มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
สถาบันวิจัยและพัฒนา
ระบบจัดการงานวิจัย
NSRU
RESEARCH
หน้าหลัก
ค้นหารายการ
ข้อมูลงานวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
รายงานสถิติ
งานวิจัย
งานทรัพย์สินทางปัญญา
เข้าสู่ระบบ
รายละเอียดโครงการวิจัย
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การศึกษาและพัฒนาระบบฐานข้อมูลองค์ความรู้ทางด้านวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
The Study and Development of Database Management System in the Small and Micro Community Enterprise (SMCE) in Amphur Nong Bua, Nakhon Sawan Province.
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :
แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่ระบุ
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
1 กุมภาพันธ์ 2555
วันสิ้นสุดโครงการ :
31 มกราคม 2556
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยประยุกต์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
วิสาหกิจชุมชนเป็นกิจการของชุมชนเกี่ยวกับการผลิตสินค้า การให้บริการหรือการอื่นๆ ที่ดำเนินการโดยคณะบุคคลที่มีความผูกพัน มีวิถีชีวิตร่วมกันและรวมตัวกันประกอบกิจการ โดยมุ่งเน้นการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผสมผสานภูมิปัญญาสากล เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินทรัพย์ ที่เป็นทุนทางสังคมของชุมชน นั้นให้เป็นสินค้าและบริการของชุมชน สร้างเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนให้เข้มแข็งสู่เป้าหมายคือความเข้มแข็งของชุมชน และการพึ่งตนเองได้ โดยทั่วไปข้อมูลวิสาหกิจชุมชนมีการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ที่แตกต่างกันออกไปตามชุมชน สำหรับการทำวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่อำเภอหนองบัว ประกอบด้วยเครือข่ายทั้งหมด 8 เครือข่าย (http://www.thaitambon.com, ตุลาคม 2553) ได้แก่ 1) ดอกไม้ประดิษฐ์จากดินไทย กลุ่มส่งเสริมอาชีพตำบลห้วยถั่วเหนือ 145/5 หมู่ที่ 1 บ้านโรงสี ตำบลห้วยถั่วเหนือ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ 60110 2) กล้วยฉาบ กล้วยม้วน กลุ่มแปรรูปอาหาร 53/1 หมู่ 7 บ้านรังย้อย ต.ห้วยถั่วเหนือ อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์ 60110 3) ขนมดอกจอก กลุ่มแปรรูปอาหาร 53/1 หมู่ 7 บ้านรังย้อย ต.ห้วยถั่วเหนือ อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์ 60110 4) ข้าวเกรียบเผือก กลุ่มแปรรูปอาหาร 53/1 หมู่ 7 บ้านรังย้อย ต.ห้วยถั่วเหนือ อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์ 60110 5) ขนมนางเล็ด กลุ่มแปรรูปอาหาร 53/1 หมู่ 7 บ้านรังย้อย ต.ห้วยถั่วเหนือ อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์ 60110 6) ขนมถั่วกวน กลุ่มขนมถั่วกวน 109/1 หมู่ 1 บ้านหนองแก้ว ต.ห้วยใหญ่ อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์ 60110 7) จักสานหญ้าแฝก กลุ่มจักสานหญ้าแฝก เลขที่ 88/7 หมู่ที่ 8 บ้านทรัพย์ย้อย ตำบลทุ่งทอง อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ 8) ผ้าลายขอพระเทพ กลุ่มทอผ้ามัดหมี่และหัตถกรรม 40 หมู่ 1 บ้านเขานางต่วม ตำบลวังบ่อ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ 60110 เมื่อนำข้อมูลต่างๆ ของวิสาหกิจชุมชนมารวบรวมเป็นองค์ความรู้ที่มีอยู่ ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร ทำให้เกิดปัญหาในด้านของความซ้ำซ้อนของข้อมูล อีกทั้งยังใช้เวลานานในการค้นหา ปรับปรุงข้อมูลวิสาหกิจชุมชนต่างๆ การนำระบบฐานข้อมูลซึ่งเป็นการจัดเก็บข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันมาจัดเก็บในที่เดียวกัน ซึ่งแต่เดิมถูกจัดเก็บอยู่ในแต่ละแฟ้มข้อมูล ทำให้ข้อมูลแต่ละส่วนเกิดความซ้ำซ้อนกัน ความขัดแย้งของข้อมูลซึ่งทำให้เกิดความยากในการแก้ไข การกระจายของข้อมูล เป็นต้น มาช่วยในการจัดเก็บข้อมูลวิสาหกิจชุมชนของอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์นั้น จะทำให้ข้อมูลวิสาหกิจชุมชนที่รวบรวมนั้นมีความซ้ำซ้อนของข้อมูลลดน้อยลง มีข้อมูลความถูกต้อง ปลอดภัยของข้อมูล มีความเป็นอิสระของข้อมูล และมีการควบคุมจากศูนย์กลาง ฐานข้อมูล ทำให้สามารถจัดเก็บข้อมูลให้เป็นระเบียบ แยกแยกข้อมูลตามประเภท สามารถรวบรวมข้อมูลประเภทเดียวกันได้ สามารถค้นหาและเรียกใช้ได้ง่าย ไม่ว่าจะนำมาพิมพ์รายงาน นำมาคำนวณ หรือนำมาวิเคราะห์ จากข้อมูลเบื้องต้นพบว่าการรวบรวมข้อมูลวิสาหกิจชุมชนของอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ มาพัฒนาให้เป็นระบบฐานข้อมูล เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการสร้างระบบการจัดเก็บข้อมูลให้เป็นระเบียบ แยกแยกข้อมูลตามประเภท สามารถรวบรวมข้อมูลประเภทเดียวกันได้ สามารถค้นหาและเรียกใช้ได้ง่าย ไม่ว่าจะนำมาพิมพ์รายงาน นำมาคำนวณ หรือนำมาวิเคราะห์เพื่อให้สามารถส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน/เครือข่ายเพื่อพัฒนากิจการวิสาหกิจชุมชนให้เข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1. เพื่อศึกษาความต้องการใช้ข้อมูลองค์ความรู้ทางด้านวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในเขตอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ 2. เพื่อศึกษาและพัฒนาต้นแบบระบบฐานข้อมูลองค์ความรู้วิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในเขตอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :
การศึกษาและพัฒนาระบบฐานข้อมูลองค์ความรู้ทางด้านวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในเขตอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ มีขอบเขตการศึกษาเฉพาะงานด้านการศึกษาและพัฒนาต้นแบบระบบฐานข้อมูล โดยการศึกษาความต้องการใช้ข้อมูลทางด้านวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในเขตอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ และเก็บรวบรวมข้อมูลด้านวิสาหกิจชุมชน ในรูปแบบฐานข้อมูล เพื่อให้สามารถ ค้นหา ปรับปรุง และนำข้อมูลมาประกอบการวิเคราะห์ และพัฒนาวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืนได้ ซึ่งกำหนดขอบเขตของการวิจัยได้ดังนี้ 1. ขอบเขตด้านพื้นที่ การวิจัยครั้งนี้ ทำการศึกษาความต้องการใช้ข้อมูลองค์ความรู้ทางด้านวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในเขตอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อรวบรวมข้อมูลด้านวิสาหกิจชุมชนที่สามารถนำมาใช้ประกอบการวิเคราะห์ และพัฒนาวิสาหกิจชุมชน 2. ขอบเขตด้านเนื้อหา การวิจัยนี้ได้กำหนดขอบเขตการศึกษาไว้ดังนี้ 2.1 ข้อมูลทุติยภูมิ ทำการศึกษาจากข้อมูลเอกสารหรืองานวิจัยเผยแพร่ผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต และสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ โดยศึกษาความหมาย แนวคิด ทฤษฎี รวมทั้งผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.2 ข้อมูลปฐมภูมิ ทำการศึกษาโดยกระบวนการวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อหาข้อมูลด้านวิสาหกิจที่นำมาใช้ประกอบการวิเคราะห์ และพัฒนาวิสาหกิจชุมชน 3. ขอบเขตด้านประชากร กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอ หนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 9 ตำบล และเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนตำบลหรือเทศบาลตำบล ในเขตอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ 10 หน่วยงาน 4.ขอบเขตด้านเทคโนโลยี การวิจัยครั้งนี้ ได้กำหนดขอบเขตการศึกษาไว้ดังนี้ 4.1 ฐานข้อมูล My SQL เป็นเครื่องมือสร้างฐานข้อมูลของระบบ 4.2 โปรแกรมภาษา PHP, HTML, ฯลฯ เป็นเครื่องมือในการสร้างระบบ 4.3 ระบบทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติการ Windows 4.4 กำหนดการใช้ Web server เป็น Apache 5. เขตด้านระยะเวลา การศึกษาวิจัยครั้งนี้ใช้เวลาในการดำเนินงานทั้งหมด 12 เดือน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2555 ถึงเดือนมกราคม 2556
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
1. ได้ต้นแบบระบบฐานข้อมูลองค์ความรู้วิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในเขตอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ 2. ทราบถึงความต้องการใช้ข้อมูลองค์ความรู้ทางด้านวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในเขตอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
กระบวนการในการดำเนินการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้ 13.1 การทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อวิจัย 13.2 การเก็บข้อมูลพื้นฐานในชุมชน โดยการลงพื้นที่ทั้ง 9 ตำบลในอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อรวบรวมข้อมูลและนัดหมายกำหนดการเพื่อทำการวิจัยภาคสนาม 13.3 การวิจัยภาคสนามเชิงสำรวจ โดยการลงพื้นอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อสังเกต สัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่มกับประชาชนในชุมชนและเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง 13.4 ทำการวิเคราะห์และออกแบบต้นแบบระบบฐานข้อมูล เพื่อสร้างฐานข้อมูลองค์ความรู้วิสาหกิจชุมชน 13.5 ทำการพัฒนาต้นแบบระบบฐานข้อมูล เพื่อสร้างฐานข้อมูลองค์ความรู้วิสาหกิจชุมชน 13.6 ทดสอบและประเมินผลต้นแบบระบบฐานข้อมูล เพื่อสร้างฐานข้อมูลองค์ความรู้วิสาหกิจชุมชน
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่
รายชื่อ
ประเภทนักวิจัย
บทบาทหน้าที่
สัดส่วน
1
นางสาวจิตาพัชญ์ ไชยสิทธิ์
นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย
หัวหน้าโครงการวิจัย
100%
สถาบันวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130
หมายเลขโทรศัพท์
056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย
website
rdi.nsru.ac.th
Smart Rdi Nsru