มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
สถาบันวิจัยและพัฒนา
ระบบจัดการงานวิจัย
NSRU
RESEARCH
หน้าหลัก
ค้นหารายการ
ข้อมูลงานวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
รายงานสถิติ
งานวิจัย
งานทรัพย์สินทางปัญญา
เข้าสู่ระบบ
รายละเอียดโครงการวิจัย
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
Optimizing energy management in Nakhon Sawan Rajabhat University
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
30 ตุลาคม 2560
วันสิ้นสุดโครงการ :
29 ตุลาคม 2561
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยประยุกต์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
จากความต้องการด้านพลังงานของประเทศไทยที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมาโดยนับตั้งแต่ปี 2540 จนถึงปี 2555 การนำเข้าพลังงานขั้นต้นเชิงพาณิชย์เฉลี่ยร้อยละ 64.5 ของความต้องการใช้พลังงานขั้นต้นเชิงพาณิชย์ โดยเฉพาะปริมาณน้ำมันดิบที่มีสัดส่วนการนำเข้าอยู่ในระดับร้อยละ 80 ของปริมาณการนำเข้าทั้งหมดและพบว่า สัดส่วนการนำเข้าพลังงานมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากปริมาณการผลิตพลังงานภายในประเทศไม่สามารถปรับตัวสูงขึ้นได้ตามความต้องการใช้ ดังนั้น หากไม่พัฒนาพลังงานทดแทนอย่างจริงจัง จะส่งผลให้ประเทศไทยนำเข้าพลังงานเพิ่มขึ้นไปอยู่ในระดับร้อยละ 70 ซึ่งสภาวการณ์ดังกล่าวจะส่งผลต่อความเสถียรภาพทางด้านพลังงานและด้านเศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก เพื่อทดแทนการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ โดยสนับสนุนให้มีการวิจัยและพัฒนาด้านพลังงานหมุนเวียน และพลังงานทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม การพัฒนาและการใช้พลังงานได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างมาก เนื่องจากการผลิตพลังงานมีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติหลายประเภท เช่น ทรัพยากรน้ำ ป่าไม้ และแร่ อีกทั้งการพัฒนาและการใช้พลังงานที่มีการปล่อยสารมลพิษทางอากาศได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ดังเช่นกรณีการผลิตพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติหรือชีวมวลเป็นเชื้อเพลิง เป็นต้น รวมทั้งยังเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศปรากฏการณ์สภาวะโลกร้อน นอกจากนี้ ความต้องการและราคาพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นอาจนำไปสู่การบุกรุกพื้นที่ป่าไม้เพื่อขยายพื้นที่เพาะปลูกพืชพลังงานอีกด้วย (แผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี (พ.ศ. 2551 – 2565), 2551) พลังงานมีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์ทุกคนในโลกปัจจุบันเพราะพลังงานได้เข้ามามีส่วนสำคัญทั้งในด้านที่อยู่อาศัยภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของประชาชนดังนั้นทุกประเทศจึงต้องมีการจัดหาพลังงานให้มีปริมาณที่เพียงพอราคาที่เหมาะสมและคุณภาพที่ดีโดยคาดว่าภายในปี 2578 ปริมาณการใช้พลังงานของโลกจะมากกว่าเมื่อปี 2551 อยู่ประมาณร้อยละ 36 จึงมีนโยบายการรณรงค์ประหยัดพลังงานอยู่เสมอดังนั้นมาตรการด้านการประหยัดพลังงานหรือลดการใช้พลังงานให้น้อยลงนั้นเป็นเรื่องสำคัญเพื่อความสมดุลของธรรมชาติและระบบนิเวศเริ่มต้นจากตัวเราเองไปจนถึงคนรอบข้างทั้งที่บ้านและที่ทำงานซึ่งทุกคนจำเป็นต้องให้ความร่วมมือและช่วยกันปฏิบัติตามมาตรการอย่างจริงจังและเคร่งครัดการบริโภคพลังงานของประชาชนมีอัตราสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างไม่มีขีดจำกัดในระยะ 20 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2535 – 2555) การใช้พลังงานของประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยร้อยละ 4.7 ต่อปีจนปัจจุบันมีการใช้พลังงานเป็น 2.5 เท่าของปี 2535 ซึ่งเป็นการเติบโตที่ควบคู่กับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจซึ่งมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 4.8 ต่อปีโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้พลังงานในภาคอุตสาหกรรมการผลิตและอาคารธุรกิจนั้นสูงกว่าอัตราการเติบโตของ GDP มากหรือเพิ่มเป็น 3.0 และ 3.7 เท่าตามลำดับเมื่อเทียบกับปี 2535 (แจ่มนิดาคณานันท์, 2555) จากนโยบายพลังงานตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในยุทธศาสตร์ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับการยกระดับขีดความสามารถในการรองรับและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อให้สังคมมีภูมิคุ้มกัน มุ่งพัฒนาองค์ความรู้และเครื่องมือในการบริหารจัดการเพื่อรองรับความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงพัฒนาศักยภาพชุมชนให้พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การอนุรักษ์พลังงานของประเทศ โดยเฉพาะด้านการพัฒนาบุคลากร เพื่อเพิ่มจำนวนและคุณภาพของบุคลากรให้เพียงพอในการนำไปสู่เป้าหมายของแผนอนุรักษ์พลังงานไปสู่การปฏิบัติ การนำอาจารย์และนักศึกษาที่มีพื้นฐานทางวิศวกรรมไฟฟ้า จัดฝึกอบรมด้านพลังงานและการบริหารจัดการด้านพลังงาน และคัดเลือกผู้ที่มีศักยภาพ มาจัดตั้งทีมเทคนิค เพื่อเข้าไปตรวจสอบการใช้พลังงานเบื้องต้นและให้คำแนะนำปรึกษากับโรงงานหรือสถานประกอบการให้เกิดความรู้ด้านการอนุรักษ์และการใช้พลังงานหมุนเวียน บูรณการอยู่ในหลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาไฟฟ้าอุตสาหกรรม ตลอดจนส่งเสริมการเรียนการสอน และห้องปฏิบัติการด้านการอนุรักษ์พลังงาน และพลังงานหมุนเวียนในระดับอุดมศึกษา โดยจะมีการใช้พลังงานหลายรูปแบบเช่น ระบบปรับอากาศ ระบบแสงสว่าง ระบบส่งจ่ายน้ำหรือการใช้อุปกรณ์ต่างๆ แต่จะใช้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับลักษณะของกิจกรรมภายในแต่ละอาคาร โดยผู้ใช้อาคารทุกคนควรจะร่วมมือกันประหยัดการใช้พลังงานและใช้อย่างมีประสิทธิภาพ สถานที่ทำงานทุกแห่งจะประหยัดพลังงานได้ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกคนที่เข้ามาใช้อาคารเจ้าของกิจการหรือผู้บริหารระดับสูงควรให้การสนับสนุนทุกคนควรตระหนักและมีส่วนร่วมกำหนดเป้าหมายอย่างชัดเจนและความเป็นไปได้ดำเนินการอย่างจริงจังประเมินผลแก้ไขปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ จากที่กล่าวมาข้างต้นแสดงให้เห็นว่าพลังงานมีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวันเป็นอบ่างมาก ดังนั้นภายในองค์กรทุกคนควรตระหนักและมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายการประหยัดพลังงานอย่างชัดเจน ด้วยเหตุผลดังกล่าวผู้วิจัยจึงมีความสนใจศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการประหยัดพลังงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ได้แก่ เรื่องของความรู้ ทัศนคติ และการรับรู้เกี่ยวกับการประหยัดพลังงาน ข้อค้นพบที่ได้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการนำไปใช้เป็นแนวทางสำหรับวางแผนในการพัฒนาและปรับปรุงเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการประหยัดพลังงานไฟฟ้าภายในองค์กรมีส่วนร่วม รวมไปถึงการนำข้อมูลสารสนเทศที่ได้จากการวิจัยไปเสนอต่อมหาวิทยาลัยเพื่อกำหนดนโยบายและมาตรการการประหยัดพลังงานภายในองค์กรสืบต่อไป
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
6.1 เพื่อสนับสนุนให้เกิดการใช้เทคนิคการลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้าด้วยวิธีการบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าภายในองค์กรในระยะยาวได้ด้วยตัวเอง ซึ่งสามารถนำมาตรวจวัดและกำหนดแผนนโยบายสำหรับการใช้พลังงานไฟฟ้าในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 6.2 เพื่อสร้างแอปพลิเคชั่นบนอุปกรณ์พกพา เช่น โทรศัพท์มือถือหรือแทปเลต ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลการใช้พลังงานของอาคารที่ติดตั้งระบบบริหารจัดการการใช้พลังงาน รับการแจ้งเตือนเมื่อมีการใช้พลังงานถึงค่าที่กำหนดไว้ และสามารถควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ในอาคาร เช่น เปิด-ปิด อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อประหยัดพลังงานและเพิ่มความตระหนักรู้ให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าได้ 6.3 เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ได้อย่างถูกต้องเป็นระบบแบบอย่างแก่องค์กรภายนอกวิสาหกิจอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม 6.4 เพื่อสร้างจิตสำนึกและทัศนคติที่ดีต่อการประหยัดพลังงานไฟฟ้าให้เกิดขึ้นโดยมุ่งให้ทุกคนภายในองค์กรมีส่วนร่วม
ขอบเขตของโครงการ :
งานวิจัยนี้จะสนับสนุนให้เกิดการใช้เทคนิคการลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้าด้วยวิธีการบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าภายในองค์กรในระยะยาวได้ด้วยตัวเอง โดยจะมีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพฤติกรรมการใช้พลังงานและการบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ในองค์ประกอบ 3 ด้าน ได้แก่ ระบบปรับอากาศ ระบบแสงสว่าง ระบบขนส่งภายในอาคาร
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
11.1 สามารถบริหารจัดการการใช้พลังงานในอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 11.2 สามารถเพิ่มความตระหนักรู้ให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าในการลดการใช้พลังงาน 11.3 สามารถศึกษาพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้ามาช่วยในการวิเคราะห์แนวทางการส่งเสริมการลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้ในอนาคต 11.4 สามารถใช้ระบบที่พัฒนาขึ้นสร้างความตระหนักรู้ให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าในการลดการใช้พลังงานซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
การวิเคราะห์การใช้พลังงานภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เริ่มจากดำเนินการตรวจวัดการใช้พลังงานในอาคารต่างๆ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ตามแนวทางทั้งหมดที่ได้กล่าวมาแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการนำข้อมูลทั้งหมดทั้งที่ได้จากการตรวจวัด และข้อมูลที่รวบรวมได้ในช่วงการเตรียมความพร้อมเพื่อตรวจวัดมาวิเคราะห์ เพื่อให้เข้าใจความสัมพันธ์ของปริมาณพลังงานและการใช้งานไฟฟ้ามากขึ้น ให้ทราบถึงปริมาณพลังงานที่ในแต่ละกิจกรรมภายในอาคาร ประสิทธิภาพการใช้พลังงานของแต่ละขั้นตอนของกิจกรรมภายในอาคารต่างๆ ซึ่งการวิเคราะห์ทั้งหมดจะนำไปสู่แนวทางและมาตรการการอนุรักษ์พลังงานการทำความเข้าใจในภาพรวมการใช้พลังงานและกิจกรรมภายในอาคารของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์มี วัตถุประสงค์เพื่อที่จะได้ทราบว่ากิจกรรมภายในอาคารของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ใดที่มีแนวโน้มที่จะเกิดการสิ้นเปลืองพลังงาน หรือขั้นตอนไหนที่กำลังจะเกิดปัญหาอุปสรรคต่อกำลังการจ่ายพลังงานไฟฟ้า เพื่อเป็นการตีกรอบและชี้ให้เห็นได้ว่าจุดหรือประเด็นที่น่าสนใจควรสืบค้น ต่อไปคือจุดใด ทำให้สามารถกำหนดเป้าหมายที่จะวิเคราะห์ให้ละเอียดเป็นพิเศษได้ - แผนภูมิการใช้พลังงานรวมรายเดือน แผนภูมินี้จะทำให้เห็นภาพการใช้พลังงานรวมทุกชนิดที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ใช้ในแต่ละเดือนว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร และมีความผิดปกติจากเดือนเดียวกันของปีก่อนๆ หรือไม่ ถ้าสูงขึ้นกว่าปีก่อนๆ ควรหาสาเหตุว่าเกิดจากอะไร ถ้าเกิดจากปริมาณการผลิตที่มากขึ้นกว่าเดือนเดียวกันในปีก่อนก็ไม่เป็นปัญหา แต่ถ้าผลผลิตเท่ากันหรือน้อยกว่าปีก่อนจะต้องไปตรวจสอบการใช้พลังงานไฟฟ้าว่าผิดปกติเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งจะต้องไปหาสาเหตุในรายละเอียดของอุปกรณ์ ที่ใช้พลังงานั้นๆ - แผนภูมิค่าใช้จ่ายพลังงานรวมรายเดือน ค่าใช้จ่ายพลังงานไฟฟ้ารายเดือนอาจมีการเปลี่ยนแปลงจากพลังงานที่ใช้ ถ้าราคาพลังงานชนิดใดชนิดหนึ่งมีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นถ้าเส้นกราฟของเดือนใดผิดปกติจากการใช้พลังงานของเดือนนั้นให้ไปตรวจ สอบราคาพลังงานแต่ละชนิดว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ - แผนภูมิดัชนีการใช้พลังงานรวมรายเดือน แผนภูมินี้จะทำให้ภาพต้นทุนพลังงานต่อผลผลิตที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือนว่า มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร และมีความผิดปกติจากเดือนเดียวกันของปีก่อนๆ หรือไม่ นอกจากนั้นโดยทั่วไปจะใช้เป็นเป้าหมายว่าในแต่ละเดือนลดลงจากค่าเฉลี่ยของปี ก่อนๆ เท่าใด ถ้าไม่ได้ตามเป้าหมายจะต้องหาสาเหตุและแก้ไขปัญหาต่อไป ซึ่งดัชนีการใช้พลังงานอาจใช้ปริมาณพลังงานที่ใช้หารด้วยปริมาณ หรือน้ำหนักผลผลิตหรือวัตถุดิบ หรืออาจใช้มูลค่าการผลผลิต - แผนภูมิดัชนีค่าใช้จ่ายพลังงานรวมรายเดือน แผนภูมินี้จะสัมพันธ์กับแผนภูมิดัชนีการใช้พลังงานรมรายเดือน นอกเสียจากราคาพลังงานมีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นแผนภูมินี้จะนำไปใช้เพื่อหาค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนพลังงานของแต่ละเดือนในภาพรวมได้ เพื่อนำไปใช้เป็นส่วนหนึ่งในการปรับราคาผลผลิตที่จำหน่าย - แผนภูมิความสัมพันธ์ระหว่างการใช้พลังงานรวมกับปริมาณการผลิต แผนภูมินี้จะทำให้เห็นภาพความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานรวมที่ใช้กับปริมาณ การผลิตหรือวัตถุดิบหรือราคาผลิตภัณฑ์ โดยถ้ามีความสัมพันธ์เป็นอย่างดี ค่า R2 ควร จะมากกว่า 0.8 และแนวโน้มการใช้พลังงานจะต้องสูงขึ้นตามปริมาณการผลิตที่มากขึ้น เนื่องจากมีการผลิตมากก็จะต้องใช้พลังงานมาก ในกรณีที่สมการที่ได้มีค่า R2 มากกว่า 0.8 แสดงว่าวิธีการวิเคราะห์ดัชนีการใช้พลังงานที่ได้ถูกต้องและมีการควบคุมการ ใช้พลังงานได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นสมการที่ได้สามารถนำไปทำนายการใช้พลังงานรวมที่ปริมาณการผลิต ต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ แต่ถ้าค่า R2 ต่ำ จะต้องไปตรวจสอบว่าผลผลิตที่นำมาใช้วิเคราะห์ถูกต้องหรือไม่ หรือมีการใช้พลังงานหรือการผลิตที่ไม่สม่ำเสมอหรือไม่ นอกจากนั้นเมื่อลากเส้นแนวโน้มลงมาตัดกับแกนตั้งของแผนภูมิ จะได้ค่าปริมาณการใช้พลังงานคงที่ (Fixed standing consumption) หมายความว่าไม่มีการผลิตเลยก็จะมีการใช้พลังงานปริมาณเท่านั้น นอกจากนั้นถ้าเป็นกราฟที่มีความชันมากจะบอกให้ทราบว่าเมื่อมีการผลิตมากขึ้น เพียงเล็กน้อย - แผนภูมิความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีการใช้พลังงานรวมกับปริมาณการผลิต แผนภูมินี้จะทำให้เห็นภาพความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีการใช้พลังงานรวมกับ ปริมาณการผลิตหรือวัตถุดิบ หรือราคาผลิตภัณฑ์ โดยถ้ามีความสัมพันธ์อย่างดี R2 ควรจะมากกว่า 0.8 และแนวโน้มดัชนีการใช้พลังงานจะต้องลดลงตามปริมาณการผลิตที่สูงขึ้น เนื่องจากสัดส่วนระหว่างพลังงานคงที่ (Fixed consumption) กับพลังงานแปรเปลี่ยน (Variable of marginal consumption) ลดต่ำลงตามปริมาณการผลิตที่สูงขึ้น นอกจากนั้นสมการที่ได้สามารถนำไปทำนายดัชนีการใช้พลังงานรวมที่ปริมาณการ ผลิตต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ ถ้า R2 มากกว่า 0.8 แต่ถ้า R2 มีค่าต่ำจะต้องไปตรวจสอบว่าปริมาณผลผลิตและพลังงานที่นำมาวิเคราะห์ถูกต้อง หรือไม่ นอกจากนั้นถ้าเส้นกราฟมีความชันมากจะบอกให้ทราบว่าเมื่อมีการเพิ่มผลผลิต เพียงเล็กน้อยจะส่งผลให้ดัชนีการใช้พลังงานลดลงได้มาก เนื่องจากภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์จะมีอาคารและอุปกรณ์ไฟฟ้าอยู่เป็นจำนวนมาก การตรวจสอบทุกอุปกรณ์หรือทุกกระบวนการจะใช้เวลามาก เสียค่าใช้จ่ายมากและมักพบศักยภาพเพียงบางจุดเท่านั้น ดังนั้นผู้ตรวจวิเคราะห์ควรเพ่งเล็งที่จะปรับปรุงส่วนที่สำคัญมากที่สุดก่อน แล้วค่อยขยายออกไปส่วนที่รองๆ ลงไป ทั้งนี้เราจะรู้ได้อย่างไรว่ากระบวนการผลิตใดที่ควรตั้งเป้าหมายที่จะพิจารณาก่อน จึงมีการแนะนำแนวทางหรือประเด็นที่พอจะบ่งชี้ได้ดังนี้ 1. พิจารณาจากข้อมูลค่าใช้จ่ายพลังงานของโรงงานที่ทำการพิจารณาในข้อที่ 1 และข้อมูลจากข้อ 2 ที่ได้จัดทำ Energy Flow Diagram ซึ่งพอจะบอกเราได้ว่ากระบวนการใดที่มีการใช้พลังงานมากและเป็นประเภทใด ทั้งนี้เพื่อให้การกำหนดเป้าหมายที่ได้ถูกต้องมากที่สุด จึงควรพิจารณาที่สัดส่วน การใช้พลังงาน และค่าใช้จ่ายพลังงาน 2. พิจารณาจากกระบวนการที่มีการสูญเสียมากๆ ทั้งการสูญเสียในส่วนของวัตถุดิบและการสูญเสียในรูปพลังงาน 3. พิจารณาจากปัญหาเกิดขึ้นในการผลิตที่ส่งผลต่อปริมาณและประสิทธิภาพการผลิต ซึ่งข้อมูลอาจได้มาจากการเดินสำรวจในโรงงาน หรือจากากรสอบถามจากฝ่ายผลิต รวมไปถึงการสอบถามจากพนักงานที่ควบคุมเครื่องจักรนั้นๆ ดังนั้นการกำหนดเป้าหมายที่จะวิเคราะห์กระบวนการผลิตและการใช้พลังงานอย่างละเอียดนั้นต้องทำการ วิเคราะห์หาสัดส่วนการใช้พลังงาน และสัดส่วนค่าใช้จ่ายพลังงานก่อนเพื่อใช้พิจารณาเปรียบเทียบกำหนดกระบวนการ เป้าหมายการวิเคราะห์หาสัดส่วนการใช้พลังงาน และค่าใช้จ่ายพลังงานอาจใช้เทคนิคการทำแผนภูมิของพาเรโต มาช่วยในการจัดทำสัดส่วนและเรียงลำดับการใช้พลังงาน มีวิธีและลำดับขั้นตอนดังนี้ 1. ทำการวิเคราะห์หาค่าพลังงานที่ใช้ของแต่ละอุปกรณ์ โดยแบ่งตามประเภทพลังงาน เช่น พลังงานไฟฟ้า นำค่ากำลังไฟฟ้าของแต่ละอุปกรณ์คูณด้วยจำนวนอุปกรณ์ประเภทเดียวกัน แล้วคูณด้วยระยะเวลาเป็นชั่วโมงทำงานในหนึ่งปี 2. ทำการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายพลังงานโดยการคูณราคาพลังงานต่อหน่วยกับค่าพลังงานที่ใช้ทำการจัดกลุ่มประเภทเครื่องจักร 3. เรียงลำดับจากน้อยไปมาก 4. คำนวณหาร้อยละของการใช้พลังงานและร้อยละสะสม 5. เขียนกราฟแท่งระหว่างประเภทกลุ่มเครื่องจักรกับค่าพลังงานที่ใช้และค่าใช้จ่ายพลังงาน การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้พลังงานไฟฟ้า ผู้วิจัยนำแบบสอบถามที่ได้รับทั้งหมดมาตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกฉบับและนำมาวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้คอมพิวเตอร์ในการคำนวณค่าสถิติด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์ โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1) แสดงการกระจายของกลุ่มตัวอย่างตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ รวมถึงการรับรู้ข้อมูล ทัศนคติ ความรู้ และพฤติกรรมการประหยัดพลังงาน วิเคราะห์โดยใช้สถิติค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) การตรวจสอบสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระทุกตัว ตามเงื่อนไขที่วางเกณฑ์ไว้ในข้อตกลงเบื้องต้นของการวิเคราะห์ด้วยรูปสมการถดถอยเชิงเส้น (Linear Regression Analysis) โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเชิงปริมาณ 2 ตัว ได้แก่ ลักษณะทางประชากรศาสตร์ การรับรู้ข้อมูล ทัศนคติ ความรู้ และพฤติกรรมการประหยัดพลังงานไฟฟ้า 3) ตรวจสอบความเหมาะสมตัวแบบของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการประหยัดพลังงานของมหาวิทยาลัยโดยใช้ค่า VIF (variance inflation factor) มีค่าไม่เกิน 5 ค่า Tolerance มีค่าไม่ต่ากว่า 0.2 และค่า Eigen Value มีค่าไม่เกิน 10.0 เพื่อให้ตัวแปรอิสระทุกตัวไม่มีความสัมพันธ์กัน และไม่เกิดความสัมพันธ์เชิงพหุระหว่างปัจจัย (multicolinearity) 4) การวิเคราะห์ตัวแบบของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการประหยัดพลังงานของมหาวิทยาลัยโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwisemultiple regression analysis) โดยนาตัวแปรเข้าไปพยากรณ์ในตัวแบบ (model) ทีละตัว 5) สร้างตัวแบบของปัจจัยอิสระทุกตัวที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการประหยัดพลังงาน ของมหาวิทยาลัยโดยใช้สมการ Y = a+b1x1+b2x2+b3x3+… a = ค่าคงที่ของสมการพยากรณ์ b1, b2, b3 = ค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยของตัวแปรพยาการณ์ x1, x2, x3, x4, x5 = ตัวแปรพยาการณ์
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
คณะผู้วิจัยวางแผนถ่ายทอดเทคโนโลยีรวมทั้งผลการวิจัยโดยส่งผลงานเผยแพร่ไป ศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ หอสมุดแห่งชาติ และแหล่งวิทยบริการสารสนเทศแหล่งต่างๆ เผยแพร่ความรู้ด้านการบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ได้อย่างถูกต้องเป็นแบบอย่างแก่องค์กรภายนอกวิสาหกิจอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งเผยแพร่ในวารสารวิชาการอย่างน้อย 1 ฉบับ และเว็บไซต์ของสถาบัน
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่
รายชื่อ
ประเภทนักวิจัย
บทบาทหน้าที่
สัดส่วน
1
นายเทิดพันธุ์ ชูกร
นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย
หัวหน้าโครงการวิจัย
100%
สถาบันวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130
หมายเลขโทรศัพท์
056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย
website
rdi.nsru.ac.th
Smart Rdi Nsru