รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การบริหารจัดการชุมชนโดยการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาแบบยั่งยืนของโบราณสถานประวัติศาสตร์วัดเขาไม้เดน ต.ท่าน้ำอ้อย อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
19 พฤศจิกายน 2556
วันสิ้นสุดโครงการ :
18 พฤศจิกายน 2557
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยประยุกต์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11(พ.ศ. 2555-2559) ที่มียุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันทางสังคม โดยการสร้างความเข้มแข็งและพัฒนาบทบาทของสถาบันหลักทางสังคมให้เอื้อต่อการพัฒนาพัฒนาคน สร้างค่านิยมให้คนไทยภูมิใจในวัฒนธรรมไทย และยอมรับความแตกต่างของความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่ลดปัญหาความขัดแย้งความคิดและสร้างความเป็นเอกภาพในสังคม ส่งเสริมความเข้าใจระหว่างประชาชนในการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านข้อมูลข่าวสาร สถานโบราณประวัติศาสตร์หรือสิ่งก่อสร้างที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์กว่า 100 ปี ถือเป็นประโยชน์ในทางศิลป ประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี และเป็นสิ่งที่สร้างความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์ของไทยที่มีวัฒนธรรมที่ดีงามมาหลายสมัย โดยเฉพาะโบราณสถานที่วัดโคกไม้เดน ต.ท่าน้ำอ้อย อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ ที่กรมศิลปกรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานตามพระราชบัญญัติโบราณสถานโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ.2504 ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ที่สมควรอนุรักษ์ไว้เป็นสมบัติของชาติโดยเฉพาะชาวตำบลท่าน้ำอ้อย ต่างมีความภูมิใจในโบราณสถานแห่งนี้ ที่เป็นเมืองโบราณในสมัยทวาราวดีราวพุทธศตวรรษที่ 12-13และมีการค้นพบในพ.ศ.2507 ของ ดร.ควอริตซ์ เวลส์ นักโบราณคดีชาวอังกฤษ ได้ดำเนินการสำรวจและขุดแต่งโบราณสถานวัดโคกไม้เดนเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2507 ได้เขียนเล่าไว้เกี่ยวกับการขุดค้นเมืองนี้ว่ามีกำแพงดินอยู่ 2 ชั้น ชั้นในล้อมพื้นที่วงกลม ชั้นนอกล้อมพื้นที่รูปรี ประมาณ 1000 หลา กำแพงทั้งสองชั้นต่างมีคูเมืองกว้างประมาณ 35 หลา ขุดขนานกัน ไปในการเปิดหน้าดินทำการขุดค้นทางโบราณคดีตามคำอนุญาตของกรมศิลปกรนั้น ได้พบเศษหม้อดินเผา และกระดูกสัตว์เป็นจำนวนมากแล้ว ยังได้พบหลักฐานทางโบราณคดีอีกหลายชิ้น เช่น แผ่นดินเผาจำหลักรูปเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา หินบดยารูปอานม้าพร้อมด้วยลูกหินบด คอตะเกียงโรมันทำด้วยดินเผาและโบราณวัตถุอื่นๆ นอกจากนั้นยังพบหลักศิลปะจารึกสูงราว 2 ฟุตหลักหนึ่งซึ่งชำรุดและลบเลือนไปเกือบหมด แต่ยังเหลือตัวอักษรที่พอมองเห็นได้อยู่สามสี่บรรทัด ซึ่งเป็นตัวหนังสือในพุทธศตวรรษที่ 13 และการขุดค้นได้พบ เศษภาชนะดินเผา กระดูกสัตว์จำนวนมาก แผ่นดินเผาสลักเกี่ยวกับเรื่องพระพุทธศาสนา แท่นหินบดยา หินบดยา คอตะเกียงโรมันทำด้วยดินเผา ที่ถือว่าเป็นกุญแจที่สำคัญในการค้นคว้าประวัติศาสตร์และโบราณคดีเป็นอย่างยิ่ง แต่ในปัจจุบันโบราณสถานแห่งนี้กำลังอยู่ในภาวะที่น่าเป็นห่วงทั้งในด้านสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป การบุกรุกสถานที่ อีกทั้งการถูกลืม หรือไม่เป็นที่รู้จักจากเยาวชนและพี่น้องของชาวไทยรุ่นหลัง และจากคำบอกเล่าของชาวบ้านบริเวณใกล้เคียง กล่าวว่า มีผู้นำสิ่งปฏิกูลจากรถดูดส้วมไปทิ้งในบริเวณสถานเมืองบน ทั้งยังมีขยะมูลฝอย การสร้างที่อยู่อาศัย ทำการเกษตร ตัดไม้ ขุดตักดิน และขุดค้นหาวัตถุโบราณ หากปล่อยไว้เช่นนี้ต่อไปโบราณสถานแห่งนี้อาจถูกทำลายหรือสาบสูญได้ ดังนั้นจากสภาพปัญหาดังกล่าวผู้วิจัยมีความต้องการศึกษาการบริหารจัดการชุมชนโดยการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาแบบยั่งยืนของโบราณสถานประวัติศาสตร์วัดเขาไม้เดน ต.ท่าน้ำอ้อย อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ เพื่อเป็นประโยชน์ในการรักษาสถานประวัติศาสตร์และเป็นที่รู้จักแก่เยาวชนในท้องถิ่นตลอดจนมีแนวทางการบริหารจัดการที่ดีสืบทอดต่อไป
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1.เพื่อศึกษาระดับการการมีส่วนร่วมการบริหารจัดการของชุมชนเพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืนของโบราณสถานประวัติศาสตร์วัดเขาไม้เดน ต.ท่าน้ำอ้อย อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ 2.เพื่อศึกษาการบริหารจัดการชุมชนโดยการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาแบบยั่งยืนของโบราณสถานประวัติศาสตร์วัดเขาไม้เดน ต.ท่าน้ำอ้อย อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :
ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยสามารถกำหนดขอบเขตการวิจัยการการมีส่วนร่วมการบริหารจัดการของชุมชน และการบริหารจัดการชุมชนโดยการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาแบบยั่งยืนของโบราณสถานประวัติศาสตร์วัดเขาไม้เดน ต.ท่าน้ำอ้อย อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
หน่วยงานที่นำผลวิจัยไปใช้ประโยชน์ 1)องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีโบราณสถานศึกษาในเขตจังหวัดนครสวรรค์ 2) สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดทุกจังหวัด โดยเฉพาะในจังหวัดนครสวรรค์ 3) มหาวิทยาลัยโดยเฉพาะสาขาประวัติศาสตร์ และสาขารัฐศาสตร์ 4) เป็นผลงานวิชาการในการเผยแพร่ทางวารสาร หรืออ้างอิงในสถานศึกษาได้
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         ในการศึกษาการบริหารจัดการชุมชนโดยการมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืนของโบราณสถานประวัติศาสตร์วัดเขาไม้เดน ต.ท่าน้ำอ้อย อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ ผู้วิจัยสามารถกำหนดวิธีวิจัยได้ดังนี้ การออกแบบการวิจัย ผู้วิจัยได้ออกแบบการวิจัยโดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เพื่อทำการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ประชากร และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เชิงปริมาณ (วัตถุประสงค์ ข้อ 1) ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในตำบลท่าน้ำอ้อย อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ ที่มีทั้งหมด 2,862 คน (ข้อมูลการจัดทำจปฐ.ของเทศบาลตำบลท่าน้ำอ้อย พ.ศ.2555) กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษาวิจัยจำนวน 341 คน จากจำนวนประชากร จำนวน 2,862 คนโดยใช้ตารางแสดงประชากรและกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie and Morgan โดยใช้การสุ่มแบบโควตา เชิงคุณภาพ (วัตถุประสงค์ข้อ 2) ใช้การประชุมกลุ่ม (Focus Groups)จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญทางการบริหารจัดการชุมชนโดยการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาแบบยั่งยืนของโบราณสถานประวัติศาสตร์วัดเขาไม้เดน ต.ท่าน้ำอ้อย อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ ผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง(Purposve Sampling) จากจำนวนประชากรใน ตำบลท่าน้ำอ้อย อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ ทั้งสิ้น 2,862 คน คือ 1.ผู้นำชุมชน เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ปราชญ์ชาวบ้าน 2.เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐ เช่น เจ้าหน้าที่จากสำนักงานวัฒนธรรมอำเภอ เจ้าหน้าที่จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่รับผิดชอบ เจ้าหน้าที่จากกรมศิลปกร 3.ตัวแทนภาคประชาชนจากชาวบ้านหมู่ 4 หมู่ 8 ตำบลท่าน้ำอ้อยและหมู่ 6 ตำบลม่วงหัก 4.บุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น นักท่องเที่ยว เป็นต้น พื้นที่ที่ทำการศึกษา พื้นที่ที่ทำการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ตำบลท่าน้ำอ้อย อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ ที่มีพื้นที่ 20.87 ตารางกิโลเมตร หรือ 13,044 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่ของตำบลเป็นที่ราบลุ่มมีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน เหมาะแก่การทำเกษตร แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 8 หมู่บ้าน อยู่ในเขตเทศบาลทั้งหมู่บ้าน จำนวน 5 หมู่บ้าน คือ หมู่ 1,2,3,5 และ 6 อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าน้ำอ้อยและเขตเทศบาลท่าน้ำอ้อยบางส่วน 3 หมู่ คือ หมู่ 4,7,8 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเรื่องการบริหารจัดการชุมชนโดยการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาโบราณสถานประวัติศาสตร์ โดยแบ่งตามวัตถุประสงค์ได้ดังนี้ วัตถุประสงค์ข้อ 1.เพื่อศึกษาระดับการการมีส่วนร่วมการบริหารจัดการของชุมชนเพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืนของโบราณสถานประวัติศาสตร์วัดเขาไม้เดน ต.ท่าน้ำอ้อย อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ ใช้แบบสอบถาม วัตถุประสงค์ข้อ 2.เพื่อศึกษาการบริหารจัดการชุมชนโดยการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาแบบยั่งยืนของโบราณสถานประวัติศาสตร์วัดเขาไม้เดน ต.ท่าน้ำอ้อย อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ ใช้การประชุมกลุ่ม (Focus Groups) การวิเคราะห์ข้อมูล เชิงปริมาณ โดยนำแบบสอบถามที่ทำการเก็บรวบรวมทั้งหมด จำนวน 341 ชุด มาวิเคราะห์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเป็นเครื่องคำนวณ ใช้สถิติร้อยละ(Percentage) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) มาวิเคราะห์ผลโดยใช้ตารางประกอบคำบรรยาย สำหรับด้านความคิดเห็นในการให้ค่าคะแนนความเห็นโดยกำหนดค่าของความเห็นดังนี้ ลักษณะเป็นแบบมาตราส่วน ประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ได้แก่ 5 หมายถึง มากที่สุด 4 หมายถึง มาก 3 หมายถึง ปานกลาง 2 หมายถึง น้อย 1 หมายถึง น้อยที่สุด การกำหนดค่าเฉลี่ยของระดับคะแนน มีดังนี้ ค่าเฉลี่ย 4.50 - 5.00 แปลความว่า มากที่สุด ค่าเฉลี่ย 3.50 - 4.49 แปลความว่า มาก ค่าเฉลี่ย 2.50 - 3.49 แปลความว่า ปานกลาง ค่าเฉลี่ย 1.50 - 2.49 แปลความว่า น้อย ค่าเฉลี่ย 1.00 - 1.49 แปลความว่า น้อยที่สุด เชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ถึงแนวทางการบริหารจัดการชุมชนโดยการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาแบบยั่งยืนของโบราณสถานประวัติศาสตร์วัดเขาไม้เดน ต.ท่าน้ำอ้อย อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ ขอบเขตของการวิจัย ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยสามารถกำหนดขอบเขตการวิจัยเฉพาะระดับการการมีส่วนร่วมการบริหารจัดการของชุมชนเพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืนของโบราณสถานประวัติศาสตร์วัดเขาไม้เดน ต.ท่าน้ำอ้อย อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ และการบริหารจัดการชุมชนโดยการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาแบบยั่งยืนของโบราณสถานประวัติศาสตร์วัดเขาไม้เดน ต.ท่าน้ำอ้อย อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 นางสาววรรณมาฆะ เกษรดอกไม้ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 100%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย