รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การออกแบบและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการให้บริการแพทย์แผนไทย
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
Design and Development of Information Technology System for Thai Traditional Medicine services
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
1 มกราคม 2560
วันสิ้นสุดโครงการ :
31 ธันวาคม 2560
ประเภทของการวิจัย :
การวิจัยและพัฒนา
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         ในปัจจุบันระบบสารสนเทศเป็นระบบที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาหน่วยงานและภาคอุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก ซึ่งระบบจะสามารถดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลและประมวลผลได้ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ในรูปแบบที่สามารถนำมาใช้ประกอบการวางแผน และสนับสนุนการตัดสินใจดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งของผู้ประกอบการ ด้วยเหตุนี้การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศจึงต้องทำการเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผลข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ดังนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศจึงได้เข้ามามีบทบาทอย่างมาก ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานของภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมให้เจริญก้าวหน้าและมีประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถนำมาใช้บริการจัดการข้อมูลและประมวลผล เพื่อการตัดสินใจในการเลือกใช้บริการ การจัดซื้อจัดหา การตลาด การประชาสัมพันธ์ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ และการเพิ่มช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ให้บริการและกลุ่มลูกค้า เป็นต้น ทำให้ผู้ประกอบการและผู้รับบริการสามารถลดภาระความยุ่งยากในการเก็บข้อมูล ค้นหา และประมวลผลข้อมูล การลดระยะเวลาการทำงานให้รวดเร็วขึ้น การเลือกช่วงเวลาเพื่อขอรับบริการ และการตรวจสอบคลังสินค้าและอุปกรณ์ จนเห็นได้ว่าปัจจุบันการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อนำมาใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากร การผลิต และการให้บริการของผู้ประกอบการเป็นสิ่งที่จำเป็นและเป็นประโยชน์แก่ผู้ประกอบการเป็นอย่างมาก โดยหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนส่วนใหญ่ได้มีการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านการให้บริการและการบริหารจัดการทรัพยากรภายในองค์กร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ความถูกต้อง และความรวดเร็วในการทำงาน ซึ่งมีแนวโน้มการขยายตัวในภาคเอกชนเพิ่มมากขึ้น การแพทย์แผนไทยเป็นความรู้อันเกิดจากการสะสมประสบการณ์และถ่ายทอดสืบสานกันมาผ่านรุ่นสู่รุ่น โดยการบอกเล่า การสังเกต การบันทึก และการศึกษาที่เกิดจากความเชื่อ ความรู้ ความคิด และการลองผิดลองถูกจนกลายเป็นที่ยอมรับในสังคม เพื่อการบำบัดรักษาโรคความเจ็บป่วยของคนไทยแบบดั้งเดิมที่สอดคล้องกับขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมไทยและวิถีชีวิตไทย และถือว่าเป็นภูมิปัญญาที่แสดงถึงอัตลักษณ์ความเป็นไทย (การแพทย์แผนไทย, 2557) การแพทย์แผนไทยเป็นกระบวนการทางการแพทย์ที่เกี่ยวกับการตรวจวินิจฉัย บำบัด รักษา ป้องกันโรค การส่งเสริมฟื้นฟูสุขภาพของมนุษย์หรือสัตว์ การผดุงครรภ์ และการนวดไทย รวมถึงการเตรียมการผลิตยาแผนไทย แลพการประดิษฐ์อุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ ทั้งนี้โดยอาศัยความรู้หรือตำราที่ได้ถ่ายทอดและพัฒนาสืบต่อกันมา การแพทย์แผนไทยแต่เดิมคล้ายคลึงกับการแพทย์พื้นเมืองอื่นๆ คือ มีความเชื่อเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้เกิดความเจ็บไข้ได้ป่วยในมนุษย์ (กันทิมา และพรทิพย์, 2547) งานการแพทย์แผนไทยได้รับการผสมผสานให้เข้าสู่ระบบบริการสาธารณสุขของรัฐ ซึ่งประชาชนให้ความสนใจและใช้บริการการแพทย์แผนไทยมากขึ้นเป็นลำดับ (สถาบันการแพทย์แผนไทย, 2549) โดยแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกอาจเป็นคำตอบหนึ่ง ที่สามารถนำมาใช้ในการรักษาและบำบัดอาการเจ็บป่วยของผู้ป่วยให้ดีขึ้นหรือทุเลาลงได้ รวมทั้งการอุดช่องโหว่ของการแพทย์แผนปัจจุบันลงได้ (สำนักการนิเทศสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, 2533) เนื่องจากปัญหายารักษาโรคมีราคาแพงขึ้นทำให้มีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประเทศมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ หรือการปฏิเสธการใช้ยารักษาโรคเนื่องจากกลัวผลข้างเคียงที่อาจส่งผลต่อสุขภาพในอนาคต รวมถึงกระแสการดูแลสุขภาพของผู้รับบริการที่เน้นการบำบัดแบบธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกันสังคมไทยมีกระแสความตื่นตัวในเรื่องการแพทย์แผนไทยมากขึ้นในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา จากความสนใจเรื่องสุขภาพทางเลือกของประชาชน โดยกระแสความนิยมในการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพและอาหารเสริมต่างๆ และนโยบายของรัฐในการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับบริการและผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพ ขณะที่กระแสการสนใจภูมิปัญญาชาวบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่นในกลุ่มองค์กรภาคเอกชนที่ปฏิบัติงานอยู่ในระดับพื้นที่ค่อยๆ ก่อตัวและได้รับการยอมรับจากผู้รับบริการเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เกิดความตื่นตัวในการแสวงหาการรักษาชนิดอื่นๆ เช่น ยาสมุนไพร การรักษาแบบพื้นบ้าน เป็นต้น อีกทั้งมูลค่าการใช้จ่ายด้านสุขภาพของประเทศสูงมากขึ้นในปี พ.ศ. 2545 ร้อยละของค่าใช้จ่ายทางสุขภาพรวมต่อ GDP เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 3.68 แล้วคงที่ที่ร้อยละ 3.5 จนถึงปี พ.ศ. 2548 สำหรับค่าใช้จ่ายทางสุขภาพต่อหัวนั้นเพิ่มจาก 2,486 บาท ในปี พ.ศ. 2538 เป็น 3,974 บาท ในปี พ.ศ. 2548 หรือเพิ่มขึ้นถึง 1.6 เท่า (สุขภาพคนไทย, 2552: 18) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการนำเข้ายาและเทคโนโลยีจากประเทศตะวันตก ทำ ให้ภาครัฐเริ่มมุ่งหาทางเลือกอื่นๆ ในการใช้วัตถุดิบและต้นทุนจากภายในประเทศมากขึ้น ปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลให้ความต้องการบริการสุขภาพทางเลือกของประชาชน โดยเฉพาะในด้านการแพทย์แผนไทยมีมากขึ้น ทั้งการรับบริการด้ายการนวดตัว นวดฝ่าเท้า การกดนิ้วเท้า การกดจุดฝ่าเท้า การอบไอน้ำ และการประคบสมุนไพร เพื่อลดการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อจากการอักเสบของกล้ามเนื้อ ปัจจุบันแม้จะมีการพัฒนาระบบสารสนเทศให้ความรู้การรักษาด้วยแพทย์แผนไทยในรูปของเว็บไซต์อยู่บ้าง และส่วนใหญ่มักถูกจัดทำขึ้นในรูปแบบเว็บไซต์ ซึ่งมีการจัดเก็บข้อมูลที่ไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน มีรูปแบบที่หลากหลาย และข้อมูลไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ซึ่งขึ้นอยู่กับการออกแบบเว็บไซต์แต่ละแห่ง รวมถึงความสามารถในการถ่ายทอดข้อมูลผ่านระบบและปัญหาการไม่สามารถเชื่อมโยงไปยังฐานข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันได้ ซึ่งลักษณะของเว็บไซต์แพทย์แผนไทยปัจจุบันเป็นเพียงการให้ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับยาแผนไทยหรือยาแผนโบราณ ตามกลุ่มอาการเจ็บป่วยเบื้องต้นที่รักษาด้วยแพทย์แผนไทย ซึ่งไม่ได้บอกถึงอาการเจ็บป่วยแต่ละประเภทว่ามีสาเหตุ หรือวิธีป้องกันอย่างไร รวมถึงไม่ได้บอกถึงธาตุที่ร่างกายผิดปกติ และการรักษาอาการเจ็บป่วยด้วยการแพทย์แผนไทย เช่น การนวดไทย การอบสมุนไพร อาจจะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ในการค้นหาข้อมูลผ่านโปรแกรมสืบค้นหรือเสิร์จเอ็นจิน (Search Engine) เช่น การค้นหาสมุนไพรที่มีผลต่อธาตุดินในร่างกาย อย่างไรก็ตาม การประมวลผลข้อมูลสิ่งต่างๆ ที่อยู่บนเว็ป เพื่อให้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ทำงานอัตโนมัติและสามารถทำงานแทนมนุษย์ได้ เช่น ทำให้การสืบค้นข้อมูลและการเข้าถึงข้อมูลที่ตรงตามที่ผู้ใช้งานต้องการจริง ด้วยการพิจารณาความหมายของสิ่งต่างๆ ในโดเมนเพื่อได้มาซึ่งข้อมูลสารสนเทศที่ครบถ้วน ทำให้ค้นหาและเข้าถึงข้อมูลที่ตรงตามความต้องการผู้ใช้งาน (Berners-Lee et al.,2001) ส่งผลให้สามารถแบ่งปันข้อมูลและนำข้อมูลมาใช้ซ้ำได้อย่างหลากหลาย ทั้งการให้คำแนะนำด้านสมุนไพรไทย และระบบสืบค้นช้อมูลด้านการรักษา บุคลากรในสังกัด และตารางการให้บริการของผู้ให้บริการ ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาต้นแบบระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการแพทย์แผนไทย เพื่อนำมาใช้ในการบิหารจ้ดการข้อมูลและการให้บริการของผู้ประกอบการได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น เช่น การสืบค้นการรักษาด้วยแพทย์แผนไทย ตารางงานของการให้บริการ ลักษณะการให้บริการ ค่าใช้จ่ายในการขอรับบริการ และองค์ความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับการรักษาด้วยแพทย์แผนไทย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการนำเสนอและได้ผลลัพธ์ของการสืบค้นข้อมูลที่มีความแม่นยำ และตรงกับความต้องการของผู้ใช้บริการมากที่สุด
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยนี้ คือ การออกแบบและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการให้บริการแพทย์แผนไทย เพื่อเป้าหมายสูงสุด คือ การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้นแบบด้านการให้บริการแพทย์แผนไทย โดยมีวัตถุประสงค์จำเพาะอยู่ 5 ประการ ได้แก่ 1. เพื่อศึกษาปัญหาและข้อจำกัดด้านการสื่อสารและข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับของการให้บริการแพทย์แผนไทยภายในพื้นที่ภาคกลางตอนบน เพื่อนำปัญหาและข้อจำกัดของการให้บริการมาใช้เป็นข้อมูลประกอบการออกแบบและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้นแบบด้านการให้บริการแพทย์แผนไทยต่อไป 2. เพื่อออกแบบและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้นแบบด้านการให้บริการแพทย์แผนไทย เพื่อให้สามารถใช้งานจริง และตรงความต้องการของผู้ประกอบการและผู้รับบริการ สามารถตอบสนองต่อการให้บริการและการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น 3. เพื่อทดสอบประสิทธิภาพหลังการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้นแบบด้านการให้บริการแพทย์แผนไทย เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและข้อจำกัดของระบบ เพื่อดำเนินการปรับปรุงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้นแบบให้สามารถตอบสนองต่อการให้บริการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ 4. เพื่อศึกษาผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์และการเงินของโครงการ เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มทุนของโครงการออกแบบและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้นแบบด้านการให้บริการแพทย์แผนไทย
ขอบเขตของโครงการ :
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในข้อที่ 6 ขอบเขตการวิจัยในโครงการนี้ได้กำหนดไว้ 7 ด้าน เพื่อให้ครอบคลุมกับวัตถุประสงค์ทั้งหมดของโครงการ ได้แก่ 1. ศึกษาปัญหาและข้อจำกัดด้านการสื่อสารและข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับของการให้บริการแพทย์แผนไทยภายในพื้นที่ภาคกลางตอนบน โดยข้อมูลดังกล่าวจะนำมาใช้ประกอบการออกแบบและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้นแบบด้านการให้บริการแพทย์แผนไทย เพื่อให้สามารถนำมาใช้งานได้จริง และตอบสนองกับความต้องการของผู้ประกอบการและผู้รับบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะดำเนินการสอบถามปัญหาและข้อจำกัดด้านการสื่อสาร ความต้องการของผู้ใช้งาน กระบวนการทำงาน ข้อมูลการให้บริการและวิธีการรักษา ราคาการให้บริการ เวลาเปิดให้บริการ ช่องทางการขอรับบริการ ตารางการให้บริการ และข้อจำกัดในการให้บริการของสถานประกอบการ รวมถึงสถานที่ที่ให้บริการแพทย์แผนไทยภายในพื้นที่ภาคกลางทั้งหมด เพื่อให้การออกแบบและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้นแบบด้านการให้บริการแพทย์แผนไทยได้มีความสมบูรณ์เพิ่มมากยิ่งขึ้น 2. ศึกษารูปแบบการออกแบบระบบฐานข้อมูลและระบบปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีสารเสนเทศต้นแบบที่เหมาะสมกับการให้บริการแพทย์แผนไทยภายในพื้นที่ภาคกลาง เพื่อลดต้นทุนและเวลาในการออกแบบและพัฒนาระบบดังกล่าวได้ โดยจะทำการศึกษารูปแบบการทำงาน การเชื่อมโยงข้อมูล การคัดกรองข้อมูล การนำเสนอ การใช้งานของผู้รับบริการและผู้ใช้บริการ และการควบคุมความผิดพลาดของระบบต้นแบบ เพื่อกำหนดรูปแบบระบบและฐานข้อมูลของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้นแบบได้อย่างเหมาะสมต่อไป รวมถึงอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการใช้งานที่ครอบคลุมทั้งผู้ประกอบการและผู้รับบริการทั้งหมดได้ 3. ศึกษารูปแบบการให้บริการ โปรแกรมการรักษา สถานที่ให้บริการ ค่ารักษา ข้อมูลบุคลากร และข้อมูลสารสนเทศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการแพทย์แผนไทย เพื่อทำให้การออกแบบและการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้นแบบฯ ได้ครอบคลุมการทำงานทั้งหมดของผู้ประกอบการได้ ซึ่งทำให้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้นแบบสามารถนำมาใช้ในการบริหารจัดการด้านการให้บริการ การสืบค้นข้อมูล ตารางการให้บริการ ค่าใช้บริการ และรายการให้บริการด้านการรักษาของแพทย์แผนไทย ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพได้ รวมถึงการนำผลการศึกษาดังกล่าวมาใช้เป็นข้อมูลเพื่อกำหนดรูปแบบการทำงาน การเชื่อมโยงข้อมูล การนำเสนอ และการใช้งานของผู้รับบริการและผู้ใช้บริการต่อไปได้ โดยทางทีมผู้วิจัยจะประสานความร่วมมือกับฝ่ายออกแบบและพัฒนา เพื่อดำเนินออกแบบและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้นแบบได้อย่างเหมาะสม และใช้งานได้ครอบคลุมกับรูปแบบการให้บริการทั้งหมดได้ 4. ออกแบบและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้นแบบด้านการให้บริการแพทย์แผนไทยที่เหมาะสมต่อการให้บริการ การนำเสนอ และการใช้งานจริง ซึ่งทางทีมผู้วิจัยจะพิจารณาถึงความคุ้มค่าและเหมาะสมของการเก็บรวบรวมข้อมูล การนำเสนอข้อมูล และการใช้งานในการบริหารจัดการภายในสถานประกอบการแพทย์แผนไทยได้อย่างครอบคลุมตามหลักการด้านโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่การจัดซื้อจัดหาวัสดุอุปกรณ์ ตารางการให้บริการ รายการที่เปิดให้บริการ ราคา สถานที่ตั้ง และการนำเสนอข้อมูลพื้นฐานของสถานให้บริการแพทย์แผนไทย ทำให้ผู้ประกอบการและผู้รับบริการสามารถทราบข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับสถานประกอบการแพทย์แผนไทยได้อย่างเหมาะสม 5. ดำเนินการทดสอบการใช้งานจริงของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้นแบบจากผู้ประกอบการและผู้รับบริการ เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคจากการใช้งานจริงของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้นแบบ รวมถึงความต้องการเพิ่มเติมในการทำงานของระบบ โดยข้อมูลดังกล่าวจำนำไปให้ผู้พัฒนาระบบเพื่อดำเนินการแก้ไขปรับปรุงให้สามารถตอบสนองต่อการให้บริการและการรักษาได้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น 6. ศึกษาด้านการวิเคราะห์ความคุ้มค่าในด้านการออกแบบและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้นแบบด้านการให้บริการแพทย์แผนไทย เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มทุน และผลประโยชน์ของการจัดทำและทดสอบความสามารถในการบริหารจัดการด้านการให้บริการและข้อมูลพื้นฐานของสถานประกอบการด้านแพทย์แผนไทยจากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้นแบบด้านการให้บริการแพทย์แผนไทย เพื่อทำให้ระบบสามารถใช้งานได้จริงตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ตามการวิเคราะห์แบบปรับค่าของเวลา (Discounted Measure of Project Worth) ซึ่งเป็นวิธีการร่วมสมัย (Contemporary Approach) และใช้กันอย่างแพร่หลาย 3 วิธี ได้แก่ 1. มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value: NPV) 2. อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน (Benefit-Cost Ratio: BCR) 3. อัตราผลตอบแทนภายในโครงการ (Internal Rate of Return)
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
จากวัตถุประสงค์และขอบเขตการวิจัยที่ได้ระบุไว้ในโครงการนี้ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้รับจากโครงการนี้คาดว่าจะสร้างประโยชน์ให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องดังรายละเอียดดังนี้ 1. ผลการวิเคราะห์ปัญหาและข้อจำกัดด้านการสื่อสารและข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับของการให้บริการแพทย์แผนไทยภายในพื้นที่ภาคกลาง เพื่อค้นหาสาเหตุของปัญหาและกำหนดรูปแบบการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้นแบบด้านการให้บริการแพทย์แผนไทยที่เหมาะสม และสามารถนำมาใช้งานได้จริง เนื่องจากทีมผู้วิจัยได้มีการศึกษาและสอบถามปัญหาและข้อจำกัดด้านสื่อสารและข้อมูลสารสนเทศของผู้ใช้งานในทุกขั้นตอนการให้บริการภายในสถานประกอบการทั้งหมดเพื่อความสมบูรณ์ของข้อมูล ซึ่งถ้าโครงการนี้ประสบความสำเร็จผลประโยชน์ที่ได้จะตกอยู่กับประเทศชาติอย่างมหาศาล โดยหน่วยงานที่สามารถนำผลการดำเนินงานนี้ไปใช้ต่อ ได้แก่ สถานประกอบการด้านการแพทย์แผนโบราณ และผู้ประกอบการรายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่ต้องยกระดับความสามารถในการให้บริการ การรับรู้ข้อมูลทางด้านวิธีการรักษา และข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการของแพทย์แผนไทย ซึ่งผลประโยชน์ทางอ้อมจะตกอยู่กับประเทศชาติ ผู้ประกอบการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป 2. ผลการออกแบบและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้นแบบด้านการให้บริการแพทย์แผนไทยที่สามารถใช้งานได้จริง ในพื้นที่เขตภาคกลาง จำนวน 1 ระบบ โดยพร้อมที่จะนำไปใช้ในการบริหารจัดการภายในสถานประกอบการแพทย์แผนไทยได้อย่างครอบคลุมตามหลักการด้านโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทาน หรือทำการปรับปรุงระบบ เพื่อแก้ไขและจัดทำระบบให้สามารถใช้งานได้จริงและครอบคลุมการให้บริการของสถานประกอบการ ในกรณีที่ผลการศึกษาบ่งชี้ว่าโครงการดังกล่าวมีความคุ้มค่าในการลงทุน ซึ่งหน่วยงานที่สามารถนำผลการดำเนินงานไปใช้ประโยชน์ได้ต่อ ได้แก่ รัฐบาล หน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานภาคเอกชน ที่มีความพร้อมในการลงทุนในโครงการเพื่อให้โครงการดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้จริง การนำไปใช้ประโยชน์ในด้าน ด้านวิชาการ ด้านนโยบาย ด้านเศรษฐกิจ/พาณิชย์/อุตสาหกรรม ด้านสังคมและชุมชน
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         ในหัวข้อนี้จะอธิบายถึงขั้นตอนวิธีการทำวิจัย ซึ่งจะรวมถึงเนื้อหาในด้านการเก็บข้อมูล การกำหนดพื้นที่ ประชากรกลุ่มตัวอย่าง การสุ่มตัวอย่างที่จะนำมาวิเคราะห์ ขั้นตอนและวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล ความเสี่ยงของงานวิจัย รวมทั้งระบุสถานที่ใช้เป็นที่ทำการวิจัยหรือการเก็บข้อมูล ซึ่งขั้นตอนการดำเนินงานวิจัยมีรายละเอียดดังนี้ 1. ศึกษาเอกสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับทฤษฎี และวิธีการออกแบบและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้นแบบด้านการให้บริการแพทย์แผนไทย ตลอดจนข้อมูลทางด้านการให้บริการและการรักษา การสื่อสาร ความต้องการของผู้ใช้งาน กระบวนการทำงาน ราคาการให้บริการ เวลาเปิดให้บริการ ช่องทางการขอรับบริการ และตารางการให้บริการ รวมถึงสถานที่ที่ให้บริการแพทย์แผนไทยภายในพื้นที่ภาคกลางทั้งหมด เพื่อให้การออกแบบและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้นแบบมีความสมบูรณ์และสามารถนำมาใช้งานได้จริง 2. ศึกษาข้อมูลด้านปัญหาและข้อจำกัดด้านการสื่อสารและข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับของการให้บริการแพทย์แผนไทยภายในพื้นที่ภาคกลาง โดยข้อมูลดังกล่าวจะนำมาใช้ประกอบการออกแบบและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้นแบบด้านการให้บริการแพทย์แผนไทย เพื่อให้สามารถนำมาใช้งานได้จริง และตอบสนองกับความต้องการของผู้ประกอบการและผู้รับบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. ศึกษาข้อมูล ออกแบบ และพัฒนาระบบฐานข้อมูลและระบบปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีสารเสนเทศต้นแบบที่เหมาะสมกับการให้บริการแพทย์แผนไทยภายในพื้นที่ภาคกลาง เพื่อลดต้นทุนและเวลาในการออกแบบและพัฒนาระบบดังกล่าวได้ โดยจะทำการศึกษารูปแบบการทำงาน การเชื่อมโยงข้อมูล การคัดกรองข้อมูล การนำเสนอ การใช้งานของผู้รับบริการและผู้ใช้บริการ และการควบคุมความผิดพลาดของระบบต้นแบบ เพื่อกำหนดรูปแบบระบบและฐานข้อมูลของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้นแบบได้อย่างเหมาะสมต่อไป รวมถึงอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการใช้งานที่ครอบคลุมทั้งผู้ประกอบการและผู้รับบริการทั้งหมดได้ ทำให้สามารถนำระบบมาใช้ในการบริหารจัดการด้านการให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตอบสนองต่อความต้องการของผู้รับบริการได้อย่างครอบคลุม ซึ่งเป็นกรณีที่ผลการศึกษาบ่งชี้ว่าโครงการดังกล่าวมีความคุ้มค่าในการลงทุน เพื่อให้โครงการดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้จริง 4. ศึกษารูปแบบการให้บริการ โปรแกรมการรักษา สถานที่ให้บริการ ค่ารักษา ข้อมูลบุคลากร และข้อมูลสารสนเทศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการแพทย์แผนไทย เพื่อทำให้การออกแบบและการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้นแบบฯ ได้ครอบคลุมการทำงานทั้งหมดของผู้ประกอบการได้ อาทิเช่น ด้านการให้บริการ การสืบค้นข้อมูล ตารางการให้บริการ ค่าใช้บริการ และรายการให้บริการด้านการรักษาของแพทย์แผนไทย ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพได้ และใช้งานได้ครอบคลุมกับรูปแบบการให้บริการทั้งหมดได้ 5. นำผลที่ได้จากการศึกษาข้อมูลข้างต้นมาดำเนินการออกแบบและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้นแบบด้านการให้บริการแพทย์แผนไทย โดยใช้ข้อมูลจากผลการสำรวจปัญหาและข้อจำกัดด้านการสื่อสารและข้อมูลสารสนเทศภายในพื้นที่ภาคกลาง ซึ่งการออกแบบระบบสารสนเทศต้นแบบที่มีประสิทธิภาพนั้น ต้องมีการวิเคราะห์รูปแบบของระบบต้นแบบ โดยมีการให้คะแนนจากปัจจัยต่างๆ โดยใช้วิธีการของ Factor Rating ได้แก่ ความสามารถในการใช้งานจริง ความเหมาะสมของรุปแบบการใช้งาน ต้นทุนการออกแบบและพัฒนา ความพร้อมของระบบ การดูแลรักษา ความพร้อมของแรงงาน ศักยภาพด้านการแข่งขัน และความสามารถในการให้บริการ เป็นต้น 6. ผลที่ได้จากการคัดเลือกรูปแบบการออกแบบและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้นแบบที่ได้จากการวิเคราะห์ของทีมผู้วิจัยจากทั้งแบบจำลองฯ และการสำรวจภาคสนามโดยการใช้ Factor Rating จะนำไปแสดงผลการวิเคราะห์กับผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้นแบบ ตลอดจนกลุ่มผู้ประกอบการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในภาคอุตสาหกรรมการให้บริการแพทย์แผนไทย 7. เมื่อได้รูปแบบการออกแบบและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้นแบบที่เหมาะสมต่อการให้บริการแล้ว จะดำเนินการทดสอบการใช้งานจริงของระบบต้นแบบจากผู้ประกอบการและผู้รับบริการ เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคจากการใช้งานจริง รวมถึงความต้องการเพิ่มเติมในการทำงานของระบบ โดยข้อมูลดังกล่าวจะนำไปให้ผู้พัฒนาระบบ เพื่อดำเนินการแก้ไขปรับปรุงให้สามารถตอบสนองต่อการให้บริการและการรักษาได้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น 8. ศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐศาสตร์และการเงิน เพื่อตรวจสอบความคุ้มทุนของโครงการการออกแบบและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการให้บริการแพทย์แผนไทย 9. สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ พร้อมส่งมอบผลการศึกษาของโครงการฯ และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้นแบบด้านการให้บริการแพทย์แผนไทย ตลอดจนคู่มือการใช้งานของระบบดังกล่าว
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 นายสว่าง แป้นจันทร์ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 65%
2 นายภิญโญ ชุมมณี นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 20%
3 นายโกเมน หมายมั่น นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 15%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย