มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
สถาบันวิจัยและพัฒนา
ระบบจัดการงานวิจัย
NSRU
RESEARCH
หน้าหลัก
ค้นหารายการ
ข้อมูลงานวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
รายงานสถิติ
งานวิจัย
งานทรัพย์สินทางปัญญา
เข้าสู่ระบบ
รายละเอียดโครงการวิจัย
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การศึกษาพัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากกาบปลีของกล้วย
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
Study of formulation development of cosmetic product from banana bracts
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
1 ตุลาคม 2559
วันสิ้นสุดโครงการ :
30 กันยายน 2560
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยประยุกต์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
กล้วยเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของไทยที่มีการส่งออกสูง เป็นพืชอาหารโลกที่มีการปลูกมากกว่า 135 ประเทศทั่วโลก ส่วนในประเทศไทยมีพื้นที่การเกษตรที่มีการปลูกกล้วยประมาณ5 แสนไร่ โดยปลูกกล้วยน้ำว้ามากที่สุด รองลงมาคือ กล้วยหอม และกล้วยไข่ตามลำดับ สถานการณ์การปลูกกล้วยในจังหวัดนครสวรรค์ พบว่า ต. ตะเคียนเลื่อน ต. บางมะฝ่อ มีการปลูกกล้วยมากกว่า 6 พันไร่ ให้ผลผลิตมากกว่า 4 ตันต่อไร่ เป็นพื้นที่ที่มีการส่งออกต่างประเทศในอันดับต้นๆของประเทศ (สำนักพิมพ์มติชน, 2558) แต่อย่างไรก็ตาม พบปัญหาในการปลูกกล้วย ส่วนใหญ่ที่พบคือ เกษตรกรประสบปัญหาสิ่งแวดล้อมเช่น น้ำท่วม ระบบชลประทานไม่ทั่วถึงทำให้เกิดภาวะแห้งแล้ง ขาดข้อมูลสนับสนุนการนำไปใช้ประโยชน์ให้เกิดความหลากหลาย และเกิดการระบาดของโรคพืช ทำให้เกษตรกรไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิต ผลผลิตที่ได้ไม่ได้มาตรฐานการส่งออก ทำให้ราคากล้วยตกต่ำ ต้นกล้วยหรือส่วนต่างๆที่ไม่ได้มาตรฐานและเหลือใช้จากการส่งออกหรือการเก็บเกี่ยว ซึ่งของเหลือใช้ทางการเกษตรเหล่านี้นิยมนำมาทำปุ๋ย แต่ยังไม่มีการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในด้านอื่นๆให้เกิดความหลากหลายสูงสุด ดังนั้น การนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเหล่านี้มาเป็นวัตถุดิบในการผลิตเครื่องสำอาง จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการเพิ่มมูลค่า สร้างอาชีพให้แก่เกษตรกร นำไปสู่การต่อยอดเชิงพาณิชย์ อีกทั้งยังเป็นการลดการเกิดมลพิษจากการเผาไหม้ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ปัจจุบันตลาดเครื่องสำอางในประเทศมีการนำเข้ามูลค่าเป็นพันล้านบาท และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้มีการผลิตเครื่องสำอางจากธรรมชาติโดยใช้ทรัพยากรในประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรให้เกิดมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้เพื่อทดแทนการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม ตลาดเครื่องสำอางส่วนใหญ่ที่ผลิตในชุมชนยังไม่ได้มาตรฐาน ดังนั้นจึงควรส่งเสริมและให้ความรู้แก่ผู้ผลิตเครื่องสำอางในชุมชน เพื่อยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์สารสกัดธรรมชาติ จากทรัพยากรในชุมชนท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างยั่งยืน และปลอดภัยต่อผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นปัญหาหลักที่สำคัญของผู้ใช้เครื่องสำอางที่พบได้บ่อยต่อผลข้างเคียงจากการใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ไม่ได้มาตรฐาน นอกจากนี้งานวิจัยวัสดุเหลือใช้จากกล้วยยังไม่พบข้อมูลในประเทศไทยมากนักถึงฤทธิ์ในการต้านเชื้อจุลชีพ ต้านอนุมูลอิสระ และยังไม่มีการนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง งานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษา สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพต่อเชื้อจุลชีพก่อโรค ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากกาบปลีของกล้วยที่มีประสิทธิภาพในการลดเชื้อจุลชีพและผลิตภัณฑ์บำรุงผิว และทดสอบความคงตัวของผลิตภัณฑ์จากของเหลือใช้ทางการเกษตรจากกาบปลีของกล้วยเหล่านี้
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
5.1 เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากกาบปลีกล้วยในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคผิวหนังบางชนิดและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ 5.2 เพื่อพัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและทดสอบความคงตัวของผลิตภัณฑ์
ขอบเขตของโครงการ :
6.1 ประชากรที่ศึกษาคือ กาบของปลีกล้วย โดยใช้ตัวทำละลายในการสกัด ได้แก่ น้ำ เอทานอลและเอทิลอะซิเตท 6.2 ทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคผิวหนัง Staphylococcus aureus และทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดในการต้านอนุมูลอิสระ 6.3 พัฒนาตั้งตำรับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากกาบปลีของกล้วย 6.4 การจัดการองค์ความรู้โดยแผยแพร่ ถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัยให้แก่เกษตรกรหรือผู้สนใจในรูปของเอกสาร หนังสือ สิ่งพิมพ์หรือจัดอบรม ณ ศูนย์การเรียนรู้ของชุมชนหรือสถานศึกษา หรือเผยแพร่ในงานประชุมวิชาการหรือวารสารทางวิชาการ 6.5 ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 6.5.1 วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น กาบปลีของกล้วย 6.5.2 ประสิทธิภาพของสารสกัดจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในการยับยั้งเชื้อ ก่อโรคผิวหนัง Staphylococcus aureus 6.5.3 ประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระ 6.5.4 ประสิทธิภาพ ความคงตัวของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
10.1 ทราบประสิทธิภาพการมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียก่อโรคผิวหนังบางชนิด การเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ จากกาบปลีของกล้วย 10.2 ได้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางต้นแบบที่มีประสิทธิภาพ 1 ผลิตภัณฑ์ และเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาต่อยอดเชิงพาณิชย์ 10.3 เป็นแนวทางให้เกษตรกรใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพิ่มมูลค่าจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรให้มีราคาสูง เกิดรายได้ และลดการก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
12.1.การเตรียมสารสกัดจากของเหลือทิ้งจากกาบปลี นำกาบปลี มาบดและสกัดด้วยตัวทำละลายน้ำ เอทานอล 95% และเอทิลอะซิเตท จากนั้นกรองและระเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่องระเหยระบบสุญญากาศ (Rotary Vacuum Evaporator) และนำไปเก็บที่อุณหภูมิ 4?C เพื่อใช้ในการทดสอบขั้นต่อไป 12.2 การทดสอบความสามารถของสารสกัดในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียทดสอบด้วยวิธี Agar well diffusion (คณาจารย์สาขาจุลชีววิทยา, 2557) 12.2.1 เพาะเลี้ยงเชื้อ Staphylococcus aureus ในอาหารเลี้ยงเชื้อ บ่มที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 18 - 24 ชั่วโมง เพื่อให้ได้ความขุ่นของแบคทีเรียเทียบเท่า McFarland standards 0.5 12.2.2 จากนั้นใช้ไม้พันสำลีปลอดเชื้อจุ่มลงในหลอดเพาะเชื้อแต่ละชนิด นำมาเกลี่ยบนผิวหน้าอาหาร NA ใช้ cork borer ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 มิลลิเมตร เจาะลงบนอาหารเลี้ยงเชื้อ แล้วหยดสารสกัดยาปฏิชีวนะ จากนั้นบ่มที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง บันทึกเส้นผ่านศูนย์กลางวงใสของการยับยั้ง 12.3 การหาค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียทดสอบ (MIC) และหาค่าความเข้มข้นต่ำสุดของสารทดสอบที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียทดสอบ (MBC) ด้วยวิธี Broth dilution (ณรงค์ศักดิ์, 2553) 12.3.1 ทำการเจือจางสารสกัดที่ยับยั้งที่ดีที่สุด เติมแบคทีเรียทดสอบ นำไปบ่มที่ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลานาน 24 - 72 ชั่วโมง อ่านผลการเกิดความขุ่นของแบคทีเรียทดสอบในหลอดทดลองด้วยตาเปล่า เทียบกับหลอดควบคุม ค่า MIC คือ ค่าความเข้มข้นต่ำสุดของสารทดสอบในหลอดที่ไม่มีความขุ่นเกิดขึ้น 12.3.2 นำหลอดทดสอบที่ไม่พบการเจริญของเชื้อในข้อ 12.3.1 มา streak plate และบ่มที่ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง อ่านเป็นค่า MBC คือค่าที่ให้ผลของการนับจำนวนเซลล์ไม่เกิน 0.01 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนเซลล์เริ่มต้น 12.4. การทดสอบกิจกรรมต้านออกซิเดชันด้วยวิธี DPPH assay (ดัดแปลงจาก Duan, 2007) 12.4.1 เจือจางสารสกัดที่ความเข้มข้นต่างๆ จากนั้นเติมสารสกัดลงในหลอดทดลองและเติม 1M Tris- HCl (pH 7.9) และ 130 ?M DPPH methanol solution ผสมให้เข้ากัน บ่มในที่มืดอุณหภูมิห้องเป็นเวลา 20 นาที นำไปวัดค่าดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่น 517 นาโนเมตร คำนวณหา % inhibition ตามสมการ ดังนี้ % inhibition = [(A517 control- A517 test sample)/ A517control] x 100 12.4.2 จากค่า % inhibition ที่ได้นำมาคำนวณเป็น gallic acid equivalent (gallic acid mg/mL และ gallic acid/g dry weight) 12.5. การวัดปริมาณ Phenolic compound (ดัดแปลงจาก Chandler and Dodds, 1983) 12.5.1 เจือจางสารสกัดที่ความเข้มข้นต่างๆ ผสมสารสกัดและ50% Folin-Ciocalteu reagent บ่มที่อุณหภูมิห้องนาน 5 นาที เติม 5% Na2CO3 บ่มไว้ในที่มืด 1 ชั่วโมง และวัดค่าการดูดกลืนคลื่นแสงที่ความยาวคลื่น 725 นาโนเมตร โดยใช้เครื่องวัดค่าการดูดกลืนแสง 12.5.2 นำค่าการดูดกลืนแสงที่ 725 นาโนเมตร มาคำนวณเป็น gallic acid equivalent (gallic acid mg/mL และ mg gallic acid/g dry weight) 12.6 ตั้งตำรับพื้นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เตรียมตำรับพื้นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากกาบปลีของกล้วย 12.6.1 การทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพและความคงตัวของตำรับพื้นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง (Romanowski et al, 2006) -สังเกตลักษณะทางกายภาพของตำรับพื้น คือ ความเป็นกรด ด่าง สี ลักษณะเนื้อผลิตภัณฑ์และความหนืด -ทดสอบความคงตัวของตำรับพื้น โดยเก็บตำรับพื้น ในสภาวะอุณหภูมิต่างๆ และ heating/cooling cycle พร้อมบันทึกผลการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของตำรับพื้น แล้วเลือกตำรับพื้นที่ดีที่สุดมาผสมสารสกัด 12.6.2 ตั้งตำรับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ผสมสารสกัดและทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพและความคงตัวของตำรับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง (Romanowski et al, 2006) เลือกสารตัวอย่างที่มีฤทธิ์ดีที่สุด โดยประเมินผลจากการศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพ เพื่อนำมา ผสมในตำรับ โดยเติมสารสกัดที่ออกฤทธิ์ดีที่สุดลงในตำรับพื้น และสังเกตลักษณะทางกายภาพของตำรับ ที่เติมสารสกัดคือ ความเป็นกรด ด่าง สี ลักษณะเนื้อผลิตภัณฑ์ 12.6.3 การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ วิเคราะห์ความแตกต่างของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดแต่ละชนิดโดยใช้โปรแกรม SPSS version 17.0 for windows 12 ระยะเวลาทำการวิจัย และแผนการดำเนินงานตลอดโครงการวิจัย (ให้ระบุขั้นตอนอย่างละเอียด) ระยะเวลาโครงการ 1 ปี พ.ค. 2560- เม.ย. 2561
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
การนำกาบปลีกล้วยมาสกัดสารสำคัญและทดสอบการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ต้านอนุมูลอิสระและนำมาผสมตั้งตำรับเครื่องสำอาง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่
รายชื่อ
ประเภทนักวิจัย
บทบาทหน้าที่
สัดส่วน
1
นางสาวเรณู อยู่เจริญ
นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย
หัวหน้าโครงการวิจัย
100%
สถาบันวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130
หมายเลขโทรศัพท์
056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย
website
rdi.nsru.ac.th
Smart Rdi Nsru