รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
เครื่องปรับอากาศเทอร์โมอิเล็กทริกส์พลังงานแสงอาทิตย์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
Air-conditioner thermoelectric by solar energy and eco-friendly
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
19 พฤศจิกายน 2556
วันสิ้นสุดโครงการ :
18 พฤศจิกายน 2557
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยประยุกต์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยกำลังประสบปัญหาว่าพลังงานที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีจำนวนลดน้อยลง เพราะเกิด จากการที่มีประชาการเพิ่มมากขึ้น และมีเทคโนโลยีมากขึ้นทำให้ประชากรมีความต้องการในการใช้พลังงานมีมากขึ้น ส่งผลให้เกิดปัญหาการขาดแคลนพลังงาน และการทำลายทรัพยากรก็มีเพิ่มมากขึ้น เพราะพลังงานต่างๆ ที่ใช้กันอยู่ต้องนำทรัพยากรต่างๆ มาผลิต จึงเป็นเหตุให้ทรัพยากรเหล่านี้ลดน้อยลง เพราะในการผลิตพลังงานแต่ละครั้งทรัพยากรที่ใช้ผลิต เมื่อใช้ผลิตแล้วจะหมดไป บางตัวก็สามารถสร้างขึ้นมาทดแทนได้แต่ก็มีส่วนน้อยที่สามารถสร้างขึ้นมาทดแทนได้ประกอบกับสภาวะเศรษบกิจในปัจจุบันของประเทศที่ตกต่ำ ประเทศไทยยังต้องเสียเงินจำนวนมากมายในการนำเข้าพลังงาน อาทิเช่น น้ำมันจากต่างประเทศ ซึ่งน้ำมันเป็นหนึ่งในทรัพยากรที่มีความจำเป็นต่อมนุษย์ และการพัฒนาประเทศ อาคารหรือสถานที่ทำงาน มีการใช้พลังงานหลายรูปแบบ เช่น ระบบปรับอากาศ ระบบแสงสว่าง และการใช้อุปกรณ์ต่างๆ การใช้พลังงานมีการเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีการขยายตัวของประชากรของประเทศไทย ตามข้อมูลปีพ.ศ.255-2556 พบว่าประชากรเพิ่มขึ้น 546,167 คน ตามข้อมูลของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย จึงส่งผลให้มีการใช้พลังงานมากขึ้น ส่งผลให้มีการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในการผลิตกระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้นด้วย ดังนั้น พลังงานทดแทนเป็นทางเลือกหนึ่งที่ควรนำมาใช้ และจากข้อมูลโครงการด้านพลังงานแสงอาทิตย์ของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.)ที่ดำเนินการติดตั้งระหว่างปี พ.ศ.2536-2550 ที่ในภาคกลางมีขนาด 407.35 KW จึงเป็นแนวทางเลือกหนึ่งที่จะนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยทั่วไป ระบบทำความเย็นที่ใช้กันทั่วไปในปัจจุบัน เป็นระบบอัดไอ (vapor compression system) เช่นเครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น เป็นต้น ซึ่งมีประสิทธิภาพการทำความเย็นสูง แต่ก็มีข้อเสียคือ ระบบการทำความเย็นแบบอัดไอใช้ได้ดีในระบบขนาดใหญ่ และใช้ สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFC)เป็นสารทำความเย็น ที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม ยังมีเทคโนโลยีหนึ่งที่น่าสนใจคือ เทคโนโลยีเทอร์โมอิเล็กทริกซ์ ซึ่งมีข้อดี คือระบบการทำความเย็นแบบเทอร์โมอิเล็กทริกซ์จะไม่มีสารทำความเย็นและความร้อน (Peltier effect) ได้โดยอาศัยการสั่นสะเทือนของโครงสร้างภายในสารในเชิงฟิสิกส์ควอนตัม จึงสามารถนำมาสร้างเครื่องทำความเย็นและความร้อนได้ ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงได้ศึกษาและค้นคว้าเทคโนโลยีเทอร์โมอิเล็กทริกซ์ในส่วนของการทำความเย็นเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในระบบทำความเย็นเพื่อทดแทนระบบปรับอากาศแบบอัดไอที่ใช้ในระบบปัจจุบัน ด้วยเหตุผลดังกล่าวคณะผู้วิจัยจึงได้ศึกษาเก็บรวบรวมข้อมูลและออกแบบสร้างเครื่องปรับอากาศเทอร์โมอิเล็กทริกส์พลังงานแสงอาทิตย์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมขึ้น ซึ่งถือเป็นเครื่องปรับอากาศที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง เนื่องจากไม่ต้องใช้สารทำความเย็นในระบบอัดไอ อีกทั้งยังมีส่วนช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากเชื้อเพลิงฟอสซิล เนื่องจากเครื่องปรับอากาศนี้ใช้พลังงานไฟฟ้าที่ได้จากพลังงานแสงอาทิตย์ ถือเป็นแนวทางเลือกหนึ่งในการพัฒนาด้านพลังงานทดแทน
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1.เพื่อสร้างเครื่องปรับอากาศเทอร์โมอิเล็กทริกส์พลังงานแสงอาทิตย์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 2.เพื่อหาอัตราการใช้พลังงานไฟฟ้าในการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศเทอร์โมอิเล็กทริกส์พลังงานแสงอาทิตย์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 3.เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของเครื่องปรับอากาศเทอร์โมอิเล็กทริกส์พลังงานแสงอาทิตย์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ขอบเขตของโครงการ :
1.ขอบเขตพื้นที่ จังหวัดนครสวรรค์ 2.ขอบเขตเวลา ช่วงเวลาที่ดำเนินการวิจัยปี 2557 3.ขอบเขตประชากร/กลุ่มตัวอย่าง ห้องทดลองขนาด 1.5mx 1.5 mx 1.5m อุณหภูมิที่ทำได้ของเครื่องปรับอากาศเทอร์โมอิเล็กทริกส์พลังงานแสงอาทิตย์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 4.ขอบเขตตัวแปรและเนื้อหา - เพื่ออกแบบและสร้างเครื่องปรับอากาศเทอร์โมอิเล็กทริกส์พลังงานแสงอาทิตย์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม - เพื่อศึกษาอุณหภูมิที่ทำได้ของเครื่องปรับอากาศเทอร์โมอิเล็กทริกส์พลังงานแสงอาทิตย์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม - เพื่อประเมินอัตราการใช้พลังงานไฟฟ้าในการทำความเย็นของอุณหภูมิที่ทำได้ของเครื่องปรับอากาศเทอร์โมอิเล็กทริกส์พลังงานแสงอาทิตย์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม -เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของเครื่องปรับอากาศเทอร์โมอิเล็กทริกส์พลังงานแสงอาทิตย์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
เมื่องานวิจัยเสร็จสมบูรณ์ จะได้รับทราบรายงานผลการทดสอบอุณหภูมิที่ทำได้และการใช้พลังงานในการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศเทอร์โมอิเล็กทริกส์พลังงานแสงอาทิตย์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาประยุกต์ใช้พลังงานทดแทนให้กับชุมชน ซึ่งเป็นหน่งในการช่วยให้ชุมชนสามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนที่มีอยู่ในชุมชน ส่งเสริมให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งอีกทั้งยังเกิดความมั่นคงด้านพลังงานมากยิ่งขึ้นด้วย
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         - ศึกษาและเก็ฐรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น - ออกแบบและสร้างเครื่องปรับอากาศเทอร์โมอิเล็กทริกส์พลังงานแสงอาทิตย์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม - ทดสอบอัตราการการทำความเย็นและวิเคราะห์ค่าการใช้พลังงานไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศเทอร์โมอิเล็กทริกส์พลังงานแสงอาทิตย์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม - จัดทำรายงานสรุปผลการทดสอบอัตราการการทำความเย็นและวิเคราะห์ค่าการใช้พลังงานไฟฟ้า
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 นายจุติพรรษ์ อนิวรรตกูล นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 35%
2 นายถิรายุ ปิ่นทอง นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 25%
3 นายโกเมน หมายมั่น นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 20%
4 นายธีรพจน์ แนบเนียน นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 20%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย