มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
สถาบันวิจัยและพัฒนา
ระบบจัดการงานวิจัย
NSRU
RESEARCH
หน้าหลัก
ค้นหารายการ
ข้อมูลงานวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
รายงานสถิติ
งานวิจัย
งานทรัพย์สินทางปัญญา
เข้าสู่ระบบ
รายละเอียดโครงการวิจัย
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการจัดการตนเองด้านเศรษฐกิจบนฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่จังหวัดชัยนาท
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
Potential development of community self-management on the base economic sufficiency economy philosophy in Chainat
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
1 ตุลาคม 2559
วันสิ้นสุดโครงการ :
30 กันยายน 2560
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยประยุกต์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
วิกฤติเศรษฐกิจที่ผ่านมาเป็นบทเรียนของการพัฒนาที่ไม่สมดุลและไม่มีเสถียรภาพ ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนในวงกว้าง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม ที่ไม่คำนึงถึงระดับความเหมาะสมกับศักยภาพขององค์กร ภูมิสังคมของประเทศ หรือความพร้อมของคนและระบบ นอกจากนี้แล้ว การหวังพึ่งพิงความรู้ เงินลงทุน หรือตลาดจากภายนอกประเทศมากจนเกินไป โดยไม่เตรียมสร้างพื้นฐานภายในประเทศให้มั่นคงและเข้มแข็ง หรือสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีเพื่อให้สามารถพร้อมรับความเสี่ยงจากความผันผวนของปัจจัยภายในและภายนอก(สมเกียรติ อ่อนวิมล , 2550 : 11) ในขณะเดียวกันปัญหาซึ่งทับถมมาอย่างต่อเนื่องกลายเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคม ได้ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการกระจายทุน กระจายความเจริญ และกระจายรายได้ระหว่างกลุ่มคนและในเชิงพื้นที่ เกิดปัญหาทางสังคมย่อหย่อนทางศีลธรรม ความเสื่อมสลายของวัฒนธรรมที่ดีของสังคมไทย ตลอดจนความเสื่อมโทรมของทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(วารสารเศรษฐกิจและสังคม พฤศจิกายน-ธันวาคม , 2548 :41-47.) การพัฒนาประเทศที่ผ่านมาทำให้สังคมไทยอ่อนแอเนื่องจากเป็นการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืนไม่สมดุลมุ่งที่ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจแต่มิได้สร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับมนุษย์ที่เป็นทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค การดำเนินกิจกรรมการผลิตและการบริโภคที่ผ่านมาจึงขาด “ปัญญา” ทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจเป็นแบบแยกส่วนใช้ “เงิน” เป็น “เป้าหมาย” โดยไม่คำนึงถึงผลเสียที่ตามมาจึงมักเกิดปัญหาหรือความทุกข์ (สุเมธตันติเวชกุล, 2544, น.284) การขาดปัญญาความรู้ผสานเข้ากับความโลภเห็นแก่ได้เพียงระยะสั้นไม่นึกถึงอนาคตของทั้งตนเองและผู้อื่นจึงแข่งกันผลิตและบริโภคอย่างฟุ่มเฟือยแย่งกันใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่จำกัดเพื่อสนองความต้องการที่ไม่จำกัดและไม่รู้จักพอของมนุษย์เมื่อไม่รู้จักพอก็ก่อให้เกิดความวิปริตทางธรรมชาติและวิปริตทางความคิดก่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจและสังคมเกิดความย่อหย่อนทางศีลธรรมความเสื่อมสลายของวัฒนธรรมตลอดจนความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สภาพัฒน์) 2549, น. 6) “เศรษฐกิจพอเพียง”เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปีตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจและเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆซึ่งเป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัวระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลางโดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์ความพอเพียงหมายถึงความพอประมาณความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ความรอบคอบและความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆมาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอนขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติให้มีสำนึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริตให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสมดำเนินชีวิตด้วยความอดทนความเพียรมีสติปัญญาและความรอบคอบเพื่อให้สมดุลพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุสังคมสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี (มูลนิธิ พัฒนาไทสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2545) ดังนั้น เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวทางปฏิบัติตนโดยคำนึงถึงความพอประมาณความมีเหตุผลและการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีเพื่อพร้อมรับต่อความเสี่ยงบนพื้นฐานของความรอบรู้ความรอบคอบระมัดระวังและคุณธรรมการใช้ความรู้อย่างถูกหลักวิชาการด้วยความรอบคอบและระมัดระวังควบคู่ไปกับการกระทำที่ไม่เบียดเบียนกันกาแบ่งปันช่วยเหลือซึ่งกันและกันความร่วมมือปรองดองกันในสังคมจะสร้างสายใยเชื่อมโยงคนในภาคส่วนต่างๆของสังคมเข้าด้วยกันสร้างสรรค์พลังในทางบวกนำไปสู่ความสามัคคีการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนและการพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2549)นับตั้งเเต่มีการจัดทำมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 ปีพ.ศ. 2504-2509นั้นได้มีการปรับปรุงแผนพัฒนาฯมาโดยตลอดและในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่8 ที่เริ่มให้ความสำคัญกับแนวทางและเป้าหมายในการรับฟังความคิดเห็นจากภาคีพัฒนาเข้าร่วมด้วยว่าการพัฒนาโดยมีทิศทางคนเป็นศูนย์กลางไปสู่เป้าหมายของการที่จะให้แข็งแกร่งไปสู่การพัฒนาที่ก้าวหน้าขึ้นโดยยังดูในเรื่องของการกระจายรายได้ดูเรื่องขีดความสามารถในการแข่งขันในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 เริ่มบรรจุเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาไว้ในแผนพัฒนาฯอย่างเป็นรูปธรรมเริ่มพูดถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลงพูดถึงเรื่องข้อตกลงทางการค้าพูดถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจพูดถึงความอ่อนแอในโครงสร้างเศรษฐกิจไทยยึดความไปสู่จุดสมดุลตามปรัชญาเศรษฐกิจพอพียงเน้นความรู้จริยธรรมมีกลไกและระเบียบที่เอื้อต่อการพัฒนาที่สร้างความเป็นธรรมในสังคมปัจจุบันในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่10 ได้กำหนดพันธกิจของการพัฒนาที่สำคัญไว้5 ด้านดังนี้1) พัฒนาคุณภาพคนในชาติให้มีความรู้คู่คุณธรรมและสร้างสังคมฐานความรู้ให้เป็นภูมิคุ้มกันพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงมีการปฏิรูปการศึกษาในทุกระดับเพื่อให้ผู้เรียนมีกำลังปัญญาในการพัฒนาประเทศรู้เท่าทันและก้าวไปกับโลกอย่างมั่นคงมีจิตสำนึกในด้านความเป็นไทยยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรมของศาสนาต่างๆและอื่นๆ2) ปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจให้แข็งแกร่งมั่นคงแข่งขันได้และเป็นธรรมเน้นการพึ่งตนเองลดการพึ่งพาจากภายนอกมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีมีคุณภาพกระจายการพัฒนาอย่างเป็นธรรมปรับโครงสร้างภาคเกษตรอุตสาหกรรมและบริการสู่การผลิตฐานความรู้การต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นและสากลให้สมดุลปรับโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์พลังงานองค์ความรู้กลไกที่เกี่ยวข้องและอื่นๆ3) เสริมสร้างความเท่าเทียมและความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมรวมพลังเป็นเครือข่ายการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งมุ่งคงความหลากหลายทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยลดเงื่อนไขความขัดแย้งด้วยสันติวิธีสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์ในสังคมไทยกับสังคมของโลก4) ดำรงไว้ซึ่งความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีมุ่งให้ชุมชนมีองค์ความรู้และภูมิคุ้มกันมีสิทธิในการเข้าถึงและจัดการทรัพยากรการอนุรักษ์คุ้มครองทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพให้เป็นฐานที่มั่นคงของสังคมไทย5) พัฒนาระบบบริหารจัดการประเทศให้เกิดธรรมาภิบาลในทุกระดับมีการกระจายอำนาจเสริมสร้างประชาธิปไตยบริหารจัดการด้วยความโปร่งใสรับผิดชอบต่อสาธารณะยุติธรรม (สมพงษ์จิตระดับสุอังคะวาทิน, 2549) “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่มุ่งเน้นให้ยึดหลักทางสายกลางและความไม่ประมาทคำนึงถึงความพอประมาณความมีเหตุผลการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวตลอดจนการใช้ความรู้ด้วยความรอบคอบระมัดระวังและมีคุณธรรมเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจและการกระทำทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกระดับนำหลักปรัชญาฯไปเป็นพื้นฐานและแนวทางในการดำเนินชีวิตในด้านต่างๆอันจะนำไปสู่การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนประชาชนอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขสังคมมีความเข้มแข็งและประเทศชาติมั่นคงซึ่งจะนำไปสู่การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ให้เกิดผลในทางปฏิบัติในทุกภาคส่วนของสังคมอย่างจริงจังในระยะของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 – 2559) โดยมีวิสัยทัศน์ ในการพัฒนาว่า "ประเทศมีความมั่นคงเป็นธรรม และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง” กำหนดพันธกิจหลักในการพัฒนาประเทศไว้ 3 พันธกิจ ได้แก่ การพัฒนาฐานการผลิตและบริการ การสร้างความเป็นธรรมและ ลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ สังคม และสร้างภูมิคุ้มกันจากวิกฤตการณ์ และ กำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาไว้ 7 ยุทธศาสตร์ได้แก่ การสร้างฐานการผลิตให้เข้มแข็ง สมดุล อย่างสร้างสรรค์ การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการผลิต การค้า การลงทุน การพัฒนาคุณภาพคน ทั้งความรู้คู่คุณธรรม สังคม มั่นคงเป็นธรรม มีพลังและเอื้ออาทร เน้นการผลิตและบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความมั่นคงของพลังงานและอาหาร และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ อย่างไรก็ตามประเทศไทยยังคงต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในหลายบริบททั้งที่เป็นโอกาสและข้อจำกัดต่อการพัฒนาประเทศจึงต้องมีการเตรียมความพร้อมของคนและระบบให้มีภูมิคุ้มกับพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นโดยยังคงอัญเชิญ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นแนวปฏิบัติในการพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวมที่มี “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” ต่อเนื่องจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 ให้ความสำคัญต่อการรวมพลังสังคมจากทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมดำเนินการในทุกขั้นตอนของแผนฯพร้อมทั้งสร้างเครือข่ายการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาสู่การปฏิบัติรวมทั้งการติดตามตรวจสอบผลการดำเนินงานตามแผนอย่างต่อเนื่องการสร้างขบวนการขับเคลื่อนตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 จนถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11เป็นการสร้างภูมิกันในมิติต่างๆเพื่อให้การพัฒนาประเทศสู่ความสมดุลและยั่งยืน โดยนำทุนของประเทศที่มีศักยภาพมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างบูรณาการและเกื้อกูลกัน พร้อมท
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1.เพื่อศึกษาสภาพปัญหา และความต้อการของชุมชนด้านเศรษฐกิจเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ของชุมชนในการจัดการตนเองบนฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2.เพื่อพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการจัดการตนเองด้านเศรษฐกิจบนฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ขอบเขตของโครงการ :
ขอบเขตด้านพื้นที่ งานวิจัยนี้ศึกษาเฉพาะเขตพื้นที่ -ชุมชนบ้านเนินถ่าน หมู่ที่ ๖ ตำบลเสือโฮก อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท -ชุมชนบ้านใหม่บางกระเบียน หมู่ 12 ตำบลตลุก อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท -ชุมชนบ้านสระไม้แดง หมู่ที่ 16 ตำบลแพรกศรีราชา อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท -ชุมชนบ้านวังหัวเรือ หมู่ที่ 2 อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท ขอบเขตประชากรกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก(Key- Information) ของงานวิจัยครั้งนี้ได้แก่ -ผู้นำชุมชน ทั้งที่เป็นทางการ ได้แก่ -นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ตำบลเสือโฮก อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท -นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ตำบลตลุก อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท -นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ตำบลแพรกศรีราชา อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท -นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังตะคียนอำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท -กำนันตำบลตำบลเสือโฮก อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท -กำนันตำบลตำบลตำบลตลุก อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท -กำนันตำบลตำบลตำบลแพรกศรีราชา อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท -กำนันตำบลตำบลวังตะคียนอำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท -ผู้ใหญ่บ้านบ้านเนินถ่าน หมู่ที่ 6 ตำบลเสือโฮก อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท -ผู้ใหญ่บ้านบ้านใหม่บางกระเบียน หมู่ 12 ตำบลตลุก อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท -ผู้ใหญ่บ้านบ้านสระไม้แดง หมู่ที่ 16 ตำบลแพรกศรีราชา อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท -ผู้ใหญ่บ้านบ้านวังหัวเรือ หมู่ที่ 2 อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท -ประธานกลุ่มและสมาชิกกลุ่มด้านการผลิตหรือกลุ่มอาชีพต่างๆในชุมชนบ้านเนินถ่าน หมู่ที่ 6 ตำบลเสือโฮก อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท -ประธานกลุ่มและสมาชิกกลุ่มด้านการผลิตหรือกลุ่มอาชีพต่างๆในชุมชนบ้านใหม่บางกระเบียน หมู่ 12 ตำบลตลุก อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท -ประธานกลุ่มและสมาชิกกลุ่มด้านการผลิตหรือกลุ่มอาชีพต่างๆในชุมชนบ้านสระไม้แดง หมู่ที่ 16 ตำบลแพรกศรีราชา อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท -ประธานกลุ่มและสมาชิกกลุ่มด้านการผลิตหรือกลุ่มอาชีพต่างๆในชุมชนบ้านวังหัวเรือ หมู่ที่ 2 อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท ผู้นำที่ไม่เป็นทางการ ได้แก่ -ผู้อาวุโส ในชุมชน , ปราชญ์ชาวบ้านที่ได้รับการยอมรับในชุมชน เป็นต้น -กลุ่มคนในพื้นที่การวิจัยทั้ง 4พื้นที่ ที่มีความสนใจในการพัฒนาศักยภาพของตนเองด้านเศรษฐกิจบนฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 120 ครัวเรือน -ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐภาคท้องถิ่น หรือองค์กรพัฒนาเอกชน ขอบเขตเนื้อหา เนื้อหาในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่ เนื้อหาเกี่ยวกับสภาพปัญหาและความต้อการของชุมชนด้านเศรษฐกิจเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ของชุมชนในการจัดการตนเองบนฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการจัดการตนเองด้านเศรษฐกิจบนฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
ด้านวิชาการ 1.เกิดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพของชุมชนด้านเศรษฐกิจบนฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถนำองค์ความรู้ในการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนอื่นที่มีศักยภาพในการจัดการตนเองตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2.เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ ,ชุมชน,หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคองค์กรพัฒนาเอกชนที่มีส่วนร่วมในกระบวนการวิจัยในครั้งนี้ 3.เกิดชุดความรู้หรือองค์ความรู้ใหม่จากการวิจัยในประเด็นด้านการจัดการตนเองของชุมชนบนฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้านสังคมและชุมชน 1.เกิดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการสังเคราะห์องค์ความรู้ด้านศักยภาพของชุมชนในการจัดการตนเองด้านเศรษฐกิจบนฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2.สามารถนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ให้เกิดกิจกรรมด้านการพัฒนาชุมชนในพื้นที่ได้ 3.สามารถนำรูปแบบในการจัดการตนเองด้านเศรษฐกิจของชุมชนบนฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ให้เกิดการพัฒนาชุมชนในชุมชนอื่นต่อไปได้ หน่วยงานภาครัฐที่นำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ 1.สาขาวิชาสังคมวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 2.สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท 3.สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท 4.สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท 5.สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท 6.องค์การบริหารส่วนตำบล ตำบลเสือโฮก อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท 7.องค์การบริหารส่วนตำบล ตำบลตลุก อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท 8.องค์การบริหารส่วนตำบล ตำบลแพรกศรีราชา อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท 9.องค์การบริหารส่วนตำบลวังตะคียนอำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท 10.หน่วยงานภาคีความร่วมมือต่างๆที่ทำงานร่วมกับชุมชนในพื้นที่งานวิจัย
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
วิธีการดำเนินการวิจัย การวิจัยเรื่อง การพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการจัดการตนเองด้านเศรษฐกิจบนฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่จังหวัดชัยนาท การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยมีวัตถุประสงค์1.เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้อการของชุมชนด้านเศรษฐกิจ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ของชุมชนในการจัดการตนเองบนฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2.เพื่อพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการจัดการตนเองด้านเศรษฐกิจบนฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อนำไปสู่ข้อเสนอแนะและเป็นแนวทางในการพัฒนาชุมชนต่อไป การเลือกพื้นที่ในการศึกษา การเลือกพื้นที่ชุมชนในการศึกษาด้วยข้อพิจารณาที่ว่าพื้นที่นั้นมีประเด็นและปรากฏการณ์ที่ชัดเจนในเรื่องที่จะเข้าไปศึกษา ซึ่งผู้ศึกษามีความสนใจศึกษาเรื่องการพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการจัดการตนเองด้านเศรษฐกิจบนฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่จังหวัดชัยนาท กล่าวคือ ชุมชนมีความเข้มแข็งในการพัฒนาศักยภาพตนเองตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงใช้เป็นฐานในการดำเนินกิจกรรมการพัฒนาภายในชุมชน และจากการศึกษาเบื้องต้น ทำให้ทราบว่าผลจากการดำเนินกิจกรรมการพัฒนาชุมชนนั้น ทำให้ชุมชนเกิดความรัก ความหวงแหนหรือความรู้สึกเป็นเจ้าของตระหนักในคุณค่าของทรัพยากรท้องถิ่นจนทำให้ชุมชนมีการจัดการ การดูแลทรัพยากรและความรู้สึกดังกล่าวได้ส่งผลให้มีการดำเนินกิจกรรมสาธารณะอื่นๆของชุมชนตามมา อย่างไรก็ตามแนวคิดด้านการพัฒนาชุมชนมีอยู่หลายแนวคิดแต่ทุกแนวคิดสามารถที่จะเชื่อมโยงกันได้อย่างเป็น องค์รวม ดังนั้น ชุมชนบ้านเนินถ่าน หมู่ที่ 6 ตำบลเสือโฮก อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท ชุมชนบ้านใหม่บางกระเบียน หมู่ 12 ตำบลตลุก อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท บ้านสระไม้แดง หมู่ที่ 16 ตำบลแพรกศรีราชา อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาทและชุมชนบ้านวังหัวเรือ หมู่ที่ 2 ตำบลวังตะเคียน อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท พื้นที่ในการศึกษาทั้ง 4 ชุมชนนี้ เป็นชุมชนต้นแบบที่มีความเข้มแข็งในด้านของการพัฒนาศักยภาพของชุมชนด้านเศรษฐกิจบนฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาชุมชนในด้านอื่นๆตามมาด้วยและสอดคล้องกับหลักการพัฒนาชุมชนแบบองค์รวม ประชากรที่ศึกษา ขอบเขตประชากรกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก(Key- Information) ของงานวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ผู้นำชุมชน ทั้งที่เป็นทางการ ได้แก่ - นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ตำบลเสือโฮก อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท - นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ตำบลตลุก อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท - นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ตำบลแพรกศรีราชา อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท - นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังตะคียนอำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท - กำนันตำบลตำบลเสือโฮก อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท - กำนันตำบลตำบลตำบลตลุก อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท - กำนันตำบลตำบลตำบลแพรกศรีราชา อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท - กำนันตำบลตำบลวังตะคียนอำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท - ผู้ใหญ่บ้านบ้านเนินถ่าน หมู่ที่ 6 ตำบลเสือโฮก อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท - ผู้ใหญ่บ้านบ้านใหม่บางกระเบียน หมู่ 12 ตำบลตลุก อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท - ผู้ใหญ่บ้านบ้านสระไม้แดง หมู่ที่ 16 ตำบลแพรกศรีราชา อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท - ผู้ใหญ่บ้านบ้านวังหัวเรือ หมู่ที่ 2 ตำบลวังตะเคียน อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท - ประธานกลุ่มและสมาชิกกลุ่มด้านการผลิตหรือกลุ่มอาชีพต่างๆ ในชุมชน บ้านเนินถ่าน หมู่ที่ 6 ตำบลเสือโฮก อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท - ประธานกลุ่มและสมาชิกกลุ่มด้านการผลิตหรือกลุ่มอาชีพต่างๆ ในชุมชนบ้านใหม่บางกระเบียน หมู่ 12 ตำบลตลุก อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท - ประธานกลุ่มและสมาชิกกลุ่มด้านการผลิตหรือกลุ่มอาชีพต่างๆ ในชุมชน บ้านสระไม้แดง หมู่ที่ 16 ตำบลแพรกศรีราชา อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท - ประธานกลุ่มและสมาชิกกลุ่มด้านการผลิตหรือกลุ่มอาชีพต่างๆ ในชุมชน บ้านวังหัวเรือ หมู่ที่ 2 ตำบลวังตะเคียน อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท ผู้นำที่ไม่เป็นทางการ ได้แก่ - ผู้อาวุโส ในชุมชน , ปราชญ์ชาวบ้านที่ได้รับการยอมรับในชุมชน เป็นต้น - กลุ่มคนในพื้นที่การวิจัยทั้ง 4 พื้นที่ ที่มีความสนใจในการพัฒนาศักยภาพของตนเองด้าน เศรษฐกิจบนฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง - ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐภาคท้องถิ่น หรือองค์กรพัฒนาเอกชน วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้ศึกษาได้แบ่งวิธีการศึกษาไว้ 2 ขั้นตอน ซึ่งจะทำให้ผู้ศึกษาเห็นภาพการศึกษาที่ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยแบ่งเป็น ขั้นตอนการศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและขั้นตอนการศึกษาจากพื้นที่ศึกษาจริง 1. ขั้นตอนการศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง (Document Study) ผู้ศึกษาได้ค้นคว้าแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวกับแนวความคิดเศรษฐกิจพอเพียง แนวคิดเกี่ยวกับชุมชนและความชุมชน แนวคิดการพัฒนาชุมชน แนวคิดกระบวนการเรียนรู้ แนวคิดการพัฒนาแบบยั่งยืน จากรายงาน การวิจัย รวบรวมบทความจากเอกสาร วารสารต่างๆ และจากหนังสือ ตำรา เอกสารทางวิชาการ เพื่อใช้เป็นกรอบในการศึกษา การวิเคราะห์ การอภิปรายผลการศึกษา 2. ขั้นตอนการศึกษาจากพื้นที่จริงหรือศึกษาภาคสนาม (Field Study) โดยลงศึกษาที่ชุมชนบ้านเนินถ่าน หมู่ที่ 6 ตำบลเสือโฮก อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท ชุมชนบ้านใหม่ บางกระเบียน หมู่ 12 ตำบลตลุก อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท ชุมชนบ้านสระไม้แดง หมู่ที่ 16 ตำบลแพรกศรีราชา อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท ชุมชนบ้านวังหัวเรือ หมู่ที่ 2 ตำบลวังตะเคียน อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท เพื่อหาข้อมูลและข้อเท็จจริงที่จะนำมาวิเคราะห์และอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ศึกษาตามกรอบแนวคิดที่ผู้ศึกษากำหนดไว้ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และการสังเกต เป็นเครื่องมือสำคัญในการศึกษา 2.1 การสัมภาษณ์ และการพูดคุยแบบเป็นทางการ และไม่เป็นทางการกับผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) คือ ผู้นำชุมชนทั้งที่เป็นทางการและผู้นำตามธรรมชาติ ผู้อาวุโสภายในชุมชน สมาชิกของกลุ่มต่างๆภายในชุมชน เจ้าหน้าที่ของรัฐ เจ้าหน้าที่ขององค์กรพัฒนาชุมชน และสมาชิกชุมชนทั่วไปนอกเหนือจากที่กล่าวไว้แล้ว 2.2 สนทนากลุ่ม (Focus group) โดยผู้ศึกษาใช้วิธีการนี้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆที่เป็นองค์ความรู้ในเรื่องของการปรับตัวของสมาชิกในชุมชน การพัฒนาศักยภาพด้านเศรษฐกิจ บนฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของสมาชิกกลุ่มองค์กรภายในชุมชน 2.3 วิธีการสังเกต ใช้การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม โดยที่ผู้ศึกษาถึงวิธีการ กระบวนการที่ผู้นำชุมชนและสมาชิกภายในชุมชนใช้ในการพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการจัดการตนเองด้านเศรษฐกิจบนฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่จังหวัดชัยนาท ดังนั้นผู้ศึกษาจึงศึกษาจากการเข้าไปส่วนร่วมในกิจกรรมที่ชุมชนดำเนินการ ตลอดจนเข้าร่วมประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลร่วมกัน และร่วมวิเคราะห์ให้ความคิดเห็นบ้างในบางกรณี ซึ่งจะสามารถทำให้ผู้ศึกษาได้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันกับชุมชนและชาวบ้าน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เรื่อง การพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการจัดการตนเอง ด้านเศรษฐกิจบนฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่จังหวัดชัยนาท ในครั้งนี้ประกอบด้วย แนวคำถามประกอบการสนทนา และการสัมภาษณ์ เพื่อให้ผู้ตอบหรือผู้ถูกสัมภาษณ์ได้พูดคุยและตอบคำถามพร้อมทั้งแสดงเหตุผลและความคิดเห็นด้วย แนวคำถามประกอบการพูดคุย และการสัมภาษณ์ มีดังต่อไปนี้ 1. ข้อมูลพื้นฐานของชุมชน อันได้แก่ จำนวนครัวเรือน จำนวนประชากร การนับถือศาสนา อาณาเขตหมู่บ้าน ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ลักษณะการตั้งบ้านเรือน การศึกษา การประกอบอาชีพของคนในชุมชน การคมนาคม การปกครอง ประเพณี ความเชื่อ วัฒนธรรมท้องถิ่น ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากร รูปแบบการใช้ ผลประโยชน์ที่ได้รับจากทรัพยากรท้องถิ่นนับจากอดีตถึงปัจจุบัน การแลกเปลี่ยนทรัพยากรท้องถิ่นกับภายนอกชุมชนนับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน 2. การพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการจัดการตนเองด้านเศรษฐกิจบนฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่จังหวัดชัยนาท 3. การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกชุมชนทั้งภาครัฐและองค์กรพัฒนาเอกชนในการพัฒนาชุมชนด้านต่างๆ การประมวลผลข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการนำเสนอข้อมูล การประมวลผลข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลในการศึกษาเชิงคุณภาพ ผู้ศึกษาได้ทำ การประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงพรรณาความ (Descriptive Analysis) โดยใช้แนวคิดทฤษฎีต่างๆที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนต้นเป็นกรอบในการวิเคราะห์ โดยนำมาอธิบายสภาพทั่วไป ของชุมชน องค์ความรู้ของชุมชนในการจัดการตนเองของชุมชน เพื่อที่จะ สามารถอธิบายให้เห็นถึงภาพความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์และการวิเคราะห์ตามกรอบแนวคิดทฤษฎี และวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องที่ได้ทำการศึกษาค้นคว้าไว้ในตอนแรก เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในการพัฒนาชุมชนที่เกิดขึ้น และจากข้อมูลที่ได้จากการศึกษาภาคสนามรวมทั้งการอ้างอิงข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการศึกษา จากเอกสาร การสังเกต และการสัมภาษณ์สมาชิกของชุมชนและผู้อื่นที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับชุมชน เพื่อให้เห็นภาพองค์ความรู้ของการพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการจัดการตนเองด้านเศรษฐกิจบนฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่จังหวัดชัยนาท
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
โครงการวิจัยที่มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพของชุมชนด้านเศรษฐกิจบนฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งพื้นที่จังหวัดชัยนาท เป็นพื้นที่ต้นแบบในการขับเคลื่อนแนวพระราชดำริการพัฒนาตามศาสตร์พระราชาเศรษฐกิจพอเพียงและผลการศึกษาเป็นการเสริมสร้างองค์ความรู้ในการพัฒนา/ขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาตามแนวทางพระราชดำริ
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่
รายชื่อ
ประเภทนักวิจัย
บทบาทหน้าที่
สัดส่วน
1
นางสาวหทัยชนก คะตะสมบูรณ์
นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย
หัวหน้าโครงการวิจัย
100%
สถาบันวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130
หมายเลขโทรศัพท์
056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย
website
rdi.nsru.ac.th
Smart Rdi Nsru