รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การพัฒนาศักยภาพผู้นำกองทุนสวัสดิการชุมชน ตำบลสระแก้ว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
19 พฤศจิกายน 2556
วันสิ้นสุดโครงการ :
18 พฤศจิกายน 2557
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยพื้นฐาน(ทฤษฎี)/บริสุทธิ์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเศรษฐกิจของโลกมีพลวัตสูง ความเจริญทางเทคโนโลยี เป็นส่วนหนึ่งในความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ประเทศไทยก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่หลีกหนีไม่พ้นกระแสโลกยุคโลกาภิวัฒน์ เพราะฉะนั้น หากเราไม่เร่งเสริมศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ โอกาสทางการค้าในเวทีโลกของเราก็จะก้าวไปสู่จุดเสี่ยง ปัจจัยสำคัญยิ่งซึ่งจะเป็นตัวตัดสินว่าประเทศเราจะเดินออกมาจากจุดเสี่ยงดังที่กล่าวมาแล้วได้หรือไม่นั้นก็คือ “ ทรัพยากรมนุษย์ ” เป็นการเตรียมคนเพื่อให้พร้อมในความเจริญที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หลักสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คือ จะต้องให้ความรู้และประสบการณ์ด้านวิชาการ การฝึกอบรมความรู้ที่ทันสมัยรวมทั้งการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมควบคู่กันไป เช่น การให้คนมีความรู้ จะต้องฝึกให้มีวินัยในการทำงานควบคู่กันไปด้วย เป็นที่ทราบกันดีว่า “ ทุนมนุษย์ ” นั้น เป็นทุนที่สำคัญ ที่สุดในการพัฒนา เพราะทุนมนุษย์เป็นจุดเริ่มต้น เป็นทุนพื้นฐาน ที่จะนำไปสู่การพัฒนาในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นทุนเศรษฐกิจ ทุนสังคม หรือแม้แต่ทุนทางด้านเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานทั่วไป เมื่อ “ ทุนมนุษย์ ” มีความสำคัญมากต่อการพัฒนาของประเทศ จึงปฏิเสธไม่ได้ว่า “ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ” จะเป็นสิ่งจำเป็นและมีความสำคัญยิ่งตามมา สมัยโบราณมนุษย์มีความเชื่อว่า การเป็นผู้นำเป็นเรื่องของความสามารถที่เกิดขึ้นเฉพาะตระกูล หรือเฉพาะบุคคลและสืบเชื้อสายกันได้ บุคลิกและลักษณะของการเป็นผู้นำ เป็นสิ่งที่มีมาแต่กำเนิดและเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัว สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ผู้ที่เกิดในตระกูลของผู้นำย่อมจะต้องมีลักษณะผู้นำด้วย ในขณะเดียวกันภายใต้บริบทของโลกที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบันย่อมมีผลกระทบต่อองค์การและผู้นำที่จะต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดเชิงกระบวนทัศน์ขึ้นใหม่ เพื่อให้สามารถเผชิญต่อภาวะแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงคาดว่าผู้นำในอนาคตต้องยอมรับแนวคิดที่ต้องให้บริการ มีมุมมองที่กว้างไกลระดับโลก เข้าใจองค์การรูปแบบใหม่จากมุมมองที่เป็นองค์รวมเป็นลักษณะบูรณาการ มีความยืดหยุ่นสูง ต้องมีความสามารถในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ผู้นำ ในอนาคต ต้องชอบต่อความท้าทายและการทดลองใหม่ ๆ จะต้องผูกพันต่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงกับภาวะผู้นำจะต้องคู่กันตลอดไป มีความสามารถในการสร้างความสมดุลได้ดีระหว่างงานในตำแหน่งหน้าที่ผู้นำ กับด้านชีวิตส่วนตัว รวมทั้งการสร้างความงอกงามด้านความรู้สมัยใหม่ที่เกี่ยวกับวิชาชีพของตน ในองค์การที่ดีจำเป็นต้องมีทั้งภาวะผู้นำและการบริหารจัดการที่เข้มแข็งจึงจะทำให้เกิด ประสิทธิผลได้สูงสุด โดยเฉพาะภายใต้ภาวะของโลกที่มีพลวัตสูง ย่อมต้องการได้ผู้นำที่กล้าท้าทายต่อการดำรงสถานภาพเดิม มีความสามารถในการสร้างวิสัยทัศน์และสามารถในการดลใจสมาชิกทั้งองค์การให้มุ่งต่อความสำเร็จตามวิสัยทัศน์นั้น แต่เราก็ยังต้องมีการบริหารที่สามารถกำหนดรายละเอียดของแผนงาน สามารถออกแบบโครงสร้างที่มีประสิทธิภาพขององค์การ กองทุนสวัสดิการชุมชน ตำบลสระแก้ว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ เป็นอีกหนึ่งกองทุนที่เกิดจากการรวมกลุ่มของชุมชน การบริหารจัดการในรูปแบบของสวัสดิการ การออมเพื่อกู้ยืมและปันผล การรวมกลุ่มฌาปนกิจเพื่อช่วยเหลือสมาชิกที่เสียชีวิต และช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ อีกทั้งเพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงในชีวิต บนพื้นฐานของการพึ่งตนเอง โดยเกิดจากการรวมตัวของประชาชนในพื้นที่ ด้วยความสมัครใจ ซึ่งชาวชุมชนเข้ามามีบทบาทในการร่วม กันคิด ร่วมกันสร้างระบบ ร่วมกันบริหารจัดการและร่วมกันรับผลประโยชน์ จากการดำเนินงานดังกล่าว กองทุนสวัสดิการชุมชน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการพัฒนาศักยภาพผู้นำเพื่อให้ทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางสังคมเศรษฐกิจของโลก และเพื่อให้สามารถเผชิญต่อภาวะแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมีความสนใจและตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพผู้นำกองทุนสวัสดิการชุมชน ตำบลสระแก้ว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของปัญหาด้านศักยภาพของผู้นำกองทุนสวัสดิการชุมชนและศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มศักยภาพผู้นำกองทุนการสวัสดิการชุมชน ตำบลสระแก้ว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1. ศึกษาพัฒนาการของปัญหาด้านศักยภาพของผู้นำกองทุนสวัสดิการชุมชน ตำบลสระแก้ว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มศักยภาพผู้นำกองทุนการสวัสดิการชุมชน ตำบลสระแก้ว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :
พื้นที่ ตำบลสระแก้ว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
1. ผู้นำชุมชน แกนนำชุมชน เจ้าหน้าและผู้ที่เกี่ยวข้องที่เข้าร่วมโครง มีความรู้ความสามารถและทักษะการตั้งคำถามสืบค้น การเก็บข้อมูลชุมชน การบันทึก การจัดระบบข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์และตีความ คิดและเขียนโครง รวมถึงสามารถบริหารโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. เกิดกลไกความร่วมมือในกิจกรรมด้านต่างๆ เช่น ด้านการจัดการ สวัสดิการชุมชนและเกิดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชนและผู้ที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่ 3 ผู้นำชุมชนชุมชน แกนนำชุมชน ผู้ที่เกี่ยวข้องที่เข้าร่วมโครงการวิจัย สามารถพัฒนาศักยภาพของตนให้เป็นกลไกในการขับเคลื่อนงานพัฒนาท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิ มีความรู้ความเข้าใจและเท่าทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในรูปแบบต่างๆ เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งและการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของท้องถิ่นได้ 4. เกิดเครือข่ายการเรียนรู้ร่วมกันในชุมชน/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/หน่วยงานภาครัฐ/หน่วยงานภาคเอกชนอันเป็นเสมือนดังภูมิคุ้มกันของท้องถิ่นในการรู้เท่าทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลง
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         1. ขั้นการเตรียมความพร้อม 1) เตรียมการและจัดประชุมชี้แจงโครงการระหว่างทีมนักวิจัยส่วนกลางและนักวิจัยในพื้นที่ 2) จัดประชุมเตรียมการกับพื้นที่เป้าหมายเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมกัน 3) จัดเวทีระดมความคิดเห็นเพื่อจัดทำเครื่องมือในการเก็บข้อมูลองค์ความรู้ในระดับตำบล 4)การเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลองค์ความรู้ 2. ขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูล 1) ลงพื้นที่เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลด้านพัฒนาการของปัญหาด้านศักยภาพของผู้นำกองทุนสวัสดิการชุมชน 2) ลงพื้นที่เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มศักยภาพผู้นำกองทุนการสวัสดิการชุมชน 3. ขั้นการวิเคราะห์และการประเมินผล 1) การวิเคราะห์ สังเคราะห์ สรุปภาพรวมเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพผู้นำกองทุนสวัสดิการชุมชนในพื้นที่เป้าหมาย
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 นางสาวดนธินี ฟองคำ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 100%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย