รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การพัฒนาเครื่องฟักไข่เทอร์โมอิเล็กทริก โดยใช้ระบบลูกกลิ้ง สำหรับการเลี้ยงนกกระทาในจังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
Development of a Thermoelectric Incubator using roller system for Japanese quail culture in Nakhonsawan Province
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
1 ตุลาคม 2559
วันสิ้นสุดโครงการ :
30 กันยายน 2560
ประเภทของการวิจัย :
การวิจัยและพัฒนา
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         เนื่องจากอาชีพหลักของคนไทยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรรม การเลี้ยงสัตว์ก็เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่มีความสำคัญในแวดวงการเกษตรนอกเหนือจากการทำไร่ทำสวนโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาชีพเลี้ยงนกกระทาซึ่งเป็นสัตว์ปีกอีกชนิดหนึ่งที่ให้ผลผลิตสูง ทั้งยังมีรสชาติดี ไขมันต่ำจึงทำให้มีการบริโภคเนื้อนกกระทาและไข่นกกระทาเป็นจำนวนมากทำให้มีผู้ที่ต้องการประกอบอาชีพทางด้านนี้เป็นจำนวนมากและผู้ประกอบการเดิมที่ต้องการลดต้นทุนและเพิ่มรายได้ให้แก่ตัวผู้ประกอบการเอง การเลี้ยงนกกระทา ขั้นตอนการฟักไข่เป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่ผู้ประกอบการจะต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ เพราะในกรณีที่แม่นกฟักไข่เองมักจะประสบปัญหาไข่แตกขณะฟักหรือแม่นกทับลูกอ่อนตาย ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จึงหันมานิยมใช้ตู้ฟักไข่แทน แต่ปัญหาของตู้ฟักไข่ในปัจจุบันมีการสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าที่สูง เนื่องจากต้องใช้อุปกรณ์ให้ความร้อน และในขณะที่ฟักไข่นกกระทาต้องมีการกลับไข่เพราะถ้าไม่มีการกลับไข่เชื้อของลูกนกจะลอยตัวขึ้นไปติดกับเปลือกไข่ทำให้ไข่เสียไม่เกิดการฟักตัว โดยในการฟักไข่นกกระทาจะต้องมีการกลับไข่อย่างน้อยวันละ 4-5 ครั้ง ซึ่งปัจจุบันผู้ประกอบการใช้ระบบการกลับไข่โดยการเปิดตู้แล้วใช้มือในการกลับไข่ซึ่งจะทำให้กลับไข่ได้ไม่ทั่วถึงและยังมีการสูญเสียพลังงานความร้อนเป็นจำนวนมากเนื่องจากจะต้องเปิดตู้เป็นเวลานาน ส่งผลให้อุณหภูมิภายในตู้ฟักไม่คงที่และเกิดการสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าที่สูง จากปัญหาดังกล่าวผู้จัดทำโครงงาน จึงสนใจที่จะพัฒนาเครื่องฟักไข่เทอร์โมอิเล็กทริกโดยใช้ระบบลูกกลิ้ง สำหรับการเลี้ยงนกกระทาในจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อการประหยัดพลังงานไฟฟ้าและสามารถควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ที่ประมาณ 37.5 องศาเซลเซียสได้ ซึ่งจะส่งผลให้การกลับไข่ทั่วถึงมากยิ่งขึ้นและลดระยะเวลาในการฟักไข่ ลดอัตราเสี่ยงในการที่ไข่จะไม่ฟักตัว ทำให้เปอร์เซ็นการเกิดสูงขึ้นจากเดิมและลดต้นทุนในการฟักไข่นกกระทา
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
6.1 เพื่อการพัฒนาเครื่องฟักไข่เทอร์โมอิเล็กทริกโดยใช้ระบบลูกกลิ้งสำหรับการเลี้ยงนกกระทาในจังหวัดนครสวรรค์ 6.2 เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องฟักไข่เทอร์โมอิเล็กทริกโดยใช้ระบบลูกกลิ้งสำหรับการเลี้ยงนกกระทาในจังหวัดนครสวรรค์ 6.3 เพื่อประเมินทางเศรษฐศาสตร์ของเครื่องฟักไข่เทอร์โมอิเล็กทริกโดยใช้ระบบลูกกลิ้งสำหรับการเลี้ยงนกกระทาในจังหวัดนครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :
7.1 การวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาและทดสอบเครื่องฟักไข่เทอร์โมอิเล็กทริกโดยใช้ระบบลูกกลิ้ง สำหรับการเลี้ยงนกกระทาในจังหวัดนครสวรรค์ 7.2 ออกแบบและสร้างเครื่องฟักไข่โดยใช้เทอร์โมอิเลคทริกส์ในการในความร้อนภายในตู้ สามารถฟักไข่ครั้งละ 500 ฟอง ใช้ระบบลูกกลิ้งในการกลับไข่ 180 องศา
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
ได้ต้นแบบเครื่องฟักไข่เทอร์โมอิเล็กทริก โดยใช้ระบบลูกกลิ้ง สำหรับการเลี้ยงนกกระทาในจังหวัดนครสวรรค์ เครื่องฟักไข่เทอร์โมอิเล็กทริก โดยใช้ระบบลูกกลิ้ง มีประสิทธิภาพในการฟักไข่ ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงนกกระทา
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         1.ศึกษาปัญหาของเครื่องฟักไข่นกกระทาที่ใช้อยู่ปัจจุบัน 2.ออกแบบเครื่องฟักไข่เทอร์โมอิเล็กทริกโดยใช้ระบบลูกกลิ้ง ดังนี้ 2.1) โครงสร้างตู้ฟักไข่ 2.2) ระบบลูกกลิ้ง 2.3) ระบบมอเตอร์และเฟืองทด 2.4) ขนาดเทอร์โมอิเล็กทริก 2.5) ระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้น 3.สร้างเครื่องต้นแบบเครื่องฟักไข่เทอร์โมอิเล็กทริกโดยใช้ระบบลูกกลิ้ง 4.ทดสอบการทำงานของตู้ฟักไข่นกกระทาอัตโนมัติ โดยใช้ระบบลูกกลิ้ง ดังนี้ 4.1) การหมุนของระบบลูกกลิ้ง 4.2) ระบบการควบคุมอุณหภูมิและความชื้น 4.3) วิเคราะห์การใช้พลังงานของตู้ฟักไข่ 5.หาประสิทธิภาพเครื่องฟักไข่เทอร์โมอิเล็กทริกโดยใช้ระบบลูกกลิ้ง 6.ประเมินทางเศรษฐศาสตร์ของเครื่องฟักไข่เทอร์โมอิเล็กทริกโดยใช้ระบบลูกกลิ้ง 7.จัดทำรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
1.ศน กษาปพ ญหาของเครร องฟพ กไขขนกกระทาทล รใชช อยล ขปพ จจย บพ น 2.ออกแบบเครร องฟพ กไขขเทอรร โมออเลล กทรอ กโดยใชช ระบบลล กกลอ ล ง ดพ งนล 2.1) โครงสร ช างตล ช ฟพ กไขข 2.2) ระบบลล กกลอ ล ง 2.3) ระบบมอเตอรร และเฟร องทด 2.4) ขนาดเทอรร โมออเลล กทรอ ก 2.5) ระบบควบคย มอย ณหภล มอ และความชร ล น 3.สรช างเครร องตช นแบบเครร องฟพ กไขขเทอรร โมออเลล กทรอ กโดยใชช ระบบลล กกลอ ล ง 4.ทดสอบการทส างานของตล ช ฟพ กไขขนกกระทาอพ ตโนมพ ตอ โดยใชช ระบบลล กกลอ ล ง ดพ งนล 4.1) การหมย นของระบบลล กกลอ ล ง 4.2) ระบบการควบคย มอย ณหภล มอ และความชร ล น 4.3) วอเคราะหร การใชช พลพ งงานของตล ช ฟพ กไขข 5.หาประสอ ทธอ ภาพเครร องฟพ กไขขเทอรร โมออเลล กทรอ กโดยใชช ระบบลล กกลอ ล ง 6.ประเมอ นทางเศรษฐศาสตรร ของเครร องฟพ กไขขเทอรร โมออเลล กทรอ กโดยใชช ระบบลล กกลอ ล ง 7.จพ ดทส ารายงานการวอจพ ยฉบพ บสมบล รณ
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ณัฐเศรษฐ์ น้ำคำ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 40%
2 นายธีรพจน์ แนบเนียน นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 30%
3 นายถิรายุ ปิ่นทอง นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 10%
4 นายโกเมน หมายมั่น นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 10%
5 นายจุติพรรษ์ อนิวรรตกูล นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 10%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย