รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การศึกษาและพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าของผลิตภัณฑ์ปลาส้ม
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
Study and Development for Value Chain of Preserved Fish Product
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
1 พฤษภาคม 2560
วันสิ้นสุดโครงการ :
30 เมษายน 2561
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยประยุกต์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         ปลาส้มทำมาจากปลาสดที่ตัดแต่งแล้วนำมาหมักด้วยเกลือ ข้าวเจ้าสุก หรือข้าวเหนียวนึ่ง อาจเติมส่วนผสมอื่นๆ เช่น กระเทียม และพริกไทย จนมีรสเปรี้ยว สามารถผลิตได้จากปลาทั้งตัวหรือเฉพาะเนื้อปลาก็ได้ จัดเป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ประเภทผลิตภัณฑ์อาหารหมักที่ได้รับความนิยมบริโภคมากในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การผลิตปลาส้มในประเทศไทยในปัจจุบันมีปริมาณการผลิตเป็นจำนวนมาก ทำให้สามารถสร้างรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการและประเทศชาติเป็นจำนวนมาก เป?นที่ชื่นชอบของผู้บริโภคในด?านรสชาติและถูกหลักอนามัย ไม?มีสารเคมีปนเป??อน มีคุณค่าทางโภชนาการ และสร?างโอกาสพัฒนาอาชีพในระดับชุมชน เนื่องจากมีกระบวนการผลิตที่ไม?ซับซ้อนและสามารถดำเนินการผลิตได?ทั้งปี มีโปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุสูง แต่ไม่เหมาะต่อผู้ป่วยโรคไต และความดันโลหิตสูง เนื่องจากมีปริมาณเกลือแกง หรือโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) สูง การผลิตปลาส้มในแต่ละท้องถิ่นจะมีกระบวนการผลิตที่แตกต่างกันไป ทำให้ผลผลิตมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปด้วย เช่น ภาคเหนือ และภาคอีสาน นิยมใช้ข้าวเหนียวนึ่งสุก ส่วนปลาส้มในภาคกลางนิยมใช้ข้าวสวย เป็นต้น ในส่วนของข้อมูลด้านการตลาดสามารถจำแนกปริมาณและมูลค่าของผลิตภัณฑ์ปลาส้ม เช่น ในภาคอีสาน พบว่า ในอุตสาหกรรมการผลิตแปรรูปปลาน้ำจืดในรูปของปลาส้ม มีปริมาณการผลิตประมาณ 1.35 ล้านกิโลกรัมต่อปี หรือเป็นมูลค่าประมาณ 100 ล้านบาทต่อปี ซึ่งนับว่าเป็นรายได้ที่สร้างเม็ดเงินให้กับผู้ประกอบการได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ การผลิตปลาส?มของกลุ?มเกษตรกรในป?จจุบันยังเป็นการผลิตแบบอุตสาหกรรมในครัวเรือน โดยอาศัยกระบวนการผลิตแบบดั้งเดิมที่สืบทอดต่อกันมา ทำให้ผู้ประกอบการมักประสบปัญหาในเรื่องการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์เกิดการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์และสารเคมีที่อาจเกิดอันตรายต่อผู้บริโภค อีกทั้งยังมีรสชาติไม่คงที่ส่งผลให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์ปลาส้มไม่ได้มาตรฐานและไม่เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ผู้ประกอบการหลายรายจึงยังไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)ทำให้การพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาส้มให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานตามที่ลูกค้ากำหนดไว้ จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งขันได้ และช่วยยกระดับผลิตภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพ สร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยในการเลือกซื้อสินค้าของลูกค้า (วรัศณีญา, 2558) รวมถึงส่งเสริมด้านการตลาดของผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ยอมรับจากผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ อย่างไรก็ตาม การที่จะพัฒนาธุรกิจผลิตภัณฑ์ปลาส้มภายในประเทศไทย เพื่อให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งขัน ทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศได้นั้น ผู้ประกอบการจำเป็นต้องเร่งพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เพื่อเตรียมความพร้อมในการลดต้นทุนการผลิต การจัดซื้อจัดหาวัตถุดิบ การขยายตลาด และการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ปลาส้ม ทั้งนี้ระบบมาตรฐานไม่ได้มีเฉพาะกระบวนการการผลิตเท่านั้น แต่ยังรวมถึงกระบวนการโลจิสติกส์ด้วย เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปลาส้ม จำเป็นต้องผลักดันให้มีการพัฒนาระบบ โลจิสติกส์ของผลิตภัณฑ์ปลาส้มที่ได้มาตรฐานควบคู่กันไปด้วย โดยที่การขยายศักยภาพในการตลาด กระบวนการผลิตสินค้า และการขนส่งสินค้า ซึ่งต้องสร้างความมั่นใจแก่ผู้ซื้อสินค้าตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำว่าไม่มีอะไรปนเปื้อน และมีคุณภาพตามที่ลูกค้ากำหนดได้ ดังนั้นงานวิจัยในครั้งนี้ จึงได้ทำการวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ซึ่งเป็นขั้นตอนการวิเคราะห์กิจกรรมของกิจการที่มีความเชื่อมโยงกัน ทั้งภายในและภายนอกกิจการ ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำของผลิตภัณฑ์ปลาส้ม ซึ่งจะเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและแนวทางปรับปรุงที่เหมาะสมกับกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ปลาส้ม เพราะการวิเคราะห์โซ่คุณค่า คือ การวิเคราะห์ลำดับของการเชื่อมต่อ (Chain) ของกิจกรรมที่สร้างมูลค่า (Value Added) ทั้งหมดที่เกิดขึ้นภายในสายโซ่คุณค่า ซึ่งนำสินค้าหรือบริการจากจุดต้นทางไปยังปลายทาง หรือลูกค้ารายสุดท้ายได้ (Kapinsky, 2000) โดยภายในสายโซ่คุณค่าประกอบด้วยผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ตั้งแต่ผู้ผลิต ผู้กระจายสินค้า จนถึงผู้บริโภค มูลค่าสินค้าที่เพิ่มขึ้นแต่ละลำดับของกิจกรรมภายในสายโซ่คุณค่า (Value Chain) เป็นกิจกรรมการสร้างมูลค่าให้เกิดขึ้นในมุมมองของลูกค้าและการเพิ่มความได้เปรียบต่อคู่แข่งในตลาด ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยผู้วิจัยจึงมองเห็นว่าภาคเหนือและภาคกลางเป็นแหล่งผลิตปลาน้ำจืดที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่ง และเกษตรกรสามารถมีศักยภาพในด้านการผลิตปลาส้มที่มีคุณภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสร้างรายได้และอาชีพให้กับเกษตรกร ผู้ประกอบการ และผู้ที่สนใจ ได้อย่างมาก จึงได้มีแนวคิดที่จะทำการศึกษาและพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าของผลิตภัณฑ์ปลาส้ม เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการปรับปรุงกระบวนการผลิต การตลาด และการบริหารจัดการภายในสถานประกอบการที่ได้จากการวิจัยให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด มีต้นทุนต่ำ และมีคุณภาพในระดับที่ลูกค้ากำหนดได้
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยนี้ คือ การศึกษาและพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าของผลิตภัณฑ์ปลาส้ม เพื่อเป้าหมายสูงสุด คือ ลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และสร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ปลาส้ม ให้ผู้ประกอบการในภาคกลางได้ ซึ่งมีวัตถุประสงค์จำเพาะ 5 ประการ ได้แก่ 1.เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การเชื่อมต่อของกิจกรรมที่สร้างมูลค่าและกิจกรรมสูญเปล่าทั้งหมดภายในห่วงโซ่คุณค่าของผลิตภัณฑ์ปลาส้ม ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เพื่อค้นหาปัญหาและกำหนดรูปแบบการปรับปรุงกระบวนการผลิตที่เหมาะสม 2.เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัญหา และกำหนดรูปแบบการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการผลิต และการบริหารจัดการภายในสถานประกอบการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มศักภาพการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. เพื่อศึกษาต้นทุนและปรับปรุงกิจกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มภายในสถานประกอบการ ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เพื่อลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และสร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ปลาส้มได้ 4. เพื่อศึกษาผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์และการเงินของโครงการ เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มทุนของโครงการศึกษาและพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าของผลิตภัณฑ์ปลาส้มได้
ขอบเขตของโครงการ :
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในข้อที่ 5 ขอบเขตการวิจัยในโครงการนี้ได้กำหนดไว้ 6 ด้าน เพื่อให้ครอบคลุมกับวัตถุประสงค์ทั้งหมดของโครงการ ได้แก่ 1. ศึกษาและวิเคราะห์ความเชื่อมโยงของกิจกรรมในกระบวนการผลิตผลิตภัรฑ์ปลาส้ม ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ อาทิเช่น การจัดซื้อจัดหาวัตถุดิบและอุปกรณ์ การทำความสะอาด การผลิต การเก็บรักษา การขนส่ง และการจำหน่ายและการประชาสัมพันธ์สินค้า ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เป็นต้น เพื่อวิเคราะห์ลำดับการเชื่อมต่อของกิจกรรมที่สร้างมูลค่าและกิจกรรมสูญเปล่าทั้งหมดที่เกิดขึ้นภายในสายโซ่คุณค่าของสถานประกอบการ โดยข้อมูลดังกล่าวจะนำไปใช้ในการค้นหาปัญหาและกำหนดแนวทางปรับปรุงที่เหมาะสมกับกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ปลาส้มต่อไป 2. ศึกษาปัญหาและกำหนดแนวทางการปรับปรุงกิจกรรมที่ไม่สร้างมูลค่าให้มีจำนวนน้อยที่สุด รวมถึงการกำหนดรูปแบบการพัฒนากิจกรรมการผลิตให้เกิดมูลค่าเพิ่มสูงสุด ตั้งแต่กิจกรรมต้นน้ำจนถึงปลายน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยข้อมูลดังกล่าวจะนำไปกำหนดรูปแบบการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการผลิต และจัดหาอุปกรณ์และเครื่องจักรที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพการผลิตให้เพิ่มสูงขึ้นได้ เพื่อให้เกิดการสูญเสียและต้นทุนการผลิตต่ำสุด ซึ่งจะดำเนินการสอบถามความต้องการของผู้ประกอบการ กระบวนการผลิตและข้อจำกัดต่างๆ ในการผลิตสินค้า รวมถึงรูปแบบการบริหารจัดการด้านการจัดหาวัตถุดิบ การผลิต การเก็บรักษา รูปแบบบรรจุภัณฑ์ การขนส่ง และการจำหน่ายสินค้า เพื่อให้การพัฒนาปรับปรุงกิจกรรมการผลิตให้เกิดมูลค่าเพิ่มสูงสุด และทำให้เกิดการสูญเปล่าต่ำสุดได้ 3. ศึกษาต้นทุนการผลิตและโลจิสติกส์ ตั้งแต่เกษตรกร โรงงานผู้ผลิตสินค้า ไปจนถึงกลุ่มลูกค้า ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อศึกษาต้นทุนการผลิต ทั้งการจัดเตรียมวัตถุดิบ การทำความสะอาด การจัดเก็บ การผลิต การหมัก การบรรจุภัณฑ์ และการส่งมอบสินค้า เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางการพัฒนาปรับปรุงกิจกรรมการผลิต เพื่อให้เกิดมูลค่าและประสิทธิภาพสูงสุด รวมทั้งการนำข้อมูลที่ไปประกอบการพิจารณาปรับปรุงและลดของเสียในกระบวนการผลิตได้ ซึ่งประเด็นที่สำคัญสำหรับการศึกษากระบวนการผลิตและห่วงโซ่คุณค่าของผลิตภัณฑ์ปลาส้มในโครงการนี้ คือ ทางทีมผู้วิจัยจะไม่เพียงแค่ทำการสำรวจความเชื่อมโยงของกิจกรรมการผลิตเท่านั้น แต่ทีมผู้วิจัยจะดำเนินการให้คำปรึกษา และแนะนำแนวทางการปรับปรุงกระบวนการผลิตปลาส้มให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดอีกด้วย 4. ให้คำปรึกษาด้านการพัฒนาปรับปรุงกิจกรรมการผลิตที่สูญเปล่า มีต้นทุนสูง เกิดของเสียจำนวนมาก ใช้เวลาสำหรับการผลิตสูง และขาดประสิทธิภาพในการผลิตสินค้า ตั้งแต่กิจกรรมต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ รวมถึงการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการผลิตให้เกิดมูลค่าเพิ่มของสินค้าสูงสุด ซึ่งทางทีมผู้วิจัยจะพิจารณาถึงความคุ้มค่าและเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาปรับปรุงกิจกรรมการผลิตตามหลักการด้านโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทาน ทั้งการผลิต เวลาการผลิต การสร้างมูลค่าเพิ่ม ต้นทุนการผลิต และความหยืดหยุ่นในการผลิต และความคุ้มค่าในการลงทุน ทำให้ผู้ประกอบการสามารถลดต้นทุนหรือสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าได้อย่างเหมาะสม 5. ศึกษาด้านการวิเคราะห์การลงทุนสำหรับกิจกรรมการพัฒนาปรับปรุงกิจกรรมการผลิตที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม ลดต้นทุน และลดความสูญเปล่า เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มทุน และผลประโยชน์จากการดำเนินงานพัฒนาปรับปรุงกิจกรรมการผลิตดังกล่าวได้ เพื่อให้การศึกษาและพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าของผลิตภัณฑ์ปลาส้มเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ตามการวิเคราะห์แบบปรับค่าของเวลา (Discounted Measure of Project Worth) ซึ่งเป็นวิธีการร่วมสมัย (Contemporary Approach) และใช้กันอย่างแพร่หลาย 3 วิธี ได้แก่ 1. มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value: NPV) 2. อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน (Benefit-Cost Ratio: BCR) 3. อัตราผลตอบแทนภายในโครงการ (Internal Rate of Return)
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
จากวัตถุประสงค์และขอบเขตการวิจัยที่ได้ระบุไว้ในโครงการนี้ ผลลัพธ์ที่ได้รับจากโครงการนี้คาดว่าจะสร้างประโยชน์ให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องดังรายละเอียดดังนี้ 1. ผลการวิเคราะห์การเชื่อมโยงของกิจกรรมที่สร้างมูลค่าและกิจกรรมสูญเปล่าทั้งหมดภายในห่วงโซ่คุณค่าของผลิตภัณฑ์ปลาส้ม ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เพื่อค้นหาปัญหาและกำหนดรูปแบบการปรับปรุงกระบวนการผลิตที่เหมาะสม เนื่องจากทีมผู้วิจัยได้มีการศึกษาและสอบถามขั้นตอนการผลิตในทุกกิจกรรมที่มีความเชื่อมโยงกันของผู้ประกอบการในทุกกิจกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ทั้งกิจกรรมภายในและภายนอกโรงงาน รวมถึงข้อจำกัดและปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตสินค้าเพื่อความสมบูรณ์ของข้อมูล นอกจากนี้ยังได้มีการศึกษามาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ซึ่งทำให้สามารถคัดเลือกรูปแบบการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการผลิตปลาส้มให้มีคุณภาพตามมาตรฐานตามที่ลูกค้ากำหนด และยกระดับศักยภาพการผลิตสินค้าในกลุ่มนี้ได้เท่าเทียมกับคู่แข่งขันได้ ซึ่งถ้าโครงการนี้ประสบความสำเร็จผลประโยชน์ที่ได้จะตกอยู่กับประเทศชาติอย่างมหาศาล โดยหน่วยงานที่สามารถนำผลการดำเนินงานนี้ไปใช้ต่อ ได้แก่ ผู้ประกอบการแปรรูปผลิตภัณฑ์ปลาส้มและผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่ต้องยกระดับความสามารถในการผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มศักยภาพการผลิต ในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ ซึ่งผลประโยชน์ทางอ้อมจะตกอยู่กับประเทศชาติ เกษตรกร ภาคเอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป 2. รูปแบบการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการผลิต และการบริหารจัดการภายในสถานประกอบการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มศักภาพการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถลดกิจกรรมที่เกิดการสูญเปล่าในทุกกิจกรรมการผลิตปลาส้มได้ และเพิ่มคุณค่าในทุกกิจกรรมการผลิตที่มีความเชื่อมโยงกันได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งถ้าโครงการนี้ประสบความสำเร็จ ผลประโยชน์ที่ได้จะตกอยู่ผู้ประกอบการและเกษตรกรได้อย่างมหาศาล เนื่องจากทำให้สามารถยกระดับความสามารถในการผลิต ลดต้นทุน และเวลาการผลิตสินค้าได้ดีขึ้นและเกิดการสูญเสียน้อยที่สุด โดยผลประโยชน์ทางอ้อมจะตกอยู่กับประเทศชาติ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3. ระบบบริหารจัดการต้นทุนการผลิตและโลจิสติกส์ของโรงงาน ตั้งแต่เกษตรกร โรงงานผู้ผลิตสินค้าไปจนถึงกลุ่มลูกค้า ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยข้อมูลต่างๆ เหล่านี้จะนำมาใช้ในการพิจารณารูปแบบการปรับปรุงกิจกรรมที่สูญเปล่า ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยสูงเกินมาตรฐาน และเพิ่มกิจกรรมที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าได้ในโรงงาน ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ พร้อมทั้งยังนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต และกำหนดแนวทางการปรับปรุงกระบวนการผลิตให้เกิดต้นทุนต่ำสุด และเกิดประสิทธิภาพการผลิตสูงสุดได้ต่อไป
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         ในหัวข้อนี้จะอธิบายถึงขั้นตอนวิธีการทำวิจัย ซึ่งจะรวมถึงเนื้อหาในด้านการเก็บข้อมูล การกำหนดพื้นที่ ประชากรกลุ่มตัวอย่าง การสุ่มตัวอย่างที่จะนำมาวิเคราะห์ ขั้นตอน และวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล รวมทั้งระบุสถานที่ใช้เป็นที่ทำการวิจัยหรือการเก็บข้อมูล ซึ่งขั้นตอนการดำเนินงานวิจัยมีรายละเอียดดังนี้ 1. ศึกษาเอกสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับทฤษฎี และวิธีการเชื่อมโยงของกิจกรรมที่สร้างมูลค่าและกิจกรรมสูญเปล่าทั้งหมดภายในห่วงโซ่คุณค่าของผลิตภัณฑ์ปลาส้ม ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ที่ประกอบด้วยกิจกรรมพื้นฐาน และกิจกรรมสนับสนุน ตลอดจนข้อมูลทางด้านทาการศึกษา ค้นคว้า และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐานการจัดประเภทอุตสาหกรรมของหน่วยงานภายในประเทศ โดยการค้นคว้าข้อมูลจาก Web site ต่างๆ รวมถึงเอกสารเกี่ยวกับการจัดประเภทอุตสาหกรรมตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เพื่อนำมาจัดทำเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาของผู้วิจัยต่อไป 2. ศึกษา เก็บข้อมูล และวิเคราะห์ความเชื่อมโยงของกิจกรรมในกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ปลาส้ม ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ลำดับการเชื่อมต่อของกิจกรรมที่สร้างมูลค่าและกิจกรรมสูญเปล่าทั้งหมดที่เกิดขึ้นภายในสายโซ่คุณค่าของสถานประกอบการ พร้อมทั้งยังใช้เป็นข้อมูลในการค้นหาปัญหาและกำหนดแนวทางการปรับปรุงกระบวนการผลิตที่เหมาะสมต่อไป 3. ดำเนินการคัดเลือกกิจกรรมการผลิต และกำหนดปัญหาที่จะดำเนินการพัฒนาปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตั้งแต่กิจกรรมการกำจัดของเสีย การผลิตเกินความต้องการ สินค้ามีการรอคอย หรือทำให้เกิดความล่าช้า การเก็บวัสดุคงคลังมากเกินไป สั่งวัสดุปริมาณมากแต่มีการใช้น้อย กิจกรรมการขนย้ายที่ไม่จำเป็น กระบวนการผลิตที่ไร้ประสิทธิภาพ การเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น และข้อบกพร่องจากการผลิตและใช้พลังงานเกินความจำเป็น เป็นต้น ซึ่งหลังจากที่พบข้อบกพร่องแล้วให้ลำดับความสำคัญของปัญหาที่จะทำก่อนหลังได้ เพื่อนำมากำหนดรูปแบบการพัฒนาปรับปรุงภายในกิจกรรมดังกล่าวให้เกิดขึ้นในโรงงานได้อย่างถูกต้อง ตามเวลา และความจำเป็นของกิจกรรมการผลิตสินค้า 4. เสนอผลการคัดเลือกปัญหา พร้อมศึกษาข้อมูลและทำความเข้าใจปัญหาและอุปสรรคในการผลิตสินค้าของแต่ละกิจกรรมการผลิต เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลกำหนดแนวทางการพัฒนาปรับปรุงกิจกรรมการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากการวางแผนการพัฒนาปรับปรุงกิจกรรมการผลิตหลังการคัดเลือกปัญหา ซึ่งจะทำให้บุคลากรที่มีความเกี่ยวข้องสามารถดำเนินงานได้ตรงตามเป้าหมาย และวางแผนเข้าไปดูงานในสถานที่จริงที่เกิดขึ้นในโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อค้นหาสาเหตุ ปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหา และกำหนดรูปแบบการพัฒนาปรับปรุงกิจกรรมการผลิตได้ตรงกับสาเหตุของปัญหาจริงๆ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม 5. ดำเนินการวางแผนการพัฒนาปรับปรุงกิจกรรมการผลิตหลังการคัดเลือกปัญหา เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาและปรับปรุงกิจกรรมการผลิต เนื่องจากการวางแผนช่วยให้คาดการณ์สิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคต สามารถช่วยลดต้นทุน ลดการเคลื่อนไหวที่สูญเปล่า เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และช่วยลดความสูญเสียต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยเริ่มต้นด้วยการจัดอันดับความสำคัญของกิจกรรมและเป้าหมายหลังการดำเนินงาน เพื่อกำหนดวิธีดำเนินงาน กำหนดระยะเวลาดำเนินงาน ผู้รับผิดชอบ และงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงาน ซึ่งการวางแผนดังกล่าวอาจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม เพื่อให้โครงการดังกล่าวสามารถดำเนินงานได้ตามเป้าหมายที่กำหนดขึ้นได้ 6. นำผลที่ได้จากการศึกษาข้อมูลข้างต้นมาดำเนินการกำหนดวิธีการพัฒนาปรับปรุงกิจกรรมการผลิตที่มีความเหมาะสมกับผลการวิเคราะห์ และการดำเนินงานตามแผนการพัฒนาปรับปรุง ซึ่งอาจมีโครงสร้างการดำเนินงานที่ได้รับการรับรองการปฏิบัติงานไว้เรียบร้อยแล้ว เพื่อให้มีการนำเสนอแนวความคิดใหม่ๆ ในการปรับปรุงการทำงาน รวมถึงการกำหนดรูปแบบประเมินโครงสร้างที่รองรับการดำเนินงาน การประเมินขั้นตอนการดำเนินงาน และการประเมินผลของการดำเนินงานตามแผนที่กำหนดไว้ ซึ่งการนำเอาผลที่ได้มาวิเคราะห์ทำให้สามารถทราบผลและความก้าวหน้าในการดำเนินกิจกรรมการปรับปรุงงานดังกล่าวให้ได้ผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้ 7. จัดทำมาตรฐานการทำงานเพื่อนำไปใช้อ้างอิงถึงประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน หรือการนำผลการประเมินมาดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงแผนการปฎิบัติงานให้ดีขึ้น ซึ่งอาจประกอบด้วย การนำผลการประเมินมาวิเคราะห์ปัจจัยที่ต้องดำเนินการปรับปรุง ทั้งด้านโครงสร้างและขั้นตอนการปฏิบัติงาน เพื่อทำให้การพัฒนาปรับปรุงเกิดผลสัมฤทธ์สูงสุด และสังเคราะห์รูปแบบการปฏิบัติงานใหม่ที่เหมาะสมสำหรับการดำเนินการในอนาคตได้ 8. ศึกษาต้นทุนการผลิตและโลจิสติกส์ ตั้งแต่เกษตรกร โรงงานผู้ผลิตสินค้า ไปจนถึงกลุ่มลูกค้า ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งการจัดเตรียมวัตถุดิบ การทำความสะอาด การจัดเก็บ การผลิต การหมัก การบรรจุภัณฑ์ และการส่งมอบสินค้า เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์อัตราต้นทุน และแนวทางการพัฒนาปรับปรุงกิจกรรมการผลิต เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในการบริหารจัดการภายในสถานประกอบการ การวางแผนธุรกิจ การจัดทำงบประมาณ และใช้ในการตัดสินใจแก้ไขปรับปรุงกระบวนการผลิตและปัญหาต่าง ๆ ทั้งที่เกิดขึ้นเป็นประจำ หรือเป็นกรณีพิเศษ โดยเป็นกระบวนการผลิตที่มีต้นทุนต่อหน่วยสูงเกินค่ามาตรฐานได้ 9. ศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐศาสตร์และการเงิน เพื่อตรวจสอบความคุ้มทุนของโครงกาiศึกษาและพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าของผลิตภัณฑ์ปลาส้ม 10. สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ พร้อมส่งมอบผลการศึกษาของโครงการฯ ตลอดจนคู่มือแนวทางการพัฒนาปรับปรุงกิจกรรมการผลิต เพื่อลดต้นทุน ของเสีย และการเคลื่อนไหวที่สูญเปล่า รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของสถานประกอบการที่ดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ปลาส้มได้
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 นายสว่าง แป้นจันทร์ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 70%
2 นายโกเมน หมายมั่น นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 15%
3 นายภิญโญ ชุมมณี นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 15%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย