รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
สื่อประชาสัมพันธ์ที่มีผลต่อการรับรู้ข่าวสารของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
Public Relations Media Effects on the Information Perceptions of Nakhon Sawan Rajabhat University Personal.
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะวิทยาการจัดการ
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
19 พฤศจิกายน 2556
วันสิ้นสุดโครงการ :
18 พฤศจิกายน 2557
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยประยุกต์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         องค์การที่มีความโดดเด่นทางสังคม หรือหน่วยงานต่าง ๆ นั้น ต้องอาศัยความร่วมมือของบุคลากร ในหน่วยงานนั้น ๆ ประกอบกับมีวิธีการหรือการบริหารที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้หน่วยงานหรือองค์การนั้น ๆ ประสบความสำเร็จ และได้การยอมรับจากทางสังคม การสื่อสารเป็นหัวใจของการทำความเข้าใจระหว่างกันของมนุษย์ในสังคม มนุษย์จะทำความเข้าใจกันได้ต้องอาศัยการสื่อสารเพื่อให้ข้อมูล ถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความเห็น และประสบการณ์ซึ่งกันและกัน เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข อีกทั้งการสื่อสารยังช่วยให้มนุษย์พัฒนาปัญญาและความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ได้มีการให้นิยามและความหมายของคำว่า “การสื่อสาร (communication)” ไว้อย่างหลากหลาย ดังนั้น การสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์ในองค์การ จึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาองค์การ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์เป็นสถาบันการศึกษาของชาติมุ่งผลิตบัณฑิตเพื่อรับใช้ ประเทศชาติโดยยึดมั่นในปณิธานเพื่อพัฒนาความเป็?นเลิศทางวิชาการ และมีปรัชญาเพื่อเป็นมหาวิทยาลัยของชาวบ้าน นำวิชาการสู่ชุมชน มีวิสัยทัศน์เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำเพื่อพัฒนาท้องถิ่นควบคู่?กับการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของบัณฑิตให้?มีความรับผิดชอบต่?อสังคมไทย การติดต่อสื่อสารสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างบุคลากรกับมหาวิทยาลัย จึงมีความสำคัญและเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องคำนึงถึง เพื่อให้บุคลากรได้รับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับนโยบายการดำเนินการต่าง ๆ และกิจกรรมของมหาวิทยาลัย ทั้งเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสถาบันและกลุ่มเป้าหมายในหน่วยงานตามวิธีการประชาสัมพันธ์ เพื่อความสามัคคีของสมาชิกในองค์การ ซึ่งมหาวิทยาลัยได้ใช้สื่อประชาสัมพันธ์เป็นช่องทางในการเผยแพร่ข่าวสาร กิจกรรมต่าง ๆ หลายสื่อด้วยกัน ได้แก่ สื่อเสียงตามสาย สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุกระจายเสียง สื่อจดหมายข่าว สื่อโทรทัศน์ภายใน และทางเว็บไซด์ของมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ คณะผู้จัดทำวิจัย มีความสนใจศึกษาสื่อประชาสัมพันธ์ที่มีผลต่อการรับรู้ข่าวสารของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เพื่อศึกษาว่าสื่อประชาสัมพันธ์ภายในแต่ละประเภทที่จัดทำขึ้นมานั้นมีประสิทธิผลต่อการรับรู้ข่าวสารหรือไม่ เพื่อจะเป็นประโยชน์ในการวางแผนการใช้สื่อประชาสัมพันธ์ให้มีประสิทธิภาพต่อไป
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อประชาสัมพันธ์ที่มีผลต่อการรับรู้ข่าวสารของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 2. เพื่อศึกษารูปแบบการนำเสนอสื่อประชาสัมพันธ์ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ที่มีผลต่อการรับรู้ข่าวสารของบุคลากร
ขอบเขตของโครงการ :
1.ขอบเขตเนื้อหามีขอบเขตตามวัตถุประสงค์การวิจัย 1.1บริบทของสื่อประชาสัมพันธ์ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 1.2 การรับรู้ข่าวสารของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 2. ขอบเขตประชากร บุคลากรในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 3. ขอบเขตด้านเวลา เป็นการศึกษาในช่วงเวลา เดือนมกราคม – ธันวาคม 2557
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
ได้รายงานการวิจัยและแนวคิด แนวทางการขยายผลการวิจัยเพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้สนใจจะศึกษาเกี่ยวกับสื่อประชาสัมพันธ์ภายในที่มีผลต่อการรับรู้ข่าวสารของบุคลากรภายในองค์การต่อไป
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         12.1 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกรณีศึกษา ( Case study ) วิธีวิทยาการวิจัยจะดำเนินการวิจัย โดยวิเคราะห์เอกสารควบคู่กับการศึกษารายกรณีตามระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อให้ได้ข้อมูลตามประเด็นการวิจัย และนำข้อมูลมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ตอบคำถามการวิจัย เสนอผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์การวิจัย โดยมีขั้นตอนที่สำคัญคือ 12.2 การทำความรู้จักและการทำความเข้าใจกับบุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์เกี่ยวกับโครงการวิจัย 12.3 ศึกษาเอกสารและรายงานต่าง ๆ ในการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์กรณีการใช้เป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามประชากรและกลุ่?มตัวอย่?าง โดยใช้วิธีคำนวณของ ยามาเน่ จากบุคลากรทั้งหมดของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 12.4 การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลจากกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ ตาม ประเด็นการวิจัยและเรียบเรียงเสนอเป็นรายงานโดยวิธีพรรณนา (description) และพรรณนาวิเคราะห์ (analytical description) และคิดค่าเฉลี่ยร้อยละ ค่?าคะแนนเฉลี่ย ( ?) และค่?าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน 12.5 ดำเนินการสังเคราะห์ข้อมูลและตรวจสอบข้อมูลเพื่อการสรุปผลการวิจัย 12.6 ดำเนินการวิจัยต่อจนสามารถตอบวัตถุประสงค์การวิจัยได้ครบสมบูรณ์ 12.7 จัดทำรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ 12.8 เผยแพร่ผลงานวิจัยขยายเครือข่ายการวิจัยและพัฒนาต่อสาธารณชนเพื่อให้มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้และพัฒนางานต่อไป สถานที่ทำการวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์วชิรา รินทร์ศรี นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 40%
2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ลักษมี งามมีศรี นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 30%
3 นางสาวภัทราพร รินทร์ศรี นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 30%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย