รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การวิเคราะห์อัตราการใช้พลังงานและทดสอบประสิทธิภาพในระบบสูบน้ำอัตโนมัติสำหรับการเพาะปลูกโดยกังหันลมแนวแกนตั้งร่วมกับแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด ในเขตอุทยานนกน้ำบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
Analysis of Energy Comsumption and Efficiency in Water Pump with Wind Turbine and Solar Cell for Nakhonsawan Bueng Boraphet Noknam Park
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
1 พฤษภาคม 2560
วันสิ้นสุดโครงการ :
30 เมษายน 2561
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยประยุกต์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         ในปัจจุบันปัญหาหลักของเกษตรกรในอดีตจนถึงปัจจุบันที่สำคัญประการหนึ่งคือการขาดแคลนน้ำเพื่อเกษตรกรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตพื้นที่เกษตรที่อาศัยน้ำฝน ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศที่อยู่ในเขตที่มีฝนค่อนข้างน้อย และส่วนมากเป็นนาข้าวและพืชไร่ เกษตรกรยังคงทำการเพาะปลูกได้ปีละครั้งในช่วงฤดูฝนเท่านั้น และมีความเสี่ยงกับความเสียหายอันเนื่องมาจากความแปรปรวนของดิน ฟ้า อากาศ และฝนทิ้งช่วง แม้ว่าจะมีการขุดบ่อหรือสระเก็บน้ำไว้ใช้แต่ก็ไม่มีขนาดแน่นอน หรือมีปัจจัยอื่นๆ ที่เป็นปัญหาให้มีน้ำใช้ไม่เพียงพอ อีกทั้งประเทศไทยยังมีแหล่งพลังงานของตนเองน้อยมากต้องพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศถึงร้อยละ 60 ของความต้องการพลังงานพาณิชย์ทั้งหมด และก๊าซธรรมชาติที่มีอยู่ในประเทศก็มีอยู่ ไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ภายในประเทศในระยะยาว ดังนั้น การใช้ทรัพยากรพลังงานที่มีอยู่ อย่างจำกัด ควรให้มีการใช้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าโดยก๊าซธรรมชาติ ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. สูงมาก หากมีการส่งเสริมให้ใช้เพิ่มมากขึ้น จะก่อให้เกิดความเสี่ยง ต่อระบบไฟฟ้าของประเทศ เพราะระบบการผลิตไฟฟ้า จะพึ่งพาก๊าซธรรมชาติมากเกินไป ซึ่งการพึ่งพาพลังงานชนิดใดชนิดหนึ่ง มากเกินไป จะก่อให้เกิดความเสี่ยง ในการจัดหาพลังงานของประเทศ เช่น หากเกิดกรณีปัญหา ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ เกิดสงคราม ระบบท่อส่งก๊าซขัดข้อง หรือ ปริมาณ สำรองเหลือน้อย เป็นต้น อาจทำให้การจัดหาพลังงานจากแหล่งอื่น หรือ ชนิดอื่นมาทดแทนได้ ไม่ทันกับความต้องการ ซึ่งจะส่งผลกระทบ ต่อความมั่นคงของประเทศโดยอาจทำให้เกิดการหยุดชะงักในระบบผลิตไฟฟ้า และระบบการผลิตของภาคอุตสาหกรรมรวมทั้งการดำเนินกิจกรรมต่างๆต้องหยุดชะงักไปด้วย (http://www.eppo.go.th/doc/doc-AlterFuel.html) พลังงานลม เป็นพลังงานจากธรรมชาติที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ มนุษย์เราได้ใช้ประโยชน์จากพลังงานลมมานานหลายพันปี ในการอำนวยความสะดวกสบายแก่ชีวิต เช่น การแล่นเรือใบขนส่งสินค้าไปได้ไกลๆ การหมุนกังหันวิดน้ำ การหมุนโม่หินบดเมล็ดพืชให้เป็นแป้ง ในปัจจุบันมนุษย์จึงได้ให้ความสำคัญและนำมาใช้ประโยชน์มากขึ้น โดยการนำมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า เนื่องจากพลังงานลมมีอยู่โดยทั่วไป ไม่ต้องซื้อ เป็นพลังงานที่สะอาด ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสภาพแวดล้อม และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไม่รู้จักหมดสิ้น “ กังหันลม ” เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ถูกนำมาใช้สกัดพลังงานจลน์ของกระแสลม และเปลี่ยนให้เป็นให้เป็นพลังงานกล จากนั้นจึงนำพลังงานกลมาใช้ประโยชน์ กล่าวคือ เมื่อกระแสลมพัดผ่านใบกังหัน จะเกิดการถ่ายทอดพลังงานจลน์ไปสู่ใบกังหัน ทำให้กังหันหมุนรอบแกน สามารถนำพลังงานจากการหมุนนี้ไปใช้งานได้กังหันลมที่ใช้กันมากในประเทศไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ได้แก่ กังหันลมแบบใบกังหันไม้ ใช้สำหรับฉุดระหัดวิดน้ำเข้านาข้าวบริเวณจังหวัดฉะเชิงเทรา กังหันลมใบเสื่อลำแพน ใช้ฉุดระหัดวิดน้ำเค็มเข้านาเกลือบริเวณ จังหวัดสมุทรสงคราม และกังหันลมแบบใบกังหันหลายใบ ทำด้วยแผ่นเหล็กใช้สำหรับสูบน้ำจากบ่อน้ำบาดาลขึ้นไปเก็บในถังกักเก็บ สำหรับการใช้พลังงานลมในประเทศไทย ในการติดตั้งกังหันลมหรือกำลังลมเฉลี่ยทั้งปีควรไม่น้อยกว่าระดับ 3 (Class3) คือ 6.4-7.0 เมตร/วินาที หรือ 300-400 กิโลวัตต์/ตารางเมตร ที่ความสูง 50 เมตร เพื่อสามารถพัฒนากังหันลมสูบน้ำได้ จากการสำรวจแหล่งที่มีความเร็วลมดังกล่าว บริเวณที่ราบเขตบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ มีศักยภาพของพลังงานลมเพียงพอต่อการพัฒนาระบบกังหันลมสูบน้ำให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งศักยภาพด้านพลังงานแสงอาทิตย์ของจังหวัดนครสวรรค์ มีศักยภาพที่สูงอยู่ในบริเวณที่มีความเข้มแสงอาทิตย์ที่สูงพอที่จะสามารถนำพลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตไฟฟ้าจ่ายให้กับระบบสูบน้ำในเขตอุทยานนกน้ำ บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ได้ ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงสนใจที่จะทำงานวิจัยเรื่องการวิเคราะห์อัตราการใช้พลังงานและทดสอบประสิทธิภาพในระบบสูบน้ำอัตโนมัติสำหรับการเพาะปลูกโดยกังหันลมแนวแกนตั้งร่วมกับแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด ในเขตอุทยานนกน้ำบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ขึ้น โดยมีการออกแบบและสร้างกังหันลมแนวแกนตั้งสำหรับระบบสูบน้ำอัตโนมัติสำหรับการเพาะปลูกโดยกังหันลมแนวแกนตั้งร่วมกับออกแบบระบบแผงเซลล์แสงอาทิตย์ให้สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าและสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของระบบสูบน้ำอัตโนมัติสำหรับการเพาะปลูกโดยกังหันลมแนวแกนตั้งร่วมกับแผงเซลล์แสงอาทิตย์ เพื่อสนับสนุนนโยบายการใช้พลังงานทดแทนของแผนพัฒนาพลังงานทดแทนของประเทศไทย และเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมถึงดำเนินการวิจัยที่ตอบสนองต่อการใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอย่างแท้จริง โดยสามารถนำผลงานวิจัย (Output) ของงานวิจัย เรื่องการวิเคราะห์อัตราการใช้พลังงานและทดสอบประสิทธิภาพในระบบสูบน้ำอัตโนมัติสำหรับการเพาะปลูกโดยกังหันลมแนวแกนตั้งร่วมกับแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด ในเขตอุทยานนกน้ำบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ไปถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีให้แก่ชุมชนได้ เพื่อเป็นการส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เพื่อให้ชาวบ้านในชุมชนรอบอุทยานนกน้ำ และนักท่องเที่ยวผู้สนใจมาศึกษาเป็นต้นแบบและสามารถนำไปประยุกต์พัฒนาต่อยอดสร้างระบบสูบน้ำอัตโนมัติจากพลังงานทดแทนใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1 เพื่อออกแบบและสร้างระบบสูบน้ำอัตโนมัติสำหรับการเพาะปลูกโดยกังหันลมแนวแกนตั้งร่วมกับแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด ในเขตอุทยานนกน้ำบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ 2 เพื่อหาอัตราการใช้พลังงานของระบบสูบน้ำอัตโนมัติสำหรับการเพาะปลูกโดยกังหันลมแนวแกนตั้งร่วมกับแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด ในเขตอุทยานนกน้ำบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ 3 เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของระบบสูบน้ำอัตโนมัติสำหรับการเพาะปลูกโดยกังหันลมแนวแกนตั้งร่วมกับแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด ในเขตอุทยานนกน้ำบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ 4 เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของระบบสูบน้ำอัตโนมัติสำหรับการเพาะปลูกโดยกังหันลมแนวแกนตั้งร่วมกับแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด ในเขตอุทยานนกน้ำบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :
ขอบเขตพื้นที่ : ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด ในเขตอุทยานนกน้ำบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ขอบเขตเวลา : การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการทดสอบในช่วงเวลาเวลา 08.00 ถึง 17.00 น. ขอบเขตกลุ่มตัวอย่าง : ปริมาณน้ำที่สูบ อัตราการใช้พลังงานในการสูบน้ำจากกังหันลมแนวแกนตั้ง ประสิทธิภาพระบบสูบน้ำอัตโนมัติ ตัวแปรต้น : ความเร็วลมและความเร็วรอบของใบกังหัน : กำลังที่ใช้ในการสูบน้ำ : ความเข้มแสงอาทิตย์ ตัวแปรตาม : แรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าที่ได้ : อัตราการทดรอบ : ปริมาณน้ำที่สูบในแต่ละวัน ตัวแปรควบคุม : ขนาดของใบกังหัน : ขนาดกำลังไฟฟ้าของปั๊มน้ำ : ขนาดระบบของแผงเซลล์แสงอาทิตย์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
1 ได้กังหันลมและระบบแผงเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับระบบสูบน้ำสำหรับใช้ในสวนหย่อมและสวนสาธารณะ บริเวณอุทยานนกน้ำ บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ 2 ได้ผลการทดสอบประสิทธิภาพของกังหันลมและระบบแผงเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับระบบสูบน้ำสำหรับใช้ในสวนหย่อมและสวนสาธารณะ บริเวณอุทยานนกน้ำ บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ 3 ได้ผลการวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของกังหันลมและระบบแผงเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับระบบสูบน้ำสำหรับใช้ในสวนหย่อมและสวนสาธารณะ บริเวณอุทยานนกน้ำ บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ 4 ได้ต้นแบบการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทนให้กับชุมชน และสร้างแหล่งการเรียนรู้เพื่อให้เห็นภาพได้ชัดในบริเวณชุมชน 5 ได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ให้กับอุทยานนกน้ำ บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์รวมถึงสอดรับกับนโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัด 6 ชุมชนสามารถนำองค์ความรู้ทางด้านพลังงานไปประยุกต์ใช้และออกแบบสร้างได้ เพื่อสนับสนุนการพึ่งพาพลังงานในชุมชนอย่างยั่งยืน
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         ระยะเวลา วิธีดำเนินการวิจัย เป้าหมาย เดือนที่ 1 กิจกรรมศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ ปริมาณน้ำที่ต้องการใช้ ระยะความสูงเฮดของน้ำ ความเข้มแสงอาทิตย์และความเร็วลมในเขตอุทยานนกน้ำบึงบอระเพ็ด บุคลากร: ผศ.ถิรายุ ปิ่นทอง, ผศ.วีระชาติ จริตงาม, ผศ.ธีรพจน์ แนบเนียน, อ.โกเมน หมายมั่น ได้ข้อมูลเบื้องต้นของปริมาณน้ำที่ต้องการใช้ ระยะความสูงเฮดของน้ำ ความเข้มแสงอาทิตย์และความเร็วลมในเขตอุทยานนกน้ำบึงบอระเพ็ด เดือนที่ 2 กิจกรรมออกแบบระบบสูบน้ำ คำนวณหาขนาดของปั๊มสูบน้ำ และออกแบบการวางระบบท่อสูบน้ำ บุคลากร: ผศ.ถิรายุ ปิ่นทอง, ผศ.วีระชาติ จริตงาม, ผศ.ธีรพจน์ แนบเนียน, อ.โกเมน หมายมั่น ได้ผลการออกแบบระบบสูบน้ำ คำนวณหาขนาดของปั๊มสูบน้ำ และออกแบบการวางระบบท่อสูบน้ำ เดือนที่ 3 กิจกรรมออกแบบขนาดกำลังไฟฟ้าของระบบการผลิตไฟฟ้าจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ และออกแบบระบบการชาร์ตประจุไฟฟ้าเพื่อจ่ายให้กับระบบสูบน้ำ บุคลากร: ผศ.ถิรายุ ปิ่นทอง ได้ผลการออกแบบขนาดกำลังไฟฟ้าของระบบการผลิตไฟฟ้าจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ และออกแบบระบบการชาร์ตประจุเพื่อจ่ายให้กับระบบสูบน้ำ เดือนที่ 4 กิจกรรมออกแบบโครงสร้างและขนาดกังหันลมผลิตไฟฟ้า และออกแบบระบบการชาร์ตประจุไฟฟ้าเพื่อจ่ายให้กับระบบสูบน้ำ บุคลากร: ผศ.ถิรายุ ปิ่นทอง, ผศ.วีระชาติ จริตงาม ได้ผลการออกแบบโครงสร้างและขนาดกังหันลมแนวแกนตั้งผลิตไฟฟ้า และออกแบบระบบการชาร์ตประจุไฟฟ้าเพื่อจ่ายให้กับระบบสูบน้ำ เดือนที่ 5 กิจกรรมออกแบบภาพรวมของระบบและดำเนินการสร้างระบบสูบน้ำด้วยกังหันลมร่วมกับแผงเซลล์แสงอาทิตย์ บุคลากร: ผศ.ถิรายุ ปิ่นทอง, ผศ.วีระชาติ จริตงาม, ผศ.ธีรพจน์ แนบเนียน, อ.โกเมน หมายมั่น ได้แบบภาพรวมของระบบ และได้ระบบสูบน้ำด้วยกังหันลมแนวแกนตั้งร่วมกับแผงเซลล์แสงอาทิตย์บริเวณอุทยานนกน้ำ บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ เดือนที่ 6 กิจกรรมปรับปรุงแก้ไขและทดสอบประสิทธิภาพของระบบสูบน้ำด้วยกังหันลมร่วมกับแผงเซลล์แสงอาทิตย์ บุคลากร: ผศ.ถิรายุ ปิ่นทอง, ผศ.วีระชาติ จริตงาม, ผศ.ธีรพจน์ แนบเนียน, อ.โกเมน หมายมั่น ได้ผลการปรับปรุงและผลการทดสอบระบบสูบน้ำด้วยกังหันลมแนวแกนตั้งร่วมกับแผงเซลล์แสงอาทิตย์บริเวณอุทยานนกน้ำ บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ เดือนที่ 7 กิจกรรมทดสอบประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าและการชาร์ตประจุไฟฟ้าเพื่อสูบน้ำด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์ บุคลากร: ผศ.ถิรายุ ปิ่นทอง ได้ผลการทดสอบประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าและการชาร์ตประจุไฟฟ้าเพื่อสูบน้ำด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์บริเวณอุทยานนกน้ำ บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ เดือนที่ 8 กิจกรรมทดสอบประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าและการชาร์ตประจุไฟฟ้าเพื่อสูบน้ำด้วยกังหันลม บุคลากร: ผศ.ถิรายุ ปิ่นทอง, ผศ.วีระชาติ จริตงาม, ผศ.ธีรพจน์ แนบเนียน, อ.โกเมน หมายมั่น ได้ผลการทดสอบประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าและการชาร์ตประจุไฟฟ้าเพื่อสูบน้ำด้วยกังหันลมแนวแกนตั้งบริเวณอุทยานนกน้ำ บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ เดือนที่ 9-10 กิจกรรมการวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ระบบสูบน้ำด้วยกังหันลมร่วมกับแผงเซลล์แสงอาทิตย์และสังเคราะห์งานวิจัยและสรุปผลการดำเนินงานและสรุปผลงานวิจัยและทำรายงานผลการวิจัยฉบับสมบูรณ์ บุคลากร: ผศ.ถิรายุ ปิ่นทอง, ผศ.วีระชาติ จริตงาม, ผศ.ธีรพจน์ แนบเนียน, อ.โกเมน หมายมั่น ได้ผลการการวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของระบบสูบน้ำด้วยกังหันลมแนวแกนตั้งร่วมกับแผงเซลล์แสงอาทิตย์และได้ผลการสังเคราะห์งานวิจัยและได้รายงานผลการวิจัยฉบับสมบูรณ์ และได้ระบบสูบน้ำด้วยกังหันลมแนวแกนตั้งร่วมกับแผงเซลล์แสงอาทิตย์บริเวณอุทยานนกน้ำ บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ชุมชน เดือนที่ 11-12 ส่งรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์พร้อมหลักฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยให้สถาบันวิจัยฯดำเนินการส่งคณะกรรมการพิจารณาคุณภาพงานวิจัยพิจารณาเป็นลำดับต่อไป บุคลากร: ผศ.ถิรายุ ปิ่นทอง, ผศ.วีระชาติ จริตงาม, ผศ.ธีรพจน์ แนบเนียน, อ.โกเมน หมายมั่น จัดส่งรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์พร้อมหลักฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยให้สถาบันวิจัยฯ ดำเนินการส่งคณะกรรมการพิจารณาคุณภาพงานวิจัยพิจารณาเป็นลำดับต่อไป
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
เมื่องานวิจัยเสร็จสมบูรณ์ จะได้เรื่องการวิเคราะห์อัตราการใช้พลังงานและทดสอบประสิทธิภาพในระบบสูบน้ำอัตโนมัติสำหรับการเพาะปลูกโดยกังหันลมแนวแกนตั้งร่วมกับแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด ในเขตอุทยานนกน้ำบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ส่งเสริมให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งอีกทั้งยังเกิดความมั่นคงด้านพลังงานมากยิ่งขึ้นด้วย ระดับความสำเร็จของงานได้ระบบสูบน้ำอัตโนมัติสำหรับการเพาะปลูกโดยกังหันลมแนวแกนตั้งร่วมกับแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ที่มีประสิทธิภาพและลดการใช้พลังงานในกระบวนการสูบน้ำเพื่อทำการเพาะปลูก ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด ในเขตอุทยานนกน้ำบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ รวมถึงได้คู่มือการใช้งานระบบสูบน้ำอัตโนมัติสำหรับการเพาะปลูกโดยกังหันลมแนวแกนตั้งร่วมกับแผงเซลล์แสงอาทิตย์ อีกทั้งชุมชนสามารถนำหลักการที่ได้รับการถ่ายทอดจากการจัดอบรมไปประยุกต์จัดทำใช้ได้เอง งานวิจัยนี้เป็นการส่งเสริมการพึ่งพาพลังงานทดแทนในชุมชนอย่างยั่งยืน
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 นายวีระชาติ จริตงาม นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 15%
2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ถิรายุ ปิ่นทอง นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 55%
3 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีรพจน์ แนบเนียน นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 15%
4 นายโกเมน หมายมั่น นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 15%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย