รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาหลักสูตรบูรณาการตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
The participation of local communities in Development an Integrated Curriculum to Philosophy of Sufficiency Economy to Learning Management for Develop learning skills in the 21st century
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะครุศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
30 ตุลาคม 2560
วันสิ้นสุดโครงการ :
29 ตุลาคม 2561
ประเภทของการวิจัย :
การวิจัยพื้นฐาน
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         การปฏิรูปการเรียนรู้อันเป็นหัวใจสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาและสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้รายปี/รายภาค และการเรียนรู้ของแต่ละเรื่องไว้ ให้สถานศึกษากำหนดโครงสร้างเป็นสาระการเรียนรู้ จำนวนเวลาไว้อย่างกว้างๆ และนำโครงสร้างดังกล่าวไปจัดทำเป็นหลักสูตรสถานศึกษา โดยคำนึงถึงสภาพปัญหา ความพร้อม เอกลักษณ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น จัดกิจกรรมให้กับผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น เกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง ผสมผสานความรู้ด้านต่างๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน อำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ (สุวิทย์ มูลคำ และ อรทัย มูลคำ : 2547) ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทย เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนา และบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็นโดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤติ เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา ความพอเพียงหมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี และต้องประกอบไปด้วยสองเงื่อนไข คือ เงื่อนไขความรู้ เงื่อนไขคุณธรรม การน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้ในทุกภาคส่วนของสังคมอย่างจริงจัง จ ะส่งผลให้การพัฒนาประเทศก้าวหน้าไป อย่างสมดุล มั่นคง และยั่งยืน พร้อมรับต่อการ เปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านชีวิต เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่ “ความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน ในสังคมไทย” ทุกคนสามารถนำหลักปรัชญาฯ มาเป็นหลัก ปฏิบัติในการดำเนินชีวิตได้ ไม่ใช่เฉพาะในหมู่คนจน หรือเกษตรกร โดยต้อง “ระเบิดจากข้างใน” คือการ เกิดจิตสำนึก มีความศรัทธาเชื่อมั่น เห็นคุณค่า และ นำไปปฏิบัติด้วยตนเอง แล้วจึงขยายไปสู่ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติต่อไป หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กำหนดให้การจัดการเรียนรู้เป็นไปในลักษณะองค์รวม “การบูรณาการ” ซึ่งเป็นการกำหนดเป้าหมายการเรียนร่วมกัน ยึดผู้เรียน เป็นสำคัญ โดยนำกระบวนการเรียนรู้จากกลุ่มสาระเดียวกัน หรือต่างกลุ่มสาระการเรียนรู้มา บูรณาการในการจัดการเรียนการสอน จะทำให้ผู้เรียนเห็นความสัมพันธ์ของศาสตร์สาขาต่างๆ สามารถเชื่อมโยงและถ่ายโอนความรู้ไปใช้ในชีวิตจริงได้ ดังนั้น การจัดหลักสูตรแบบบูรณาการ (Integration Curriculum) จึงเป็นการนำเอาเนื้อหาของวิชาต่างๆ มาหลอมรวมเข้าด้วยกันเกิดเป็นเอกลักษณ์ใหม่ของหลักสูตรหรือการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ (Integration Instruction) ซึ่งจะเน้นที่องค์รวมของเนื้อหามากกว่าองค์ความรู้ของแต่ละรายวิชา และเน้นที่การเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญยิ่งกว่าการบอกเนื้อหาของครูผู้สอน ความท้าทายด้านการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ในการเตรียมนักเรียนให้พร้อมกับชีวิตในศตวรรษที่ 21 เป็นเรื่องสำคัญของกระแสการปรับเปลี่ยนทางสังคมที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 ส่งผลต่อวิถีการดำรงชีพของสังคมอย่างทั่วถึง ครูจึงต้องมีความตื่นตัวและเตรียมพร้อมในการจัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักเรียนมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลก นั่นคือ ทักษะการเรียนรู้ (Learning Skill) ที่ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เด็กมีความรู้ ความสามารถ และทักษะจำเป็น ซึ่งเป็นผลจากการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ตลอดจนการเตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ ซึ่ง วิจารณ์ พานิช (2555: 16-21) ได้กล่าวถึง ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ดังนี้ 1.ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม จะเป็นตัวกำหนดความพร้อมของนักเรียนเข้าสู่โลกการทำงานที่มีความซับซ้อนมากขึ้นในปัจจุบัน ได้แก่ ความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา การสื่อสารและการร่วมมือ 2.ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี เนื่องด้วยในปัจจุบันมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่อและเทคโนโลยีมาก มาย ผู้เรียนจึงต้องมีความสามารถในการแสดงทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและ ปฏิบัติงานได้หลากหลาย โดยอาศัยความรู้ในหลายด้าน ดังนี้ ความรู้ด้านสารสนเทศ ความรู้เกี่ยวกับสื่อและความรู้ด้านเทคโนโลยี 3.ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ ในการดำรงชีวิตและทำงาน ในยุคปัจจุบันให้ประสบความสำเร็จ นักเรียนจะต้องพัฒนาทักษะชีวิตที่สำคัญ คือ ความยืดหยุ่นและการปรับตัว การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม การเป็นผู้สร้างหรือผู้ผลิต (Productivity) และความรับผิดชอบเชื่อถือได้ (Accountability) ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ (Responsibility) 4.ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 ที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต คือ การเรียนรู้ 3R x 7C ทักษะการเรียนรู้ 3R คือ Reading (อ่านออก), (W)Riting (เขียนได้), และ (A)Rithemetics (คิดเลขเป็น) ส่วนทักษะการเรียนรู้ 7C ประกอบด้วย Critical Thinking and Problem Solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา) Creativity and Innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม) Cross-cultural Understanding (ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์) Collaboration, Teamwork and Leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ) Communications, Information, and Media Literacy (ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ) Computing and ICT Literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) และ Career and Learning Skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้) กระบวนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ถือว่าการเรียนรู้ที่แท้จริงอยู่ในโลกจริงหรือชีวิตจริง การเรียนวิชาในห้องเรียนยังเป็นการเรียนแบบสมมติ “ดังนั้นครูเพื่อศิษย์จึงต้องออกแบบการเรียนรู้ให้ศิษย์” ได้เรียนในสภาพที่ใกล้เคียงชีวิตจริงที่สุด ครูเพื่อศิษย์ต้องเปลี่ยนเป้าหมายการเรียนรู้ของศิษย์จากเน้นเรียนวิชาเพื่อได้ความรู้ ให้เลยไปสู่การพัฒนาทักษะที่สำคัญต่อชีวิตในยุคใหม่ ย้ำว่าการเรียนรู้ยุคใหม่ ต้องเรียนให้เกิดทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ซึ่งหน้าที่ของครูเพื่อศิษย์จึงต้องเปลี่ยนจากเน้น “สอน” หรือสั่งสอนไปทำหน้าที่จุดประกายความสนใจใฝ่รู้ (inspire) แก่ศิษย์ ให้ศิษย์ได้เรียนจากการลงมือปฏิบัติ (learning by doing) และศิษย์งอกงามทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 นี้ จากการลงมือปฏิบัติของตนเป็นทีมร่วมกับเพื่อนนักเรียน เน้นการงอกงามทักษะในการเรียนรู้ และค้นคว้าหาความรู้มากกว่าตัวความรู้ ครูเพื่อศิษย์ต้องเปลี่ยนแนวทางการทำงานจากทำโดดเดี่ยว คนเดียว เป็นทำงานและเรียนรู้จากการทำหน้าที่ครูเป็นทีม โดยมีรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย อันได้แก่ กระบวนการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ เป็นแนวคิดหรือความเชื่อที่สนับสนุนให้คนเราปฏิบัติสิ่งต่างๆด้วยตนเองตามความสนใจ ตามความถนัดและศักยภาพ ด้วยการศึกษา ค้นคว้า ฝึกปฏิบัติ ฝึกทักษะจนถึงการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพราะเชื่อว่าหากคนเราได้กระทำจะทำให้เกิดความเชื่อมั่นเป็นแรงจูงใจให้เกิดการใฝ่รู้ ใฝ่เรียน ผู้เรียนจะสนุกสนานที่จะสืบค้นหาความรู้ต่อไป มีความสุขที่จะเรียน มีลักษณะดังนี้ การเรียนรู้ผ่านการทำงาน (Work-based Learning) การเรียนรู้ผ่านโครงงาน (Project-based Learning) การเรียนรู้ผ่านกิจกรรม (Activity-based Learning) การเรียนรู้ผ่านการแก้ปัญหา (Problem-based Learning) และการเรียนรู้ผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรือวิธีวิจัย (Research-based Learning) และยังมีกระบวนการเรียนรู้ผ่านการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ เพราะการสื่อสารเป็นกระบวนการส่งหรือถ่ายทอดเรื่องราว ข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ เหตุการณ์ ต่าง ๆ จากผู้สอนยังไปผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย เช่น การฝึกทักษะในการฟังอย่างลึกซึ้ง(Deep Listening) การฝึกทักษะการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยใช้เทคนิค Communities of Practice หรือ CoP การฝึกทักษะการทำงานเป็นทีม, เรียนรู้แบบกลุ่ม ปฏิบัติงานกลุ่ม การฝึกทักษะการใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร ใช้เทคโนโลยีเพื่อวิจัย จัดระบบ ประเมิน และสื่อสารสารสนเทศ ใช้เครื่องมือสื่อสาร เชื่อมโยงเครือข่าย (คอมพิวเตอร์ เครื่องเล่นมีเดีย ฯลฯ) และ social network อย่างถูกต้อง เหมาะสม เพื่อเข้าถึง (access) จัดการ (manage) ผสมผสาน (integrate) ประเมิน (evaluate) และสร้าง(create) สารสนเทศ เพื่อทำหน้าที่ในเศรษฐกิจฐานความรู้ปฏิบัติตามคุณธรรมและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการเรียนรู้แบบขั้นบันได(IS) กระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุผลตามที่คาดหวังนั้น มีมากมายหลายวิธี กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้นก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่น่าสนใจ ที่ครูสามารถนำไปปรับใช้ในกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามบริบทและธรรมชาติของวิชา โดยเฉพาะการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จากความสำคัญที่กล่าวมาข้างต้นที่เน้นการพัฒนาการศึกษาจำเป็นที่จะต้องพัฒนาหลักสูตรเน้นการบูรณาการแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและออกแบบกระบวนการเรียนรู้ใหม่เพื่อสร้างคนสมัยใหม่ให้มีความรู้สึกที่ดี มีความสุขกับการเรียนเป็นคนเก่ง ฉลาด รู้จักคิดวิเคราะห์และใฝ่รู้ตลอดเวลา และมีทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ดังนั้น การบูรณาการหน่วยการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง การออกแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย จึงเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะทำการวิจัยในเรื่อง “การพัฒนาหลักสูตรบูรณาการตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21” เพื่อหารูปแบบและพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนจากการใช้รูปแบบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1. เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน หลักสูตรบูรณาการสำหรับการพัฒนาหลักสูตรบูรณาการตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2. เพื่อสร้างและทดลองใช้หลักสูตรบูรณาการตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3. เพื่อประเมินผลการใช้หลักสูตรบูรณาการตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในด้านความพึงพอใจของนักเรียนและความคิดเห็นของครูที่มีต่อหลักสูตรบูรณาการ
ขอบเขตของโครงการ :
1. รูปแบบการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) มีวิธีดำเนินการวิจัยโดยวิเคราะห์จากเอกสารที่เกี่ยวข้องควบคู่ไปกับการสำรวจ สัมภาษณ์ ทดลอง และจัดเวทีชาวบ้าน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อสร้างเป็นหลักสูตรบูรณาการตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 2. ขอบเขตด้านเนื้อหา คือ การวิจัยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนสร้างเป็นหลักสูตรบูรณาการตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 3. ขอบเขตด้านประชากร ประชากรที่ใช้ในครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 บุคคลในชุมชน องค์กรชุมชน เครือข่ายชุมชน และ กลุ่มที่ 2 ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนในชุมชน 4. ขอบเขตด้านแหล่งข้อมูล แหล่งข้อมูล มี 2 แหล่ง ได้แก่ แหล่งที่ 1 ข้อมูลปฐมภูมิ ได้แก่ ข้อมูลที่ศึกษาโดยตรงจากบุคคลในชุมชน องค์กรชุมชน เครือข่ายชุมชน แหล่งที่ 2 ข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ ข้อมูลที่ศึกษาจากเอกสารวิชาการ สิ่งพิมพ์ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 5. ขอบเขตด้านพื้นที่ ได้แก่ ชุมชนและกลุ่มโรงเรียนขนาดเล็ก อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
1. ทราบข้อมูลพื้นฐานหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน หลักสูตรบูรณาการสำหรับการพัฒนาหลักสูตรบูรณาการตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2. ได้หลักสูตรบูรณาการตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และนำไปทดลองใช้ในสถานศึกษา 3. ทราบผลการใช้หลักสูตรบูรณาการตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในด้านความพึงพอใจของนักเรียนและความคิดเห็นของครูที่มีต่อหลักสูตรบูรณาการ 4. เป็นแนวทางสำหรับการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับโรงเรียนอื่น ๆ ต่อไป
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         ขั้นตอนดำเนินการวิจัย 1. ระเบียบวิธีวิจัย การวิจัยครั้งนี้ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) ของผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อเก็บข้อมูล โดยใช้เทคนิค AIC และหรือ PRA สำรวจ สัมภาษณ์เจาะลึก เสวนากลุ่ม การสังเกต จัดประชุมกลุ่มย่อย และทดลองปฏิบัติการตามแนวทางที่ได้ 2. แหล่งข้อมูล มี 2 แหล่ง ได้แก่ แหล่งที่ 1 ข้อมูลปฐมภูมิ ได้แก่ ข้อมูลที่ศึกษาโดยตรงจากบุคคลในชุมชน องค์กรชุมชน เครือข่ายชุมชน แหล่งที่ 2 ข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ ข้อมูลที่ศึกษาจากเอกสารวิชาการ สิ่งพิมพ์ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 3. กลุ่มประชากร ประชากรที่ใช้ในครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 บุคคลในชุมชน องค์กรชุมชน เครือข่ายชุมชน และ กลุ่มที่ 2 ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนในชุมชน 4. ขั้นตอนการดำเนินการวิจัยมี 5 ขั้นตอนดังนี้ 1.ศึกษาข้อมูลพื้นฐานหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน หลักสูตรบูรณาการสำหรับการพัฒนาหลักสูตรบูรณาการตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 1.1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 1.2 ศึกษาสำรวจ สอบถามและสัมภาษณ์ หลักสูตรบูรณาการสำหรับการพัฒนาหลักสูตรบูรณาการตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2.สร้างและทดลองใช้หลักสูตรบูรณาการตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2.1 วิเคราะห์องค์ความรู้ในการพัฒนาหลักสูตรบูรณาการ 2.2 กำหนดสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น/หน่วยบูรณาการ 2.3. จัดทำหน่วยการเรียนรู้ 2.4. จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้, สื่อ และนวัตกรรม, เครื่องมือวัดและประเมินผล 2.5. นำไปทดลองใช้และปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสม 3.ประเมินผลการใช้หลักสูตรบูรณาการตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในด้านความพึงพอใจของนักเรียนและความคิดเห็นของครูที่มีต่อหลักสูตรบูรณาการ 3.1ศึกษาผลการใช้หลักสูตรบูรณาการตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3.2 ประเมินทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน 3.3ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3.4ศึกษาความคิดเห็นของครูที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
การวิจัย เรื่อง การพัฒนาหลักสูตรเน้นการบูรณาการแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและออกแบบกระบวนการเรียนรู้ใหม่เพื่อสร้างคนสมัยใหม่ให้มีความรู้สึกที่ดี มีความสุขกับการเรียนเป็นคนเก่ง ฉลาด รู้จักคิดวิเคราะห์และใฝ่รู้ตลอดเวลา และมีทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ดังนั้น การบูรณาการหน่วยการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง การออกแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย จึงเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 นางสาวภิรญา โพธิพิทักษ์ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 45%
2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เยาวเรศ ภักดีจิตร นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 45%
3 นางสาวจรินทร สุขขานน นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 10%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย