รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การแก้ไขปัญหาการจัดเส้นทางการเดินรถเก็บขยะในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
Solving Garbage Truck Routing Problem In Nakhon Sawan Municipality, Nakhon Sawan Province
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
1 ตุลาคม 2559
วันสิ้นสุดโครงการ :
30 กันยายน 2560
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยประยุกต์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         ปัจจุบันเทศบาลนครนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์มีขนาดพื้นที่ 27.87 ตารางกิโลเมตรและมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่าต่อเนื่องทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรตามสภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งจากข้อมูลตามทะเบียนราษฎร์ในปี พ.ศ. 2556 เทศบาลนครนครสวรรค์มีประชากรอาศัยอยู่จำนวน 87,394 คน จาก 18,814 ครัวเรือน และมีประชากรแฝงที่ย้ายเข้ามาอยู่อาศัยเพื่อประกอบอาชีพอีกจำนวน 50,000 คน รวมมีประชากรในพื้นที่มากถึง 137,394 คน ซึ่งส่งผลถึงปัญหาด้านขยะมูลฝอย โดยปกติแล้วปริมาณการเกิดขยะมูลฝอยในชุมชนทั่วไปนั้นจะมีอัตราเฉลี่ยเท่ากับ 0.6 – 0.8 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน แต่เทศบาลนครนครสวรรค์มีปริมาณขยะมูลฝอยจำนวนมากถึง 170-200 ตันต่อวัน หรือเฉลี่ยประมาณ 180 ตันต่อวัน ซึ่งคิดเป็นปริมาณการเกิดขยะมูลฝอยมากถึง 1.3 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน ซึ่งใกล้เคียงกับปริมาณขยะในเมืองท่องเที่ยวอย่าง พัทยาที่มีขยะมูลฝอยมากถึง 1.5 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน (อาณัติ ต๊ะปินตา,2553) ทำให้เทศบาลนครนครสวรรค์จะต้องทำการจัดเตรียมบุคลากรและรถเก็บขยะเป็นจำนวนมาก ขยะชุมชนเหล่านี้ในปัจจุบันนำไปฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล ซึ่งจะนำไปผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าแก่ชุมชนเทศบาลนครนครสวรรค์ในอนาคต โดยปัจจุบันทางเทศบาลนครนครสวรรค์มีรถเก็บขยะทั้งหมด 2 แบบด้วยกัน คือ แบบอัดท้ายและแบบอัดข้าง โดยรถเก็บขยะแบบอัดท้ายมีขนาดความจุ 11 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 5 คัน ขนาดความจุ 10 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 9 คันและขนาดความจุ 5 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 2 คัน ส่วนรถเก็บขยะแบบอัดข้างที่มีขนาดความจุ 11 ลูกบาศก์เมตร 2 คัน และขนาดความจุ 4 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 4 คัน รถเก็บขยะทุกคันจะต้องวิ่งออกจากจุดจอดรถไปยังจุดที่ทำการจัดเก็บในแต่ละจุด แล้วเมื่อเก็บขยะมูลฝอยได้เต็มความจุจึงค่อยวิ่งไปที่จุดปล่อยขยะก่อนที่จะกลับมาที่จอดรถ ซึ่งระยะทางในช่วงสุดท้ายที่รถเก็บขยะทุกคันวิ่งกลับจากจุดปล่อยขยะกลับมายังจุดจอดรถอีกครั้งมีระยะเท่ากัน โดยในส่วนของการจัดเก็บนั้นยังจะต้องพิจารณาถึงปัจจัยหรือเงื่อนไข เช่น ความสามารถในการบรรจุขยะของรถเก็บขยะ ปริมาณขยะในแต่ละพื้นที่ เส้นทางที่รถเก็บขยะวิ่งรวมไปถึงเชื้อเพลิง เวลาในการจัดเก็บ และภาระงานของพนักงานเก็บขยะ ซึ่งสิ่งต่างๆที่กล่าวมานั้นล้วนสร้างต้นทุนในการจัดเก็บขยะให้แก่เทศบาลนครนครสวรรค์ จากสภาพปัญหาต่างๆที่ได้กล่าวมาในข้างต้นทำให้ผู้วิจัยสนใจจะแก้ไขปัญหาการจัดเส้นทางการเดินรถเก็บขยะ โดยพิจารณาถึงปริมาณการจัดเก็บขยะให้ได้มากโดยใช้ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดในการจัดเก็บขยะ การจัดเส้นทางการเดินรถเก็บขยะที่เหมาะสมเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการขยะที่ดี สามารถลดเวลา ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของพนักงาน ลดพลังงานซึ่งช่วยในการลดปัญหาภาวะโลกร้อนและส่งเสริมให้ชุมชนมีคุณภาพชีวิตและคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีอย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1. เพื่อออกแบบวิธีการจัดเส้นทางการเดินรถเก็บขยะที่เหมาะสม 2. เพื่อเปรียบเทียบต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานการจัดเก็บขยะมูลฝอยแบบเดิมและแบบใหม่ที่มีการจัดเส้นทางเดินรถเก็บขยะที่เหมาะสม
ขอบเขตของโครงการ :
1. ขอบเขตด้านเนื้อหา 1.1 งานวิจัยนี้จะวัดประสิทธิภาพของวิธีการจัดเส้นทางที่ออกแบบขึ้นโดยการเปรียบเทียบต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน 1.2 งานวิจัยนี้ได้ทำการทดลองจากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และการใช้การคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์ 1.3 แหล่งข้อมูลที่ทำการศึกษาจาก เทศบาลนครนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ 1.4 งานวิจัยนี้ใช้วิธีการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสอบถามผู้เชี่ยวชาญหรือมีผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องรวมไปถึงการทำแบบสอบถาม 1.5 บุคลากรและรถเก็บขยะจะเรียกแทนว่า “ทรัพยากร” 2. ขอบเขตด้านพื้นที่ เขตเทศบาลนครนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ 3. ขอบเขตระยะเวลา 1 มกราคม 2559 – 31 ธันวาคม 2559 4. ขอบเขตประชากร ประชากร : เจ้าหน้าที่และรถเก็บขยะในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่าง : กลุ่มเจ้าหน้าที่และรถเก็บขยะในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์ที่ถูกเลือกมาให้ข้อมูล จังหวัดนครสวรรค์ ตัวแปรต้น : ปริมาณขยะ และเส้นทางในการเดินรถ ช่วงเวลาที่มีการจราจรเร่งด่วน ตัวแปรตาม : ต้นทุนในการจัดเก็บขยะ ตัวแปรควบคุม : ขนาดของรถเก็บขยะ ตัวแปรแทรกสอด : ปริมาณขยะที่ผิดปกติจาก งานกิจกรรมภายในพื้นที่
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
1. ได้รูปแบบและวิธีการแก้ไขปัญหาการจัดเส้นทางการเดินรถเก็บขยะที่เหมาะสม กับเทศบาลเมืองนครสวรรค์ 2. ได้ผลการเปรียบเทียบต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานการจัดเก็บขยะมูลฝอยแบบเดิมและแบบใหม่ที่มีการจัดเส้นทางเดินรถเก็บขยะที่เหมาะสม 3. ได้ผลงานวิจัยที่สามารถตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ 4. ได้แนวทางต่อยอดงานวิจัยและพัฒนาโปรแกรมในการจัดเส้นทางการเดินรถเก็บขยะ 5. ได้ตัวอย่างหรือกรณีศึกษาในวิชาการดำเนินงานการวิจัย 6. ได้ข้อมูลในการวางแผนกำหนดนโยบายของเทศบาลเมืองนครสวรรค์ในการจัดเตรียมทรัพยากรเพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของขยะ
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         1. ศึกษาปัญหาและเก็บข้อมูลด้านขยะจากเทศบาลนครนครสวรรค์ 2. ศึกษาโครงสร้างและวิธีการดำเนินงานในการเดินรถเก็บขยะของเทศบาลนครนครสวรรค์ในปัจจุบัน 3. ศึกษาทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดเส้นทางการเดินรถ 4. กำหนดขนาดตัวอย่างที่สุ่มในการเก็บข้อมูลอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ 5. เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามหรือการสัมภาษณ์ 6. วิเคราะห์ข้อมูลโดยการประชุมผู้เกี่ยวข้องและผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิจารณษปัจจัยในการตัดสินใจในการจัดเส้นทางการเดินรถ 7. ทำการเลือกแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ตามเงื่อนไขที่เหมาะสมของข้อมูลและพื้นที่ 8. สร้างแบบจำลองและทำการออกแบบการทดลองและหาคำตอบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 9. วิเคราะห์ผลที่ได้จากแบบจำลองที่สร้างขึ้นโดยการประชุมผู้เกี่ยวข้องและผู้เชี่ยวชาญเพื่อความเป็นไปได้และความถูกต้อง 10. พัฒนาวิธีการจัดเส้นทางการเดินรถ จากการวิเคราะห์ผลของผู้เกี่ยวข้องและผู้เชี่ยวชาญ 11. ทำการวิเคราะห์ผลที่ได้จากจัดเส้นทางการเดินรถโดยเลือกรูปแบบที่เหมาะสม 12. สรุปผลงานวิจัยพร้อมจัดทำเล่มวิจัย 13. การเผยแพร่และถ่ายทอดวิธีการจัดเส้นทางการเดินรถ
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
ปัจจุบันเทศบาลนครนครสวรรค์ มีประชากรอาศัยอยู่จำนวน 87,394 คน จาก 18,814 ครัวเรือน และมีประชากรแฝงที่ย้ายเข้ามาอยู่อาศัยเพื่อประกอบอาชีพอีกจำนวน 50,000 คน รวมมีประชากรในพื้นที่มากถึง 137,394 คน ซึ่งส่งผลถึงปัญหาด้านขยะมูลฝอย เทศบาลนครนครสวรรค์มีปริมาณขยะมูลฝอยจำนวนมากถึง 170-200 ตันต่อวัน หรือเฉลี่ยประมาณ 180 ตันต่อวัน ซึ่งคิดเป็นปริมาณการเกิดขยะมูลฝอยมากถึง 1.3 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน ทำให้เทศบาลนครนครสวรรค์จะต้องทำการจัดเตรียมบุคลากรและรถเก็บขยะเป็นจำนวนมาก โดยปัจจุบันทางเทศบาลนครนครสวรรค์มีรถเก็บขยะทั้งหมด 2 แบบด้วยกัน คือ แบบอัดท้ายและแบบอัดข้าง ซึ่งทั้ง 2 แบบมีรวมทั้งสิ้น 18 คัน รถเก็บขยะทุกคันจะต้องวิ่งออกจากจุดจอดรถไปยังจุดที่ทำการจัดเก็บในแต่ละจุด แล้วเมื่อเก็บขยะมูลฝอยได้เต็มความจุจึงค่อยวิ่งไปที่จุดปล่อยขยะก่อนที่จะกลับมาที่จอดรถ ซึ่งระยะทางในช่วงสุดท้ายที่รถเก็บขยะทุกคันวิ่งกลับจากจุดปล่อยขยะกลับมายังจุดจอดรถอีกครั้งมีระยะเท่ากัน โดยในส่วนของการจัดเก็บนั้นยังจะต้องพิจารณาถึงปัจจัยหรือเงื่อนไข เช่น ความสามารถในการบรรจุขยะของรถเก็บขยะ ปริมาณขยะในแต่ละพื้นที่ เส้นทางที่รถเก็บขยะวิ่ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 นายปิยกิจ กิจติตุลากานนท์ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 25%
2 นางมาศสกุล ภักดีอาษา นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 15%
3 นายวัชระ ชัยสงคราม นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 30%
4 นายสิรวิชญ์ สว่างนพ นักวิจัยภายนอกมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 25%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย