รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การประยุกต์ใช้ภูมิสารสนเทศเพื่อการจัดการความรู้ของชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : พื้นที่ลุ่มน้ำสะแกกรัง
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
Application of GIS for knowledge management, community-based philosophy of Sufficiency Economy: Sakae Krang River Basin.
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
1 ตุลาคม 2559
วันสิ้นสุดโครงการ :
30 กันยายน 2560
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยประยุกต์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         ในศตวรรษที่ 21 ประเทศไทยรวมทั้งประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ได้เริ่มเข้าสู่กระแสใหม่ของการเปลี่ยนแปลงที่เรียกว่า สังคมความรู้ (Knowledge society) และระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge – Based Economy) ที่ใช้ความรู้และนวัตกรรม (innovation) เป็นปัจจัยหลักในการพัฒนาและการผลิตมากกว่าเงินทุนและแรงงาน หลายองค์กรให้ความสําคัญกับความรู้และบุคคลที่เป็นผู้สร้างและใช้ความรู้มากขึ้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงมีพระราชดํารัสในการเปิดการประชุมประจําปีสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติเรื่องเศรษฐกิจฐานความรู้ : ก้าวใหม่ของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย ณ ห้องบอลรูม ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ในวันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.2544 มีความว่า“โลกในศตวรรษที่ 21 เปลี่ยนแปลงและเจริญรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว ยุทธศาสตร์ในการจัดการกับสภาวะเช่นนี้นานาชาติต่างยอมรับว่าต้องอาศัยความรู้เป็นพื้นฐาน ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แทนที่จะเน้นการพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติเช่นในอดีต ประเทศไทยก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบโลกจึงต้องเร่งพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ด้วยการอาศัยความรู้เป็นพื้นฐานเช่นกันโดยเฉพาะการพัฒนาความรู้ความสามารถ ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอันเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งในการแข่งขันระหว่างนานาประเทศ ทั้งนี้เศรษฐกิจและสังคมที่อาศัยความรู้เป็นพื้นฐานจะต้องสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะการพึ่งตนเองและความสามารถในการแข็งขันระดับชุมชนด้วยการประชุมครั้งนี้นับเป็นโอกาสอันดีที่บุคลากรทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีบุคลากรทางภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม จะได?ปรึกษาหารือแลกเปลี่ยนความรู?ความคิด อีกทั้งประสบการณ์เพื่อนํากระแสของการพัฒนามาปรับใช้ให้เหมาะกับสภาพเศรษฐกิจและสังคม ผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่และนวัตกรรมของภาคเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งความตระหนักและความเข้าใจในการประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจแบบพอเพียง ให้เป็นพื้นฐานของการพัฒนาประเทศชาติต่อไป” (ชัชวาล วงษ์ประเสริฐ 2548 : 11-13) การจัดการความรู้ของชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในพื้นที่ลุ่มน้ำสะแกกรัง เพื่อให้เล็งเห็นถึงความสำคัญของทุนชุมชน ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญยิ่งในการดำรงชีวิตของคนในชุมชน การพัฒนาชุมชนบนฐานทุนชุมชนจึงเป็นกระบวนการและวิถีทางการพัฒนาที่สอดคล้องกับความเป็นจริงของชุมชน ทำให้ชุมชนมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน คนในชุมชนมีความรักสามัคคีกันและเป็นการสร้าง "จิตสำนึกชุมชน" ให้เกิดแก่สมาชิกทุกคนในชุมชนแต่กระแสการพัฒนาในปัจจุบันมักจะให้ความสำคัญกับปัจจัยภายนอก ซึ่งทำให้การพัฒนาหลงทางและชุมชนนับวันจะอ่อนแอลง (กรมวิชาการเกษตร,2548) จากความสำคัญของการจัดการความรู้โดยมีกระบวนการที่เป็นระบบในการค้นหา สร้าง รวบรวม จัดเก็บ เผยแพร่ ถ่ายทอด แบ่งปันและใช้ความรู้นั้นเพื่อประโยชน์ขององค์กร (บุญดี,2547) จะมีความสำคัญในด้านการใช้เป็นฐานข้อมูลและองค์ความรู้ที่จะใช้ในการดำเนินการวางกรอบแนวคิดเพื่อการพัฒนารูปแบบการพัฒนาชุมชนในพื้นที่ประเทศไทย โดยจะเป็นความรู้อย่างมากในอนาคตต่อการพัฒนาในทุกมิติทั้งในทางการเมทอง เศรษฐกิจและสังคมเพื่อการพัฒนาผู้คน ชุมชนและสังคมอย่างมั่นคงและยั่งยืนในอนาคตจากการศึกษาการจัดการความรู้ของชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนพื้นที่ลุ่มน้ำ สะแกกรัง
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1.เพื่อศึกษาการจัดการความรู้บนฐานทุนทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พื้นที่ลุ่มน้ำสะแกกรัง 2.เพื่อศึกษาการจัดการความรู้บนฐานทุนเงินตราของชุมชน เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พื้นที่ลุ่มน้ำสะแกกรัง 3.เพื่อศึกษาการจัดการความรู้บนฐานทุนสังคมวัฒนธรรมของชุมชน เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พื้นที่ลุ่มน้ำสะแกกรัง 4.สร้างฐานข้อมูลเพื่อสนับสนุนระบบการตัดสินใจเลือกแหล่งการจัดการความรู้ของชุมชนโดยใช้ภูมิสารสนเทศ
ขอบเขตของโครงการ :
ขอบเขตด้านพื้นที่ ได้แก่ พื้นที่ลุ่มน้ำสะแกกรังประกอบด้วยพื้นที่ 3 จังหวัด 13 อำเภอ 73 ตำบล/เทศบาล และ 621 หมู่บ้าน ประกอบด้วย จังหวัดกำแพงเพชร นครสวรรค์ และอุทัยธานี ขอบเขตด้านเนื้อหา 1.บริบทชุมชน และการจัดการความรู้บนฐานทุนชุมชน 3 ทุน คือ ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทางเงินตรา และทุนทางสังคมและวัฒนธรรม 2.การสร้างฐานข้อมูลเพื่อสนับสนุนระบบการตัดสินใจเลือกแหล่งการจัดการความรู้ของชุมชนโดยใช้ภูมิสารสนเทศ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
1. ประชาชนและหน่วยงานต่าง ๆ สามารถเข้าถึงข้อมูลจากเว็บไซต์และระบบภูมิสารสนเทศซึ่งสร้างเป็น ระบบอินเตอร์เน็ตแม็พเซอร์เวอร์ รวมทั้งข้อมูลด้านการจัดการความรู้ทุนชุมชนต่าง ๆ 2. ประชาชนในชุมชนอื่น ๆ สามารถนำวิธีการจัดการความรู้จากชุมชนตัวอย่างของงานวิจัยไปประยุกต์ใช้งานในชุมชนของตัวเอง โดยมีระบบภูมิสารสนเทศเป็นระบบพื้นฐานในการจัดการข้อมูลของทุนชุมชน
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         1.การคัดเลือกชุมชนในพื้นที่ลุ่มน้ำสะแกกรังครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ นครสวรรค์ อุทัยธานี กำแพงเพชร จะคัดเลือกจากฐานข้อมูลกลุ่มชุมชนที่รวมตัวจัดตั้งขึ้นดำเนินกิจกรรมต่างๆ และมีการบันทึกขึ้นทะเบียนไว้ในฐานข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยเป็นกลุ่มชุมชนที่มีการรวมตัวและเสนอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ 2.คัดเลือกชุมชนที่มีกิจกรรมการดำเนินงานสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย ดังนี้ กลุ่มชุมชนที่มุ่งเน้นกิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กิจกรรมการออมทรัพย์และสะสมทุน และกิจกรรมการอนุรักษ์สืบสานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยกำหนดหลักเกณฑ์และคุณสมบัติในการพิจารณาคัดเลือกชุมชนเพื่อเป็นชุมชนเป้าหมายหลักของการเก็บข้อมูลไว้ดังนี้ การยั่งยืน โครงสร้างองค์กรและระเบียบกฎเกณฑ์ข้อบังคับที่ชัดเจน มีเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรายนอก มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินงาน มีสถานที่ และมีการปฏิบัติตามกฎหมายบ้านเมือง 3.เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างชุมชนที่ได้รับการคัดเลือกแบบเจาะจง 3 ชุมชน ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มทุนทรัพยากรธรรมชาติ กลุ่มทุนเงินตรา และกลุ่มทุนสังคมและวัฒนธรรม 4.สร้างฐานข้อมูลโดยใช้เครื่องมือกำหนดตำแหน่งพิกัดชุมชนร่วมกับเทคโนโลยีแผนที่กูเกิ้ลทางอินเตอร์เน็ตบนเว็บไซต์เป็นแหล่งในการเผยแพร่ชุดข้อมูลในการจัดการความรู้
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 นางสาวสุนันทา เทียมคำ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 100%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย