รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
เตียงลมอัจฉริยะด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ป้องกันแผลกดทับสำหรับผู้ป่วยนอนติดเตียงในการดูแลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลทับกฤช อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
A genius airbed with solar energy for prevent pressure sore in bedridden patients at tambon tubkrich health promoting hospital, Amphoe Chumsaeng, Nakhon Sawan
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
1 ตุลาคม 2558
วันสิ้นสุดโครงการ :
30 กันยายน 2559
ประเภทของการวิจัย :
การพัฒนาทดลอง
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         จากประชากรประเทศไทย 65 ล้านคน ในจำนวนนี้มีผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง ผู้พิการ และผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ต้องได้รับการดูแลและรักษาพยาบาลต่อเนื่องราว 1.7 ล้านคน ด้วยตัวเลขนี้แม้ว่าประเทศไทยจะมีความก้าวหน้าในระบบรักษาพยาบาลและเป็นที่ยอมรับจากนานาประเทศอย่างมากแต่ด้วยบุคลากรทางการแพทย์และทรัพยากรด้านสุขภาพที่มีอยู่อย่างจำกัด จึงต้องมีการจัดรูปแบบการดูแลผู้ป่วยเหล่านี้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดการดูแลที่ทั่วถึง (ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน, 2558) ปัจจุบันสังคมเราเริ่มจะเป็นสังคมผู้สูงอายุมากขึ้น สาเหตุเนื่องมาจากคนไทยอายุยืนขึ้น จะส่งผลให้เราจะมีคนไข้ที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ นอนติดเตียงมากขึ้น รวมถึงคนไข้ที่มีอุบัติเหตุต่างๆ ที่ขยับช่วงล่างไม่ได้ด้วย คนไข้เหล่านี้ก็มักจะมาโรงพยาบาลด้วยอาการ ตั้งแต่ แผลกดทับบ้าง ติดเชื้อทางเดินอาหารบ้าง ติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะบ้าง คนไข้เหล่านี้ ก็ต้องมี "คนดูแล" เพราะต้องทำให้แทบทุกอย่าง ป้อนข้าวป้อนน้ำ อาบน้ำ เช็ดอุจจาระ ปัสสาวะ เปลี่ยนแพมเพิร์ส สาเหตุการเกิดแผลกดทับ คนไข้นอนติดเตียง พลิกตัวเองไม่ได้ จะเกิดเกิดแผลกดทับ เป็นแผลแรกก็แค่ผิวลอก เป็นนานๆ ก็ถึงกล้ามเนื้อ ที่หนักกว่านั้นถึงกระดูก เมื่อไม่มีอะไรมาคลุมผิว ก็เกิดการติดเชื้อได้ง่าย วิธีแก้ก็คือ แค่พลิกตัวคนไข้ทุก 2 ชั่วโมง นอนหงาย ตะแคงซ้าย ตะแคงขวา นอนคว่ำ(ท่านี้ต้องระวังคนไข้อาจหายใจไม่ออกได้) การดูแลต้องคอยสังเกต บริเวณที่เป็นปุ่มกระดูก เช่น สะโพก กระดูกก้นกบ ตาตุ่ม ว่าเริ่มมีลักษณะแดงๆ เป็นแผล ผิวลอกหรือยัง ถ้าเริ่มมีให้รีบไป รพ.ใกล้บ้าน อย่าปล่อยให้ลามจนลึกถึกกระดูก จะรักษายากมาก การกินอาหารของคนไข้นอนติดเตียง ถ้าเราให้เค้านอนกินเกิดการสำลักแน่นอน หนักกว่านั้น คือสำลักแล้วเศษอาหารเข้าหลอดลม ถ้าชิ้นไม่ใหญ่มาก ก็อาจเกิดปอดอักเสบติดเชื้อ แต่ถ้าชิ้นใหญ่ คนไข้มีโอกาสหลอดลมถูกอุด ขาดอากาศหายใจได้เลย วิธีแก้คือ ก่อนกินจับคนไข้นั่งตัวตรง 90 องศา หรืออย่างน้อย ตรงที่สุด เท่าที่จะทำได้ หลังจากกินเสร็จ ก็ให้นั่งอยู่แบบนั้น ประมาณ 1-2 ชั่วโมง รอให้อาหารได้ย่อยก่อน ถ้ากินเสร็จแล้วนอนเลย อาหารในกระเพาะยังย่อยไม่ดี ก็มีโอกาสสำลักได้อยู่ดี การนอนติดเตียง ทางการแพทย์หมายถึงผู้ที่มีสุขภาพเสื่อมโทรม ต้องนอนอยู่ในเตียงตลอด เวลา อาจขยับตัวได้เพียงเล็กน้อย แต่จะช่วยเหลือตนเองอย่างอื่นๆไม่ได้ แม้แต่การขับถ่าย โดยอาจมีสาเหตุที่เกิดจากโรค จากการประสบอุบัติเหตุ จากการผ่าตัดใหญ่ โดยเฉพาะการผ่าตัดในผู้สูงอายุ (เช่น ผ่าตัดรักษากระดูกสะโพกหัก) หรือเมื่อมีอายุมาก ทั้งนี้ผู้ป่วยอาจยังมีการรู้สึกตัวปกติ, ผิดปกติบ้าง, หรือ ไม่รู้สึกตัว/โคม่า ก็ได้นอนติดเตียง เป็นภาวะที่จะก่อภาวะแทรกซ้อน (ผลข้างเคียง) รุนแรงหลายอย่าง ที่มักนำ ไปสู่การเสียชีวิต (ตาย) เช่น แผลกดทับ ภาวะขาดอาหารรุนแรง การติดเชื้อรุนแรงในระบบทาง เดินหายใจ และในระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น (ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์, 2558) จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น คณะผู้วิจัยจึงได้ศึกษาปัญหาของผู้ป่วยที่นอนติดเตียง และได้แก้ปัญหาที่จะพัฒนาเตียงลมอัจฉริยะด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ป้องกันแผลกดทับสำหรับผู้ป่วยนอนติดเตียงเพื่อใช้กับคนไข้ในการดูแลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทับกฤช อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ เตียงลมอัจฉริยะด้วยพลังงานแสงอาทิตย์นี้สามารถช่วยลดแผลกดทับของผู้ป่วยที่นอนติดเตียง โดยสามารถช่วยให้ผู้ป่วยสามารถขยับตัวได้ทุก 1 ชั่วโมง และช่วยในการพลิกตัวทางด้านซ้ายและขวาของผู้ป่วยนอนติดเตียงทุก 1 ชั่วโมงด้วยระบบอัตโนมัติ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดแผลกดทับกับผู้ป่วยนอนติดเตียงและเพิ่มความสะดวกสบายและลดงานให้กับผู้ดูแลผู้ป่วยในการดูแลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทับกฤช อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ อีกทั้งยังเป็นต้นแบบพร้อมขยายผลใช้ในการดูแลผู้ป่วยนอนติดเตียงของโรงพยาบาลอื่นๆต่อไป
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1. เพื่อออกแบบและสร้างเบาะลมอัจฉริยะสำหรับผู้ป่วยนอนติดเตียงด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ 2. เพื่อทดสอบอัตราการใช้พลังงานในการพลิกตัวของเบาะลมอัจฉริยะสำหรับผู้ป่วยนอนติด เตียงด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ 3. วิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของเบาะลมอัจฉริยะสำหรับผู้ป่วยนอนติดเตียงด้วย พลังงานแสงอาทิตย์
ขอบเขตของโครงการ :
ขอบเขตพื้นที่ : ณ ชุมชนในเขตจังหวัดนครสวรรค์ ขอบเขตเวลา : การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการทดสอบในช่วงเวลา 09.00 ถึง 16.30 น. : ทำการทดลองโดยมีผู้ป่วย 6 วัน กระแสตรง 3 ครั้ง และกระแสสลับ 3 ครั้ง : ทำการทดลองโดยที่ไม่มีผู้ป่วย 6 วัน กระแสตรง 3 ครั้ง และกระแสสลับ 3 ครั้ง ขอบเขตตัวแปรและเนื้อหา : เบาะลมลดแผลกดทับ - พื้นที่ของเบาะลม กว้าง 1 m ยาว 2 m : พลังงานแสงอาทิตย์ - แผงโซล่าเซลล์ขนาด 280 w - ความเข้มแสงอาทิตย์ - กระแสไฟฟ้าที่ชาร์ตประจุลงแบตเตอรี่ - แรงดันไฟฟ้าที่ชาร์ตประจุลงแบตเตอรี่ : มอเตอร์ปั้มลม - ปั้มลมของเบาะกลางขนาด 170 w 0.25 HP - อัตราการไหลของอากาศ 0.04 m3 /s - ปั้มลมของเบาะพลิกตัวขนาด 120 w 0.25 HP - อัตราการไหลของอากาศ 0.027 m3 /s - สายลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 mm
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
1.ได้เบาะลมอัจฉริยะสำหรับผู้ป่วยนอนติดเตียง ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ 2.ได้ผลการทดสอบประสิทธิภาพของการใช้พลังงานในการพลิกตัวของเบาะลมอัจฉริยะสำหรับผู้ป่วยนอนติดเตียง ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ 3.ได้ผลวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของเบาะลมอัจฉริยะสำหรับผู้ป่วยนอนติดเตียงด้วยพลังงานแสงอาทิตย์
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ถิรายุ ปิ่นทอง นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 100%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย