รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การผลิตไบโอแบตเตอรี่จากผลไม้และกรดผลไม้
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
Production of Bio-battery from fruit acid and fermented fruit acid
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
19 พฤศจิกายน 2556
วันสิ้นสุดโครงการ :
18 พฤศจิกายน 2557
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยประยุกต์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         แบตเตอรี่ (Battery) คืออุปกรณ์สำหรับเก็บประจุของพลังงานไฟฟ้าอย่างหนึ่ง ถูกใช้อย่างกว่าขวาง เนื่องจากมีความสะดวกในการใช้งานที่ต้องการการเคลื่อนที่และความคล่องตัวของการใช้งาน แบตเตอรี่มีแบ่งเป็นประเภท ได้แก่ ประเภทที่ใช้แล้วทิ้งเรียกว่าเซลล์ปฐมภูมิ และประเภทที่ใช้แล้วสามารถนำมาชาร์จประจุไฟฟ้าเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ แบตเตอรี่ประเภทนี้เรียกว่าเซลล์ทุติยภูมิ ซึ่งเมื่อใช้งานจนแบตเตอรี่หมดพลังงานหรือหมดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่แล้วจะถูกนำไปทิ้ง หรือกำจัด การกำจัดหรือทิ้งที่ไม่ถูกวิธีมักจะส่งผลให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก เนื่องมาจากวัสดุและสารละลายที่อยู่ในแบตเตอรี่คือสารเคมีที่มีฤทธิ์เป็นกรดเข้มข้นซึ่งเป็นสารกัดกร่อน ทำลายสิ่งแวดล้อม นอกจากสารเคมีที่มีฤทธิ์เป็นกรดแล้ว ในสารเคมีในแบตเตอรี่ยังพบสารละลายโลหะหนักเจือปนอยู่อย่าเข้มข้น ได้แก่สารตะกั่ว เป็นต้น การกำจัดที่ไม่ถูกต้องจะส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมและมนุษย์โดยตรง ดังนั้นผู้ทำวิจัยจำมีความสนใจในการศึกษาทดลองความเป็นไปได้ เพื่อหาสารละลายในแบตเตอรี่ (Electrolyte) ที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาทดแทนสารละลายเดิมที่ใช้อยู่ จากสมติฐานและการทดลองพบว่าเมื่อนำแท่งทองแดงเสียบบนลูกมะนาวสองแท่งโดยแท่งหนึ่งเป็นขั้วบวก (cathode) และอีกแท่งหนึ่งเป็นขั้วลบ (anode) ซึ่งพบว่ามีกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้นจากผลมะนาว จากกระแสไฟฟ้าที่ได้มีปริมาณน้อย ดังนั้นการเพิ่มเซลล์ของแผ่นกำเนิดไฟฟ้าจะสามารถเพิ่มกระแสไปที่เกิดจากกรดผลไม้และกรดจากการหมักของผลไม้ได้ จึงเป็นที่มาของงานวิจัยนี้
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1.เพื่อสร้างแบตเตอรี่จากกรดผลไม้และกรดจากการหมักของผลไม้ 2.เพื่อทดสอบกระแสไฟฟ้าที่ได้จากกรดผลไม้และกรดจากการหมักของผลไม้ 3.เพื่อทดสอบการเก็บประจุของสารละลายจากกรดผลไม้และกรดจากการหมักผลไม้
ขอบเขตของโครงการ :
1.ขอบเขตพื้นที่: จังหวัดนครสวรรค์ 2.ขอบเขตเวลา: ช่วงเวลาที่ดำเนินการวิจัยปี 2557 3.ขอบเขตประชากร/ กลุ่มตัวอย่าง: ผลไม้ที่มีกรด, กรดจากการหมักของผลไม้ 4.ขอบเขตตัวแปรและเนื้อหา: • เพื่อสร้างแบตเตอรี่จากกรดผลไม้และกรดจากการหมักของผลไม้ • เพื่อศึกษาการเก็บประจุของสารละลายในแบตเตอรี่(electrolyte) กรดผลไม้ • เพื่อเปรียบเทียบการเกิดกระแสไฟฟ้าของกรดผลไม้ชนิดต่างๆ • เพื่อประเมินประสิทธิภาพของกรดผลไม้และกรดจากการหมักของผลไม้แต่ละชนิดในการสร้างกระแสไฟ • เพื่อศึกษาแนวทางของการผลิตกระแสไฟที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
1.ได้แบตเตอรี่ที่ใช้กรดผลไม้และกรดจากการหมัดของผลไม้ 2.ได้ผลการทดสอบค่าปริมาณกระแสไฟจากกรดผลไม้และกรดจากการหมักของผลไม้ 3.ได้ทราบถึงความสามารถในการเก็บประจุไฟฟ้าของกรดผลไม้และกรดจากการหมักของผลไม้
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         วิธีการดำเนินการวิจัย แผนผังที่ 1 แสดงถึงวิธีการดำเนินงานวิจัย สถานที่ทำการทดลอง /เก็บข้อมูล มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 นายโกเมน หมายมั่น นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 50%
2 นายถิรายุ ปิ่นทอง นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 25%
3 นายวัชระ ชัยสงคราม นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 25%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย