รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
ความสัมพันธ์ระหว่างการจ่ายเงินปันผลกับกำไรของสหกรณ์ออมทรัพย์ในเขตพื้นที่ สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 6
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
The relationship between dividends and earning of the Saving Cooperative In the area of Cooperative Auditing Region 6
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะวิทยาการจัดการ
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
1 พฤศจิกายน 2559
วันสิ้นสุดโครงการ :
30 กันยายน 2560
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยเชิงปริมาณ
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         แนวทางในการปฏิรูปประเทศ เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน เป็นเป้าหมายหลักของรัฐบาล ด้วยเหตุนี้ ทำให้ระบบสหกรณ์เป็นทางเลือกหนึ่งที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อสร้างพลังความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในกลุ่มประชาชนหรือกลุ่มอาชีพ เป็นการเสริมสร้างพลังการต่อรองกับคนภายนอก แต่เนื่องจากโครงสร้างทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของไทยนั้น มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และการปฏิบัติงานที่ด้อยประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่และหน่วยงานภาครัฐ ทำให้ระบบสหกรณ์ เกิดช่องโหว่ ทำให้เกิดการทุจริตคอรัปชั่นกันอย่างง่ายดาย จากองค์กรที่มีอุดมการณ์ในการช่วยเหลือกันระหว่างคนภายในกลุ่มกลายเป็นแหล่งแสวงหารายได้ของกลุ่มบุคคลที่มีพฤติกรรมการทุจริต ซึ่งจะเห็นได้จากข่าวการฉ้อโกงประชาชนของผู้บริหารสหกรณ์ โดยเป็นคดีที่โด่งดังและสร้างความกังวลใจให้กับสังคมและมวลหมู่สมาชิกของสหกรณ์มากที่สุด คือคดีของสหกรณ์เครดิตยูเนียนคลองจั่น ที่เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2556 โดยเกิดจากเหตุการณ์ที่สมาชิกของสหกรณ์เครดิตยูเนียนคลองจั่น จำกัด จำนวนมาก ไม่สามารถเบิกถอนเงินออกจากบัญชีเงินฝากของตัวเองได้ เนื่องจาก พบว่าเกิดจากการทุจริตของผู้บริหารในระดับสูงของสหกรณ์ร่วมกับพรรคพวกได้เบิกจ่ายเงินของสหกรณ์อันเป็นเท็จ และตกแต่งบัญชีเพื่อปกปิดการทุจริตดังกล่าว (ไทยรัฐออนไลน์, 2558) สหกรณ์ออมทรัพย์เป็นสถาบันการเงินที่ส่งเสริมให้บุคคลที่เป็นสมาชิกรู้จักการประหยัดรู้จักการออมทรัพย์ และสามารถบริการเงินกู้ให้แก่สมาชิกเพื่อนำไปใช้จ่ายเมื่อเกิดความจำเป็นได้ โดยยึดหลักการช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นการร่วมกันแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมอีกทางหนึ่ง สำหรับเงินปันคือผลตอบแทนจากการลงทุนหรือการออมของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วผลตอบแทนที่ได้จากการออมกับสหกรณ์นั้น จะมากกว่าการออมในสถาบันการเงินรูปแบบอื่นซึ่งการจ่ายเงินปันผลของสหกรณ์นั้น จะจ่ายได้มากน้อยเพียงใดนั้น มีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของผลการดำเนินงานหรือกำไรของสหกรณ์ อย่างไรก็ตามสมาชิกสหกรณ์ส่วนใหญ่ต่างมีความคาดหวังที่จะได้ผลตอบแทนจากเงินปันผลที่จะได้รับจากสหกรณ์ ซึ่งผลตอบแทนนั้นจะได้รับน้อยหรือมากนั้นส่วนหนึ่งจะขึ้นอยู่กับความสามารถในการทำกำไรของสหกรณ์นั่นเอง จากความสำคัญและปัญหาของสหกรณ์ออมทรัพย์ที่กล่าวข้างต้น ทำให้ผู้วิจัยสนใจศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเงินปันผลและกำไรของสหกรณ์ออมทรัพย์ เพื่อพิจารณาถึงประสิทธิภาพและผลการดำเนินงานของสหกรณ์ ในการสร้างความเชื่อมั่นและความพึงพอใจให้แก่สมาชิกสหกรณ์ และ เพื่อให้เกิดแนวทางในเรื่องของการจ่ายเงินปันผลของสหกรณ์ ให้สอดคล้องกับแนวคิดของสหกรณ์และความคาดหวังของสมาชิกสหกรณ์ อีกทั้งจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อภาพรวมของเศรษฐกิจและสังคมของไทยในอนาคต
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
จากความเป็นมาและความสำคัญที่กล่าวข้างต้นผู้วิจัยได้นำมากำหนดเป็นวัตถุประสงค์ของ การวิจัยไว้ ดังนี้ 1. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนสภาพคล่องกับอัตราการจ่ายเงินปันผลของสหกรณ์ออมทรัพย์ในเขตพื้นที่สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 6 2. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราความสามารถในการทำกำไรกับอัตราการจ่ายเงินปันผล ของสหกรณ์ออมทรัพย์ในเขตพื้นที่สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 6 3. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตรากำไรสุทธิกับอัตราการจ่ายเงินปันผลของสหกรณ์ออม ทรัพย์ในเขตพื้นที่สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 6
ขอบเขตของโครงการ :
ขอบเขตด้านประชากร ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้กำหนดประชากรและตัวอย่างคือสหกรณ์ออมทรัพย์ในเขตพื้นที่สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 6 ประกอบด้วย 1) สหกรณ์ออมทรัพย์ในเขตจังหวัดพิษณุโลก 2) สหกรณ์ออมทรัพย์ในเขตจังหวัดอุตรดิตถ์3) สหกรณ์ออมทรัพย์ในเขตจังหวัดพิจิตร4) สหกรณ์ออมทรัพย์ในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์5) สหกรณ์ออมทรัพย์ในเขตจังหวัดนครสวรรค์ 6) สหกรณ์ออมทรัพย์ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร 7) สหกรณ์ออมทรัพย์ในจังหวัดตาก8) สหกรณ์ออมทรัพย์ในจังหวัดสหกรณ์สุโขทัย 9) สหกรณ์ออมทรัพย์ในจังหวัดแพร่ และ10) สหกรณ์ออมทรัพย์ในจังหวัดน่าน โดยมีสหกรณ์ออมทรัพย์รวมทั้งสิ้นจำนวน 97 สหกรณ์ ตัวอย่างที่ใช้ ผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจงเลือก (purposive sampling) ตัวอย่างจากกรอบของประชากร โดยเลือกใช้ข้อมูลงบการเงินและรายงานทางการของสหกรณ์ที่เป็นกรอบของประชากร ที่มีข้อมูลที่ครบถ้วนสามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินได้อย่างครอบคลุมตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด ได้ข้อมูลงบการเงินที่มีความครบถ้วนสมบูรณ์จากสหกรณ์ออมทรัพย์รวมทั้งสิ้น 70 สหกรณ์ โดยใช้ข้อมูลของปีบัญชี 2558 ขอบเขตด้านเนื้อหา การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยทำการศึกษาความสัมพันธ์ของอัตราส่วนทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ ดังนี้ 1) อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน 2) อัตราลูกหนี้ระยะสั้นที่ชำระตามกำหนด 3) อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น 4) อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ 5) อัตรากำไรสุทธิ และ 6) อัตราการจ่ายเงินปันของสหกรณ์ โดยใช้ข้อมูลงบการเงินและรายงานทางการเงินของปีบัญชี 2558 ขอบเขตด้านเวลาในการศึกษา ผู้วิจัยได้เริ่มศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรทางการเงิน โดยสรุปกรอบระยะเวลาในการศึกษาตั้งแต่เดือนมีนาคม 2559 – เดือนกันยายน 256
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
ผลการวิจัยครั้งนี้ จะเป็นองค์ความรู้ในเรื่องความสัมพันธ์ของความสามารถในการทำกำไรซึ่งจะส่งผลต่อการจ่ายเงินปันผลแก่สมาชิกของสหกรณ์ออมทรัพย์ นอกจากนี้ ธุรกิจในลักษณะของสถาบันการเงิน สามารถนำองค์ความรู้จากงานวิจัยนี้ ไปประยุกต์ใช้เพื่อเป็นข้อมูลในเชิงเศรษฐกิจ เพื่อใช้การตัดสินใจของผู้บริหารในธุรกิจที่ดำเนินงานในรูปแบบของสถาบันทางการเงิน และจะเป็นประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้เสียของสหกรณ์ออมทรัพย์ สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจในฐานะผู้มีส่วนได้เสียของสหกรณ์อีกด้วย สำหรับในส่วนของคณะกรรมการของสหกรณ์นั้น สามารถนำไปพิจารณาใช้ในการวางแผน กำหนดนโยบายทั้งเรื่องของสภาพคล่องของสหกรณ์ ความสามารถในการทำกำไร เพื่อที่จะดำเนินการบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์แก่ผู้มีส่วนได้เสียของสหกรณ์ได้ทุกกลุ่มเป็นอย่างดี
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 นางสาวปราณี ตปนียวรวงศ์ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 100%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย