิเคราะห์เส้นทาง การวิเคราะห์วิถี การวิเคราะห์เส้นโยง เป็นต้น โดยเป็นการหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลและผลจากปรากฏการณ์จริงว่าสอดคล้องหรือขัดแย้งกับความสัมพันธ์ตามทฤษฎีหรือไม่ นอกจากนี้ยังศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบทางตรง (direct effect) ผลกระทบทางอ้อม (indirect effect) และผลกระทบรวม (total effect) ของตัวแปรที่มีต่อตัวแปรตาม (ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์, 2527, หน้า 99) ซึ่งประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรม AMOS สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ 1. การแจกแจงความถี่ (frequency) และค่าสถิติร้อยละ (percentage) ใช้ในการอธิบายข้อมูลทั่วไป 2. ค่าเฉลี่ย (mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) ใช้วิเคราะห์ระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและกระบวนการเรียนรู้และถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น และการปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและกระบวนการเรียนรู้และถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น 3. กรณีตัวแปรอิสระและตัวแปรตามมีระดับการวัดแบบช่วงหรืออัตราส่วน (interval scale or ratio) ใช้การวิเคราะห์ความถดถอยอย่างง่าย (simple regression) ซึ่งตัวแปรที่ใช้ค่าสถิตินี้ทดสอบ ได้แก่ 1) การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร การเรียนรู้เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การมีส่วนร่วมในชุมชน และภาวะผู้นำในชุมชนกับตั
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เครือข่ายศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเป็นแหล่งเรียนรู้ของเกษตรกร ศึกษาผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคมในการเลี้ยงสัตว์แบบบูรณาการตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา สนใจการเลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพเสริม ครัวเรือนใช้พื้นที่ในการเลี้ยงสัตว์ไว้กินเองในครอบครัวและปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 4.29) มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการเลี้ยงกระบือ สุกร และไก่ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 3.51) ตามลำดับ มีการออมทรัพย์จากการปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ มีเครือข่ายร่วมกับชุมชนอื่น เอื้ออารี รู้รักสามัคคีต่อกัน ชุมชนมีการประชาสัมพันธ์ การประกันราคาผลประโยชน์ต่างๆ จากรัฐบาลฯ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 3.94) ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการเลี้ยงสัตว์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.32) มีการใช้ปุ๋ยชีวภาพ-น้ำหมักชีวภาพในการเลี้ยงสัตว์ การลดการใช้พลังงานโดยใช้เทคโนโลยีลดความร้อนในการสร้างโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่
รายชื่อ
ประเภทนักวิจัย
บทบาทหน้าที่
สัดส่วน
1
นางสาวฐิตาภรณ์ คงดี
นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย
หัวหน้าโครงการวิจัย
50%
2
นายสมชาย ศรีพูล
นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย
ผู้ร่วมวิจัย
50%
สถาบันวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130
หมายเลขโทรศัพท์
056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย
website
rdi.nsru.ac.th
Smart Rdi Nsru