มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
สถาบันวิจัยและพัฒนา
ระบบจัดการงานวิจัย
NSRU
RESEARCH
หน้าหลัก
ค้นหารายการ
ข้อมูลงานวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
รายงานสถิติ
งานวิจัย
งานทรัพย์สินทางปัญญา
เข้าสู่ระบบ
รายละเอียดโครงการวิจัย
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวปลอดภัยในเขตบริการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
Electronic Commerce System for Small and Micro Community Enterprise Safety Rice Group in service area Nakhon Sawan Rajabhat University.
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะวิทยาการจัดการ
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
1 มกราคม 2557
วันสิ้นสุดโครงการ :
31 ธันวาคม 2557
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยประยุกต์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
การนำระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการดำเนินธุรกิจวิสาหกิจชุมชนนั้น สามารถที่จะดำเนินการได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งการนำเสนอสินค้าผ่านเว็บไซต์ การสั่งจองผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนแบบออนไลน์ การสั่งซื้อสินค้า เป็นต้น ซึ่งจากการจัดทำโครงการบริการวิชาการแก่สังคม เรื่อง การซื้อ – ขายสินค้า และการทำการตลาดออนไลน์ ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในเขตบริการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนโดยส่วนใหญ่ให้ความสนใจและมีความต้องการในการพัฒนาระบบพาณิชย์เล็กทรอนิกส์เป็นอย่างมาก เนื่องจากได้ทราบถึงความสำคัญและประโยชน์ของการใช้งานระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ แต่ระบบการจำหน่ายสินค้าของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวปลอดภัยที่รวมตัวกันเพื่อผลิตข้าวที่ได้จากการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ (Organic- agriculture หรือ Organic Farming) นั้น มีการจัดจำหน่ายเฉพาะในร้านจำหน่ายสินค้าชุมชน หรือ ตามงานแสดงสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์เท่านั้น กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวปลอดภัยจึงมีความต้องการในการนำเสนอสินค้า ระบบสั่งซื้อสินค้า ระบบจองสินค้า ระบบชำระเงิน ระบบสินค้าคงคลัง การติดต่อกับลูกค้า และคู่ค้าผ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเพิ่มช่องทางในการขยายตลาดให้กับผลิตภัณฑ์ ข้าวปลอดภัย ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในเขตพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าการพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จะช่วยให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวปลอดภัยในเขตพื้นที่บริการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและการขาย สามารถเข้าถึงลูกค้าได้ทั่วโลก เพิ่มยอดขายได้มากขึ้น ลดต้นทุนและเวลาในการจัดจำหน่าย สามารถโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้าได้กว้างขวางขึ้น และสามารถทำตลาดและให้บริการกับลูกค้าเป็นรายบุคคลได้ อีกทั้งยังสามารถนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาวิจัยไปใช้เป็นแนวทางหรือต้นแบบในการพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับวิสาหกิจอื่นๆ ต่อไป
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1. เพื่อศึกษาความต้องการระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวปลอดภัยในเขตบริการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 2. เพื่อพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวปลอดภัยในเขตบริการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 3. เพื่อประเมินผลประสิทธิภาพการใช้งานระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวปลอดภัยในเขตบริการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :
ขอบเขตด้านข้อมูล ผู้ศึกษาได้เลือกข้อมูลในด้านการนำเสนอผลิตภัณฑ์ข้าวปลอดภัยผ่านเว็บไซต์ การสั่งซื้อผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนแบบออนไลน์ การให้ข้อมูลวิสาหกิจชุมชน สถานที่ตั้ง ประเภทวิสาหกิจชุมชน การติดต่อกับลูกค้าผ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ และการชำระเงินผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ขอบเขตด้านประชากร ผู้ศึกษาได้เลือกกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวปลอดภัยในเขตบริการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดอุทัยธานี และจังหวัดชัยนาท จำนวน 300 คน จากการสุ่มอย่างง่าย เนื่องจากเป็นพื้นที่มีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่สามารถติดต่อสอบถามได้สะดวก ขอบเขตด้านเทคโนโลยี ผู้ศึกษาได้พัฒนาระบบโดยใช้ภาษา PHP เป็นภาษาในการพัฒนาระบบ และใช้ MySQL ในการจัดการฐานข้อมูลให้ง่ายต่อการจัดเก็บทั้งระบบ และใช้ Apache ทำหน้าที่เป็น Web Server ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันทั่วโลก โดยเนื่องจากภาษา PHP และ MySQL เป็นโอเพ่นซอร์ส ซึ่งสามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้ฟรี ในส่วน Apache ปัจจุบันจัดได้ว่าเป็น Web Server ที่มีความน่าเชื่อถือมาก ขอบเขตด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศ ผู้ศึกษาได้กำหนดขอบเขตด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศ โดยทำการระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวปลอดภัยในเขตบริการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และนำเสนอผลิตภัณฑ์ข้าวปลอดภัยผ่านเว็บไซต์ การสั่งซื้อผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนแบบออนไลน์ การให้ข้อมูลวิสาหกิจชุมชน สถานที่ตั้ง ประเภทวิสาหกิจชุมชน การติดต่อกับลูกค้าผ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ และการชำระเงินผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
1. ทราบถึงความต้องการระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวปลอดภัยในเขตบริการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 2. ได้ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวปลอดภัยในเขตบริการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 3. ทราบถึงประเมินผลประสิทธิภาพการใช้งานระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวปลอดภัยในเขตบริการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีกระบวนการดังนี้ 1. ศึกษารวบรวมข้อมูลข้าวปลอดภัยในเขตบริการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จากตำรา เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2. ศึกษาความต้องการระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของวิสาหกิจชุมชนในเขตบริการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยการสัมภาษณ์จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในเขตบริการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และ การรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร งานวิจัย หนังสือ วารสาร บทความต่างๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 3. วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับวิสาหกิจชุมชน กลุ่มข้าวปลอดภัยในเขตบริการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยวิเคราะห์ผลจากสถิติพื้นฐาน เช่น ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เป็นต้น เพื่อนำข้อมูลที่ตรงกับความต้องการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนไปออกแบบ และพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้ตรงกับความต้องการมากที่สุด 4. ออกแบบระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวปลอดภัยในเขตบริการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยการออกแบบระบบฐานข้อมูล แผนภาพแสดงการไหลของข้อมูลพจนานุกรมข้อมูล เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาโปรแกรมระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 5. พัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวปลอดภัยในเขตบริการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยการใช้ภาษา PHP 6. ทดสอบและทำการติดตั้งระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวปลอดภัยในเขตบริการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 7. สร้างและเลือกเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย โดยการสร้างแบบสอบถามที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการประเมินผลการใช้งานระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวปลอดภัยในเขตบริการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 8. เก็บรวมรวมข้อมูลแบบประเมินผลการใช้งานระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวปลอดภัยในเขตบริการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 9. วิเคราะห์ผลการประเมินจากการประเมินการใช้งานระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวปลอดภัยในเขตบริการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยวิเคราะห์ผลจากสถิติพื้นฐาน เช่น ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เป็นต้น 10. สรุปผลการวิจัย และจัดทำรูปเล่มและนำเสนองานวิจัย
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่
รายชื่อ
ประเภทนักวิจัย
บทบาทหน้าที่
สัดส่วน
1
นางสาวจิตาพัชญ์ ไชยสิทธิ์
นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย
หัวหน้าโครงการวิจัย
100%
สถาบันวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130
หมายเลขโทรศัพท์
056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย
website
rdi.nsru.ac.th
Smart Rdi Nsru